หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 141 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2567

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






วัตถุมงคล: พระเคื่องเมืองกระบี่,ภูเก็ต
รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ วัดแก้วโกรวาราม จ.กระบี่ รุ่นแรก ปี 25
30-08-2554 เข้าชม : 11839 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ วัดแก้วโกรวาราม จ.กระบี่ รุ่นแรก ปี 25
[ รายละเอียด ]

รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ จ. กระบี่ รุ่นแรก ปี 25 สภาพสวยมากสร้างน้อยหายาก

ประวัติพระราชสุตกวี (สิงห์ จนทาโก)

     นามเดิม สิงห์ นามสกุล นบนอบ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม 2436 ณ บ้านทูขนาน หมู่ที่ 2 ตำบลปกาสัย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ บุตรของนางพริ้ม นายชู มีพี่น้องรวม 4 คน ถึงแก่กรรมหมดแล้ว คือ
1.นายเผือ นบนอบ
2.พระราชสุตกวี
3.นายแปลก
4.ผู้หญิงจำชื่อไม่ได้ เพราะเสียชีวิตเมื่ออายุได้ประมาณ 1 ขวบ
     เนื่องจากโยมบิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านที่คงแก่เรียนและลุงของท่านเป็นปราชญ์ภาษาขอมได้เปิดสอนหนังสือไทยแก่คนในหมู่บ้านเป็นประจำท่านจึงคลุกคลีอยู่กับการเรียนการสอนหนังสือไทยตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ เมื่ออายุได้ 7 ขวบจึงเริ่มเรียนหนังสือไทย อายุได้ 11-12 ขวบ ท่านสามารถอ่านเขียนภาษาไทยและคิดเลขบวกลบได้ ต่อมาทางราชการเปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่บ่อพอ (วัดธรรมาวุธสรณาราม) ตำบลปกาสัย โยมบิดาได้ให้ท่านเข้าเรียนโดยต้องเดินทางเท้าเปล่าไปกลับวันละ 14 กม. เศษ เรียนอยู่ 4 ปี สอบไล่ได้ชั้นสูงสุดของโรงเรียน (ป.3) เมื่ออายุ 18 ปี ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของจังหวัดที่โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ต่อมาทางราชการได้บรรจุให้ท่านเป็นครูช่วยสอนที่สถานศึกษา เดิมของท่านคือที่โรงเรียนวัดบ่อพอ อยู่ 2 ปี จึงลาออกบรรพชา เมื่ออายุ 19 ปี (พ.ศ.2455) วัดบ่อพอ ตำบลปกาสัย โดยมีพระสมุห์กิ่ม พุทฺธรกฺขิโต วัดแก้วฯ เป็นพระอุปัชฌาย์บวชสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ได้ขอให้ไปอยู่วัดแก้วฯ เพื่อช่วยเขียน (คัด) จดหมายการคณะสงฆ์ (งานเลขานุการ) ขณะเดียวกันท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและสมัครเข้าเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดแก้วฯด้วย เรียนอยู่ได้ปีเศษสมัครสอบไล่ แต่สอบตกเนื่องจากภาระกิจของท่านมากไม่มีเวลาเรียน ในปีนั้นประชาชนบ้านปกาสัยได้นิมนต์สามเณรสิงห์กลับไปอยู่ปกาสัยอีก ท่านจึงกลับไปสอนหนังสือไทยแก่ประชาชนที่วัดปกาสัยอยู่ 2 ปี จึงอุปสมบท เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2457 ณ วัดบ่อพอ ได้ฉายาว่า "จนฺทาโภ" โดยมีพระครูธรรมวุธวิศิษฐ์ (กิ่ม) เจ้าคณะจังหวัดกระบี่เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่ออุปสมบทแล้วพระอธิการหอมแก้ว เจ้าอาวาสวัดปกาสัยขอให้ท่านไปอยู่ปฏิบัติศาสนกิจและสอนหนังสือไทย ที่วัดปกาสัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากที่โรงเรียนวัดบ่อพอมีนักเรียนเพิ่มขึ้น ขาดครูสอน ทางราชการจึงขอให้ท่านไปสอนหนังสือเนื่องจากท่านต้องเดินทางวันละ 14-15 กม. ระหว่างวัดปกาสัยกับโรงเรียน ท่านจึงขออนุญาตเจ้าอาวาสปกาสัยไปอยู่วัดบ่อพออีกครั้ง ต่อมาโยมมารดาบิดาญาติผู้ใหญ่และพระเถระให้ความเห็นว่าถ้าไม่ลาสิกขาออกไปรับราชการ ก็น่าจะไปศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมเพื่อจะได้อยู่เป็นหลักพุทธศาสนาต่อไป ท่านจึงกลับไปอยู่วัดแก้วฯอีกครั้งเมื่อพ.ศ.2460 ในปีแรกที่ไปอยู่ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เป็นที่ 1 ของสนามสอบคณะจังหวัด (เนื่องจากหลักสูตรและการสอบธรรมสนามหลวงยังไปไม่ถึงจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น) พระอุปัชฌาย์เห็นแววว่าในอนาคต ท่านจะเป็นกำลังหลักของพระศาสนาในจังหวัดกระบี่ จึงส่งท่านไปศึกษาที่กรุงเทพฯอยู่วัดวิเศษการ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรีได้ 3 ปี แล้วย้ายไปอยู่วัดดุสิตารามอีก 10 ปี ในระยะเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ ท่านเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร สามารถสอบเปรียญธรรม 6 ประโยคได้ เมื่อพ.ศ.2469 และสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อ พ.ศ.2472 ท่านคงมุมานะศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป แต่พระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์เจ้าคณะจังหวัดกระบี่ และพระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) เจ้าเมืองกระบี่ได้ขอให้ท่านกลับไปปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดกระบี่ ท่านจึงเดินทางกลับจังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ.2473
หน้าที่การงาน
      ด้านการปกครอง 28 พฤษภาคม 2474 เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ 15 กรกฎาคม 2477 เป็นพระอุปัชฌาย์ 17 กรกฎาคม 2477 เป็นเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ 6 พฤศจิกายน 2477 เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วโกรวาราม 1 พฤษภาคม 2485 เป็นหัวหน้าพระวินัยธร ภาค 8 จนตลอดอายุการใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 ด้านการศึกษา พระราชสุตกวี เป็นพระผู้ฝักใฝ่ในการเรียนการสอนมาตั้งแต่เยาว์วัย เช่นเคยเป็นครูมาก่อนบรรพชา ดังนั้นเมื่อได้เป็นผู้บริหารการคณะสงฆ์จังหวัดกระบี่ ท่านจึงพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรมทันที เช่นเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีขึ้นที่วัดธรรมาวุธสรณาราม (วัดบ่อพอ) เมื่อ พ.ศ.2483 แต่เนื่องจากจังหวัดกระบี่เป็นถิ่นทุรกันดารจึงหาครูสอนได้ยากยิ่ง แม้ท่านเองก็มีงานด้านอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบอีกมาก การศึกษาบาลีจึงหายไป ท่านมีตำแหน่งทางด้านการศึกษา ดังนี้ พ.ศ.2467 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลีวัดดุสิตาราม จังหวัดธนบุรี พ.ศ.2474 เป็นกรรมการสอบ/ตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ.2474 เป็นเจ้าสำนักเรียน วัดแก้วโกรวาราม งานด้านเผยแผ่ เมื่อครั้งเป็นสามเณร ท่านได้เทศนาอยู่เป็นประจำทุก ๆ วันพระท่านจะเทศน์ทำนองเรียบ ๆ โดยพยายามรักษาแบบแผนและอักขรวิธี แต่ที่จัดว่าเป็นยอดนักเผยแผ่คือท่านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในฐานะผู้เผยแผ่อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นที่เลื่อมใสและยอมรับแก่ผู้พบเห็นทุกคน ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2515 รวม 40 ปี ตลอดเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมหรือก่อนเข้าพรรษา 45 วัน ท่านจะจาริกไปเป็นพระอุปัชฌาย์ในท้องที่จังหวัดกระบี่ โดยไปค้างแรมอยู่วัดละ 1-2 วัน ท่านใช้โอกาสนี้เทศนาสั่งสอนประชาชนโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยการเดินทางไปแต่ละท้องที่ต้องเดินเท้าไประยะทางถึง 20-30 กม. หรือวันละ 6-7 ชั่วโมงสำหรับที่วัดแก้วฯ นั้นท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้งจนมรณภาพ กรมการศาสนาได้ยกวัดแก้วฯ ขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างระดับจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2509 และได้รับเกียรติบัตรและพัดพัฒนาดีเด่นด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติดีเด่นเมื่อ พ.ศ.2526
       การจัดผลประโยชน์ในที่ดินวัดแก้วฯ เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองกระบี่พื้นที่ด้านตะวันออกประมาณ 71 ไร่ เดิมวัดอนุญาตให้ประชาชนเช่าที่ปลูกบ้านเข้าอยู่อาศัยประมาณ 50 ครัวเรือนหรือประมาณ 250 คน ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน การปลูกบ้านเรือนอยู่บางจุดกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม (สลัม) ต่อมาเมื่อทางราชการได้ยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ทางวัดได้นำปัญหาราษฎรเช่าที่วัดอยู่อาศัยขณะนั้น (พ.ศ.2515-2520) มีรายได้เดือน 700 บาทเศษ ซึ่งไม่คุ้มกับสภาพแหล่งเสื่อมโทรม ที่ขยายตัวออกไปในพื้นที่ของวัดทุก ๆปี พระราชสุตกวีจึงเสนอแผนผังวัดและขออนุมัติกันเขตต่อกรมการศาสนาเมื่อได้รับอนุมัติโครงการ และสัญญาจากกรมการศาสนาแล้วท่านจึงเริ่มดำเนินการพัฒนาวัดโดยเฉพาะพื้นที่เสื่อมโทรมโดยประกาศหาผู้ลงทุนอยู่ปีเศษในที่สุด นายชวน ภูเก้าล้วน บริษัทศรีผ่องพาณิชย์จำกัด เป็นผู้ขันอาสาเข้ามาดำเนินการพัฒนาที่ดินด้วยความเมตตากรุณาต่อประชาชนตามแผนของพระราชสุตกวี การอพยพผู้คนออกจากที่จึงเป็นไปอย่างสันติ ทั้งนี้ด้วยเมตตาบารมีแห่งพระราชสุตกวีโดยแท้ เพราะการให้ราษฎรออกจากที่ดินที่ตนอยู่อาศัยไปอยู่ที่แห่งใหม่นั้น เป็นงานที่ทำได้ยาก แม้ระดับรัฐบาลก็ทำสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ผลการตัดสินใจของท่านในครั้งนั้น ทำให้ที่ดินวัดบริเวณนั้นในอดีตกลายเป็นย่านธุรกิจการค้าที่เชิดหน้าชูตาจังหวัดกระบี่อยู่ทุกวันนี้
       งานอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า นับตั้งแต่ท่าปกครองวัดเป็นต้นมางานสำคัญอย่างหนึ่งคืองานอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ดังนั้นวัดแม้จะอยู่ใจกลางเมืองจึงยังคงมีป่าไม้เบญจพรรณอยู่อีกไม่น้อยกว่า 80 ไร่ สัตว์ป่า เช่นตะกวด, กระรอก, อีเห็น, กระจงและนานาชนิด ยังคงได้อาศัยป่าวัดอยู่อย่างสุขสบาย ด้วยเหตุนี้ กรมการศาสนาจึงถวายเกียรติบัตรและพัดพัฒนาดีเด่นด้านอนุรักษ์ธรรมชาติแด่พระราชสุตกวีเมื่อพ.ศ.2526
สมณศักดิ์
     6 พฤศจิกายน 2477 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุตาวุธกวี 5 ธันวาคม 2502 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชสุตกวี
การสาธารณสงเคราะห์
    โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลหรือโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดเริ่มก่อตั้งขึ้นในวัดแก้วฯ จนถึง พ.ศ. 2485 หรือประมาณ 20 จึงย้ายออกไปจากวัดในช่วงระยะที่โรงเรียนอยู่ในวัดได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากพระราชสุตกวี
     ระหว่าง พ.ศ.2475-2510 หรือประมาณ 30-35 ปี จังหวัดกระบี่มีโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดอยู่แห่งเดียวคือโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล เด็กต่างอำเภอที่เรียนมัธยมได้อาศัยวัดแก้วฯเป็นที่พำนัก ทุกคนได้รับความอนุเคราะห์จากท่านอย่างดี ศิษย์วัดแก้วฯในช่วงนั้นจึงมีปีละประมาณ 50-70 คน
     เนื่องในวาระจังหวัดกระบี่มีอายุครบ 100 ปี เมื่อ พ.ศ.2515 ท่านได้อนุญาตให้ทางราชการจัดทำเหรียญ (รูปเหมือนของท่านและพระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์) จำนวนสองเหมือนเหรียญเพื่อให้ประชาชนเช่าบุชาเหรียญละ 20 บาท โดยทางราชการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ขนาดโตกว่าองค์จริง 1 เท่าครึ่งประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางให้ประชาชนได้เคารพบูชาจนถึงทุกวันนี้ และอีกส่วนหนึ่งมอบให้วัดแก้วฯ นำไปใช้จ่ายในพิธีพระราชเพลิงศพพระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์อดีตเจ้าคณะจังหวัดกระบี่
มรณภาพ
      ท่านอาพาธด้วยโรคเนื้องงอกในกระเพาะปัสสาวะได้เข้าผ่าตัดและฉายรังสีที่โรงพยาบาลสงฆ์กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2519 โดยการอภิบาลอย่างดียิ่งของนายแพทย์สมบูรณ์ ลีนานนท์ อาการปัสสาวะขัดหรืออาการปัสสาวะไม่ออกหายไปสุขภาพของท่านดีเป็นปกติ จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 ท่านรู้สึกเหนื่อยหอบ และอ่อนเพลียมาก คณะศิษย์จึงนำส่งโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ เข้าพักห้องพิเศษตึกอาพาธ 4 จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2528 เช้าวันนั้น ท่านตื่นเวลา 05.00 น. เศษแล้วออกไปเดินตามระเบียงตึกอย่างที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุก ๆ วันแล้วกลับเข้ามาฉันเภสัชและอาหารเช้าตามปกติ เวลาประมาณ 08.00 น. เศษ ท่านเอนกายจำวัดในท่าตะแคงขวาใช้มือขวารับศีรษะ แขนซ้ายทอดไปตามร่างกายแล้วจะลุกขึ้นนั่งเพื่อรอแพทย์ พยาบาลที่จะเข้ามาถวายโอสถและรับญาติโยมที่นำภัตตาหารไปถวายจนกระทั่งเวลา 10.00 น.เศษ พระครูสมุห์สันติ สุเมโธ ผู้อุปัฏฐากเห็นว่าท่านพักเลยเวลาพอสมควรประกอบกับมีดยมมารอถวายภัตตาหารอยู่ ได้เข้าไปปลุกจึได้ทราบว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วในช่วงเวลา 09.00-10.00 น. ของวันที่ 23 กันยายน 2528 นั่นเองโดยที่พระและฆราวาสที่อุปักฐากอยู่ในห้องตลอดเวลาไม่ได้เห็นอาการผิดปกติ (จากท่าจำวัด) ในการมรณภาพเลย
      ท่านถือกำเนิดจากตระกูลพุทธมามกะผู้คงแก่เรียนจึงส่งผลให้ท่านเป็นผู้เคร่งครัดพระวินัย ใฝ่ศึกษา อดทนและเมตตาตระหนักในคารวธรรม มาตั้งแต่เยาว์วัยท่านใช้ชีวิตปฐมวัยด้วยการศึกษาเล่าเรียนและอุทิศเวลาส่วนหนึ่งสอนภาษาไทยให้กับผู้อื่นด้วยความเมตตากรุณา
     เมื่ออุปสมบทได้ 5 พรรษา ท่านสามารถตัดสินใจมอบกายถวายชีวิตแด่พระรัตนตรัย จึงศึกษาพระปริยัติด้วยอิทธิบาทและขันติธรรม สัมฤทธิผลเป็นพระเปรียญธรรมรูปแรกของจังหวัดกระบี่ แต่การศึกษายังมิได้ทันถึงขั้นสูงสุด ด้วยความกตัญญูต่อพระอุปัชฌาย์และมาตุภูมิ ท่านจึงต้องกลับไปรับภาระธุระพระศาสนา ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดารด้อยพัฒนาแห่งหนึ่งในยุคนั้น 55 ปีแห่งการบริหารการคณะสงฆ์ จังหวัดกระบี่ท่านมีหลักในการทำงานคือ งานทุกอย่างต้องไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย แม้เพียงเล็กน้อย มุ่งทำงานเพื่องาน ส่วนลาภยศสรรเสริญสุขเป็นผลพลอยได้ทั้งนั้น ต้องสันโดษอดทนตระหนักในคารวธรรมและเมตตากรุณา
      ด้วยเหตุผลนี้จึงยังผลงานการพระศาสนาท้งด้านรูปธรรมนามธรรมให้เกิดแก่ชาวกระบี่อย่างมากมหาศาล นับเป็นการสนองพระบรมราชโองการแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ปรากฎในสัญญาบัตรในการสถาปนาพระราชาคณะชั้นราชแด่พระรชสุตกวีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ตอนหนึ่งว่า"......ขอพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในอารามโดยสมควร.

[ ราคา ] ฿2,500
[ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07


วัตถุมงคล: พระเคื่องเมืองกระบี่,ภูเก็ต
เหรียญหลวงพ่อแช่ม พ.สเสือ 2486 ออก ปี 2541 วัดฉลอง กะไหล่ทอง
เหรียญหล่อหลวงพ่อแช่ม วัดโคกโตนด
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง รุ่นบุญสูง ปี 39 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 2497 บล็อกหลังยันต์มีขอบ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทวดและหลวงปู่สิงห์ ปี 46 เนื้อทองแดง
เหรียญ หลวงปู่สุภา กันตสีโล หลัง สก ปี 2538 เนื้อทองแดง
รูปหล่อโบราณครบรอบ 100 ปี หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 51 เนื้อทองผสม
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง หลังกาญจนาภิเษก ปี 39 เนื้อกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ภูเก๊ต ปี 2524 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต ปี 2543 กะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ภูเก็ต หลัง ภปร.ปี 2526 เนื้อทองแดง
รูปหล่อหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต อุดกริ่ง ก้น อุ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ภูเก็ต  หลัง ภปร.ปี ๓๕ เนื้อทองแดง
รูปหล่อนั่งถือพัดยศ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต เนื้อกะไหล่ทอง ปี พ.ศ. 2535 พร้อมกล่องเดิมจากวัด
รูปหล่อ หลวงพ่อช่วง วัดฉลอง จ.ภูเก็ต พิมพ์นิยม สวยๆ
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดเหนือคลอง จ.กระบี่ รุ่นแรก ปี 2516 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ภูเก็ต เนื้อทองแดง หลัง ภปร.ปี ๒๗ นิยม
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ภูเก็ต เนื้อทองแดง หลัง ภปร.ปี ๒๗
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 97 เนื้อทองแดง พิมพ์ ศ ตัน นิยม
รูปหล่อหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง นั่งถือพัดกะไหล่ทอง ก้นตะใบ โค๊ดเลข ๑ มาพร้อมกล่องเดิม
เหรียญสี่เหลี่ยมหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 97 เนื้อทองแดง หลังยันต์น้อย นิยม
เม็ดแตงหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง เนื้อเงินลงยาสีแดงขอบเขียว ปี 12 สภาพน่ารักห่วงเดิม
เหรียญสองอาจารย์ เมืองกระบี่ รุ่นแรก ปี 15
รูปหล่อโบราณหลวงพ่อแช่ม เนื้อโลหะผสม แขนทะลุ 2512 วัดฉลอง จ.ภูเก็ต
รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ตอนเหรียญหลวงพ่อนิโรธ
รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ วัดแก้วโกรวาราม จ.กระบี่ รุ่นแรก ปี 25

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด