หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 99 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2567

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






คุณธรรมและจริยธรรม
12-09-2553 เข้าชม : 6129 ครั้ง

คุณธรรมและจริยธรรมบนพื้นที่ไซเบอร์
      ยุคสมัยนี้ที่เป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ในโลกยุคปัจจุบันอินเทอร์เน็ต(Internet) กลายเป็นสื่ออย่างใหม่(New Media) ที่มีอิทธิพล(Influence) ต่อการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นอย่างมาก นอกนั้นจากการที่เราได้ศึกษาเนื้อหาและกระบวนการทำงานในระบบสารสนเทศสำหรับผู้นำที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าในการพัฒนาขึ้นของระบบคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม ในสภาพปัจจุบัน ทำให้ระบบสารสนเทศไม่เพียงเป็นเรื่องของการประมวลผล และการรับส่งข้อมูลและความรู้แบบเดิมๆเท่านั้น หากได้มีการผสมผสานทางเทคโนโลยีจนเกิดเป็นโลกเสมือน (Cyber World) ขึ้นมา ในโลกเสมือนดังกล่าวนี้ ประกอบไปด้วยองค์กรเสมือน เครือข่ายเสมือน การพาณิชย์ในโลกเสมือน เป็นต้น และในโลกเสมือนดังกล่าวเราสามารถเห็นได้ว่ามนุษย์สามารถประกอบกิจกรรม ธุรกรรม หลายๆอย่างได้เหมือนในโลกจริงๆในโลกเสมือนนี้ อินเตอร์เน็ท (Internet) เปรียบเสมือน "ของขวัญแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ" ที่สวรรค์ประทานมาให้กับมนุษย์ และเพียงแค่มนุษย์ใช้ปลายนิ้วสัมผัสบนคอมพิวเตอร์ มนุษย์ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ในการประกอบธุรกิจ(E-Commerce) ในการติดต่อสื่อสาร(Communication) ในการเปิดโลกทัศน์ หรือแม้แต่การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) เพื่อการแสวงหาองค์ความรู้(Knowledge)ใหม่ๆได้โดยง่ายดาย

      แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป "สื่ออย่างใหม่" ชนิดนี้ ไม่เพียงสร้างคุณอนันต์ หากยังสร้างโทษมหันต์ให้กับมนุษย์อีกด้วย สื่อสารสนเทศเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด "ปัญหาอาชญากรรม" และยิ่งเวลาผ่านไปยาวนานเท่าไร ปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากโลกอินเทอร์เน็ต (Internet) ยิ่งกลับทวีความรุนแรง และกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังที่อยู่คู่กับสังคมเสมือนเป็นเวลายาวนาน ในขณะที่ภาครัฐก็ไม่มีทีท่าว่าจะสามารถหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปได้ ตรงกันข้าม ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นภัยมืดที่มอมเมา คุกคามชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชน เป็นบ่อเกิดของปัญหาอาชญากรรมที่มีผลสืบเนื่องมาจาก "การก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการค้นหาวิธีการและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หนึ่งในหลายๆวิธีนั้นคือ การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในพื้นที่ไซเบอร์ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ต้องมีการค้นคว้าและหาทางออกให้มากขึ้น
      ในสังคมทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผู้นำนั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ ความสามารถแล้วยังต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่มากกว่าบุคคลอื่นด้วย ดังนั้นในพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคมนาคมเข้าด้วยกัน เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงโลกเสมือนจริง (Virtual World) เข้ากับเครือข่าย โทรคมนาคมสมัยใหม่ เหมือนกับเป็นโลกใหม่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งเพื่อให้สามารถทำงานและมีกิจกรรมในพื้นที่นี้ได้ก็ต้องมีการพัฒนาบุคคลต่างๆที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ คู่กับการมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานเหมือนในสังคมทั่วๆไป การให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมโดยเฉพาะตัวของผู้นำ ในโลกเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์ดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณธรรมและจริยธรรมเป็นเสาค้ำที่สำคัญในการพัฒนาโลกเสมือนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้น
     เวลาที่เราพูดถึงคำว่า “โลกเสมือนจริง (Virtual World)” และ คำว่า ไซเบอร์ (Cyber) หรือ “พื้นที่ไซเบอร์ ( Cyberspace ) มักจะหมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอีเล็คโทรนิคส์และคอมพิวเตอร์ ซ่งอาจหมายรวมถึงการทำพาณิชย์อีเล็คโทรนิคส์ (e-commerce) ธนาคารอีเล็คโทรนิคส์ มหาวิทยาลัยอีเล็คโทรนิคส์ (e-university) เป็นต้น การใช้คำสองคำนี้ค่อนข้างจะปะปนกันอยู่พอสมควร แต่ตามความเห็นของผู้เขียนแล้ว โลกเสมือนจริง (Virtual World) โลกหรือองค์กรที่เป็นอีเล็คโทรนิคส์ ส่วน “ไซเบอร์ (Cyber ) และ พื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) คือพื้นที่ที่เชื่อมต่อโลกหรือองค์กรอีเล็คโทรนิคส์ดังกล่าวเข้ากับเครือข่ายโทรคมนาคมยุคใหม่ โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญ
     หากเราจะพิจารณารายละเอียดที่เป็นประเด็นสำคัญๆของเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในพื้นที่ไซเบอร์และโลกเสมือนจริง สามารถนำเสนอได้ดังต่อไปนี้
      10.1 ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
หากจะทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่าคุณธรรมและจริยธรรม ควรต้องทำความเข้าใจความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งความหมายของสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันดังต่อไปนี้

       คุณธรรม (Virtue) ความหมายของคำว่าคุณธรรมตามพจนานุกรม หมายถึงสภาพคุณงามความดี ความดีงาม หรืออาจหมายถึงศักยภาพทางใจในด้านที่ดีงามของมนุษย์ อีกทั้งยังหมายถึงแนวคิดที่ดีงามในจิตใจมนุษย์ นอกจากนั้นยังอาจหมายถึงธรรมะที่อยู่ในจิตสำนึกหรืออุปนิสัยของบุคคล หากเรามองเทียบเคียงกับความหมายของคำที่ใกล้เคียงเช่นคุณภาพ หรือคุณลักษณะ ทำให้เข้าใจได้ว่าคำว่าคุณธรรมน่าจะหมายถึงองค์รวมที่เป็นนามธรรมของบุคคลว่าเขามีคุณลักษณะที่เป็นคุณงามความดีมากน้อยเพียงใด หรือมีคุณลักษณะที่ดีงามในด้านใดบ้าง สำหรับผู้เขียนเห็นว่า “คุณธรรมน่าจะหมายถึงคุณลักษณะที่ดีงามในจิตใจของมนุษย์”
      จริยธรรม (Ethics) ในส่วนความหมายของจริยธรรมนั้นตามพจนานุกรมหมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม แต่มีนักปราชญ์อีกหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่าจริยธรรมไว้แตกต่างออกไปเช่น
     ลอเรนซ์และเวปเบอร์ (Lawrence & Weber) ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง “แบบแผนของการกระทำที่ถูกต้องหรือเป็นเครื่องนำทางไปสู่หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกหลักศีลธรรม”
     เพียเจท์ (Piaget) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง องค์ประกอบของกฎเกณฑ์ที่บุคคลยอมรับว่าถูก ว่าดี ว่าควร เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม
     ขณะที่โคห์ลเบอร์ก (Kohlberg) บอกว่าหมายถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อันเป็นกฏเกณฑ์มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในสังคม ซึ่งบุคคลจะพัฒนาขึ้นจนกระทั่งมีจริยธรรมของตนเอง
     ระวี ภาวิไล ก็ได้ให้ความหมายของคำว่าจริยธรรมไว้ว่า หมายถึงเครื่องกล่อมเกลาให้มนุษย์อ่อนไหวประพฤติ ปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ อย่างมีกติกา
    ขณะที่ผู้เขียนเห็นว่าจริยธรรมน่าจะหมายถึง “หลักยึดอันดีงามในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์”
    จริยศาสตร์ (Ethics Philosophy) เป็นปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์รวมทั้งศึกษาเรื่องความประพฤติและการกระทำของมนุษย์ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควรเป็นต้น ทั้งนี้โดยอาศัยนำเอาเหตุผลพื้นฐานมาเสนอเป็นแนวคิด ความคิดเห็น และข้อโต้แย้งจากทัศนะต่างๆ แต่ยังไม่อาจหาข้อสรุปที่เป็นหลักสากลร่วมกัน ดังนั้นเราพอสรุปได้ว่า จริยศาสตร์นั้นจะศึกษาความประพฤติของมนุษย์ทั้งด้านควรกระทำและไม่ควรกระทำ ทั้งสองด้าน โดยเสนอเป็นทางเลือกไว้ แต่ไม่ได้สรุปลงเป็นข้อยึดถือหลักการเดียวกันเป็นสากล
     ศีลธรรม (Moral) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบ คำว่าศีลธรรมมักจะใช้ในฐานะข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาต่างๆ
     ดังนั้นเราพอจะกล่าวได้ว่าเมื่อพูดถึงการศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมนั้น เรากำลังศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความมีศีลธรรม คุณลักษณะที่เป็นความดีของบุคคล ตลอดจนความประพฤติและการกระทำที่มีศีลธรรมของบุคคล คุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นลักษณะที่ดีงามในจิตใจมนุษย์ หากเราสามารถพิจารณาได้ว่ามนุษย์อาจพัฒนาสิ่งที่เป็นความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและความสามารถ ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติภายนอกอันทำให้บุคคลเป็นคนเก่ง แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็สามารถพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นคุณสมบัติภายในอันถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติให้บุคคลเป็นคนดี นั่นเอง หรืออาจกล่าวในคำพูดของผู้เขียนได้ว่า การศึกษาความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมก็คือ “การศึกษาถึงลักษณะที่ดีงามในจิตใจ อันนำมาสู่การมีหลักยึดอันดีงามในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์” นั่นเอง
      10.2 ขั้นตอนการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
      ในการพิจารณาขั้นตอนในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของมนุษย์สามารถศึกษาได้จากแหล่งต่อไปนี้
      ก. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการ (Need Hierarchy Theory) ของมาสโลว์ (Maslow) ซึ่งแยกความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นคือ ความต้องการทางกาย ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการความรัก ความต้องการความนับถือ และความต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
     ข. ทฤษฎีการพัฒนาวุฒิภาวะคุณธรรม (Levels of Morality Theory) ของโคลเบอร์ก ซึ่งได้แบ่งกระบวนการแห่งการพัฒนาการไว้ 3 ระดับ รวม 6 ขั้นตอน คือ
           ระดับที่ 1 เริ่มแรกแห่งคุณธรรม มี สองขั้นตอนคือขั้นตอนการพึ่งพา และขั้นตอนแห่ง อัตตะนิยมและหวังผลตอบแทน 
           ระดับที่ 2 ยึดถือตามประเพณีนิยม มีสองขั้นตอน คือขั้นตอนแห่งความหวังและความสัมพันธ์ และขั้นตอนระบบสังคมและมโนธรรม 
           ระดับที่ 3 ยึดถือคุณธรรมด้วยจิตวิญญาณ มีขั้นตอนแห่งสัญญาสังคม และขั้นตอนแห่งหลักจริยธรรมสากล
    ค. ทฤษฎีการพัฒนาจิตวิญญาณแนวศาสนาพุทธตามหลักในหนังสือไตรภูมิพระร่วงที่แต่งโดยพระมหาธรรมราชาลิไท ที่กล่าวถึงภูมิทั้งสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ตามแนวโลกียะซึ่งแบ่งออกเป็นภูมิย่อยๆได้อีกเป็น 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน คือชั้นสัตว์นรก ชั้นสัตว์เดรัจฉาน ชั้นมนุษย์ ชั้นเทวดา ชั้นพรหม ส่วนในขั้นการพัฒนาสภาวะจิตในแนวโลกุตระเพื่อแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นสามารแบ่งเป็นขั้นใหญ่ๆ ได้แก่ขั้นโสดาบัน ขั้นสักทาคามี ขั้นอนาคามี และขั้นพระอรหันต์ เป็นต้น
    ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่าขั้นตอนในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนั้นก็คือการพัฒนายกระดับสภาวะจิตใจซึ่งเป็นการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์จากภายใน เป็นหลักนั่นเอง
     10.3 ที่มาของคุณธรรมและจริยธรรมในโลกเสมือน
     จากที่เราได้ศึกษามาในบทก่อนๆ เราจะเห็นว่าความสามารถของระบบสารสนเทศที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศและระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตของบุคคลอย่างมาก จึงส่งผลกระทบต่อปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ด้าน ผลกระทบดังกล่าวอาจจะมีทั้งในด้านบวกและลบ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในด้านใดก็ตาม องค์กรที่ต้องนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการทำงานควรคำนึงถึงผลกระทบดังกล่าวเพื่อที่จะสามารถเตรียมการรองรับหรือป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาได้
     จากการติดตามการเติบโตของเว็บไซต์บนพื้นที่ไซเบอร์และโลกเสมือนจริง บริษัทที่ชื่อ เน็ตคราฟท์ ได้เฝ้าติดตามดูการขยายตัวของเว็บไซต์มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 1995 ตอนนั้นเว็บไซต์ทั่วทั้งโลกใบนี้มีจำนวนทั้งหมดเพียง 18,000 เว็บไซต์เท่านั้นเอง เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2549 รายงานของเน็ตคราฟท์ระบุว่าจำนวนเว็บไซต์ที่โลกมีอยู่ในเวลานี้ทะลุหลัก 100 ล้านเว็บไซต์ไปแล้ว จำนวน 100 ล้าน อาจดูไม่มากมายนัก แต่ถ้าคำนึงถึงระดับการขยายตัวของเว็บไซต์ที่ทวีขึ้นจากระดับ หมื่น เป็นหลัก 100 ล้านนั้น ต้องถือว่ารวดเร็วอย่างมาก นับจากปี 1995 จำนวนของเว็บไซต์จึงเพิ่มขึ้นมาถึงหลัก 50 ล้านเว็บไซต์ ในปี 2004 และโลกได้ใช้เวลาอีกเพียงแค่ 2 ปีเศษเท่านั้น ก็ทำให้ปริมาณของเว็บไซต์เพิ่มพรวดพราดขึ้นมาทะลุหลัก 100 ล้านเว็บไซต์อย่างเช่นในเวลานี้
    เว็บไซต์ 100 ล้านเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นมีกว่าครึ่งที่ไม่ได้เป็น แอคทีฟไซต์ คือเว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ หรือบ่อยครั้ง แอคทีฟไซต์จริงๆ มีอยู่ประมาณ 47-48 ล้านเว็บไซต์จำนวนเว็บไซต์เหล่านี้ขยายปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงระยะ 2 ปีหลัง ด้วยฝีมือของบรรดาบล็อกเกอร์ทั้งหลาย (เจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวที่เรียกว่า บล็อก) กับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการเผยแพร่ธุรกิจของตนเองออกสู่วงกว้างให้มากที่สุด โดยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด คำถามที่น่าสนใจก็คือ จากจุด 100 ล้านเว็บไซต์ในเวลานี้เวิร์ลด์ไวด์เว็บจะคลี่คลายออกไปอย่างไร
    คำตอบของผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่า ไม่แน่นักในอนาคต ยูอาร์แอล (URL-ชื่อเว็บไซต์) อาจกลายเป็นชื่อทั่วไปที่ผู้คนใช้กันอย่างแพร่หลายอย่างเช่นชื่อที่พ่อ-แม่ของเราตั้งให้เมื่อลืมตามาดูโลก หรือหมายเลขบัตรประชาชน นั่นหมายถึงว่า หนึ่งคนบนโลกนี้ อาจมีหนึ่งเว็บไซต์เป็นของตนเอง ถึงตอนนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บ-โลกเสมือนจริงของเราคงทั้งสลับซับซ้อนและทรงพลังในการกำหนดวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างคาดไม่ถึงไปเลยทีเดียว สำหรับข้อมูลผู้ที่เป็นสมาชิกและเข้าถึงพื้นที่ไซเบอร์ในปี 2007 ทั่วทั้งโลกมีประมาณ1,200 ล้านคนเลยทีเดียว
     อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเท่าที่เราพอจะประเมินถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ของระบบสารสนเทศ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ พื้นที่ไซเบอร์และโลกเสมือนจริง ที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตของเรานั้น หากพิจารณากันอย่างลึกซึ่งแล้วมีหลายด้านด้วยกัน แต่ส่วนที่ทำให้เราต้องมาคำนึงถึงระบบคุณธรรมและจริยธรรมคือผลกระทบในด้านลบที่เกิดขึ้น ได้แก่
    10.3.1 ผลกระทบด้านองค์กร
     วิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ส่งผลกระทบในระดับองค์กรหลายด้านที่สำคัญ เช่นต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร และผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกิจ ตลอดจนผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคล ส่งผลให้อาจมีการปรับปรุงองค์กร การเลิกจ้างพนักงาน รวมทั้งการเลิกทำธุรกิจที่เคยทำอยู่
    10.3.2 ผลกระทบด้านเฉพาะตัวบุคคล
    บุคคลขาดทักษะในการบริหารจัดการและใช้งานระบบสารสนเทศใหม่ๆอาจเกิดความเครียด ตลอดจนขาดความมั่นใจ ในการทำงานกับสารสนเทศที่ตนเองไม่เคยชิน จนกระทั่งบางครั้งอาจลุกลามไปสู่ การต่อต้านจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเคยชินกับระบบการทำงานด้วยเทคโนโลยีเดิมๆที่ตนมีความรู้ ความเข้าใจ
    10.3.3 ผลกระทบด้านการแข่งขันทางธุรกิจ
    การพัฒนาขึ้นของโลกเสมือนและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ส่งผลให้ กำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้นเพิ่มคุณภาพของงาน ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การเติบโตในเวลาที่เหมาะสม เข้าถึงกลุ่มตลาดเป้าหมายได้รวดเร็วลดเวลาในการทำงาน และบางองค์กรมีบริการที่โดดเด่น แต่อาจส่งผลกระทบในด้านลบคือการแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้สภาพปลาใหญ่กินปลาเล็กยิ่งรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันก็ยิ่งมีโอกาสเสียและล้มละลาย ซึ่งส่งผลต่อวิกฤติของระบบเศรษฐกิจที่รุนแรงมากขึ้น
     10.3.4 ผลกระทบด้านกฎหมาย จริยธรรม และสิทธิส่วนบุคคล
      1) ด้านกฎหมายถึงแม้ว่า องค์กรจะได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมากมาย จากการนำระบบสารสนเทศใดๆ เข้ามามาใช้ในองค์กร แต่การนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงกฎหมาย อาจทำให้องค์กรเกิดความเสียหายจนถึงขั้นล้มละลายหรือปิดกิจการไปได้ ผลกระทบด้านกฎหมายที่ควรพิจารณาคือเรื่องลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศเรื่องของค่าตอบแทนของผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เรื่องเกี่ยวกับบุคคลผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากระบบสารสนเทศ
      2) ด้านจริยธรรม องค์กรที่นำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้สนับสนุนการทำงาน หรือองค์กรที่กำลังดำเนินโครงการ (Implement) ระบบสารสนเทศ ควรตระหนักถึงหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้งานหลายประการ ได้แก่
       - ไม่ควรใช้งานระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด
       - ควรมีการควบคุมดูแลการใช้งานระบบสารสนเทศของบุคลากรในองค์กร
       - คำนึงถึงด้านการโจรกรรมซอฟต์แวร์
       - คำนึงถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในข้อมูลของบุคลากร
       - การเข้าใช้ฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
       - การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายอื่น
       - การเข้าถึงสารสนเทศภายนอกระบบ
       - การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการส่วนตัว
     3) สิทธิส่วนบุคคล เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบสารสนเทศชนิดต่างๆ มีหลายประการด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามการสืบค้นสารสนเทศควรคำนึกถึงความเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่ควรละเมิดสิทธิ ด้วยการนำสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิด หรือนำสารสนเทศที่เป็นความลับขององค์กรไปเปิดเผย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีรูปแบบการทำงานบนเว็บไซต์ ควรตระนักถึงปัจจัยด้านนี้เป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันมีการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมการเข้าใช้ข้อมูลที่เป็นความลับและเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลขององค์กรได้
     10.3.5 ผลกระทบด้านลบต่อสังคม
     การขยายตัวขององค์กร ประกอบกับความนิยมในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์กร รวมถึงปัจจัยด้านการเพิ่มสามารถของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ช่วยให้ทุกคนทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ ทั้งในด้านบวกและด้านลบแตกต่างกันไป หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดโลกแบบใหม่ที่เรียกว่า “โลกเสมือนจริง (Virtual World)” และพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ที่เกิดจากอิทธิพลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครื่อข่ายโทรคมนาคมยุคใหม่ ถึงแม้ว่าสังคมจะได้รับประโยชน์มากมายของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ แต่สังคมก็มีโอกาสได้รับผลเสียจากระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเหล่านี้เช่นเดียวกัน ได้แก่
   1) อัตราการจ้างงาน ในบางครั้งโดยเฉพาะเมื่อมีการนำเอาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระยะแรกๆอาจส่งผลให้การจ้างงานลดลงได้
   2) อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่นการโจรกรรมผ่านระบบออนไลน์ เว็บไซด์ลามก การล่อลวงทางเพศในโลกออนไลน์
   3) อันตรายทางอ้อมจากเว็บไซต์อันตราย เช่นเกมส์ออนไลน์ที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในหมู่เด็กๆ เป็นต้น
   4) การไม่รับผิดชอบต่อความผิดที่เกิดขึ้น เพราะยากในการสืบสวน สอบสวน
   5) ผลกระทบด้านภาษา เราจะพบว่าในโลกเสมือนเด็กเยาวชน เมื่อเข้าไปสื่อสารในพื้นที่ไซเบอร์เขาจะมีการใช้ภาษาที่สั้นๆกระชับ และใช้เฉพาะกลุ่ม หรือกระทั่งใช้คำแผลง มีการกล่าวว่าเรื่องเหล่านี้ หากเยาวชนเหล่านี้ไม่นำไปใช้ในชีวิตจริงก็อาจจะไม่เกิดปัญหาอะไรมาก แต่หากว่าพวกเขานำไปใช้ในชิวิตจริงๆกับกลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะมีปัญหาตามมาได้
    6) พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่ทำการสร้างข่าวสารเท็จ ก่อความวุ่นวายกับเว็บไซด์ ต่างๆเพื่อให้เกิดความวุ่นวาย แล้วกลุ่มของตนจะได้ฉกฉวยเอาผลประโยชน์ทางการเมืองและทางธุรกิจ
        จากผลกระทบด้านลบของการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีโทรคมนาคมมาใช้ จนกระทั่งเกิดการผสมผสานบูรณาการขึ้นเป็นโลกเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์นี้ ทำให้การพูดถึงและคิดค้นวิธีที่จะแก้ไขและป้องกันปัญหาเหล่านี้มีการพิจารณากันอย่างจริงจัง และคุณธรรมและจริยธรรมในการทำกิจกรรมต่างๆบนพื้นที่ไซเบอร์คือมาตรการหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้การพัฒนาโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ให้พัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
       10.4 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์
       แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากผลกระทบด้านลบ ในการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคมนาคมแบบใหม่ๆเข้ามาใช้ จนกระทั่งเกิดเป็นสังคมเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์จึงควรมีมาตรการดังต่อไปนี้

     1) มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐที่ทำบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เช่นในส่วนกลางคือกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ รวมทั้งหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่วิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบ และโยงใยไปสู่การเกิดปัญหาสังคมในต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ" และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ "สังคมระดับรากหญ้า" หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดี ก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท อันไม่ ไม่เพียงเป็นการทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของไทยเท่านั้น แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ(Media) ในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยี และกระจายองค์ความรู้ใหม่ๆ (Knowledge) ไปสู่ "สังคมระดับรากหญ้า"ได้ตามวัตถุประสงค์ แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน การค้นหาผลงานทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าการค้นหาสิ่งที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตเสียอีก สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอดห่วงไม่ได้ว่า หากภาครัฐยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล "พื้นที่ไซเบอร์"อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว "นโยบายอินเทอร์เน็ต( Internet) ประจำตำบล" ที่ภาครัฐหวังจะใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการกระจายความเจริญ และความรู้ อาจกลายเป็นนโยบายการกระจายภาพโป๊ เปลือย สื่อลามกอนาจารและการหลอกลวงต่างๆในรูปแบบใหม่ไปสู่รากหญ้าและพื้นที่ชนบทก็เป็นไปได้เช่นกัน
     2) มาตรการทางกฎหมาย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างพอเพียง เช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งศาลสถิตยุติธรรมหลายประเทศ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดไม่ต่างจากกระทำในโลกจริงแล้ว ยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีสบัญญัติเพิ่มอำนาจ การสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องจัดเก็บ ส่งมอบ หรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ การเกิดกรณีกระทำความผิดในเรื่องนี้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้เกิดกระแสเรียกร้องจากประชาชนให้ภาครัฐออกมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อใ ช้เป็นกลไกในการกำกับดูแลเว็บไซต์ ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ในปัจจุบันคือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ซึ่งบรรดาผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรทราบเพราะความผิดหลายอย่างที่มีโทษทางอาญามีทั้งโทษปรับและโทษจำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เช่นความผิดในการกระทำการอันเป็นแฮกเกอร์ การส่งต่อข้อมูลที่เป็นภาพลามก ภาพโป๊ หรือการส่งไวรัสไปก่อกวนผู้อื่น เป็นต้น
      3) มาตรการทางการควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีสมาคม เครือข่ายที่มีการดูแลกันเองในโลกเสมือนจริงและผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพราะว่าเป้าหมายในการเก็บ หรือแสดงข้อมูลจึงควรเป็นเรื่องของการป้องกันการกระทำความผิด ทำให้การฉ้อโกง หรือหลอกลวงกันทำได้ยากขึ้น นอกจากนั้นควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะ การเพิ่มขึ้นของการกระทำความผิดบนเครือข่ายขยายตัวรวดเร็วเป็นอย่างมาก ประกอบกับความยากลำบากในการติดตามร่องรอย และระบุตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง ทำได้ยาก อีกด้วย นอกจากนั้นองค์กร เครือข่าย สมาคมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการ ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สร้างจริยธรรมของเว็บมาสเตอร์ โดยเอามาจากกฎหมายครึ่งหนึ่ง และสังคมอีกครึ่งหนึ่ง โดยที่องค์กรสมาคมเหล่านี้ต้องเป็นหลักให้คนทำเว็บไซต์ และคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถขอความช่วยเหลือ รวมไปถึงคำปรึกษาปัญหาต่างๆ โดยชมรมและสมาคมเหล่านี้จะต้องเป็นหัวหอกในการ ขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ปัญหา ให้กับเว็บมาสเตอร์ ทั้งภาครัฐ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น ปัญหาการขโมยโดเมนเนมในเวลานี้ โดยการช่วยกันคิดหาวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง และการออกกติกาจริยธรรมการใช้เว็บบอร์ด เป็นต้น 
     4) มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่นสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันทางสังคมและสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอ ที เพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยทั้งนี้ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมดังกล่าวต้องมีความรู้ทาง ไอ ที ในระดับที่สามารถควบคุมและดูแลสมาชิกของตนได้
     5) มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศ และความรู้ ไอที ให้กว้างขวาง โดยสถาบันการศึกษา รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
    6) มาตรการทางคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของโลกเสมือนจริงดังกล่าว
     ต่อมาคือ อยากให้คนหันมาให้ความสนใจในเรื่องอินเทอร์เน็ตมากขึ้น หันมาศึกษา และทำความเข้าใจว่ามีประโยชน์ หรือมีโทษอย่างไร คนที่ทำเว็บไซต์ ควรสร้างเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ มีคุณธรรม และ จริยธรรม และควรคำนึงผลกระทบทางสังคมให้มาก การแก้ไขปัญหาและผลกระทบในโลกเสมือนจริงในปัจจุบัน ด้านหนึ่งคงต้องมองทั้งในด้านของรัฐ ด้านองค์กรผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และระบบสารสนเทศอื่นๆ แต่อย่างที่ทราบว่าจำนวนเว็บไซด์เกินครึ่งเกิดโดยบล็อกเกอร์ ซึ่งเป็นปัจเจกชนทั่วไป ดังนั้นการให้ความสำคัญในด้านผู้ใช้ทั่วไปก็มีสำคัญไม่ย่อหย่อนกว่ากันเลยทีเดียว
      10.5 การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมบนพื้นที่ไซเบอร์
      การที่โลกเสมือนจริงได้มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หากบุคคล และสถาบันต่างๆในสังคมเสมือนจริงอยากให้การพัฒนาการของการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ดังกล่าวนี้คือการสร้างเสาค้ำที่สำคัญให้กับพัฒนาการต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกเสมือนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลอีเล็คโทรนิคส์ พาณิชย์อีเล็คโทรนิคส์ หรือกิจกรรมอื่นๆที่ดำเนินการผ่านบนพื้นที่ไซเบอร์ ก้าวหน้าไปอย่างสมเหตุสมผลนั่นเอง
     ในขณะเดียวกันการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ยังเป็นการพัฒนาด้านจิตใจของบุคคลและองค์กรต่างๆ ทั้งนี้เพราะในสังคมที่แตกต่างกันคุณธรรมพื้นฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม ในขณะที่การดำเนินกิจกรรมต่างๆบนพื้นที่ไซเบอร์นั้นสามารถทำให้โลกทั้งโลกกลายเป็นโลกเดียว หมายถึงการที่มนุษย์ในทุกมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็วและต่อเนื่อง หากบุคคลและองค์กรไม่ได้พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของตนเองอย่างเพียงพอ ทำให้บุคคลและองค์กรเหล่านั้นขาดภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่สามารถจะใช้พื้นที่ไซเบอร์และโลกเสมือนให้เกิดประโยชน์กับตนเองและองค์กร ตลอดจนสังคมวงกว้าง ในทางกลับกันอาจสร้างโทษมหันต์ให้แก่ตนเอง องค์กรและสังคมอีกด้วยซ้ำไป
       หลักการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต ควรคำนึงถึงหลักศีลธรรมของทุกๆศาสนา เพราะมันคือการประยุกต์หลักศีลธรรมของทุกศาสนาเข้ากับการแสดงพฤติกรรม การดำเนินชีวิต และการทำกิจกรรมในโลกอินเทอร์เน็ต เพราะปัญหาการขโมยข้อมูล การปล่อยไวรัสไปเป็นภัยและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น การทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยการละเมิด การทำเว็บไซต์เพื่อการฉ้อโกง เพื่อการล่อลวงทางเพศหรือเพื่อการอื่นๆ การขโมยรหัสลับของผู้อื่น การทำเว็บโป๊ การซื้อขายซีดีโป๊ ขายบริการทางเพศ การสร้างเรื่องเท็จ หรือ กุเรื่องขึ้นเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น การสร้างข่าวบิดเบือน หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่น ตลอดจนการค้ายาเสพติดผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งการกระทำเหล่านี้ ล้วนฝ่าฝืนหลักศีลธรรมของทุกๆศาสนา และบุคลากรในทุกศาสนาควรจะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเอาจริงเอาจัง เพราะว่าในขณะที่ อินเทอร์เน็ต เป็นระบบสารสนเทศที่มากด้วยคุณค่า เป็นศูนย์รวมทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่ง “ศาสนาและคุณงามความดี” แต่ในขณะเดียวกัน อินเทอร์เน็ตก็ยังสามารถทำตัวเป็นมารร้าย ทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่ง “ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม อันดีงาม” ได้เช่นเดียวกัน
      การที่กระแส เว็บไซต์ไร้จริยธรรม ที่ผุดขึ้นอย่างกับดอกเห็ดบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นเหตุให้ผู้รับผิดชอบและผู้ประกอบอาชีพในวงการเว็บไซต์ภายใต้สมาคมผู้ดูแลเว็บ สมาคมต่างๆ มีความกังวลใจ ด้วยเกรงว่าเว็บไซต์เหล่านี้จะเป็นแหล่งมอมเมาผู้คนอย่างอันตรายที่สุด แต่ครั้นจะให้รัฐไปสั่งปิดเว็บไซต์ทุกเว็บก็เกินความสามารถที่จะทำได้ เมื่อการปิดเว็บไซด์ไร้จริยธรรมทำได้อย่างลำบาก โครงการและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการสร้างผู้ดูแลเว็บ (Web Master)ให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม นอกจากนั้นก็มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกรรมและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ได้รวมตัวกันเป็นชมรม และสมาคม ทั้งนี้เพื่อให้ชมรมและสมาคมเหล่านี้ได้พัฒนาและสร้างสรรค์เว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ภายใต้การสนับสนุน ควบคุมและดูแลในหมู่ผู้ประกอบการด้วยกันเอง จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญทางเลือกหนึ่งที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความต้องการให้เกิดขึ้น
     การปลูกฝังจริยธรรมในเรื่องพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ และผู้ดูแลเว็บไซด์คิดได้ว่าอะไรดี-ไม่ดี อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำลงไปในหัวใจให้เขาเหล่านั้นให้มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม คิดถึง ใจเขา ใจเรา การเป็นคนทำเว็บไซต์ที่ดีหลีกเลี่ยงไม่ทำเว็บไซต์ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นในทางเสียหาย หรือทำให้ผู้อื่นต้องได้รับความเดือดร้อน ผู้ทำเว็บไซต์ที่ดีเหล่านี้อาจจะชี้นำเรื่องการใช้ชีวิตที่เหมาะสมในโลกออนไลน์ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาปัญหาต่างๆให้ได้ด้วย เพราะใครก็ตามที่อยากยึดอาชีพโปรแกรมเมอร์ หรือคนทำเว็บไซต์ เขาควรจะมีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อสังคม พวกเขาต้องเข้าใจถึงผลเสียที่จะตกกับบุคคลอื่นสังคมเสมือนจริง และผู้ทำกิจกรรมอยู่บนพื้นที่ไซเบอร์โดยรวม อันเกิดจากการกระทำที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมของคนที่ประกอบอาชีพในการทำเว็บไซด์ด้วยกันอย่างคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนและขาดความรับผิดชอบ การสร้างผู้ประกอบการน้ำดีให้เกิดขึ้นและขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ สักวันคงจะไล่ น้ำเสีย ให้หมดไปได้ เมื่อถึงวันนั้นพื้นที่ไซเบอร์ก็คงสร้างประโยชน์สุขให้กับมนุษย์ได้มากกว่าผลกระทบด้านลบที่มนุษย์จะได้รับจากเว็บไซด์ต่างๆเหล่านี้ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
      10.6 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพในโลกเสมือน
      จรรยาบรรณ (Code of Ethics) หมายถึงประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิกที่ประกอบวิชาชีพร่วมกันอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
      สำหรับโลกเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์ บรรดานักวิชาการ กลุ่มผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต รวมทั้งสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไซตืและสมาคมผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ พยายามเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ในการสัมนนาที่จัดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการดูแลการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับโลกเสมือนจริง ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเว็บไซด์และผู้ทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ รวมทั้งเสนอขั้นตอนที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่และสถาบันของรัฐในการเข้าไปดูแลและควบคุมการทำงานในโลกดิจิตอลดังกล่าวนี้ เพื่อป้องกันการกระทำผิด แต่เนื่องจากการดูแลและควบคุมนี้ทำได้ค่อนข้างยากพอสมควร เพราะเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ก็มีจำนวนน้อย ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จะนำมาเพื่อใช้ไปสืบหาตัวตนของคนๆ หนึ่งในพื้นที่ไซเบอร์ได้นั้น ก็ค่อนข้างยากลำบาก ในขณะเดียวกันก็มีเว็บไซด์จำนวนมากที่ดำเนินการจากต่างประเทศ บางเรื่องเป็นเรื่องผิดกฎหมายและผิดหลักวัฒนธรรมประเพณีของบ้านเมืองเรา แต่ในบ้านเมืองของเขาถือเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้โดยเปิดเผยและถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเว็บไซต์เกี่ยวกับการพนัน หรือรูปภาพบางอย่าง เป็นต้น ในขณะเดียวกันอาจมีเว็บไซต์บางอย่างที่เกี่ยวกับลัทธิความเชื่อต่างๆ เช่นหากเขาทำไปอาจเป็นการละเมิดสิ่งที่เราเคารพนับถือ และเราอาจจะไม่พอใจ แต่จะทำอะไรผู้ดูแลเว็บไซต์นั้นๆซึ่งอยู่ในต่างประเทศได้ลำบาก ตลอดจนในบางครั้งในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การทะเลาะเบาะแว้ง ที่เกิดจากความเห็นที่แตกต่าง อันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เกิดได้ในสังคมของประเทศประชาธิปไตยจริงๆ ดังนั้นยิ่งเป็นการกระทำในโลกเสมือนจริงและการสื่อสารบนพื้นที่ไซเบอร์ก็ยิ่งทำได้อย่างอิสสระมากยิ่งขึ้น หมายความว่าสังคมไหนที่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รัฐก็ต้องพยายามปกป้อง ความเป็นส่วนตัวของพลเมืองของตนทั้งจากการสืบค้นโดยเอกชน และภาครัฐ รัฐจะพยายามมีมาตรการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มาตรการใดๆ ที่ให้ผลทางตรง หรือทางอ้อมในการควบคุมการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าที่ไหนๆ ไม่เฉพาะอินเทอร์เน็ต เป็นเรื่องต้องห้าม หรือถ้าจะทำก็ต้องมีเหตุผลพิเศษอย่างยิ่ง เป็นต้น
     อีกประการหนึ่งคือด้วยความที่อินเทอร์เน็ต เป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพตรวจสอบได้ยาก และเป็นโลกเสมือนจริง ผู้คน และตัวตนในสังคมอินเทอร์เน็ต ก็เลย "เสมือนจริง" ตามไปด้วย เป็นเรื่องแสนจะ ปกติธรรมดา คนใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 80% ใช้นามแฝง หรือนามปากกา (Pseudonym) หรือไม่ก็ เป็นบุคคลไร้ชื่อ หรือ เป็นนายนิรนาม (Anonym) เพื่อการแสดงความคิดเห็นต่อกัน ทั้งนี้เพื่อไม่แสดงให้ใครต่อใครรู้ว่าเขาเป็นใครในโลกจริงๆด้วยเหตุผลในแง่กฎหมาย (คุ้มครองความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น) เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้แสดงความคิดเห็น และลักษณะเฉพาะของ อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารบนพื้นที่ไซเบอร์เองที่ตรวจสอบได้ยาก ว่าใครเป็นใคร ทำให้การใช้นามแฝง หรือ ไม่ใช้นามอะไรเลย ได้รับการรับรอง เป็นสิทธิของผู้ใช้ทุกคน และทำได้โดยปกติธรรมดา ความเสมือนจริงนี้ ยังผลให้การแสดงความคิดเห็นทั้งหลายเกิดขึ้นได้อย่างเป็นอิสระ เพราะผู้แสดงไม่ต้องติดอยู่ในกรอบข้อจำกัดบางอย่าง อาทิ อิทธิพล ความกลัว ความเกรงใจ ระบบบังคับบัญชา มิตรภาพ หรือความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในบางสถานะที่อาจให้ผลอันไม่พึงประสงค์ต่อผู้แสดงความคิดเห็นได้ หากไม่ระมัดระวังและไปทำแบบเดียวกันนี้ในส ังคมจริงๆ ดังนั้นโลกอินเทอร์เน็ตก็เลยทำให้ผู้คนกล้าคิด กล้าแสดงความเห็นกันมากขึ้น นอกจากนี้ คนจำนวนหนึ่งยังมองว่า การเข้าไปโต้เถียงกันในพื้นที่ไซเบอร์ แทนที่จะถกเถียงกันข้างนอก ช่วยลดการเผชิญหน้า และลดความความรุนแรง ในยามที่ต้องทะเลาะเบาะแว้งที่เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างได้ (แต่บางคนบอกว่า การใช้ถ้อยคำรุนแรง ในอินเทอร์เน็ต ก็ถือเป็นการใช้ความรุนแรง รูปแบบหนึ่ง)
     การใช้อินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่ภาพของบุคคลอื่นและทำให้เจ้าของภาพเสียหาย โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมนั้น ไม่เพียงเป็นเรื่องที่ถือว่าผิดคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้น หากยังถือเป็นการกระทำ ความผิดกฎหมายอาญาในข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร สิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
       เนื่องจากการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในโลกเสมือนจริงยังมีการศึกษากันยังค่อนข้างน้อย ส่งผลให้โลกเสมือนจริงและพื้นที่ไซเบอร์ตกอยู่ในสภาพที่เสมือนไร้การควบคุมและขาดหลักปฏิบัติที่เหมาะสม ดังนั้นการพยายามช่วยกันกำหนดกฎกติกาทางด้าน คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ใช้และผู้ประกอบอาชีพบนพื้นที่ไซเบอร์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนอย่างยิ่ง หากเราอยากให้การทำกิจกรรมต่างๆบนพื้นที่ไซเบอร์แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์มากกว่าโทษภัย
     10.7 บทบาททางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำบนพื้นที่ไซเบอร์
     จากการที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีไอที เทคโนโลยีโทรคมนาคม ได้เจริญไปกว้างขวางและรวดเร็ว การสื่อสารทั้งภาคพื้นดิน ภาคอากาศและอวกาศ เป็นไปอย่างไร้พรมแดน ส่งผลให้ค่านิยมของมนุษย์ในทุกมุมโลกเป็นไปในอย่างเดียวกัน ขีดความสามารถเริ่มเป็นมาตรฐานเดียวกัน อันอาจนำไปสู่การขยายตัวของคุณธรรมสากล ดังนั้นสังคมโลกอาจต้องตระหนักร่วมกันในปัญหาร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสากล เพื่อใช้ในการควบคุมทางคุณธรรมและจริยธรรมของมนุษย์บนพื้นที่ไซเบอร์ที่กำลังเติบอย่างรวดเร็วนี้
     การทำธุรกรรมและการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ยังมีความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงสูง สำหรับบุคคลโดยทั่วๆไป การขาดความมั่นใจในการติดต่อบนพื้นที่ไซเบอร์ทำให้บุคคลจำนวนมากปฏิเสธการติดต่อผ่านเครือข่ายเหล่านี้ ทำให้เขาเหล่านั้นขาดโอกาสใหม่ๆที่เกิดขึ้นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ท ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วการทำกิจกรรมผ่านพื้นที่ไซเบอร์นั้นมีโอกาสใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความสะดวก รวดเร็วในการค้นหาข้อมูลความรู้ การสื่อสารสนเทศ การพาณิชย์อีเล็คโทรนิคส์ แต่เมื่อขาดความมั่นใจจึงทำให้ไม่กล้าที่เข้าไปใช้ช่องทางดังกล่าวสร้างโอกาสทำเรื่องที่มีประโยชน์แก่ธุรกิจและชีวิตของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามจากผลงานวิจัยพบว่าบุคคลทั่วๆไปเข้าไปใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเรื่องไร้สาระมากกว่าเข้าไปดำเนินการในเรื่องที่มีสาระ เช่นการเข้าไปดูเว็บไซด์ลามก การหา คู่และการหลอกลวงทางเพศ มีมากกว่าการเข้าไปทำการค้า หรือค้นคว้าหาข้อมูล ความรู้ในด้านการศึกษาเป็นต้น
     ถึงแม้ว่าในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทางอินเทอร์เน็ท (Internet) ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ผู้เขียนคิดว่า การใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามและป้องกันปัญหาต่างๆที่เกิดบนอินเทอร์เน็ทนั้น ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาให้หมดสิ้นไปได้ รวมทั้งการแก้ไขด้วยวิธีการทางกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ใช่เป็นการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆในโลก อินเทอร์เน็ตได้อย่างยั่งยืน
     การจะหาหนทางที่สามารถแก้ไข ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนการกระทำผิด ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้หมดสิ้นไปจากสังคมให้ได้นั้น เป็นเรื่องที่พูดได้เต็มปากได้เลยว่ายากยิ่งกว่า การเข็นครกขึ้นภูเขา ดังนั้นการจะหาหนทางในการแก้ไข หรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวนี้ให้ได้ผลอย่างจริงจัง จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการควบคู่กันไป
     เริ่มตั้งแต่ "ภาครัฐ" ที่จะอาจต้องออกมาตรการพิเศษที่ใช้เป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับการควบคุมการสื่อสารบนพื้นที่ไซเบอร์ โดยอาจมีการแบ่งประเภท(Rating)ของเว็บไซต์ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดระเบียบ การจำกัดวัยและอายุของกลุ่มผู้ใช้บริการเว็บไซต์ประเภทต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ยังขาดวุฒิภาวะเข้าไปในเว็บไซต์บางประเภท
      "สถาบันครอบครัว และสถาบันศึกษา" จะต้องมีการร่วมมือร่วมใจกันดูแลเยาวชน โดยการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมทางความคิด ปลูกฝังค่านิยมให้เยาวชนไทยมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองเป็นผู้กระทำ ปลูกฝังความรู้สึกชอบชั่วดี และการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น นอกจากนั้น จะต้องส่งเสริมการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์แก่เยาวชน สำหรับสถานศึกษานั้นควรมีการส่งเสริมการศึกษาออนไลน์ อันจะเป็นการให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาทั้งความรู้ในสาขา ความรู้บนพื้นที่ไซเบอร์ และการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในโลกออนไลน์ได้อย่างเป็นระบบและครบวงจร
      "กลุ่มผู้จัดทำเว็บไซต์และผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต( Internet) จะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการไม่นำอินเทอร์เน็ต (Internet) ไปใช้ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม ในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น การด่าทอต่อว่า และโกหกหลอกลวงบุคคลอื่น "กลุ่มผู้จัดทำเว็บไซต์ และผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจกันรักษา "คุณธรรม และจริยธรรม" อันดีของสังคมอินเทอร์เน็ต ไว้ เพื่อรักษาคุณภาพทางสังคม ให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมแห่งโลกเสมือนจริงที่คนทั่วไปในสังคมยอมรับ และลบคำสบประมาทที่คนในสังคมมองว่ากิจกรรมต่างๆบน "พื้นที่ไซเบอร์" เป็นเพียงกิจกรรมแห่งการหลอกลวงอันหาสาระไม่ได้เท่านั้นเอง
     แม้ว่าการเผยแพร่ และการทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะเป็นเรื่องคาบเกี่ยวระหว่างสิทธิส่วนบุคคล และอาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมที่เปิดกว้างในการยอมรับค่านิยมและวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก แต่การยอมรับค่านิยมและวัฒนธรรมจากต่างชาติจนลืมนึกถึงค่านิยมดั้งเดิมอันดีงามของสังคมไทยเป็น เรื่องไม่สมควรส่งเสริมและต้องพยายามช่วยกันป้องกันอีกต่างหาก หากเราช่วยกันพิจารณาในเรื่องดังกล่าวนี้ ในการแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส ก็อาจจะเป็นการดีที่เราจะใช้โอกาสนี้ในการฟื้นฟูคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของเราให้คนรุ่นใหม่ได้สนใจและนำมาปฏิบัติอย่างเหมาะสมในยุคโลกไร้พรมแดนนี้
      10.8 คุณธรรมและจริยธรรมสากล
       การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในโลกเสมือนจริงที่มีธรรมชาติที่แตกต่างจากโลกจริง ทำให้เราอาจต้องพยายามค้นหาคุณธรรมที่สามารถใช้ได้อย่างสากล ที่เป็นดังนี้เพราะ
        1. ความไร้พรมแดนและไร้รัฐของพื้นที่ไซเบอร์
        2. การสื่อสารบนพื้นที่ไซเบอร์ สามารถกล่าวได้ว่าเป็นพื้นที่ที่จินตนาการของมนุษย์ ได้เชื่อมต่อกับโลกที่เป็นจริง 
        3. บนพื้นที่ไซเบอร์เป็นที่ๆบทบาทของปัจเจก องค์กรและสังคม สามารถทำหน้าที่บางเรื่องได้อย่างใกล้เคียงกันมาก
     เมื่อเป็นดังนั้น ในบางเรื่องเราก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้น โดยที่เราจะต้องเตรียมรับมือให้พร้อม ไม่ปล่อยเลยตามเลย เพราะในโลกเสมือนจริง หรือโลกอินเทอร์เน็ท ที่มีการดำเนินการกิจกรรมต่างบนพื้นที่ไซเบอร์นี้ เราจะไปเรียกร้องและคาดหวังว่า การพิจารณาในเรื่องกรอบความสัมพันธ์ทาง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมและความรับผิดชอบ ในระดับเดียวกับสิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ในโลกและสังคมจริงๆ คงจะไม่สอดคล้องเสียทีเดียว และยิ่งเราไม่ยอมรับว่าในโลกสมัยใหม่ดังกล่าวนี้ การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างนั้นยากที่กลับไปสู่จุดเดิมๆได้อีกแล้ว ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตามที การเรียกร้องหรือคาดหวังว่า คุณธรรม จริยธรรมทุกอย่างในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ต้องเป็นแบบที่เกิดในโลกจริง หรือการไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเลยนั้นอาจจะขัดกับธรรมชาติของโลกอินเทอร์เน็ต การมองแบบนั้นอาจไปขัดกับเสรีภาพในทางความคิด ความเชื่อ ซึ่งในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น ความคิดความเชื่อบางอย่างเป็นเสรีภาพที่ข้ามพรมแดน ดังกล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากเราจะปล่อยเลยตามเลยก็จะเท่ากับเราไม่ปกป้องคนของเราที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมีความอ่อนแอทางความคิดและประสบการณ์ และที่น่าเป็นห่วงมากก็คือเยาวชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในโลกอินเทอร์เน็ตสูงแต่มีประสบการณ์ในชีวิตน้อย ก็อาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพบนพื้นที่ไซเบอร์ได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันแม้เราจะพยายามรักษาสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากสักเพียงใดก็ตาม แต่เราก็ต้องรักษาสิทธิของบุคคลอื่นๆ รวมทั้งสังคมที่อาจถูกละเมิดโดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ให้เขาเหล่านั้นสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นในรูปแบบต่างๆด้วยเช่นเดียวกัน
     ในสังคมไทยปัจจุบัน เราอาจพบคนจำนวนมากคาดหวังให้ มีการชี้ชัดไปถึง ระบบ คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และความรับผิดชอบ และกรอบความสัมพันธ์ทั้งหลาย อันได้เกิดขึ้นในโลกเสมือนจริง เป็นเสมือนหนึ่งว่ายกเอาโลกและสังคมจริงๆ มาจำลองไว้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ทเลยทีเดียว สำหรับบุคคลเหล่านี้เขาจะมองเห็นแต่โทษภัยของพื้นที่ไซเบอร์แต่เพียงด้านเดียว ในขณะที่เราก็อาจพบคนอีกบางกลุ่มที่พยายามปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจนเกินขอบเขต จนไม่คำนึงว่าอาจไปกระทบและละเมิดจนเกิดความเสียหายแก่สังคมและบุคคลอื่นๆ ตลอดจนอาจกลายเป็นช่องทางให้ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆนั้นใช้เสรีภาพไปเป็นช่องทางในการกระทำการในเรื่องที่ผิดศีลธรรมจรรยา ไปจนกระทั่งกระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้นการพยายามหาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและปฏิบัติได้จึงเป็นภาระของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกส่วนจะต้องรีบดำเนินการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
     กล่าวโดยสรุปแล้วเราจะเห็นได้ว่าการที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดการบูรณาการขึ้นเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ท (Internet) เป็นโลกเสมือนจริง (Virtualr World) และพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) ได้เกิดผลประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมากมายมหาศาล ไม่เพียงแต่ในด้านการติดต่อสื่อสารข้อมูลสารสนเทศเท่านั้น หากยังได้มีการขยายกิจกรรมไปสู่การพาณิชย์ การศึกษา การจัดเก็บภาษี การค้นคว้าวิจัย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าดังกล่าวก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและองค์กรอย่างมากมายเช่นเดียวกันโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบ เช่นการล่อลวง การก่ออาชญากรรม การให้ร้าย การขโมยข้อมูลและรหัสลับ การค้าประเวณีและการค้ายาเสพติดทางอินเทอร์เน็ต การเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสมของบุคคลอื่น ตลอดจนการสื่อสารเพื่อการก่อการร้าย เป็นต้น ดังนั้นเพื่อที่จะลดความเสียหายจากผลกระทบทางลบเหล่านี้ให้บรรเทาเบาบางลง นอกจากมาตรการอื่นๆแล้ว การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในหมู่ผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเจ้าของเว็บไซต์ ผู้ประกอบอาชีพบนพื้นที่ไซเบอร์ และผู้ดำเนินกิจกรรมในโลกเสมือนจริง จึงเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรมในโลกดังกล่าว การถามหาจรรยาบรรณของผู้ประกอบอาชีพในเครือข่ายโลกอินเทอร์เน็ต การพยายามทำความเข้าใจรายละเอียดของคุณธรรมและจริยธรรมในโลกเสมือนจริงและการพยายามสร้างจรรยาบรรณและองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพบนพื้นที่ไซเบอร์เพื่อมาดูแลควบคุมกันเองดังกล่าว ตลอดจนการพยายามให้องค์กรและสถาบันหลักๆในสังคมในโลกจริงได้เข้าใจและหาทางป้องกันสมาชิกของตนจากผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวแล้วตอนต้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก แต่อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ทำให้ผู้คนคาดหวังว่า การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในโลกเสมือนจริงนั้น จะต้องเหมือนการจำลองโลกจริงๆเข้าไปไว้ในพื้นที่ไซเบอร์เสียเลยทีเดียว เพราะการคาดหวังเช่นนั้นอาจเป็นการไม่เข้าใจธรรมชาติของการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทุกอย่างเป็นเรื่องไร้พรมแดน ทุกอย่างเป็นเรื่องสากล แต่ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี เฉพาะที่ดีงามของเราให้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และอยากให้คิดว่าความพอดีและเหมาะสมในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ในพื้นที่ไซเบอร์อยู่ที่ไหน เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณที่เหมาะสม และผลักดันให้มีการดำเนินการอย่างเป็นจริงให้เป็นผลสำเร็จได้นั่นเอง


    ผมได้เขียนขึ้นเพื่อเป็นตำราเรียนปริญญาโทวิชา สารสนเทศสำหรับผู้นำ หลักสูตร ONLINE ของมหาวิทยาลัยหนึ่ง  

                ด้วยความเคารพ
              วีรพงศ์ พรหมมนตรี
                   อ้น ระโนด


หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด