หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 113 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2569

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





โขง ชี มูล
26-09-2553 เข้าชม : 5337 ครั้ง

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน

"อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

เป็นชุมชนเก่าแก่ที่สืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ได้รับการสถาปนาเป็น "เมือง" แห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อกว่า 200 ปีล่วงมาแล้ว ตัวเมืองอุบลราชธานีตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณที่ราบลุ่มใกล้กับจุดที่แม่น้ำชีไหลมารวมกับแม่น้ำมูล ก่อนที่จะไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง ที่อำเภอโขงเจียม ทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัด

ด้วยมีที่ตั้งอันเหมาะสม และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร มั่งคั่งด้วยมรดกทางอารยธรรม และมีวิถีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับสายน้ำอย่างลึกซึ้ง

ในปัจจุบัน แม้ว่าเมืองอุบลราชธานี จะได้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม การค้า และการท่องเที่ยวของภาคอีสานตอนล่าง แต่ภาพความงดงามของอารยธรรมชาวลุ่มแม่น้ำ ยังดำรงเอกลักษณ์อยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย สวนผัก สวนดอกไม้ของเกษตรกรชาวบ้านกุดเป่ง ยังคงอวดสีสันแห่งความอุดมสมบูรณ์อยู่ทุกๆ ฤดูกาล

ชาวบ้านช่างหม้อ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ยังคงผลิตงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาตามกรรมวิธีแบบดั้งเดิม พระอุโบสถศิลปรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่วัดสุปัฏนาราม ยังคงสง่างามอยู่ริมท่าน้ำ ซึ่งในอดีต คือชุมทางระบบคมนาคมสายหลักของเมือง ภาพการทำประมงแบบพื้นบ้าน รอยยิ้มและลีลาการกระโดดน้ำอันร่าเริงสดใสของเด็กๆ และวิถีชีวิตแบบชาวลุ่มแม่น้ำ ยังคงปรากฎอยู่ตลอดแนวสองฝั่งแม่น้ำมูล

เงาสะท้อนของเมืองอุบลราชธานีที่ปรากฏอยู่บนผืนน้ำ จากมุมมองของแม่น้ำมูลเหล่านี้ จะทำให้ภาพชุมชนเมืองแม่น้ำแห่งที่ราบสูงอีสานอันร่มรื่น สงบสุขและอิ่มเอิบด้วยศิลปวัฒนธรรมหวนคืนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

จารึกจิตรเสน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ชี มูล

          หลักฐานการแพร่กระจายของวัฒนธรรม เจนละ หรือ วัฒนธรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นจารึก ซึ่งจารึกที่พบในประเทศไทยนี้ มักมีข้อความสอดรับกันดี กับจารึกที่พบในประเทศกัมพูชา และจดหมายเหตุจีน สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อใดที่กษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ ขึ้นครองราชย์ที่ราชธานีของอาณาจักรขอมแล้ว ก็มักจะแผ่พระเดชานุภาพ เข้าไปในดินแดนใกล้เคียง รวมถึงประเทศไทยด้วย

          ซึ่งหลักฐานจากจารึกเหล่านี้ ทำให้เชื่อกันว่า ในช่วงเวลานั้น อาณาจักรเจนละ ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง เขตเมืองจำปาสักประเทศลาวปัจจุบัน มีเศรษฐปุระเป็นศูนย์กลาง ศาสนสถานหลักของชุมชนแห่งนี้คือ วัดพู กับดินแดนประเทศไทย น่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12

          พระเจ้าจิตรเสน หลักจากขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน เป็นกษัตริย์องค์สำคัญของเจนละ ที่เรืองอำนาจมากพระองค์หนึ่ง หลักฐานเกี่ยวกับอำนาจของพระองค์นั้น พบอยู่เป็นจำนวนมาก ในดินแดนภาคใต้ของประเทศลาว และบริเวณภาคเหนือ ชองประเทศกัมพูชาปัจจุบัน แต่ที่พบมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

          พระเจ้าจิตรเสน ทรงเป็นเจ้าชายที่มีความเชี่ยวชาญการศึกสงคราม จดหมายเหตุจีนสมัยราขวงศ์ซุย เมื่อประมาณ พ.ศ. 1132-1161 ได้บันทึกไว้ว่า "พระเจ้าจิตรเสนพระองค์นี้น่าจะได้เผชิญศึกสงคราม ควบคู่ไปกับพระเชษฐาของพระองค์ คือ พระเจ้าภววรมันที่ 1 เจ้าชายทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นนักรบ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ก่อตั้งอาณาจักรเจนละขี้น โดยยกกองทัพต่อต้านอาณาจักรฟูนันจนประสบชัยชนะ" ทุกครั้งที่พระเจ้าจิตรเสนได้รับชัยชนะ ก็จะสร้างศาสนานุสาวรีย์ พร้อมทั้งจารึก ประกาศพระราชประสงค์ที่สร้างรูปเคาพขึ้น เป็นการอุทิศถวายแด่พระศิวะเทพเจ้า โดยมีพระประสงค์ จะให้เป็นที่สักการะบูชาของปวงชน ณ อาณาบริเวณนั้นๆ อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และเป็นที่ระลึกแห่งชัยชนะของพระองค์ด้วย

          หลักฐานเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ศิลาจารึกที่ระบุพระนามของพระเจ้าจิตรเสน หรือ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ปัจจุบันนี้พบแล้ว จำนวน 10 หลัก มีทั้งจารีกอยู่บนแท่งหิน ที่ทำขื้นโดยเฉพาะ บนฐานประติมากรรม และบนผนังถ้ำ จารึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนกันทุกหลัก ถึงแม้จะไม่ปรากฎศักราช แต่เมื่อศึกษาวิเคราะห์รูปอักษรในจารึกแล้ว ทราบว่าเป็นรูปอักษรปัลลวะ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 จารึกเหล่านี้ พบอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 หลัก ได้แก่ จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกปากโดมน้อย จารึกวัดสุปัฏนาราม และ จารึกถ้ำภูหมาไน จารึกถ้ำเป็ดทอง 3 หลัก ที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนบน พบจารึกวัดศรีเมืองแอม ที่อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ในภาคตะวันออก พบจารึกช่องสระแจง ที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

ข้อความในจารึกทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

กล่าวถึง พระนามพระเจ้าจิตรเสน ไม่ได้กล่าวถึงพระนามพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้แก่ จารึกถ้ำเป็ดทอง แสดงว่ามีการจารึกในสมัยที่พระองค์ยังเป็นพระเจ้าจิตรเสน ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ตามบรรพบุรุษ เมื่อทำสงครามชนะข้าศึกแล้วพระองค์ได้สร้างศิวลึงค์ ด้วยความภักดีตามคำสั่งของพระบิดาและพระมารดา

กล่าวถึงพระประวัติพระเจ้ามเหนทรวรมัน และการสร้างศึวลึงค์ ไว้เป็นเครื่องหมายแห่งขัยชนะของพระองค์ ได้แก่จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกวัดสุปัฎนาราม และ จารึกปากโดมน้อย

กล่าวถึงพระประวัติ พระเจ้ามเหนทรวรมัน เหมือนกลุ่มที่ 2 แต่ตอนท้ายต่างกัน คือ ให้สร้างโคอุสภะ ไว้เป็นสวัสดิมงคลแก่ชัยชนะซองพระองค์ ได้แก่ จารึกถ้ำภูหมาไน และ จารึกวัดศรีเมืองแอม

กล่าวถึงการสร้างบ่อน้ำไว้ให้แก่ประชาชน ในจารึกช่องสระแจง

                    หากเชื่อว่าจารึกที่กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ขอม ปรากฏอยู่ ณ ที่ใด ก็อาจจะแสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างราชอาณาจักรขอมกับดินแดนนั้นๆ แล้ว จากจารึกเท่าที่พบแล้วในปัจจุบัน ทำให้ทราบถึง ร่องรอยความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเจนละ ในรัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมันนี้ มีอาณาเขตครอบคลุม ลำน้ำโขง ตั้งแต่เมืองภวปุระ ซึ่งเป็นเมืองราชธานีในเขตประเทศกัมพูชา ผ่านเมืองจำปาสัก เขตประเทศลาว เข้าสู่ดินแดนทิศตะวันตกเขตประเทศไทย ที่ปากแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี ล่องตามลำน้ำเข้ามาถึงบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ และขึ้นมาตามลำน้ำ ที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนดินแดนตอนใต้นั้นเข้าไปถึง บริเวณเทือกเขาดงรัก ที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำบางปะกง และบางทีอาจจะเลยเข้าไปถึงลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่จังหวัดเพชรบูรณอีกด้วย

          หลักฐานจากจารึกที่กล่าวมานี้ นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์รุ่นแรกสุดที่พบ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนโบราณในแถบอีสาน กับอาณาจักรเจนละทั้งด้านการปกครอง และศาสนาระยะแรกเริ่ม โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย

MV โขง ชี มูล ที่รัก : music vdo โขง ชี มูล ที่รัก

Download Player Free

ผลการค้นหา โขงชีมูลที่รัก ไมค์ ภิรมย์พร จาก YOUTUBE ดูมากกว่านี้คลิก

เนื้อเพลง

ลำชีทอดแขน ผ่านแดนอีสานมานาน

หล่อเลี้ยงลูกหลาน อยู่อุดมสมบูรณ์

ไหลล่องลงใต้ กอดกับสายน้ำมูล

กอดเกลียวเกื้อกูล.. ไหลเรื่อยลงลำน้ำโขง

.แผ่นดินอีสาน ในอ้อมกอดโขงชีมูล

เสียงแคนดอกคูณ เกริ่นกล่าวตำนานเชื่อมโยง

โปงลางพิณซอ กล่อมบ้านอีสานยืนยง

เชิญบ่าวสาวร่วมวง.. มาเซิ้งเพลงโขงชีมูล

.บ่าวสาวอีสาน ผูกฮักสมานกันเด้อ

ฮักกันเด้อ สร้างไมตรีเพิ่มพูน

ซีกบนขวานทอง ของไทยเรืองรองค้ำคูน

ให้ม่วนซื่นอบอุ่น.. ไปทั้งอีสานบ้านเฮา

.บ่าวชีมูลโขง ฮักสาวงามโขงชีมูล

ให้ใสฮูนๆ ฮักอย่ามีวันหมองเศร้า

สร้างลูกแปงหลาน คู่ถิ่นอีสานนานเนา

โตข้อยโตเจ้า ช่วยกันสร้างบ้านแปงเมือง

....ดนตรี........ .บ่าวสาวอีสาน

ผูกฮักสมานกันเด้อ ฮักกันเด้อ

สร้างไมตรีเพิ่มพูน ซีกบนขวานทอง

ของไทยเรืองรองค้ำคูน ให้ม่วนซื่นอบอุ่น..

ไปทั้งอีสานบ้านเฮา .บ่าวชีมูลโขง

ฮักสาวงามโขงชีมูล ให้ใสฮูนๆ

ฮักอย่ามีวันหมองเศร้า สร้างลูกแปงหลาน

คู่ถิ่นอีสานนานเนา โตข้อยโตเจ้า

ช่วยกันสร้างบ้านแปงเมือง ..

.



หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด