หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
เจ้าพระยาพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 52 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เจ้าพระยาพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เจ้าพระยาพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ Weerapong prommontree/วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ Weerapong prommontree 165/91 Senbordee Pimolrach Bangboutong, Nontaburi 11110/วีรพงศ์ พรหมมนตรี 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2554 วันหมดอายุ 01-01-2568

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

วัตถุมงคล: เครื่องราง - ของขลัง
หลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ จ. พิจิตร เจ้าตำรับแหวนตะกร้ออันลือลั่น
27-08-2555 เข้าชม : 38797 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] หลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ จ. พิจิตร เจ้าตำรับแหวนตะกร้ออันลือลั่น
[ รายละเอียด ] แหวนตะกร้อและแหวนพิรอดหลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร รุ่นสร้างศาลา ปี 34 เป็นแหวนรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์เยอะมากที่สุด รุ่นสร้างโรงพยาบาล ปี 37

ตำนาน แหวนพิรอด
    เครื่องรางของขลังที่คนโบราณนิยมกันว่าเป็นมงคลอีกอย่างหนึ่งก็คือ "แหวนพิรอด" ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างหายาก และอาจารย์ที่ทำดูจะหายากตามไปด้วย นับเป็นวัฒนธรรมเครื่องรางโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กำลังจะหายไปกับยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคเทคโนโลยี ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะนำพาสังคมไทยไปในรูปแบบใดจะเป็นการสร้างชาติ หรือสิ้นชาติที่หมาย ถึงการสูญเสียวัฒนธรรมเก่าๆไปแลกกับวัฒนธรรมขยะยุคไอ.ที. (I.T.) ที่วัยรุ่นปัจจุบันมักมีพฤติกรรมแปลกให้เห็นอยู่เสมอๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ฝากข้อคิดไว้นิดว่าชาติจะมีความหมายอะไร ถ้าหากเราไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์คือวัฒนธรรมเอาไว้ได้

แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด
    ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า “สนับแขนพิรอด” (ชนิดนี้บางทีทำด้วยโลหะผสมก็มี ตรงหัวทำเป็นเหมือนหัวแหวนพิรอด) ซึ่งสนับแขนนี้เดิมยังใช้เป็นอาวุธของนักมวยในการกอดปล้ำที่เข้าวงใน เพราะแหวนแขนที่ทำจากด้ายดิบหากลงรักจะแข็งและคม ซึ่งใช้ถูกับผิวหนังนักมวยฝ่ายตรงข้ามทำให้เจ็บและไม่อยากเข้าต่อสู้ด้วยการกอดปล้ำ เป็นการจำกัดรูปมวยฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าพาให้เขาเข้าทางมวยฝ่ายเรา ซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทย แต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่องรางอย่างหนึ่งเท่านั้น

วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอด
   วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระดาษว่าวกับถักด้วยเชือก ตำนานแหวนพิรอดเมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้น แหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่๕) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ที่สร้างแหวนพิรอดที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ประสพพบเห็น โดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้นำแหวนพิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จ ได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า "เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี" ซึ่งพอจะคะเนได้ว่าพระเถระทั้งสองรูปน่าจะเป็นเกจิอาจารย์ของเมืองกรุงเก่า(อยุธยา) แหวนพิรอดเดิมทีนั้นใช้วัสดุที่หาได้จากใกล้ๆตัวตามวิถีชีวิตคนในสมัยนั้นคือมักทำด้วย กระดาษว่าว ก็เพราะเป็นกระดาษที่เหนียวแน่นดีกว่ากระดาษชนิดอื่น

ลงยันต์แหวนพิรอด
    เมื่อจะต้องทำลงยันต์แหวนพิรอดในกระดาษยันต์นี้ประกอบด้วยรูปพระภควัม หรือเลขยันต์ตามแต่พระเกจิอาจารย์แต่ละสายจะกำหนดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะเห็นว่าเป็นกลเม็ดเด็ดพรายตามแต่สำนักใดจะสร้างขึ้น โดยมีความเชื่อกันอยู่อย่างหนึ่งถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องรางแหวนพิรอด ที่สร้างขึ้นว่ามีอิทธิคุณถึงขั้นหรือยังคือเมื่อทำแล้วให้ทดลองเอาไฟเผาดู ถ้าไม่ไหม้ก็ใช้ได้ พระอาจารย์ผู้สร้างจึงจะนำมาตกแต่งเพื่อความมั่นคงทนทานและสวยงาม อันแหวนพิรอดนั้น โดยมากมักจะลงรักเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แหวนผุง่ายไม่คงทน

ลอร์ดออฟเดอะริงค์ อย่างไทยๆ เรา
    ในตำราไสยศาสตร์นั้นยังระบุอธิบายวิธีใช้ไว้ว่า ถ้าจะเข้าสู้รบทำสงคราม ให้ถือแหวนกระดาษนี้แล้วบริกรรมด้วย "มะอะอุฯ" และถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา "โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ" ว่ากันว่าไม่แต่เพียงศึกมนุษย์ถึงศึกเทวดามาก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งคงเป็นแบบเรื่องราวของ “ลอร์ดออฟเดอะริงค์”อย่างไทยๆ เรา

ความเป็นมาของเงื่อน
    เคยได้ยินคนรุ่นเก่าเล่ากันว่า แหวนหลวงพิรอด เรื่องนี้เห็นจะเป็นเพราะลากเข้าความกันมากกว่า เท่าที่อ่านพบจากการสันนิษฐานของนักปราชญ์ชาวตะวันตก(อิตาลี)ที่เข้ามารับราชการ จนเป็นถึงเจ้ากรมยุทธศึกษาของกองทัพบกไทยคนแรกในการทหารยุคใหม่คือ ยี. อี.เยรินี (พันเอกพระสารสารขันธ์)กล่าวว่า “ชื่อ พิรอด มาจากภาษาสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง อันตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือนกัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น”

คาถาอาคม ที่ใช้กับเงื่อน ขอเกจิอาจารย์ ต่างๆ
    เงื่อนพิรอดนั้นจัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการต่อเชือกหรือการผูกโยงเพื่อความมั่นคง แน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ ที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูปวัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้านมหานิยมก็เข้มขลังขนาดอมตะ ดาราอย่าง คุณ มิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า “พระพิรอดขอดพระพินัย” และเวลาแก้เชือกก็มี คาถาว่า “พระพินัยคลายพระพิรอด” อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่างเชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์สร้างก็คือ “ผ้าขอด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด “พิรอดเดี่ยว” เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่าๆเช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.อยุธยา หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จ.ชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จ.อยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆารวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่าน้ำวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี (ความรู้เพิ่มเติมเรื่องเงื่อนศักดิ์สิทธิ์นี้อ่านที่คอลัมมายิกไท-เทศ;อุณมิลิต เล่มที่ ๑๐ - ๑๑)...

พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ (หลวงพ่อขวัญ ปวโร)

    พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ (หลวงพ่อขวัญ ปวโร) เดิมชื่อ ขวัญ หมอกมืด เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 12 (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 10) ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร บิดาชื่อ นายเหลือ มารดาชื่อ นางเอี้ยง มีพี่น้องร่วมสายโลหิตจำนวน 4 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 2 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 1 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2470 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 20 ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านนา โดยมีพระครูศีลธรารักษ์ (หลวงพ่อยิ้ม) วัดท่าหลวง พระอารามหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์ชิต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฟัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ปวโร ท่านจบการศึกษาชั้นสามัญระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สอบได้นักธรรมโทได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ ในปี พ.ศ. 2542 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอสามง่าม (กิตติมศักดิ์) และเจ้าอาวาสวัดเทพสิทธิการาม ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

ตำแหน่งทางสงฆ์
1. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพสิทธิการราม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 จนถึงปัจจุบัน
2. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสามง่าม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 - 2494
3. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสงฆ์อำเภอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 - 2496
4. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน
5. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอสามง่าม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 - 2533
6. ยกเป็นเจ้าคณะอำเภอกิตติมศักดิ์ และที่ปรึกษาคณะสงฆ์อำเภอสามง่าม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533
ผลงานด้านการก่อสร้าง และร่วมบริจาคเงินก่อสร้างเสนาสนะในพระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2518 ก่อสร้างศาลาพระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ วัดปทุมรัตนาราม ตำบลบึงบัว อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร มูลค่า 500,000 บาท
พ.ศ. 2525 ก่อสร้างพระอุโบสถวัดปทุมรัตนาราม ตำบลบึงบัว อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โดยนำพระภิกษุสามเณร และประชาชนร่วมก่อสร้าง และบริจาคเงินจำนวน 300,000 บาท
พ.ศ. 2527 ก่อสร้างพระอุโบสถวัดกระทิง ตำบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โดยนำพระภิกษุสามเณร และประชาชนร่วมก่อสร้าง และบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาท
พ.ศ. 2529 ก่อสร้างพระอุโบสถวัดคงคาราม (วัดโขน) ตำบลหนองคล้อ อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมบริจาคเงินจำนวน 150,000 บาท
พ.ศ. 2533 ก่อสร้างพระอุโบสถวัดวังตะขบ ตำบลวังโมกข์ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร บริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท ก่อสร้างศาลาการเปรียญ กุฎิสงฆ์ วัดนิคม ตำบลบ้านนา อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร บริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท
พ.ศ. 2535 ร่วมก่อสร้างวัดบึงหวายพระองค์ ตำบลไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20,000 บาท
พ.ศ. 2536 ร่วมบริจาคเงินก่อสร้างอุโบสถวัดบึงบัวใน ตำบลบึงบัว อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 15,000 บาท ร่วมบริจารเงินสร้างศาลา วิหาร เมรุ วัดงิ้วสองนาง (หนองทอง) ตำบลหนองทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1,087,657 บาท
ร่วมบริจาคเงินสร้างศาลาการเปรียญวัดแม่บ้ว ตำบลหนองคล้อ อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 5,000 บาท ร่วมบริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 10,000 บาท
พ.ศ. 2537 ร่วมบริจาคเงินก่อสร้างพระอุโบสถวัดวังแดง ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 130,000 บาท
ร่วมบริจาคเงินก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดสวนทศพลญาณ ตำบลโดนพลวง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 100,000 บาท
พ.ศ. 2538 ร่วมบริจาคเงินก่อสร้างพระอุโบสถ เมรุ วัดมาบแฟบ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 332,600 บาท
ร่วมบริจาคเงินสร้างศาลาการเปรียญวัดรายชะโด ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 15,325 บาท
ร่วมบริจาคเงินก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดหลังถนน ตำบลบ้านนา อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 113,401 บาท

ผลงานการก่อสร้าง และร่วมบริจาคเงินก่อสร้างเพื่อสาธารณประโยชน์
พ.ศ. 2537 ก่อสร้างประปาใช้ในวัดเทพสิทธิการาม และบริการประชาชนใกล้เคียง จำนวนเงิน 80,000 บาท ก่อสร้างสะพานพิมลธรรมานุศิษฐ์ ข้ามคลองบ้านไร่ จำนวนเงิน 600,000 บาท
พ.ศ. 2538 ก่อสร้างอาคารปวโร ตึกอาพาธ โรงพยาบาลสามง่าม จำนวนเงิน 5,112,132 บาท
ผลงานการจัดตั้งมูลนิธิวัดเทพสิทธิการาม (วัดบ้านไร่) มีเงินกองทุน 5,000,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ได้รับความเดือดร้อน และยังเป็นทุนการศึกษา รวมทั้งช่วยเหลือสาธารณประโยชน์ทั่วไป

พระเถระผู้ใหญ่พูดถึงหลวงปู่ขวัญ
    คำพูดที่ฮือฮามากในช่วงนั้น(20 กว่าปีมาแล้ว) คือคำพูดของหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่คนพิจิตรมักจะพูดถึงคือ มีคนพิจิตรไปกราบหลวงพ่อเกษมแล้วหลวงพ่อเกษมพูดว่า "มาทำไมถึงที่นี่ ที่พิจิตรก็มีหลวงพ่อขวัญ" ประโยคนี้แม้แต่ "คุณฉวีวรรณ ขจรประศาสน์" ภริยาท่านพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ยังเคยพูดกับผมในช่วงนั้นเลย ซึ่งช่วงนั้นเสธฯหนั่นกำลังเป็น ม.ท.1 ด้วย คุณฉวีวรรณเล่าให้ผมฟังว่า "ป้าได้ไปกราบหลวงพ่อขวัญมาแล้ว ไปเช่าแหวนท่านมาด้วย หลวงพ่อเกษมยังบอกให้ไปกราบหลวงพ่อขวัญเลย" (ผมเพิ่มเติมว่าหลวงพ่อขวัญท่านเคยไปเรียนวิชาทำน้ำมันสมุนไพรคุณพระรักษา ที่ จ.ลำปาง ครับ) ครั้งหนึ่งมีพิธีปลุกเสกพระหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน ผมมีโอกาสได้รับ-ส่งหลวงพ่ออุตตมะจากสนามบินพิษณุโลกและวัดบางคลาน(ทำให้มี บุญได้พาหลวงพ่อมาพักผ่อนที่บ้านหลังเสร็จพิธีด้วย) ในครั้งนั้นผมจึงถวายแหวนหลวงพ่อขวัญเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่ออุตตมะด้วย หลังจากนั้นผมได้ไปกราบหลวงพ่ออุตตมะที่พุทธมนฑลสาย 2 หลวงพ่อหยิบแหวนหลวงพ่อขวัญแล้วพูดกับผมว่า "ของดีนะ" แล้วท่านก็เอาแหวนของหลวงพ่อขวัญมอบให้กับลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดกับท่าน โดยใส่แหวนให้ที่นิ้วด้วยมือของหลวงพ่อเอง แต่ปรากฏว่าแหวนหลวมไป หลวงพ่อท่านก็หาด้ายมาพันที่ท้องวงแหวนให้ เมื่อหลวงพ่อพันด้ายเสร็จก็เอาแหวนมาใส่ให้ด้วยมือของท่านเองอีก คราวนี้ใส่ได้พอดี หลวงพ่ออุตตมะท่านยิ้มแล้วบอกว่า "ของดีนะใส่ติดตัวไว้นะ" แค่นี้ก็คงพอแล้วนะครับ แต่เท่าที่ทราบก็ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายองค์ที่พูดถึงหลวงปู่ขวัญอีกเช่น หลวงปู่ครูบาหล้าตาทิพย์, หลวงพ่อแพ, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(หลวงพ่อท่านมอบข้าวตอกพระร่วงให้หลวงพ่อขวัญด้วย) แต่บังเอิญผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงครับ ท่านที่มีข้อมูลตรงนี้กรุณาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ

หลวงปู่ขวัญเล่าเรื่องตะกรุด
    หลวงปู่เล่าว่า "ฉันทำตะกรุด ฉันก็ทำไปตามตำรา มารู้ว่าเป็นจริงตามตำราก็เพราะว่ามีคนที่ฉันให้ตะกรุดเขาไปเขามาเล่าให้ฟัง ว่า เขาเป็นพัสดีคุมนักโทษแล้วมีเรื่องเกิดขึ้น คือนักโทษมันแหกคุกหนีออกมา เขาก็ไล่ตามจับ นักโทษมันมีปืนมันก็หันเอาปืนมายิงเขา เขาก็เอาปืนยิงไปที่นักโทษบ้าง ยิงกันไปยิงกันมาอยู่อย่างนั้นปรากฏว่าไม่มีใครโดนลูกปืนเลย"(ผมขอเสริมว่า ตะกรุดของหลวงปู่จะคลาดแคล้วทั้งสองฝ่าย เพื่อไม่ให้มีเวรมีกรรมต่อกัน) "มีคนคนหนึ่งคนนี้เขายิงปืนแม่นมาก เขาอยากลองตะกรุดของฉัน เขาจึงเอาตะกรุดไปผูกไว้ที่คอไก่แล้วก็ยิงไก่ ปรากฎว่าลูกปืนไปถูกเชือกที่ผูกตะกรุดขาด ตะกรุดจึงหล่นหายไปเลย หาเท่าไหร่ก็ไม่พบส่วนไก่ไม่เป็นอะไร เขามาเล่าให้ฉันฟังแล้วมาขอตะกรุดฉัน นอกจากฉันไม่ให้ตะกรุดเขาแล้วยังตำหนิเขาด้วย"

หลวงปู่ขวัญเล่าเรื่องพระกริ่ง พระกริ่งพิมพ์รูปเหมือนของท่านที่ตัดรุ้งขาดได้
    หลวงปู่เล่าว่า "ฉันได้ตำราสร้างพระกริ่งปวเรศมา พระกริ่งนี้ตัดรุ้งขาดได้ ฉันจะสร้างพระกริ่ง" ผมได้ยินตอนนั้นหูผึ่งเลยติดตามข่าวอย่าง ใกล้ชิดตลอด จนใกล้วันออกพรรษาหลวงปู่พูดกับผมว่า "ฝนมันตกแล้วแต่ยังไม่เห็นมีรุ้งสักที" ผมได้ฟังแล้วยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หลวงปู่เมตตาพูดแบบนี้ให้ฟัง ผมรู้ว่าคืออะไร และไม่กล้าที่จะถามอะไรท่านต่อไป เรื่องพระกริ่งนี้ป้าเป้าซึ่งเป็นหลานหลวงปู่และเป็นคนจำหน่ายวัตถุ มงคลให้กับวัดบอกว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะว่าหลวงปู่ท่านกำหนดราคาพระกริ่งเองว่าให้จำหน่ายองค์ละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงมากสำหรับหลวงปู่ เพราะขนาดพระที่จำหน่ายอยู่ราคาแค่ 50 บาท หลวงปู่ยังบ่นว่า "ทำไมไปเอาเขาแพงจัง"

ปาฏิหาริย์หลวงพ่อขวัญ
    ผมได้คุยกับคนคนนี้เองเลย เขาชื่อสิบเอกสมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ ตอนนั้นเป็นทหารอยู่ที่ลพบุรี เขามากราบขอบคุณหลวงปู่ ซึ่งได้ช่วยชีวิตเขาไว้โดยรายนี้เป็นพลร่มป่าหวาย ไปฝึกโดดร่มบังเอิญร่มขาดกลางอากาศร่วงลง ในตอนนั้นเขาไม่ได้ใส่อะไรนอกจากแหวนตะกร้อหลวงพ่อขวัญเท่านั้น เขาจึงเชื่อว่าหลวงพ่อขวัญเป็นผู้ช่วยชีวิตเขา ตอนนั้นเขาเพิ่งออกจากโรง พยาบาลกระโหลกเขายังไม่เต็มเลย ยังเห็นสมองเต้นตุบๆ ที่ศรีษะของเขา ผมถามว่าถ้าปรกติกรณีแบบนี้จะเป็นอย่างไร เขาบอกว่า "เอาปิ๊ปเก็บเศษเนื้อของผมได้เลยครับ" รายละเอียดจาก คมชัดลึก
นางมาลัย ปัญญาพิมพ์ อายุ 44 ปี อยู่บ้านเลขที่ 127/79 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก เล่าถึงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ขวัญว่า เมื่อประมาณปี 2539 จ.ส.อ.สมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ อายุ 41 ปี สามี ซึ่งเป็นทหารสังกัดกองทัพน้อยที่ 3 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก ไปฝึกหลักสูตรเปลี่ยนแบบร่มที่ จ.ลพบุรี โดยขณะฝึกนั้นสามีโดดร่มลงมาจากเครื่องบิน และเมื่อมาถึงระยะ 5,500 ฟิต สามีกระชากร่ม แต่ร่มไม่กางออก แม้แต่ร่มช่วยก็ไม่ทำงาน "ตอนนั้นสามีบอกความรู้สึกได้เพียงว่า คงไม่รอดแน่ เนื่องจากระยะที่สูงมาก จึงเพียงนึกถึงหลวงปู่ขวัญและคุณพ่อคุณแม่ โดยในตัวมีเพียงแหวนรุ่นหัวสิงห์ของหลวงปู่ขวัญเท่านั้น หลังจากนั้นก็เก็บคองอเข่าตามหลักสูตรที่เรียนมา เมื่อตกมาถึงพื้นก็หมดสติไป" นางมาลัย กล่าว นางมาลัย ยังกล่าวอีกว่า เพื่อนทหารช่วยกันนำสามีส่งโรงพยาบาล โดยแพทย์บอกว่า ให้ทำใจ เพราะโอกาสที่รอดมีน้อยมาก หรือหากรอดชีวิตก็มิสิทธิเป็นคนปัญญาอ่อน เพราะสมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แขนทั้งสองข้างหัก แต่หลังจากอยู่ในห้องไอซียูไม่ถึง 8 วัน สามีก็ฟื้น โดยอาการเหมือนคนไม่ได้เป็นอะไรเลย ซึ่งแพทย์ยังงง โดยเฉพาะแขนที่หักก่อนหน้านั้น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดกลับพบว่า แขนไม่ได้เป็นอะไรเลย ทุกอย่างปกติเหมือนคนทั่วไป ทั้งนี้จากอุบัติเหตุดังกล่าวสามีนอนอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 23 วันเท่านั้น นางมาลัย ยังเล่าอีกว่า หลังจากที่สามีหาย ได้สอบถามคนในครอบครัวจึงทราบว่า บิดาของตนไปขอร้องให้หลวงปู่ขวัญช่วย โดยเขียนชื่อที่อยู่จริงของโรงพยาบาลที่สามีนอนรักษา หลังจากนั้นจึงทราบว่าหลวงปู่ท่านได้นำชื่อมาเพ่งกระแสจิต จนทำให้อาการของสามีหายดีในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งข่าวดังกล่าวดังไปทั่วประเทศ โดยช่วงนั้นสามีของตนเองไปออกรายการทีวีหลายรายการ อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นมาตนและสามีจะไปเยี่ยมหลวงปู่ขวัญทุกอาทิตย์เป็นประจำตลอดมา และการจากไปของท่านคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นความรู้สึกได้
   เมื่อ 17.00 น. ของวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หลวงพ่อขวัญ ปวโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ได้มรณภาพลงด้วยด้วยโรคชรา ขณะที่มีอายุ 98 ปี โดยก่อนหน้านี้ หลวงพ่อขวัญได้ล้มป่วยลงด้วยโรคชราและได้เข้ารักษาตัวในห้องไอซียูของโรง พยาบาลพิจิตร ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา หลังจากที่รักษาตัวนานกว่า 2 เดือน อาการกลับไม่ดีขึ้นและคณะแพทย์ได้ลงความเห็นว่าไม่สามารถช่วยเหลือได้ คณะกรรมการวัดและญาติโยมจึงนำตัวออกจากโรงพยาบาลช่วงบ่ายของวันที่ 19 ธันวาคม ก่อนจะที่จะละสังขารเวลา 17.00 น. วันเดียวกัน 
    สำหรับพระหลวงพ่อขวัญ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของพระครูพิมลธรรมานุสิทธิ์ เจ้าคณะอำเภอสามง่าม และยังเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่รู้จักของชาวพุทธทั่วประเทศ วัตถุมงคลที่สร้างชื่อ คือ แหวนตระกร้อ ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบ คือ ทอง เงิน และทองแดง โดยจะนำวัตถุทั้งสามมาสานเป็นรูปตระกร้อครึ่งซีกมีพุทธานุภาพในทางเมตามหา นิยมและป้องกันอสรพิษทุกอย่าง
    นอกจากนี้ยังมีสติกเกอร์รูปเหมือนหลวงพ่อ เป็นลักษณะวงรียันล้อมรอบ สติกเกอร์ดังกล่าวเป็นที่โจษขานกันในทางแคล้วคลาด ผู้ที่ออกรถใหม่มักจะบูชาไปติดไว้ที่รถ แต่จะเป็นที่รู้กันว่าหากออกรถมาใหม่จะต้องรอประมาณ 3 เดือน จึงจะบูชาไปติดได้ เพราะที่ผ่านมามีผู้ที่บูชาสติ๊กเกอร์ไปติดทันทีเมื่อซื้อรถใหม่ ปรากฏว่าประสบอุบัติดเหตุแทบทุกราย แต่คนขับจะไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อย ทำให้เชื่อกันว่าใครที่นำไปติดรถใหม่ทันทีจะเป็นการลองของ ขณะที่พระสมเด็จรุ่นสะพานหัก เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่โด่งดัง
    สำหรับหลวงพ่อขวัญ เคยเป็นศิษย์ ของหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พระเกจิชื่อดังระดับประเทศแห่งวัดบางคลาน อ.โพทะเล และหลวงพ่อขวัญ ยังได้รับการยอมรับจากครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ว่าเป็นพระที่มีพุทธานุภาพและอาคมแรงกล้า
    แหวนตระกร้อ (พิรอดกลับร้ายกลายเป็นดี) หลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ กันอสรพิษร้าย แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ มีประสบการณ์ดีมากครับ แหวนตระกร้อเนื้อทองเหลือง รุ่น ๙๗ เป็นแหวนที่ทันตัวหลวงพ่อปลุกเสกครับ

[ ราคา ] ฿9
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านเจ้าพระยาพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07


วัตถุมงคล: เครื่องราง - ของขลัง
หลวงปู่เจียม อติสโย วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว) ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
เสือมหาอำนาจ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี  รุ่น2 กะไหล่ทอง
เหรียญชีวกโกมารภัตแพทย์ ปี 2519 เนื้อทองแดงรมดำ
ปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นมหาโชคลาภ เนื้อทองเหลือง  ปี 35 พิมพ์กรรมการ นิยม
หลวงพ่อขวัญ ปวโร  วัดบ้านไร่ จ. พิจิตร เจ้าตำรับแหวนตะกร้ออันลือลั่น
หลวงพ่อเทียม วัดลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ลูกกลองใบลาน หลวงพ่อบุญเทียม วัดลาดหลุมแก้ว ทาทองบอนซ์
พระขรรค์โสฬส สุดยอดของขลัง ของกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์
ลูกอมหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เนื้อผงพุทธคุณ เม็ดใหญ่จัมโบ้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : ไหม 5 สี หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
ผ้ายันต์หลวงพ่อกาหลง วัดเขาแหลม ปี 2513
แหวนพิรอดหลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง  จ. อ่างทอง

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด