หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 74 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2567

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง
17-03-2559 เข้าชม : 1660 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง
[ รายละเอียด ] เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง เหรียญรุ่นแรกพิมพ์นี้มีด้วยกัน 2 บล็อก บล็อกนี้เขาเรียกว่าบล็อก ประคำ 7 เม็ด เนื่องจากนับลูกประคำได้ข้างละ 7 เม็ด ส่วนอีกบล็อกหนึ่งหรือบล็อกนิยมสุด เรียกบล็อก ประคำ 6 เม็ด เนื่องจากนับลูกประคำได้ข้างละ 6 เม็ด

หลวงปู่โทน กันตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ) ศิษย์เอกสำเร็จลุน เทพเจ้าแห่งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง วัดบูรพา ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
โดย สุรสีห์ ภูไท นิตยสารโลกทิพย์ พ.ศ. 2529
โพสท์ในเวบ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน โดย คนชอบพระ เมื่อ: 26 ธันวาคม 2554
ภายหลังจากที่ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้มรณภาพลงไปแล้ว เสมือนขาดร่มโพธิ์ร่มไทรที่มีใบหนาปกคลุมให้ร่มเย็นไปอีกต้นหนึ่ง
ดังนั้น ศิษยานุศิษย์และประชาชนพุทธบริษัทต่างก็แสวงหาร่มโพธิ์ร่มไทรต้นใหม่ เพื่อที่จะได้เข้าไปอาศัยร่มเงาให้มีความสุขกายสบายใจเหมือนเช่นที่เคยได้รับมาก่อน
จนกระทั่งได้มีชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น หันไปกราบนมัสการพระอาจารย์ผู้เฒ่าท่านหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนหน้านั้นไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก
     เพราะเข้าใจกันเองว่าท่านคงจะเป็นหลวงพ่อหลวงตาธรรมดา เนื่องจากท่านอยู่อย่างสมถะที่วัดบูรพา บ้านสะพือ อย่างเงียบๆ
     แต่ในที่สุดข้อเท็จจริงก็ได้ปรากฏให้เห็น เมื่อชาวบ้านต่างก็พูดถึงท่านอยู่บ่อยๆ ในการปฏิบัติธรรมของท่าน และมีผู้ไปกราบนมัสการท่านมากขึ้นผิดปกติ
     ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้ดั้นด้นไปสืบเสาะและแสวงหาข้อเท็จจริงว่า พระอาจารย์ที่ชาวบ้านเล่าลือและกล่าวขานถึงอยู่เสมอนั้น ท่านเป็นใคร? และมีปฏิปทาสมดังที่ชาวบ้านเขาเล่าลือจริงหรือไม่
     ในที่สุดผู้เขียนก็ได้พบกับพระอาจารย์ผู้เฒ่าผู้มีปฏิปทาสูงล้น และเป็นพระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูง เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมจริงๆ ท่านคือ
หลวงปู่โทน กนฺตสีโล
ชาติกำเนิด
     หลวงปู่โทน นามเดิมชื่อ โทน นามสกุล หิมคุณ เกิดเมื่อเดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันจันทร์ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
ท่านมีพี่น้องด้วยกันเพียง ๒ คนเท่านั้น ท่านเป็นคนโต เกิดที่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ถึงแม้อายุของท่านจะมากถึง ๘๙ ปีแล้วก็ตาม แต่ความจำต่างๆ ท่านยังจำได้แม่นยำ ซึ่งหาได้ยากยิ่งที่สุดที่ผู้มีอายุมากถึงเพียงนี้จะมีความจำเป็นเลิศเช่นนี้
ภูมิหลังครั้งเด็ก
หลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาเล่าให้ฟังถึงในสมัยเป็นเด็กของท่านว่า
“อาตมาเป็นคนโต บิดาจึงตั้งชื่อให้ว่า โทน ซึ่งที่แรกท่านคงคิดว่าจะมีลูกคนเดียว แต่ต่อมาก็ได้น้องเกิดขึ้นมาอีกคน”
“สมัยหลวงปู่เป็นเด็ก ได้เรียนหนังสือที่ไหนครับ”
“ในสมัยนั้นไม่ได้เข้าโรงเรียนหรอก เพราะอยู่บ้านนอกที่ห่างไกลความเจริญมาก วันๆ ก็เลี้ยงควาย ทำนา และหาปูหาปลามารับประทานกันตามมีตามเกิด เพราะย่านนั้นมีแต่ความแห้งแล้งเป็นประจำ มีแต่ป่าแต่เขา
ถ้าจะเรียนรู้ การอ่าน การเขียนหนังสือ ก็ต้องอาศัยพระเณรที่วัดใกล้บ้านนั่นแหละเป็นผู้สอนให้”
“หลวงปู่บวชมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ”
“บวชมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปีโน่นแล้วบวชเป็นเณรที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง ไม่ได้ไปบวชที่ไหนหรอก บวชตามประสาบ้านนอก ผ้าสบงจีวรก็ขอเอากับพระในวัด ไม่ได้ซื้อ และท่านก็ให้มาชุดเดียวเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าวตอบอย่างซื่อๆ
ได้เรียนรู้เมื่อบวช
หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยให้ฟังต่อไปอีกว่า
“ในสมัยนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกหลานของตนได้เข้าบวชเรียนเขียนอ่านกันในวัด เพราะจะได้ร่ำเรียนมีวิชาความรู้ ซึ่งเมื่อสึกออกมาก็จะเป็นผู้ครองเรือนที่ประกอบด้วยศีลธรรม
แต่ถ้าไม่สึกหาลาเพศก็จะยิ่งดีใหญ่ เพราะพ่อแม่จะได้ชื่นชมว่าลูกตนมีบุญมีวาสนาได้ห่มผ้าเหลือง เป็นศิษย์ตถาคต พลอยให้พ่อแม่ได้พ้นจากนรกไปด้วย เพราะลูกฉุดดึงขึ้นไปตามความเชื่อถือกันมาแต่โบราณ”
“หลวงปู่บวชที่วัดไหนครับ”
“บวชอยู่ที่วัดบูรพา บ้านสะพือนี่แหละ บวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ อายุได้ ๑๕ ปีพอดี”
“หลวงปู่ได้ศึกษากับใครครับ”
“บวชแล้วก็ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ในเบื้องต้น คือท่านสอนหนังสือที่จารอยู่ในใบลาน ซึ่งเป็นตัวธรรมทั้งนั้น เริ่มเรียนเป็นคำๆ ไป จนท่องขึ้นใจ
บางที่ใช้ความจำด้วยตาว่าตัวไหนเป็นตัวอะไร มันหงิกๆ งอๆ อย่างไร ก็จำกันเอาไว้ให้ดี แต่จำได้เพียงตัวที่ท่านสอนนะ ตัวอื่นถ้าไม่สอน ก็ยังอ่านไม่ออกเหมือนกัน” หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดี
จากวันเป็นเดือน การเรียนหนังสือธรรมที่อยู่ตามใบลานก็ค่อยๆ ผ่านสายตาของหลวงปู่โทนเป็นลำดับ เพราะท่านกล่าวว่าท่านเรียนเอาความรู้ให้ได้จริงๆ มิได้หวังเอายศถาบรรดาศักดิ์ หรือหวังเอาชั้นอะไรทั้งนั้น
ในสมัยบวชเป็นสามเณร หลวงปู่โทนท่านมีความขยันขันแข็ง ในการศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ มาก เพราะที่วัดมีตู้หนังสือเก่าอยู่หลายตู้ ในแต่ละตู้ก็ล้วนแต่เป็นพระคัมภีร์และชาดกต่างๆ ซึ่งบางผูกบางกัณฑ์ก็กล่าวถึงพระเวสสันดร พระสุวรรณสาม พระเจ้าสิบชาติเป็นต้น
“การเรียนรู้ทำให้หูตาสว่าง มีปัญญาทันคน ไม่หลงงมงาย” หลวงปู่โทนท่านกล่าว
จากสามเณรเป็นภิกษุ
     หลวงปู่โทน หรือ ท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ ได้เล่าให้ฟังถึงอดีตที่ผ่านมาของท่านต่อไปว่า
เมื่อเห็นว่าการบวช คือการชำระจิตใจให้หมดจดในกองกิเลสทั้งปวง ทำให้มีจิตใจใฝ่ฝันที่จะไขว่คว้าหาวิชาความรู้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
อาตมาจึงได้บวชพระกับหลวงปู่สีดา หรือ ท่านพระครูพุทธธรรมวงศาในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง
หลวงปู่สีดา ที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงนี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น เป็นพระนักปฏิบัติที่มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมายทั้งฝั่งลาวและฝั่งไทย
ชื่อเสียงของหลวงปู่สีดาเป็นที่เลื่องลือไปว่า ท่านมีความสามารถทุกอย่าง ไม่ว่าในทางปฏิบัติและในทางไสยเวท ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ใครๆ ก็นำบุตรหลานมาบวชกับท่านมิได้ขาด
สำหรับหลวงปู่โทนนั้น ท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งอายุครบบวช ท่านก็อุปสมบทต่อไปเลย โดยไม่ได้สึกออกมาผจญกับทางโลกแม้แต่น้อย
กับ ๒ พระอาจาย์
“เมื่อบวชพระแล้ว หลวงปู่ไปที่ไหนบ้างครับ”
“อาตมาบวชได้หนึ่งพรรษา ก็ได้ไปศึกษาอยู่กับ หลวงปู่แพง ที่วัดสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล ศึกษาอยู่กับท่านระยะหนึ่ง จึงได้ไปศึกษากับ อาจารย์ตู๋ วัดขุลุ ซึ่งทั้งสองพระอาจารย์นี้ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก เป็นพระนักปฏิบัติเคร่ง”
หลวงปู่โทน ท่านกล่าวถึงในสมัยที่ไปศึกษาวิชาต่างๆ กับสองพระอาจารย์ว่า
ไม่ว่า หลวงปู่แพง หรือ อาจารย์ตู๋ ล้วนแล้วแต่เป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิพร้อมสรรพ
ท่านทั้งสองมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงปู่สีดา ผู้เป็นพระอุปัชฌย์ของหลวงปู่โทน แต่ละท่านก็ได้ไปศึกษาหาความรู้กันจากฝั่งลาวมาก่อนทั้งนั้น
สมัยนั้นการข้ามไปข้ามมายังฝั่งลาวมีความสะดวกสบายอย่างยิ่ง เพียงนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงก็ถึงกันแล้ว
ใครที่อยากจะไปยังฝั่งเขมรเพื่อศึกษากับพระอาจารย์ทางฝั่งเขมรก็ไปกันได้เช่นกัน ไม่มีใครมาห้าม แต่ส่วนมากพระอาจารย์ทางเขมรก็ชอบออกเดินธุดงค์มายังฝั่งไทยเสมอ จึงได้เจอกันอยู่บ่อยๆ
เมื่อเจอกันแล้วก็ได้ขอศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะทางด้านปฏิบัติ ใครติดขัดอะไรก็สอบถามกันไป
ท่านคือตัวแทน...
หลวงปู่โทน กนฺตสีโล พระอาจารย์ผู้เพิ่งจะค้นพบนี้ ท่านเล่าว่า เมื่อก่อนนี้ท่านอยู่อย่างสงบ ไม่มีใครมารบกวน เพราะอยู่วัดบ้านนอก ไม่มีความเจริญเท่าใดนัก
แต่ในปัจจุบันนี้ผิดไปมากทีเดียว เนื่องจากเมื่อสิ้นหลวงปู่คำคะนิง แล้ว ญาติโยมได้หันมาหาท่าน
ศิษย์สำเร็จลุน
ผู้เขียนได้กราบเรียนถามท่านถึงเรื่อง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และสำเร็จลุน พระอาจารย์ผู้ล่องหนย่นระยะทางได้ว่า ท่านได้เคยพบปะ หรือศึกษาธรรมอะไรกับท่านทั้งสองมาบ้าง ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้มีเมตตาเล่าให้ฟังว่า
“หลวงปู่สำเร็จลุนนั้น เป็นพระอาจารย์ของอาตมาเอง เคยได้ไปอยู่ปรนนิบัติและศึกษาธรรมกับท่านมาแล้วที่วัดบ้านเวินไซ ในนครจำปาศักดิ์ฝั่งประเทศลาว
ท่านสำเร็จลุนเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมสูง มีเมตตตาจิต โอบอ้อมอารีต่อพระเณรผู้เป็นลูกศิษย์เสมือนพ่อปกครองลูก
ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนจะย่อแผ่นดิน (ย่นระยะทาง) อยู่เสมอ”
หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยต่อไปว่า ความจริงแล้วท่านได้มีโอกาสไปปรนนิบัติหลวงปู่สำเร็จลุนตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณรโน่นแล้ว
เมื่อท่านสำเร็จลุนว่างจากการปฏิบัติ ท่านก็จะเรียกไปบีบแข้งบีบขาให้ท่านอยู่เสมอ พร้อมกันนั้น ท่านก็จะกล่าวอบรมสั่งสอนธรรมะและข้อปฏิบัติให้นำไปปฏิบัติเป็นกิจวัตร
“สำเร็จลุนท่านสอนทางด้านวิชาอาคมอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ” ผู้เขียนเรียนถามท่าน ซึ่งท่านก็กล่าวตอบว่า
“ก็มีอยู่บ้าง เพราะท่านเก่งทางวิทยาคมเป็นเลิศอยู่แล้ว ไม่ว่าวิชาไหนท่านรู้หมด จะเรียนวิชาอะไร ก็เรียนได้ ถ้ามีความขยันในการเรียน โดยท่านจะสอนให้กับทุกคน ไม่ปิดบังอย่างใดทั้งสิ้น”
“หลวงปู่ได้วิชาอะไรจากสำเร็จลุนบ้างครับ”
“วิชาหรือ ก็ได้ในแนวทางปฏิบัตินี่แหละ ถ้าเราปฏิบัติดี มีศีลธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรมความดี อย่าให้บกพร่อง ของดีก็อยู่กับเรา” หลวงปู่ท่านกล่าว
เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
ความจริงแล้ว หลวงปู่โทน ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากสำเร็จลุนมามาก แต่ท่านไม่ยอมเปิดเผยให้ฟังโดยละเอียด เพราะท่านกล่าวว่า จะเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรม จะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านเสีย เพราะท่านไม่เคยโอ้อวดใคร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนักปฏิบัติอย่างท่านนั้น เมื่อมีใครไต่ถามอย่างไร ท่านก็จะตอบอย่างนั้น ตอบอย่างสั้นๆ ไม่นอกเรื่องและไม่พูดมาก ซึ่งผู้ที่ไม่รู้ความจริงก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าท่านถือตัวหรือหยิ่ง พบยาก อะไรทำนองนี้
แต่ความจริงแล้ว พระนักปฏิบัติอย่างหลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงมาก เป็นผู้ให้ตลอด ไม่เคยเรียกร้องเอาอะไรจากใคร
เมื่อถามถึงเรื่องสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนของท่าน ท่านมักจะกล่าวว่า
“อย่าไปพูดถึงเลย เพราะจะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านตำหนิเอา”
คำพูดของหลวงปู่ทุกคำ ท่านจะกล่าวยกย่องครูบาอาจารย์ของท่านอยู่ตลอดเวลา และท่านมีความเคารพในครูบาอาจารย์อยู่เสมอ
พบหลวงปู่มั่น
หลวงปู่โทน ท่านเล่าว่า สำหรับ หลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้พบกันในระหว่างออกเดินธุดงค์ป่าแห่งหนึ่ง เขตตระการพืชผล
“หลวงปู่มั่นท่านสอนธรรมะอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ”
“ไม่ได้สอนอะไรให้ เพราะต่างคนก็ต่างออกไปหาความสงบกันในป่า และไปคนละสาย คือไปคนละทางกัน แต่ก็ได้อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านมาร่วมเดือนในป่าแห่งหนึ่ง”
หลวงปู่โทน ท่านเล่าถึงเมื่อคราวที่ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านก็มีความเคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่มั่นเช่นกัน โดยท่านกล่าวว่า
“ถึงแม้อาตมาไม่ได้ติดสอยห้อยตามหลวงปู่มั่นมาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้มาพบกับท่านก็มีความนับถือท่าน เพราะท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่ถือเคร่งมาก”
หลวงปู่โทนเล่าว่า หลวงปู่มั่นเคยสอบถามท่านถึงเรื่องการปฏิบัติอยู่เสมอ และบางครั้งท่านก็ได้ชี้แนะแนวทางให้ด้วย
แต่เมื่อติดขัดจริงๆ ก็ให้ไปเรียนถามสำเร็จลุน ซึ่งหลวงปู่มั่นมีความเคารพนับถือท่านอยู่มาก
ล้วนเป็นศิษย์อาจารย์ดัง
หลวงปู่โทนเล่าว่า ความจริงแล้วก่อนที่ท่านจะเข้ามาบวชเป็นสามเณรนั้น ท่านได้เรียนวิชามูลกัจจายน์กับ พระอาจารย์หนู ที่วัดบ้านเกิดของท่านมาก่อนจนกระทั่งเรียนจบ เพาะในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน ใครอยากจะเรียนก็ไปเรียนกับพระที่วัด
“อาตมาเป็นเด็กวัดไปด้วย เรียนไปด้วย จนได้วิชามูล แต่ไม่มีชั้นอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่มี ป.๑ ป.๒ ป.๓ อะไรทำนองนี้”
ส่วนครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่โทนได้ไปศึกษาอยู่ด้วยนั้น ท่านเล่าว่ามีอยู่มากมาย เช่นอาจารย์ตู๋ วัดบ้านขุลุ อาจารย์แพง วัดสิงหาญ สำเร็จตัน และหลวงปู่สีดา เป็นต้น
ธุดงค์ไปภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น)
หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยนั้นท่านจะออกเดินธุดงค์อยู่ตลอดเวลาไม่อยู่เป็นที่ เพราะครูบาอาจารย์ท่านอบรมสั่งสอยมาอย่างนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามท่านสอน ต่อมาท่านได้ธุดงค์ไปถึงภูโล้น ได้พบกับหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้อยู่ปฏิบัติธรรมได้นานถึงหนึ่งเดือน
ภูโล้นอยู่ในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่ (ที่ถูกคือ อ.ศรีเมืองใหม่) เป็นภูเขาที่มีสัตว์ป่ามากเป็นพิเศษ เช่น ช้าง เสือ หมี งูเห่า และกระต่าย เป็นต้น
ในสมัยนั้น อาตมาบวชพระได้ ๘ พรรษาเท่านั้น จึงคิดแสวงหาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์เอาไว้ เพราะมีครูบาอาจารย์มากในเขตจังหวัดอุบลฯ ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินของนักปราชญ์โดยแท้
ระหว่างที่อยู่ปฏิบีติธรรมที่ภูโล้นนั้น หลวงปู่โทนเล่าว่าได้ผจญกับความลำบากทุกอย่าง แต่ก็ต้องอดทน ซึ่งบางครั้งท่านเล่าว่าต้องฉันข้าวเหนียวคลุกกับปลาร้า ฉันก็ฉันเพียงมื้อเดียวเท่านั้น
แลกเปลี่ยนวิชากัน
หลวงปู่โทนเล่าต่อไปว่า สำหรับ สำเร็จตันนั้น ท่านแก่กว่า แต่ก็ยังถือว่าเป็นรุ่นเดียวกัน
“อาตมาเคยสอนวิชาสนธิให้ท่านหนึ่งพรรษา ส่วนท่านก็สอนวิชาของท่านให้เช่นกัน เพราะใครมีวิชาอะไรดี ก็แนะนำกันไป เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน” หลวงปู่โทนกล่าว
ความผูกพันระหว่างหลวงปู่โทน และสำเร็จตันนั้น (น่าจะหมายถึงหลวงปู่มั่น) หลวงปู่โทนกล่าวว่า เป็นความผูกพันที่ลึกซึ้งอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากในสมัยที่ท่านออกเดินธุดงค์ไปพบกันที่ภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น) ในเขตอำเภอโขงเจียม และอำเภอศรีเชียงใหม่ (ที่ถูกคือ อ.ศรีเมืองใหม่) นั้น ท่านเล่าว่า
“อาตมานั่งภาวนาห่างจากหลวงปู่มั่นเพียง ๕๐ เมตร เวลามีสัตว์ป่ามาก็รู้กัน และการขบฉันก็ฉันข้าวโพดในเวลาหิวในตอนเช้าเหมือนกัน
ส่วนการถือว่าท่านสายนั้นสายนี้ ไม่เคยถือว่าเป็นสายอะไรทั้งสิ้น เพราะถือว่าท่านเป็นพระปฏิบัติเช่นเดียวกัน
หลวงปู่โทนท่านให้ข้อคิดในการปฏิบัติธรรมว่า “เราได้เข้าไปสู่ถนนสายนี้แล้ว เป็นถนนที่ฆ่ากิเลสตายแล้ว และไม่มีความดีใจเสียใจอะไร แม้จะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม”
ต้องอดทนและอดกลั้น
หลวงปู่โทน ท่านได้เล่าถึงชีวิตของการออกเดินธุดงค์ของท่านในช่วงหนึ่งว่า ไม่ว่าจะเป็นการขบฉัน หรือการปฏิบัติ จะต้องมีขันติ คือความอดทนให้มากที่สุด เพราะในป่าบางแห่งไม่ได้ฉันน้ำเลยเป็นเวลาถึง ๙ วันก็ยังมี
เคยออกเดินธุดงค์ไปด้วยกัน ครั้งหนึ่งถึง ๑๑ รูป บางรูปฉันเอกา (ฉันมื้อเดียว) ได้เพียง ๙ วันก็อดทนไม่ได้ ต้องขอกลับออกมาก่อน บางรูปก็อดทนได้ ๑๕ วันก็ทนไม่ไหว ก็ขอกลับ เพราะทนต่อความลำบากไม่ไหว
บางครั้งได้ฉันแต่น้ำถึง ๔ วันก็ยังเคยมี เพราะไม่พบหมู่บ้านของชาวบ้านเลย แต่ถ้าพบเขาก็จะถวายข้าวโพด ให้พอประทังความหิวไปวันๆ เท่านั้น
หลวงปู่โทนเล่าว่า สำเร็จลุน ท่านได้เทศนาสั่งสอนอยู่เสมอถึงเรื่องการมีขันติ คือความอดทน อดกลั้นไม่ให้ติดในลาภ ให้มุ่งสู่ป่า เพื่อไปฆ่ากิเลสอันหมักหมมอยู่ในตัวส่วนการปฏิบัติธรรมนั้น ท่านให้ยึดคำภาวนาว่า “พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต” เพราะเป็นเครื่องหมายของการสำรวมให้มีความสงบอยู่ภายใน
“ท่านให้ยึดจิตตัวเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็อย่าให้ทิ้ง พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต”
มหาเสน่ห์สำเร็จลุน
หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยที่ปรนนิบัติท่านสำเร็จลุนที่เมืองเวินไซ นครจำปาศักดิ์นั้น ท่านให้ท่องจำพระคาถาอยู่บทหนึ่ง ซึ่งเป็นพระคาถาสั้นๆ ว่า
“พุทธจิตใจ ธัมมจิตใจ สังฆจิตใจ พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต”
เมื่อท่องได้แล้วได้ไปกราบเรียนถามท่านว่าเป็นพระคาถาอะไร และใช้ในทางไหน ซึ่งสำเร็จลุนก็ตอบว่าเป็นคาถามหาเสน่ห์ มีประโยชน์มาก ควรรักษาไว้ให้ดี
สำหรับวิธีใช้นั้นใช้เสกใส่สีผึ้งเป็นเมตตามหาเสน่ห์ จึงได้เรียนเอาไว้ และเมื่อนำเอามาใช่ในปัจจุบันก็ได้ผลดี แต่ต้องใช้ในทางดี ไม่ใช่ใช้เพื่อทำลายผู้หญิง
หลวงปู่ท่านเล่าว่า มีอยู่รายหนึ่งชื่อประยงค์ ทำงานอยู่ กรป. อุบลฯ ใช้สีผึ้งไปทาไม่เลือกหน้า และทาผู้หญิง จนผู้หญิงด่าคำหยาบคายที่ถูกลวนลาม แต่ในที่สุดกลับมาชอบ และไปใช้ไม่เลือกจนมีโทษแก่ตัวเองในที่สุด
หลวงปู่ท่านกล่าวว่า “ขอร้องให้ใช้ในด้านเมตตาก็พอแล้ว ถ้ามั่นใจว่าชอบกันจริง ถ้าหากพร้อมทุกอย่างจึงทา
เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่มีเสน่ห์อยู่ในตัวอยู่แล้ว ถ้าไม่รับเลี้ยงจะเป็นบาปเป็นกรรมมากกว่าจะได้ประโยชน์”
หลวงปู่โทน ท่านกล่าวว่า ส่วนมากท่านจะให้สีผึ้งของท่านแก่ผู้ที่ควรให้เท่านั้น โดยเฉพาะหมอลำทางภาคอีสานนั้นไปขอกับท่านเป็นจำนวนมาก และผู้ที่มีอาชีพ ซึ่งต้องติดต่อธุรกิจกับผู้อื่น เช่นค้าขายเป็นต้น
     “ความมีเสน่ห์ของคนไม่ได้อยู่ที่ใบหน้าเท่านั้น ต้องงามด้วยกิริยาวาจาด้วย จึงจะเรียกว่างามพร้อมสรรพ คือ มีบุคลิกอ่อนหวาน มีวาจาไพเราะเป็นต้น”
กลับคืนวัดบ้านเกิด
     หลวงปู่โทนเล่าว่าหลังจากออกเดินธุดงค์เพื่อหาความวิเวกจากป่าเขาลำเนาไพรต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลฯ แล้ว ก็ได้เดินทางกลับมายังวัดบูรพา บ้านสะพือ เพื่อมาเข้าพรรษาตามปกติ ซึ่งไม่ว่าจะเดินธุดงค์ไปแห่งหนตำบลใด ก็จะกลับมาเข้าพรรษาที่วัดบ้านเกิดของท่านเสมอ
     เมื่อกลับจากการเดินธุดงค์แล้ว หลวงปู่โทนท่านได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ด้วยการศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติม
“อาตมาต้องแยกเวลาเรียนคือเวลาหนึ่งทุ่มไปเรียนธรรมบท ส่วนกลางวันก็เรียนนักธรรม ต้องเรียนควบคู่กันไป อาตมาเรียนได้แค่ ป.๓ เท่านั้น เพราะสมัยนั้นมีแค่ ป.๓ ก็ว่าสูงสุดแล้ว เรียกว่าเป็นครูสอนได้แล้ว” หลวงปู่ท่านกล่าว
การศึกษาของหลวงปู่โทนนั้น ท่านเล่าว่าต้องศึกษาด้วยการท่องจำทั้งหมด มิใช่อ่านผ่านไปเฉยๆ ฉะนั้นเมื่อท่านศึกษาวิชาอะไร ท่านจึงมีวิชาอย่างมั่นคงและใช้วิชาที่ได้ศึกษามาอย่างได้ผล
     “เมื่อศึกษาจบ เขาก็เอามาเป็นครูสอน โดยหลวงปู่สีดาผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งเงินเดือนให้เดือนละ ๑๐ บาทเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว
เสี่ยงทายได้พระโทน
     ในสมัยที่หลวงปู่โทนบวชพระได้หนึ่งพรรษานั้น ท่านเล่าว่าได้รับนิมนต์ไปประกอบศาสนกิจ ณ พระอุโบสถวัดป่าใหญ่ร่วมกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่รวมทั้งหมด ๑๓ รูป โดยหลวงปู่โทนท่านนั่งเป็นองค์สุดท้าย
     ระหว่างนั้นได้มีพระสุราษฎร์ภักดี รองเจ้าเมืองอุบลฯ ในสมัยนั้นได้มาทำบุญถวายเครื่องสังฆทาน ซึ่งเป็นอัฐบริขารกองใหญ่และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า
     “ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบุตรธิดาได้นำเครื่องสังฆทานอันสมบูรณ์และบริบูรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้วิเศษ ถ้าหากข้าพเจ้าจะมียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้น ก็ขอให้ถูกพระภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยปฏิปทาและจริยวัตรอันงดงาม และเจริญด้วยธรรมเทอญ”
     พออธิษฐานเสร็จพระสุราษฎร์ภักดีก็ได้ทำสลากให้พระคุณเจ้าทั้ง ๑๓ รูปจับเพื่อเป็นการเสี่ยงทาย คือให้จับสลากได้ใบเดียว ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดได้ก็จะถวายให้พระรูปนั้น
พระภิกษุที่ไปร่วมพิธีในวันนั้นล้วนแต่มีพรรษามากตั้งแต่ ๔๐ พรรษาลงมาจนถึง ๑ พรรษา
     ปรากฏว่าผู้ที่จับสลากเครื่องสังฆทานจากพระสุราษฎร์ภักดีได้ คือ พระภิกษุโทน ผู้มีเพียงหนึ่งพรรษาและนั่งอยู่ปลายแถวสุดนั่นเอง
     ทำให้พระสุราษฎร์ภักดีมีสีหน้าเปลี่ยนไปเล็กน้อย และได้รับการปลอบใจจากภรรยาซึ่งเป็นคนจีนทางภาคกลาง แต่มาอยู่เมืองอุบลฯ นาน ภรรยาของพระสุราษฎร์ภักดีได้มาปลอบขวัญว่า
     “ไม่เป็นไรหรอก คุณพระ ม่ต้องเสียใจเพราะเรามีเจตนาดีแล้ว เพราะพระองค์นี้จะเป็นผู้รักษาศาสนาให้เจริญสืบต่อไป”
     คุณพระจึงได้หันไปถามพระโทนว่า
“อยู่ไหน”
     พระโทนก็ตอบไปว่า “อยู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล”
     คุณพระได้ถามต่อไปว่า “มาเรียนอะไร”
พระโทนก็เจริญพรว่า “มาเรียนมูลกัจจายน์ ซึ่งขณะนี้ได้เรียนจบแล้ว กำลังเรียน ป.๓ และนักธรรมอยู่”
เลื่อนชั้นทันตาเห็น
     ในปีต่อมาปรากฏว่า พระสุราษฎร์ภักดีก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น “พระยาปทุมเทพภักดี” ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว
     และจากมูลเหตุดังกล่าวนั้นเอง ทำให้พระสุราษฎร์ภักดีบังเกิดความเคารพศรัทธาในพระโทน ถึงกับอุทานว่า
     “ไม่คิดเลยว่าการได้ทำบุญกุศลกับท่านจะได้รับอานิสงส์ถึงเพียงนี้”
     พูดจบได้ถวายเงินให้พระโทนไป ๕ บาท พร้อมกับกล่าวขอโทษกับท่านที่ได้เข้าใจผิด ซึ่งหลวงปู่ก็ไม่ติดใจอะไร เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ย่อมมีเมตตาธรรมอยู่แล้ว
“คนเราอยู่ที่วาสนาบารมีที่ได้กระทำมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการสร้างความดีย่อมได้ผลแห่งความดีเป็นเครื่องตอบแทน เพราะชีวิตเหมือนความฝัน สิ่งสำคัญคือความดี” หลวงปู่ท่านกล่าว
ตั้งเป็นเจ้าอาวาส
     ขณะที่หลวงปู่โทนท่านมีอายุพรรษาได้ ๘ พรรษานั้น ได้มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ออกตรวจตราความเป็นปึกแผ่นของพระพุทธศาสนา และท่านได้ไปเห็นสภาพของวัดบูรพาซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ แต่ขาดผู้บริหาร คือไม่มีเจ้าอาวาสรักษาการอยู่ท่านจึงได้ให้หลวงปู่โทนมาเป็นเจ้าอาวาส
     “สมเด็จอ้วนท่านจับให้เป็นเจ้าอาวาสเลย ท่านประทับตราแต่งตั้งให้ไม่ให้ไปไหน ให้อยู่บูรณะวัดเก่าคือวัดบูรพาแห่งนี้ต่อไป”
     วัดบูรพา เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บริเวณวัดในปัจจุบันประมาณ ๘ ไร่เศษ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านสะพือ มีชาวบ้านประมาณ ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน
สันนิษฐานว่าตั้งทีหลังวัดสิงหาญ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสะพือ เพราะหมู่บ้านแห่งนี้มีอยู่ ๒ วัด เป็นวัดเก่าแก่ทั้งคู่ ซึ่งเชื่อว่าสร้างมาพร้อมกับหมู่บ้านอย่างแน่นอน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดลงไปให้กระจ่างแจ้ง
สำเร็จลุนมรณภาพ
     หลวงปู่โทนได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบูรพา บ้านสะพือ เป็นองค์ที่ ๒๐ ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จลุน เทพเจ้าของชาวไทย-ลาว พระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูงเป็นที่ยอมรับนับถือของหมู่ศิษย์ว่า ท่านมีวิชาตัวเบา และมีความสามารถพิเศษเหาะเหินเดินอากาศได้ พร้อมทั้งย่นระยะทางได้ด้วย ท่านได้ถึงแก่กาลมรณภาพลงที่เวินไซ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
     การมรณภาพของสำเร็จลุนยังความเศร้าโศกเสียใจแก่หมู่ศิษยานุศิษย์ และประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเป็นอย่างยิ่ง
ศิษย์ร่วมอาจารย์
     หลวงปู่สำเร็จลุนท่านมีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของท่านคือ สำเร็จตัน หลวงปู่แพง วัดสิงหาญ พระอาจารย์ตู๋ วัดขุลุ หลวงปู่สีดา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน) หลวงปู่มั่น (แม่ทัพธรรมผู้มีศิษย์ทั่วประเทศ) และหลวงปู่โทน กนฺตสีโล
     เมื่อสำเร็จลุนท่านมรณภาพลง คณะศิษย์ของท่านดังกล่าวได้ร่วมกันทำการฌาปนกิจผู้เป็นอาจารย์ของตน ที่บ้านเวินไซ ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้ไปในงานของบรมครูของท่านด้วย
[ ราคา ] ฿700
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านKCM Shop/ร้านโขงชีมูล] เบอร์โทรศัพท์ : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ พิมพ์ประคำ 7 เม็ด
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดจานเขื่อง  ปี ๒๕๑๙ รุ่น 2 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญพระครูคัมภีรวุฒาจารย์(พระอาจารย์หนู) วัดทุ่งศรีวิไล ปี 18 เนื้อทองแดง จ.อุบลราชธานี
กริ่งพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี รุ่นเสาร์ห้า ปี ๒๕๓๙ มีโค๊ด

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด