หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
เจ้าพระยาพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 79 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เจ้าพระยาพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เจ้าพระยาพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ Weerapong prommontree/วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ Weerapong prommontree 165/91 Senbordee Pimolrach Bangboutong, Nontaburi 11110/วีรพงศ์ พรหมมนตรี 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2554 วันหมดอายุ 01-01-2568

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

วัตถุมงคล: เครื่องราง - ของขลัง
เสือมหาอำนาจ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี รุ่น2 กะไหล่ทอง
02-12-2558 เข้าชม : 2745 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เสือมหาอำนาจ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี รุ่น2 กะไหล่ทอง
[ รายละเอียด ] เสือมหาอำนาจรุ่น2 หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม 2 สือรุ่น2ของหลวงพ่อเณรครับ..แต่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่ออกวัดทุ่งเศรษฐีราม2 มหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพัน หนุนดวง พุทะคุณหายห่วง สวยเดิมๆ หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) เขตประเวศ กรุงเทพฯ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและรูปปัจจุบัน สมณศักดิ์ ปี 2532 เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์(พระครูปลัดฐานานุกรม ในสมเด็จพระธีรญาณมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๑ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ ปี 2548 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ "พระพิศาลพัฒนาทร" ปี 2553 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ "พระราชพัฒนโสภณ วิมลวิหารกิจ มหาคณิสสร บวรสังคาราม คามวาสี" วิทยฐานะ สอบได้นักธรรมเอก สำนัก้รียนวัดสลุด ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถานะเดิมชื่อ วินัย โพธิ์สุข นามบิดา นายบุญมา โพธิ์สุข นามมารดา นางสมนึก โพธิ์สุข เกิดที่ ต.บางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ บรรพชา ปี 2521 โดยมีพระครูสมุทรสิริวัฒน์ (หลวงพ่อทับ) วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นพระอุปัชฌา อุปสมบท ปี 2525 ณ พัทธสีมา วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม ต่อมาได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะ ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) เจ้าคณะภาค ๑ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา แขวงสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรสิริวัฒน์ (หลวงพ่อทับ) วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พระอนุสาวนาจารย์ พระรัตนเมธี (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพวิริยาภรณ์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เด็กชายวินัย โพธิ์สุข ได้อยู่ที่วัดสลุดกับหลวงพ่อทับ ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เป็นที่รู้กันว่าหลวงพ่อทับ วัดสลุด เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว (อุปัชฌาย์หลวงปู่เผือกคือ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา) ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อทับ จนกระทั่งได้บรรพชาเป็นสามเณร พอบวชได้เพียงปีเดียวก็มีลูกศิษย์สร้างเหรียญถวายกันเลย ตำราเก่าของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้วก็ตกทอดมาถึงหลวงพ่อเณรแบบเต็มสูตร รวมถึงตำราของหลวงปู่ทองวัดราชโยธา อีกทั้งท่านยังเดินธุดงค์แสวงหาความรู้และเดินทางหาครูบาอาจารย์ ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ท่านได้ธุดงค์ไปที่ต่างๆทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว เขมร เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านต่างๆ เมื่อกลับจากธุดงค์แล้วท่านได้ใช้วิชาเพื่อสงเคราะห์สานุศิษย์และญาติโยมผู้ ทุกข์ร้อนด้วยสาเหตุนานาประการ กิตติศัพท์ของท่านก็เริ่มร่ำลือแผ่ขยายออกสู่ภายนอกกว้างออกไปทุกที จนกลายเป็นครูบาอาจารย์ของบุคคลทั้งหลาย ทั้งๆที่ย้งเป็นเพียงสามเณร คนทั้งหลายที่ศรัทธาจึงพากันยกย่องและเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเณร" ผู้ที่เป็นทั้งอาจารย์และดูฤกษ์บวชให้หลวงพ่อเณร ญาณวินโย คือหลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ และพระที่นั่งอันดับในงานบวชล้วนเป็นเกจิในยุคนั้นทั้งสิ้น ซึ่งหลวงพ่อเณรก็ได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆจากท่านเหล่านั้นด้วย หลวงพ่อเณร ท่านสืบสานวิชาตำหรับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จาก หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (หลวงพ่อช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี ศิษย์เอกหลวงปู่ปานอีกรูปหนึ่ง เหรียญหลวงพ่อเณรนั่งเสือ รุ่นแรก ออกวัดสลุด 2526 ในอดีตเมื่อครั้งเป็นเณรหลังจากลับจากธุดงค์ครั้งนั้น ชีวิตท่านก็เปลี่ยนไป สรรพวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาท่านก็ได้ใช้เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมมาตลอดจนชื่อ เสียง จนเรียกขานว่า "หลวงพ่อเณร" ในบรรดาลูกศิษย์ที่เข้ามาอุปถัมภ์ท่านนั้น รวมไปถึง 5 เสือในเวลานั้นคือ จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร พ.ต.ต. โกมล ประเสริฐวงศ์ พันเอกพิเศษวิเชียร กระบวนยุทธ พันเอกณรงค์ กิตติขจร โดยครอบครัวของท่านจอมพลถนอมจะสนิทกับหลวงพ่อเณรมากมีความศรัทธาเป็นอย่าง ยิ่งให้ความอุปถัมภ์มาตลอด เนื่องจากมีความเชื่อในตัวหลวงพ่อเณรและพุทธคุณของวัตถุมงคลของหลวงพ่อเณร เป็นอย่างยิ่ง ในงานวันอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็มาร่วมงานด้วย แต่เนื่องจากหลวงพ่อเณรไม่ได้ทำออกมาเป็นรูปของท่าน โดยมากจะเป็นพระพุทธรูป องค์บูรพาจารย์ เช่น หลวงปู่เผือก หรือเป็นเครื่องราง เป็นต้น ดังนั้น ครอบครัวกิตติขจรซึ่งนับถือหลวงพ่อเณรมากต้องการเหรียญรูปหลวงพ่อเณรไว้บูชา ติดตัว จึงจัดสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเณรขึ้น โดยเป็นพิมพ์ขี่เสือ โดยจัดสร้างเนื้อพิเศษสำหรับใช้เฉพาะครอบครัวท่าน เป็นเนื้อเงินพดด้วงโบราณ โดยจอมพลถนอมท่านให้พันเอกณรงค์เป็นผู้นำมาหล่อที่กุฏิหลวงพ่อเณร จัดสร้าง เพียง 9 เหรียญ เพื่อใช้สำหรับคนในตระกูลกิตติขจรเท่านั้น และนำบล็อคกลับไปทำเพิ่มเติมอีก คือเนื้อเงิน จำนวน 100 เหรียญ เนื้อบาตรน้ำมนต์ จำนวน 2526 เหรียญ จากนั้นจึงนำกลับมาให้หลวงพ่อเณรปลุกเสก การปลุกเสกเหรียญนั่งเสือนั้นปลุกเสก 2 ครั้ง ที่อุโบสถวัดสลุด เมื่อปลุกเสกเสร็จ ลูกศิษย์ที่เป็นตำรวจ ได้เอาเหรียญออกมา 1 เหรียญแขวนคอไก่และยิงปืนใส่ ปรากฏว่าปืนแตก พี่อีกคนหนึ่งเป็นเพื่อนกัน ได้คว้าไปทั้งๆไก่และพระ ของที่เหลือนำกลับไปบ้านท่านวิเชียร จากนั้นท่านวิเชียร กระบวนยุทธ นิมนต์หลวงพ่อเณรไปปลุกเสกอีกครั้งที่บ้าน โดยหลวงพ่อเณร ไปปลุกเสกกับหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านด้วย เมื่อไปถึงท่านวิเชียรได้เตรียมของทั้งหมดไว้บนรถจีเอ็มซีเป็นที่เรียบร้อย เมื่อหลวงพ่อแพกับหลวงพ่อเณรปลุกเสกเสร็จ ท่านวิเชียรก็สั่งให้ทหารระดมยิงเข้าไปที่รถจีเอ็มซี ด้วยอาวุธสงคราม โดยไม่บอกล่วงหน้า ผลปรากฏว่า ........ ถ้าวันนั้นยิงออกและโดน ก็คงไม่มีหลวงพ่อแพกับหลวงพ่อเณรอีกแล้ว เมื่อปลุกเสกเสร็จเหรียญขี่เสือรุ่นนี้ก็ได้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งถวายหลวงพ่อเณรไว้ อีกส่วนหนึ่งท่านก็นำไปแจกจ่ายให้ทหาร งานประจำปี 2526 ณ วัดสลุด หลังจาก สามเณรวินัย โพธิ์สุขได้ออกจากวัดสลุดไปธุดงค์จนกลับมาอีกครั้งหนึ่งท่านก็ได้ใช้วิชาที่ ร่ำเรียนมาเพื่อสงเคราะห์ประชาชนที่เดือดร้อนจนประสพผลสำเร็จ ชื่อเสียงเริ่มกระจายกันปากต่อปาก จนผู้คนขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อเณร" จนเมื่อครูแสวง พัตบุญมา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้มีจิตศรัทธาเป็นมหากุศล ได้บริจาคที่นาของตนให้เป็นที่ตั้งวัด ช่วงแรกยกให้จำนวน 10 ไร่ก่อนจนปี 2528 ได้ทั้งหมด 18 ไร่กว่า เนื่องจากบริเวณสถานที่ตั้งวัดนั้น เป็นที่นาที่อุดมสมบูรณ์มาก จึงเป็นที่มาของชื่อ"ทุ่งเศรษฐี" เมื่อได้ถวายที่ให้ตั้งวัดแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารีมหาเถร) ท่านให้หลวงพ่อเณร ซึ่งพึ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้เพียง 1 พรรษา ให้เตรียมตัวเพื่อตั้งวัดทุ่งเศรษฐี แต่เนื่องจากเป็นที่นาเก่าจึงต้องถมดิน โดยครูแสวงได้ยกดินในที่ของท่านให้หลวงพ่อเณรดำเนินการเอาดินไปถมวัดอีกด้วย มีคนช่วยเรื่องเครื่องจักรแต่ขาดค่าน้ำมัน 300,000 บาท จึงต้องหาเงินทุนมาใช้ หลวงพ่ออุตตมะท่านได้ถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้หลวงพ่อเณร โดยท่านได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งแต่ช่วงที่เป็นเณรที่ท่านออกจากวัดสลุดไปธุดงค์และได้สอนมาเรื่อยจนถึง ปี 2526 หลวงพ่ออุตตมะทราบว่าหลวงพ่อเณรจะตั้งวัดท่านจึงมาช่วยที่งานประจำปีตลอดงาน ทุกวัน หลวงพ่ออุตตมะได้ถ่ายทอดวิชาการทำลูกประคำแบบเต็มสูตรของท่านให้กับหลวงพ่อ เณร ในงานนี้ท่านมาสอนวิชา และมาช่วยตลอดงานประจำปี 2526 หลวงพ่ออุตตมะนอกจากจะเมตตาถ่ายทอดวิชาต่างๆให้หลวงพ่อเณรแล้ว ในงานนี้ท่านยังให้คนทำสร้อยประคำมาเพื่อที่จะได้เอามาจำหน่ายที่วัดสลุด เพื่อหาเงินทุนค่าน้ำมันให้ด้วย มีที่เป็นไม้ และสีขาวที่เป็นงาช้างกับกระดูกช้าง รูปประวัติศาสตร์ : หลวงพ่ออุตตมะถ่ายทอดวิชาการทำประคำแบบเต็มสูตรของท่านให้หลวงพ่อเณร ในกุฏิหลวงพ่อเณรที่วัดสลุด ช่วงก่อนงานประจำปี เมื่อถ่ายทอดวิชา และเสกของเพื่อแจกและจำหน่ายในงานประจำปีแล้ว ในวันรุ่งขึ้นหลวงพ่ออุตตมะท่านได้มอบสร้อยประคำให้ด้วยตัวเอง หลวงพ่ออุตตมะวางแผนไม่ให้หลวงพ่อเณรสึก เนื่องจากหลวงพ่ออุตตมะท่านรักหลวงพ่อเณรมาก หาทางช่วยเพื่อห้ตั้งวัดให้ได้และไม่อยากให้สึกอีก โดยในงานประจำปีนี้หลังวันไหว้ครู จะเป็นวัดทอดผ้าป่า หลวงพ่ออุตตมะท่านวางแผนให้มีการหล่อรูปพระสีวลี (ท่านบอกอย่างนั้น) แต่เมื่อถึงเวลาหล่อและแกะแบบออกมากลายเป็นหลวงพ่อเณร จนหลวงพ่อเณรท่านยังงงเลย และหลวงพ่ออุตตมะบอกว่า "นี่ชั้นหล่อรูปเธอให้แล้วน๊ะ เธอสึกไม่ได้นะ เดี๋ยวคนเขาจะเอา...มาปารูปเธอ" และเมื่อย้ายมาอยู่ ณ สำนักสงฆ์ทุ่งเศรษฐี เมื่อปี 2527 (อยู่ระหว่างดำเนินการขอตั้งเป็นวัด) จนก่อนจะตั้งเป็นวัดเมื่อ ตุลาคม 2529 ท่านก็มาพำนักอยู่บ่อยๆเพื่อติดตามว่าหลวงพ่อเณรท่านได้ตั้งวัดได้สำเร็จตาม ที่ท่านตั้งใจหรือไม่ และมั่นใจว่าจะไม่สึก นอกจากนี้ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ท่านต่างๆเช่น หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี หลวงปู่ผูก วัดเกาะ จ.เพชรบุรี (ศิษย์หลวงพ่อมี วัดพระทรง) หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่ หลวงปู่อิน วัดลาดท่าใหม่ จ.จันทบุรี หรือหลวงพ่ออินเทวดา (ศิษย์หลวงปู่จัน วัดนางหนู) หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จ.บุรีรัมย์ หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อใบ วัดกลางบางแก้ว (ศิษย์เอกหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว) หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า จ.ระยอง หลวงปู่นิด วัดทับมา จ.ระยอง หลวงพ่อช่วย วัดไตรมุก จ.ชลบุรี(ศิษย์หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย) ครูบาหมวก วัดดอนมูล (ศิษย์ครูบาศรีวิชัย) ฯลฯ หลวงพ่อเณร กับการเป่ายันต์เกราะเพชรตำหรับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อเณร ญาณวินโย ได้เรียนวิชาการเป่ายันต์เกราะเพชร จาก หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี จ.สุพรรณบุรี ผู้สืบสานวิชาเกราะเพชรจากหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ปฐมเหตุของการเรียนวิชายันต์เกราะเพชร หลังจากที่หลวงพ่อเณรท่านได้ตั้งวัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) แล้วท่านก็ยังคงเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ว่ากันว่าขลังและดีจริงอยู่ตงอด เวลา จนเมื่อท่านได้เดินทางไปเยี่ยม พระอุปัชฌาย์ของท่าน สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารีมหาเถร) วัดปทุมคงคาฯ ท่านได้เอ่ยถามหลวงพ่อเณรว่า "ลูกเอ๋ย อยากเรียนวิชายันต์เกราะเพชรไหม" ด้วยความที่หลวงพ่อเณรท่านเป็นคนที่ชอบศึกษาวิชาต่างๆจึงตอบรับทันทีว่า "อยากเรียนครับ" เจ้าประคุณสมเด็จฯกล่าวต่อว่า "ฉันรู้จักพระองค์หนึ่งอยู่สุพรรณบุรี มีความชำนาญและเจนจบในศาสตร์วิชาเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นยิ่งนัก ฉันจะเขียนจดหมายฝากฝังไปให้" นี่คือเหตุของการได้พบกันระหว่างหลวงพ่อเณร ญาณวินโย กับหลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ อภินันโท) ศิษย์หลวงปู่ ปาน วัดบางนมโค พบและเริ่มเรียนวิชายันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร ญาณวินโย ได้เดินทางไปพบหลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ) ที่วัดฤกษ์บุญมี โดยนำจดหมายที่องค์อุปัชฌาย์เขียนฝากไปด้วย หลวงปู่ช่อรับจดหมายมาอ่านจนจบได้แต่ยิ้มและหัวเราะพร้อมกับกล่าวรับ หลวงพ่อเณร ญาณวินโย เป็นศิษย์และสั่งให้เตรียมพร้อมในการรับการถ่ายทอดวิชายันต์เกราะเพชร ที่เรียนหร้อมกันขณะนั้นมี 3 รูป ซึ่งหลวงปู่ช่อก็เมตตารับไว้ทั้งหมด แต่ที่เรียนจนจบมีเพียงหลวงพ่อเณร ญาณวินโย องค์เดียวเท่านั้น เพราะว่าการที่จะเรียนวิชายันต์เกราะเพชรให้จบสมบูรณ์จากหลวงปูช่อได้นั้น ท่านจะเป็นผู้สอบวิชายันต์เกราะเพชรด้วยตนเองทุกครั้ง หลวงปู่ช่อได้มอบตำราให้หลวงพ่อเณรศึกษาและถ้าสงสัยให้ถามเป็นคราวๆไป เพื่อเป็นการสอนและสอบทฤษฎีไปในตัว เพราะวิชาการเรียนเกราะเพชรนั้นไม่ง่ายกว่าที่เราคิด ต้องมีการเรียนรู้การตั้งธาตุ เดินธาตุ เป่ายันต์ลงในสสารต่างๆ (โลหะ ของเหลว อากาศ) ฯลฯ สอบการเป่ายันต์เกราะเพชร เข้าพรรษา พ.ศ.2534 หลวงปู่ช่อได้มาจำพรรษาและครอบครูที่ วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) และทำการสอบเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นครั้งสุดท้าย กำหนดขั้นตอนการสอบวิชาเป่ายันต์เกราะเพชร หลวงปู่ช่อได้จัดพิธีครอบครูมอบตำราให้ให้แก่หลวงพ่อเณรอย่างถูกต้องเป็นทาง การ จากนั้นนำไปยังสถานที่สอบคือภายในอุโบสถ วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) สำหรับการสอบนั้นหลวงปู่ช่อนำเอากระดาษสาใส่กรอบไม้มาวางไว้ แล้วกลับมานั่งโดยห่างจากกระดาษสาประมาณ 20 เมตร หลวงปู่ช่อ รวบรวมสมาธิบริกรรมพระคาถาและเป่าไปที่กระดาษ ปรากฏว่ากระดาษสาเป็นรูโหว่ซึ่งเดิมไม่มีร่องรอยการขาดใดๆ นี่เป็นข้อทดสอบที่ต้องทำและต้องผ่านให้ได้ มีกำหนดเวลา 3 เดือนช่วงเข้าพรรษาเท่านั้นถ้าเกินถือว่าขาดคุณสมบัติไม่สามารถเรียนจบได้ ช่วงเข้าพรรษาหลวงพ่อเณรได้ฝึกเป่ายันต์ตลอดครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่เป็นผล ไม่ว่าจะทำอย่างไร รวบรวมสมาธิขนาดไหน ก็ไม่เป็นผล กระดาษสาไม่เป็นรู จนวันสุดท้ายของกำหนดการสอบ เมื่อสอบถามหลวงพ่อเณรว่าแล้วทำไมถึงเรียนสำเร็จ หลวงพ่อเณรท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า "แรมค่ำเดือน 11 ตรงกับวันตักบาตรเทโว เป็นวันสุดท้ายแล้ว เราหมดกำลังใจ ท้อถอย เบื่อหน่าย เพราะเป่าจนคอแห้งก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ได้แต่พร่ำบอกหลวงพ่อช่อว่า ไม่เอาแล้ว ขอเรียนวิชาอื่นดีกว่า เช่น วิชาทำตะกรุด น้ำมัน น้ำมนต์ วิชาเป่ายันต์เกราะเพชรมันยากแท้" หลวงพ่อเณรจึงยกกระดานเก็บแต่หลวงปู่ช่อเอ่ยบอกว่า "เอาน่าลองอีกครั้งหนึ่งจะเป็นไรกัน เอ้าลองดูสิ" จึงนำกระดานกระดาษสามาวางที่เดิมและกลับมานั่ง "ในใจจิตมันปล่อยวางไม่กดดัน เพราะไม่ได้หวังอะไรอีกแล้ว" หลวงพ่อเณรนั่งบริกรรมพระคาถาทำจิตให้ว่างปล่อยวาง จากนั้นเป่าลมออกไป ปรากฏว่านอกจากกระดาษสาทะลุเป็นรูแล้วยังปลิวกระเด็นไปปิดประตูด้วย จนหลวงปู่ช่อท่านยังหัวเราะและกล่าวขั้นว่า "แหม! แรงกว่ากูอีกนะ"
[ ราคา ] ฿9
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านเจ้าพระยาพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07


วัตถุมงคล: เครื่องราง - ของขลัง
หลวงปู่เจียม อติสโย วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว) ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
เสือมหาอำนาจ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี  รุ่น2 กะไหล่ทอง
เหรียญชีวกโกมารภัตแพทย์ ปี 2519 เนื้อทองแดงรมดำ
ปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นมหาโชคลาภ เนื้อทองเหลือง  ปี 35 พิมพ์กรรมการ นิยม
หลวงพ่อขวัญ ปวโร  วัดบ้านไร่ จ. พิจิตร เจ้าตำรับแหวนตะกร้ออันลือลั่น
หลวงพ่อเทียม วัดลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ลูกกลองใบลาน หลวงพ่อบุญเทียม วัดลาดหลุมแก้ว ทาทองบอนซ์
พระขรรค์โสฬส สุดยอดของขลัง ของกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์
ลูกอมหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เนื้อผงพุทธคุณ เม็ดใหญ่จัมโบ้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : ไหม 5 สี หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
ผ้ายันต์หลวงพ่อกาหลง วัดเขาแหลม ปี 2513
แหวนพิรอดหลวงพ่อสาย วัดท้องคุ้ง  จ. อ่างทอง

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด