หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  เที่ยววัดสะพานสูง
เกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 75 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์
ชื่อเจ้าของ นายสัญญา นาคบุตร (นก- ชุมพร)
รายละเอียด ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง สนใจโทรหาต่อรองราคากันได้ตามมิตรภาพครับ ส่วนภาพถ่ายพระเครื่องใน ร้าน เกจิน้อยพระเครื่องออนไลน์ ทางร้านขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว ห้ามนำภาพในร้านไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากทางร้าน ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม หากพบเจอจะดำเนินคดีตามกฎหมายที่บัญญัติไว้สูงสุด
เงื่อนไขการรับประกัน พระทุกองค์ที่เปิดเช่ารับประกันแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม ครับ หากพระเก้ หรือ มีปัญหา รับคืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % .
ที่อยู่ 116 ม.8 ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
เบอร์ที่ติดต่อ 081-4070684
E-mail noksunyaarea@gmail.com และnoksunya@hotmail.co.th
วันที่เปิดร้าน 05-06-2556 วันหมดอายุ 05-06-2567

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
0 0
นายสัญญา นาคบุตร 
0
ออมทรัพย์ 

วัตถุมงคล: เครื่องราง ของขลัง
เกล็ดนิ่ม หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร
04-12-2562 เข้าชม : 5454 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เกล็ดนิ่ม หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร
[ รายละเอียด ] เกล็ดนิ่ม หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร ตั้งแต่ครั้งโบราณอาจารย์เจ้า ได้มีการสร้างเครื่องรางบางชนิดโดยอาศัยธรรมชาติมาประยุกต์หรือเป็นอุปเท่ห์ในการสร้างเครื่องรางให้มีคุณสมบัติเหมือนกัน ดังเช่น "เกล็ดนิ่ม" ซึ่งแท้จริงนั้นก็คือ เกล็ดของตัวนิ่ม ที่มีคุณสมบัติเป็นเกราะที่ตัวนิ่มไว้คุ้มครองป้องกันภัยจากภายนอกที่จะเข้ามาทำร้ายตัวมัน ดังนั้นจึงได้มีการสร้างเครื่องรางจากเกล็ดนิ่มสืบทอดต่อกันมา แต่การจัดสร้างและทำให้มีคุณวิเศษนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เกล็ดนิ่มในภาพนี้จัดสร้างโดยหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร (หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ ท่านคือหนึ่ง ในศิษย์เอกของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัตถุมงคลของท่าน คนพื้นที่เชื่อถือ และ ศรัทธามานาน ไม่แพ้ องค์อาจารย์ท่านแต่อย่างใด) ท่านเองนั้นเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการยอมรับสร้างเครื่องรางได้มีประสบการณ์เยี่ยมยอดหลายชนิด อาทิ ตะกรุด พระปิดตา แต่ที่แปลกและพิสดารกว่าพระอาจารย์อื่นก็คือ "เกล็ดนิ่ม" ท่านจะนำเปลือกหอยชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายเกล็ดนิ่มที่มีคุณสมบัติตามตำราบังคับมาลงอักขระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จากนั้นจึงปลุกเสกกำกับจนได้ที่ จึงนำแจกจ่ายมอบให้แก่ศิษย์นำไปใช้ ประสบการณ์เรื่องคงกระพัน แคล้วคลาดนั้นเด่นดังมาก และในปัจจุบันคงจะหาตัวจริงให้ชมในสนามคงลำบากมากไม่ใช่น้อย บางครั้งมีเงินก็ไช่จะหาเช่าได้ นับเป็นอีกหนึ่งสุดยอดเครื่องราง ที่เสาะแสวงหาของสายลูกศิษย์ น่าเก็น่าใช้อีกละคราฟ ************************************************************************************************************************************ พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ( หลวงพ่อภู ) วัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร ท่านเป็นชาวอยุธยาเกิดเมื่อเดือน 6 เถาะ พ.ศ. 2398 ที่บ้านผักไห่ เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี บิดามารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือขอม และไทยกับพระอาจารย์แช่ม ในสำนักของพระอุปัชฌาย์อิน และได้เรียนหนังสือกับ อาจารย์( นิ่ม ) เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี ก็สึกออกมาช่วยบิดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนรักวิชาสนใจด้าน ไสยศาสตร์ หรือ ไสยเวทย์ เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปสกเล็กน้อย “ ไสย ” มาจากคำว่า “ เสยย ” แปลว่าประเสริฐ “ ศาสตร์ ” หมายถึง วิชาการต่าง ๆ มีอาทิเช่น ทางเวทมนต์คาถาและการภาวนาเสกเป่า ฯลฯ “ ไสยศาสตร์ ” หรือ “ ไสยเวทย์ ” จึงแปลว่า ความรู้อันประเสริฐทางเวทมนต์ คาถา ซึ่งผู้ที่ทรงคุณในวิชาการด้านนี้ จะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ คือเป็นผู้รักษาศิลเสมอด้วยชีวิตหรือเป็นผู้มีอภินิหาร หมายถึง บุญญาธิการของแต่ละรูปนาม คำว่า “ อภินิหาร ” พจานุกรมฯ หมายถึง บุญบารมีที่สร้างสมแต่ในอดีตชาติ จึงพอสรุปใจความโดยย่อได้ว่า ผู้ที่ทรงคุณทางพระเวทวิทยาคม อย่างสูงสุดก็ดี หรือผู้ที่มีอภินิหาร คือ บุญญาธิการที่สร้างสมแต่ในอดีตชาตินั่นเอง ถ้าขาดคุณสมบัติสองประการ ดังกล่าวก็ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผล หรือถ้าจะมีอยู่บ้าง ก็คงไม่ได้รับผลชั้นสูง จนกระทั่งหลวงพ่อภู อายุได้ 23 ปี บรรดาญาติโยมจึงได้พาไปเข้าอุปสมบท ณ วัดเขื่อน อ.เมือง จ.พิจิตร เมื่อปี 2422 โดยมี พระครูศิลธรารักษ์ ( จัน ) ซึ่งเป็นพระอุปัชณายะ พระอธิการนิ่ม จาก วัดหาดมูลกระบือ กับ พระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อเป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า “ ธมุนโชติ ” แปลว่า ผู้สว่างในทางธรรม และครั้นปี พ.ศ. 2437 ชาวบ้านท่าฬ่อก็ได้นิมนต์มาอยู่วัดท่าฬ่อ เพราะวัดท่าฬ่อสมัยก่อนชำรุดทรุดโทรมขาดการเหลียวแล เมื่อท่านมาอยู่แล้วก็ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ จนครบครัน โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี เดิมท่านตั้งใจจะบวชระยะสั้นแต่แล้วก็ไม่คิดสึก กลับมุ่งศึกษาธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ เคยติดตาม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ฝึกจิตจนกล้าแข็ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเงินมาก รวมทั้งพระอาจารย์อื่น ๆ ที่พบกันกลางป่า ท่านจึงได้วิทยาคมชั้นเยี่ยมมามากนอกจากนี้ยังมีความรุ้เรื่องสมุนไพร และแพทย์แผนโบราณ ตามแบบอย่างหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน และของขลังที่ท่าน หลวงพ่อภู ได้ทำไว้มีมากมายหลายอย่างจริง ๆ จากหลังฐานที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ท่านมีความรู้ด้านภาษาขอมแตกฉานมาก ได้เขียนยันต์ต่าง ๆ เป็นหลักฐานไว้บนกระดานชนวนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา สิ่งเหล่านี้ท่านทำไว้มากจริง ๆ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอได้ข้าพเจ้าเชื่อว่าเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง และหากลักบานศึกษาได้ในภาคเหนือ ก็จะมี หลวงพ่อภู เท่านั้นที่มีครบทุกอย่าง ท่านสร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก กล่าวอย่างชาวบ้านก็ต้องว่า “ มีวิทยายุทธครบเครื่องเรื่อง อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดเมตามหานิยม ดีจริง ๆ ” ( เฉพาะเหรืยญหางแมลงป่องตะกั่วชินเงิน ถ้ำชา ของหลวงพ่อภู เป็นผู้สร้างแห่งวัดท่าฬ่อ อันมีอานุภาพและชื่อเสียงโด่งดังมาก )ซึ่งเป็นวัตถุของขลังที่หายากมากในสมัยนี้ และเหรียญหางแมลงป่องหลวงพ่อภูนั้น เป็นเหรียญปั๊มหูในตัว สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว ด้านหน้าเหรียญเป็นอักขระขอมทั้งหมด ตรงกลางเป็นยันต์ห้า หรือ เรียกตามภาษาชาวบ้าน ว่า ( ยันต์ตะก้อ ) ยันต์ห้าก็คือ นะ โมพุทธายะ และมีอักขระขอมโดยรอบขอบเหรียญ ส่วนด้านหลังเหรียญหางแมลงป่องมีอักษร ไทยเขียนเป็นภาษาเก่าว่า “ พระครูธุรศักเกียรติคุณ ” และเหรียญหางแมลงป่องมีสองบล็อก บล็อกแรกเป็นบล็อกก้นตัว ( ย ) ฐานเป็นเหลียม บล็อกนี้ลายกนกที่หลังเหรียญจะเป็นเส้นเล็กหลายเส้น และมีรายละเอียดมาก ส่วนบล็อกที่สองเป็นบล็อกก้นตัว ( ย ) ฐานเป็นแหลมเฉียง (จะมีรูปอยู่หน้าสุดท้ายของประวัติหลวงพ่อภู ) เหรียญบล็อกสองลายกนกจะเป็นเส้นใหญ่และมีส่วนรายละเอียดน้อยกว่ารุ่นแรก เพราะเหรียญรุ่นสองนี้สร้าง บรรดาลูกศิษย์หลวงปู่ภูสร้างถวายหลังจากที่ท่าน ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นพิเศษที่พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคูณ ใน ปี 2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจราชการ คณะสงฆ์ในมณฑลภาคเหนือ ได้ทรงมาประทับแรมที่ วัดท่าฬ่อ 1 ราตรี และรับสั่งชมเชยชัยภูมิวัดท่าฬ่อยิ่งนัก ท่านก็ได้กระทำการปฎิสันถาร คารวะต้อนรับ และทูลปราศรัยโดยถูกต้องตามระเบียบราชการทุกประการ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงพระราชทานที่ถานันดรสมณศักดิให้รับ พระราชทานสัญญาบัตรพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ เป็นพระครูพิเศษ และได้รับพระราชทานตราเสมาธรรมจักรให้นั่งที่ พระอุปัชฌาย์อุปสมบทกุลบุตรใน แขวงอำเภอท่าหลวงและทั่วจังหวัดพิจิตร ยังความปลาบปลื้มแก่คณะศิษย์ของท่านเป็นอย่างยิ่งจึงได้แสดงมุฑิตาจิตสร้างเหรียญหางแมลงป่องถวาย และได้พัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น แม้ฝรั่งที่ไปทำทางรถไฟสายเหนือ และไม่ได้นับถือพุทธศาสนายังสยบต่อท่าน ได้ความนับถือท่านอย่างจริงใจ และในบริเวณวัดท่าฬ่อ ท่านได้เลี้ยงสัตว์ไว้มากสัตว์ป่าทุกตัวเชื่องแม้กระกวางและไก่ป่า , แพะ ข้าวสุกก็ดีหญ้าก็ดี ที่ท่านใช้เลี้ยงสัตว์ท่านจะเสกก่อนให้กินเสมอ ปรากฏว่าสัตว์ทุกตัวเชื่องและคงกระพันยิงไม่ออก ถึงออกก็ไม่เข้า ของขลังหลวงพ่อภูที่สร้าง ได้แก่ พระเนื้อผงดำ พิมพ์สมาธิ ตรากระต่าย ฝังตะกรุด กระต่าย ก็คือปีเกิดของท่าน และเหรียญหางแมลงป่องตะกั่วชินเงิน ( ถ้ำชา ) พระรุ่นนี้มีชื่อเสียงมากด้านอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกมีดถูกขวานจามไม่เคยเข้า และป้องกันภัยต่าง ๆ ดีแล ตะกรุดมหารุด และแหวงพิรอด ตะกรุดสร้อยสังวาล ตะกรุดโทนยันต์ค้าขาย ผ้าประเจียด เหรียญใบมะยม เหรียญแปดเหลี่ยม ฯลฯ ท่านก็ได้สร้างไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ตะพด ท่านทำให้อย่างวิเศษจริง ๆ นอกจาก หลวงพ่อเงิน แล้ว หลวงพ่อภู ยังไปศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อโพธิ์ มาอีกด้วย หลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระมอญมาจากปทุมธานี สร้างกุฏิอยู่องค์เดียวที่วัดวังมหาเน่า ปัจจุบัน คือ ( วัดโพธิ์ศรี ) เป็นอาจารย์ที่เรืองเวทย์จริง ๆ ท่านจะเก่งด้าน ตะกรุด และยันต์อักขระ ขนาดเสาไม้กุฏิท่านเวลาไฟไหม้หญ้าคามาใกล้กุฏิ และหลังคากุฏิของท่านก็ทำด้วยหญ้าคาก็ยังไม่ไหม้ ท่านก็นั่งอยู่ในนั้นขณะไฟไหม้ ท่านไม่หนีก็แสดงว่ามีดีจึงอวดได้ บรรดาญาติกลับไปขนถึง 3 เที่ยว บรรทุกใส่เรือล่องลงมายังเมือปทุม ถ้าไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเล่าจะขึ้นไปขนแค่เสาตอม้อเรือนเตี้ย ๆ อย่างนั้น ทางญาติของ หลวงพ่อโพธิ์จึงเก็บกลับมาที่จังหวัดปทุมธานีหมด เหลือแต่ตำนานว่า ตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์นั้นศักดิ์สิทธิ์ ( ท่านมรณภาพก่อน พ.ศ. 2440 ) ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ ดอกที่สมบูรณ์มากที่สุด ดอกหนึ่ง ปัจจุบันนี้เป็นสมบัติของ หลวงพ่อเปรื่อง ท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ( ปัจจุบัน ) ผู้สนใจขอท่านชมได้ท่านคงจะไม่หวง แต่ขอบูชาต่อไม่ได้ท่านหวงแน่ หลวงพ่อเปรื่องเล่าว่า ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ดีทางคงกระพันเป็นเลิศ เขี้ยวเล็บของสัตว์ร้านไม่เคยได้กลิ่นเลือดของผู้ใช้ตะกรุดนี้อย่างแน่นอน คนถูกยิงมาก็มาก ไม่มีเข้า ตะกรุดของท่านมีประวัติดีมากด้านอยู่คง เจ้าของเดิมเป็นชาวบ้านแถบวัดวังหมาเน่านั่นแหละ พอถึงหน้าแล้ง น้ำในแม่น้ำตื้น พอเดินลุยข้ามได้ เจ้าของตะกรุดนี้ก็จูงควายข้ามแม่น้ำ ควายไม่ยอมลง แกก็ลงไปก่อน แล้วดึงเชือกสนตะพายให้ความเดินลงไปตามพอดีมีจระเข้ขนาดใหญ่อยู่แถบนี้ เลยกัดตัวแกเข้าที่บั้นเอว แล้วคาบดำลงไปใต้น้ำ เจ้าของตะกรุดแกมีสติดี ชักมีดเหน็บที่เอว แล้วใช้มือคลำตาจระเข้ เอามีแทงลูกตาของมัน มันจึงปล่อยและหนี้ไป แกมีตะกรุดดอกนี้คาดอยู่ที่เอว จระเข้กัดยังไม่เข้า ปัจจุบัน ตะกรุดดอกนี้เป็นของหลวงพ่อเปรื่องท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลานในขณะนี้ บรรดาศิษย์เอกหลวงพ่อโพธิ์มีอยู่ คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อภู วัดท่าฬ่อ หลวงพ่อเทียบ ยังต้องไปเรียนจากท่านหลวงพ่อโพธิ์ ที่มีวิชาผู้เรืองเวทย์ ในอดีตโอกาสไปเรียนกันท่านหลวงพ่อโพธิ์ และได้รับวิชามามาก หลวงพ่อภูได้สร้างคุณความดีต่อศาสนามาก จึงได้การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด และพระอุปัชฌายะ ตามลำดับ และได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าคณะแขวง เมื่อพูดถึงการสร้างเครื่องราง ก็ต้องพูดถึงศิษย์เอกของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อครุฑ ( พระครูศิล ธรารักษ์ ) ซึ่งหลายท่านบอกว่าเป็นหลานแท้ ๆ ของท่าน และต่อมาก็ได้ครองวัดท่าฬ่อสืบต่อจากท่าน หลวงพ่อภู หลวงพ่อครุฑนี้เองที่ได้ช่วยเหลือท่านในการสร้างมงคลวัตถุในระยะหลังเมื่อท่านชราภาพแล้ว ผู้ที่ต้องการเช่าหาเครื่องรางของหลวงพ่อภูควรศึกษาอักขระลายมือ ของท่านให้แม่นยำ แต่ถึงแม้หลวงพ่อครุฑจะสร้างแทนแต่หลวงพ่อภูก็ปลุกเสกให้ใช้ได้ดีเช่นกัน หลวงพ่อภู ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเขื่อน และก็ได้นิมนต์มาประจำพรรษาอยู่ ณ วัดท่าฬ่อ ตลอดมาจนได้ 46 พรรษาเศษ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2467 ตรงกับวันพุธ หลวงพ่อภู ท่านได้ลมเจ็บลงเพราะเป็นล้มอัมพาต พระสงฆ์ที่เป็นลัทธิวิหาริกและพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านท่าฬ่อก็ได้ตามแพทย์หลวงและแพทย์เชลยศักดิ์มาช่วยกันรักษาพยาบาล จนเต็มความสามารถ ก็มีแต่ทรงกับทรุดลงจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2467 เวลา 04.00 น. เศษ ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพล่วงลับสู่ปรโลกก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง รวมอายุได้ 69 ปี ท่านก็เรียกบรรดาสานุศิษย์ ญาติ มิตร ทั้งหลายมีอาจารย์ครุฑซึ่งเป็นหลายของท่านเข้ามาสั่งการที่จะยกช่อฟ้าศาลาที่ทำค้างอยู่ให้เป็นผลสำเร็จอีกต่อไปจึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก และเมื่อท่านจากไปทุกคนก็เสียใจกันอย่างมากโดยเฉพาะบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่หลวงพ่อภูที่เลี้ยงไว้ต่างพากันเดินร้องไห้น้ำตาไหลนำหน้าศพหลวงพ่อภู ซึ่งเป็นที่หน้าแปลดใจยิ่งนัก ของสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั่วไปที่หลั่งไหลเข้ามาในงานปณกิจศพหลวงพ่อภู ในเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ชักศพวันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งเป็นวันวันฌาปนกิจที่วัดท่าฬ่อ ฉลองอัฐิธาตุเพื่ออุทิศส่วนกาละปะนาผลหิตานุหัตประโยชน์ไปให้กับท่าน พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ซึ่งเป็นที่เคารพนักถือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ว่าหลวงพ่อภูจะสิ้นไล่หลังหลวงพ่อเงินเพียง 5 ปี แต่ทว่าท่านอายุอ่อนกว่าาหลวงพ่อเงินเกือบ 50 ปี เพราะหลวงพ่อเงินอายุยืนมากถึง 114 ปี (หลวงพ่อเงินชาตะ 2348 – มรณะ 2462 )
[ ราคา ] โทรถาม
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านเกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์ ] เบอร์โทรศัพท์ : 081-4070684


วัตถุมงคล: เครื่องราง ของขลัง
ราหูกะลาตาเดียวแกะ สาธุใหญ่จันเพ้ง จันทะสาโร วัดผานม สปป.ลาว ประมาณปี 2498
แมลงภู่คำ งอ แกะ (จิ่วๆ)
ปลากัดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ (วัดพระญาติการาม)
แหวนหล่อโบราณ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี จัดสร้างราวปี ๒๔๗๕
ตะกรุดหนังกระเบน หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม พิจิตร สร้างปี 2480-2490
ลูกสะกด หลวงพ่อเนียม วัดน้อย เนื้อตะกั่วผสมปรอท เชือกเดิมๆ
เบี้ยแก้ หลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี (ลูกที่ 3)
ลูกสะหวาดอุดผงพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา (สำนักเขาอ้อ) จ.พัทลุง (ลูกที่ 1)
กะลาราหูแกะ หลวงพ่อแขก กาวิโร วัดสันป่าลาน อ.บ้านตาก จ.ตาก (องค์ที่ 2)
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว โทเร ปี ๒๕๑๖
ตะกรุดกระดูกห่าน หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด แห่งวัดอัมพวัน
ตะกรุดหนังเก้ง หลวงพ่อเหนี่ยง วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ตะกรุดไม้ครูหลวงปู่จันทร์  วัดนางหนู จ.ลพบุรี
พระพนัสบดี กรุวัดจันทร์ เนื้อสำริด ศิลปศรีวิชัย จ.นครศรีธรรมราช พิมพ์ใหญ่ (องค์ที่ 2)
เต่าสำลีชุบเทียนครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน  (ตัวที่1)
จิ้งจกมหาเสน่ห์ 2 ปี้ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
ปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ ปลัดฉลามเมิน (ชิ้นที่ 1)
ลูกอมชมพูนุช (เทพรำลึก) หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ออกวัดซับลำใย จ.ศรีสะเกษปี ๒๕๔๒  (ลูกที่ 2)
เขี้ยวเสือแกะพิมพ์นิยมก๊อตซิลล่า (ตัวจิ๋ว) พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงออก จ.พัทลุง (ตัวที่ 2)
ตะกรุด หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
กุมารทองดูดรกหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม รุ่นแรกพิมพ์เล็กหลังยันต์จมปี 2485 ต้นๆ
ปลัดขิกเขาควายเผือก  อุดกริ่ง หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี
ลูกอมผงพรายกุมาร   หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง  แบบมีห่วงลวด
วัวธนูเขาแกะ ครูบาอินทร์ตา วัดวังหงส์  จ.แพร่ ปี ๒๔๙๗
วัวธนูหาญล้านนา เนื้อครั่งพุทราตายพราย
แหวนงาแกะ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ศิลป์หน้าสิงห์ จ.สุพรรณบุรี
ลูกอม พญาช้างสารม้วนโลก หลวงพ่อดำ วัดกุฏิ จ.ปราจีนบุรี จัดสร้างประมาณปี ๒๔๔๐ ยุคต้น (ลูกที่ 1)
ลูกประคำผงพรายกุมารยุคแรก หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
ทันตธาตุ  หรือ ฟัน หลวงพ่อปลอด วัดปากทะเล จ.เพชรบุรี ถักเชือกเดิมๆ
ปลัดขิกปลาชะโดไม้แกะ หลวงพ่อสังข์ สุริโย วัดนากันตม  ศรีสะเกษ
ตะกรุดขาปิ่นโต หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี  ยุคต้น
หัวนะโม พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เทวดาเมืองคอน (เม็ดที่ ๕)
ตะกรุดโทนหลวงปู่ภู วัดดอนรัก เนื้อตะกั่ว จ.อ่างทอง
ปลัดขิกสะท้านเวหา หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ยุคต้น ศิลป์สวย จารลึกยันต์เต็มสูตร
ปลัดขิกสะท้านเวหา หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก  (ศิลปพ่อฟัก)
ปลัดขิกหลวงพ่อกลั่น วัดอินทราวาส อ่างทอง ตัวเล็กยุคต้นๆ ขนาด ๑.๕๐ นิ้ว
เสือหลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลานอก จ.ชลบุรี
อิ้นมหาเสน่ห์ ครูบาสายเหนือ สร้างจากดิน ๗ โป่ง (๗ ป่าช้า) ห่อด้วยหนังสัตว์ ผูกด้วยสายสิญมัดตราสัง
เสือแกะมหาอำนาจ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม   เนื้อกระดูก ปี ๒๕๓๗
เขี้ยวเสือแกะพิมพ์นิยมก๊อตซิลล่า พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงออก จ.พัทลุง จัดสร้างราวปี ๒๕๑๖
แหวนพิรอดหล่อโบราณ พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง ยุคก่อน ๒๕๐๐
ปลัดขิกพร้อมไข่ หลวงพ่อเขียน ธัมมะรักขิโต วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร
ปลัดขิกสายฟ้าฟาด เนื้อปีกเครื่องบิน หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ.นครปฐม ปี 2541
ตะกรุดพอกครั่งหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี ขนาด ประมาณ ๒ นิ้ว (1)
เกล็ดนิ่ม หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร
เหรียญพิฆาตไพรี เนื้อตะกั่วผสมดีบุก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ ๒ ราวปีพ.ศ.๒๓๖๔ (เหรียญที่ 2)
เหรียญกษาปณ์คุชชาน แห่งราชวงศ์คุชชาน (Kushan) ปี พ.ศ. ๗๐๘ (ต้น ค.ศ. ๑๖๕ ) เนื้อทองแดง (เหรียญที่ 2)
ตะกรุดเจ็ดดอก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช (ชุดที่1)
ล็อคเก็ตไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์  รุ่นสรงน้ำ ๕๘ (พิมพ์ใหญ่)
หัวนะโม เนื้อเงิน หลังพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เทวดาเมืองคอน (เม็ดที่ 4)
ผาลไถ พ่อท่านชื่น วัดในปราบ สุราษฎร์ธานี (ชิ้นที่ 8)
เสือหลวงพ่อเรือน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) สมุทรปราการ สร้างประมาณ พศ.๒๔๔๐-๒๔๕๓
หุ่นพยนต์ตัว พ.แก้วสารพัดนึก หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ (ตัวที่ 3)
หัวนะโม หลังดอกจันทร์ เนื้อเงินโบราณ จ. นครศรีธรรมราช (เม็ดที่ 2)
เบี้ยแก้ รุ่นแรก เบี้ยองค์ครู หลวงปู่เช้า วัดห้วยลำใย จัดสร้างปี ๒๕๕๖
พระอุปคุตหลังยันต์ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี (องค์ที่2)
เหรียญกษาปณ์คุชชาน แห่งราชวงศ์คุชชาน (Kushan) ปี พ.ศ. ๗๐๘
แหวนงูเกี้ยว หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
ลูกอมหลวงพ่อเนตร วัดตุ๊กตา จ.นครปฐม สร้างขึ้นในช่วงปี ๒๕๐๐
เหรียญเงินโบราณสมัยทวารวดี
เหรียญเงิน อินเดียโบราณ (ราชวงศ์โมกุล) ช่วง ค.ศ. ๑๕๒๖-๑๘๕๘
เบี้ยแก้ หลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี (แบบไม่มีหู) ลูกที่ 1
เหรียญเทพเจ้าจุ้ยโบเนี้ย (เจ้าแม่ทับทิม)หลังเทพเจ้าไฉชิ่งเอี๊ย ปี ๒๕๒๗
พญาต่อเงิน-ต่อทอง หลวงพ่อจืด สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี ปี ๒๕๔๔ (ตั้วที่1)
พระชิวหา วัดควนเกย จ.นครศรีธรรมราช
เม็ดประคำเนื้อผงยาจินดามณีหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ยุคแรกๆ
ตะกรุดสาริกา(หนังหน้าผากเสือ) หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม สร้างประมาณ ปี ๒๕๑๐-๑๕
เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย รุ่น "สยบไพรี" พิมพ์ใหญ่ อ้าปาก ปี ๒๕๖๑
เหรียญเจ้าพ่อเห้งเจีย รุ่นกู้วิกฤติ ช่วยหมื่นชีวิต ร้อยตระกูล เนื้อฝาบาตร หมายเลข ๗๕๕
พญาวานร งาช้างแกะ หลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย จ.สมุทรปราการ ยุคแรกๆ
ลูกอมมหาเสน่ห์ หลวงพ่อสงวนวัดไผ่พันมือ จ.สุพรรณบุรี  จัดสร้างราวปี พ.ศ.๒๕๑๐  (ลูกที่ 2)
หุ่นพยนต์ตัว พ.แก้วสารพัดนึก หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ อ.สรรค์บุรี ชัยนาท (ด้ายแดง)
หุ่นพยนต์ตัว พ.แก้วสารพัดนึก หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ อ.สรรค์บุรี ชัยนาท (ด้ายน้ำเงิน)
ปลัดหัวชะมดเนื้อสีชมพู (เนื้อผงจูงนางเข้าห้อง) หลวงพ่อเอิบ วัดหนองหม้อแกง ปี ๒๕๕๐
ปิรามิดปรอทกายสิทธิ์ หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน แห่งสำนักสวนป่าสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์ ยุคต้น
ลูกอมเทียนชัยหนังเสือ หลวงพ่อโอด วัดจันทร์เสน นครสวรรค์ ยุคต้น
ลูกอมเทียนชัยหนังเสือ หลวงพ่อโอด วัดจันทร์เสน นครสวรรค์ ยุคปลาย
ปลาตะเพียนหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม ยุคแรก ปี ๒๕๑๑
ควายธนู หลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช ยุคแรก (ตัวที่1)
ลูกอมมหาเสน่ห์ เนื้อผงอิทธิเจ หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ จ.สุพรรณบุรี ปี  ๒๕๑๐
ตะกรุดมหายันต์ หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง ปี ๒๕๕๓
ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก สร้างราวปี ๒๕๐๐
ควายธนู หลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช รุ่นสอง หลังยันต์
เหรียญมหาบารมี-มังกรทะยานฟ้า ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (เซียนแปะโรงสี) ปี ๒๕๖๐
เขี้ยวหมูตันแกะเสือ หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ. นครปฐม
สาริกาเทพประทาน รุ่นแรก หลวงปู่ดี วัดโพธิ์ศรีถาวร
ตัว พ. พิสดาร พยนต์พรายกระซิบ เนื้อผงพราย หลวงปู่ญาครูเฒ่าเต็ม มหาวีโร อายุ ๙๖ ปี
ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช สำนักประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี ๒๕๕๗
หมูมหาลาภหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง รุ่น 2 ปี 2538
เหรียญหวานหมู หรือ พญาหมูขี่เสือหลวงปู่ครูบาคำเป็งปี 54
นกสาริกาตัวผู้ หลวงพ่อน่วม วัดหลวงครู ปี ๒๕๑๗
พระพิฆเณศร์ หล่อโบราณ พิมพ์เล็ก  ศิลปนคร
เสื้อยันต์หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
น้ำเต้ากันภัย หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพ รุ่น ๒ ปี ๒๕๒๗
พญาต่อเงินต่อทอง หลวงพ่อจืด สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐีวนาราม  ปี ๒๕๔๖
ปลาพยูนมหาเสน่ห์ หลวงพ่อสงวน สำนักสงฆ์ควนปริง จังหวัดสตูล ปี ๒๕๕๙
น้ำเต้าโภคทรัพย์ ลงยันต์พญาเสือโคร่ง พระอาจารย์ซ้ง วัดประดู่ (อินทราวาส)กรุงเทพ
แหวนโบราณ เนื้อสัมฤทธิ์โชคโบราณ ยุคทวาราวดี
เข็มกลัดพญานาค ลงยาสีแดง ยาวประมาณ 2.2 นิ้ว
ถั่วลิสงหล่อโบราณ อุดกริ่ง เนื้อออกสัมฤทธิ์
แก้วสารพัดนึก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ยันต์เฑาะห์ (5)
ลูกแก้วสารพัดนึก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี พิมพ์หยดน้ำ-เหลี่ยมเพชร (4)
พระบูชาพระนารายณ์สี่กรทรงสิงห์
ลูกอมเนื้อตะกั่ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 ซม.
พระพิฆเนศ เนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะนครวัด
นกคุ้มมารุมเรียกทรัพย์ หรือ นกคุ้มกันไฟ ปี 2548
เบี้ยวาจำลอง วัดชลอ บางกรวย จ.นนทบุรี ปี 2538
ปลัดขิกปลาชะโด ไม้แกะวัดถ้ำแฝด
อิ่นหินนาคกระสวย สุดยอดอิ่นหินของทางล้านนา.
แหวนพิรอด (กลับร้ายกลายเป็นดี) หลวงพ่อขวัญ วัดบ้านไร่
บูชาแป๊ะกง ขนาดองค์สูง ๑๒ นิ้ว
ช้างหล่อทรงเครื่อง บนหลังมีก้อนเงินจีนโบราณ (1 คู่)
พระอุปคุตเขมร เนื้อทองผสม (แก่ทอง)
พระอุปคุตอุปคุตหลังยันต์ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี (องค์ที่ 1)
เงินพดด้วงตราช้าง ข้างอุ สมัยสุโขทัย
ปลัดหัวชะมดเนื้อผงว่านดอกทอง หลวงพ่อเอิบ วัดหนองหม้อแกง
เหรียญหวานหมู หรือ เหรียญพญาหมูขี่เสือ อุนะอุเฮงเฮงเฮงรวยรวยรวยตลอดกาล
ลูกปัดทวาราวดี เขาสามแก้ว ชุมพร
กบสามขา หรือ คางคกสวรรค์ คาบเหรียญจีน
ลูกแก้วสารพัดนึก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี (3)
สิงห์ 2 ขวัญ ยกขามหาอำนาจ เนื้อสำริด
เทพปี่เซียะ หินหยกแกะ ขนาด 6.5x4 นิ้ว
จิ้งจกขี่ปลัดขิก ไม้แกะ
สิงห์ยกขามหาอำนาจ เนื้อตะกั่วชุบนิกเกิล กะหลั่ยทอง
ลูกแก้วสารพัดนึกกลมใส หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี (2)
น้ำเต้าเงิน น้ำเต้าทอง ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ  สำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ
แก้วสารพัดนึก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ยันต์เฑาะห์ (1)
กุมารทองดูดรก วัดตาก้อง จ.นครปฐม ขนาดบูชา
กุมารทอง  ขนาดบูชา ก้นอุดผง
เสือหล่อโบราณขนาดบูชา
นกสานจากใบลานจารเก่าทั้งตัว ห้อยตะกรุด ไม่ทราบสำนัก
ผ้ายันต์นางกวักพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ สีขาว
กระโหลกเสือแม่ลูกอ่อน หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
อิ่นเนื้อผง พิมพ์จิ๋ว
ไม้เท้าเวสสุวรรณ หรือคฑาวุธของท้าวเวสสุวรรณ เนื้อเขาควายแกะ
ปูกลายเป็นหิน
ตะกรุดคู่ ไหมเจ็ดสี
บูชาแม่นางกวัก ขนาดฐาน 2 x 4.5 นิ้ว
ตะกรุดไผ่ตันหลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ยุคแรก
เหรียญ""เจ้าพ่อเห้งเจีย""รุ่นกู้วิกฤติ ช่วยหมื่นชีวิต ร้อยตระกูล หมายเลข 209
ลูกปัดทวาราวดี ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  เที่ยววัดสะพานสูง  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด