หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 110 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2567

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองเลย/หนองคาย/บึงกาฬ/นครพนม/สกลนคร
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก บึงกาฬ หนองคาย รุ่นที่ระลึกสร้างฝายน้ำล้น ปี 2521
02-12-2554 เข้าชม : 10531 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก บึงกาฬ หนองคาย รุ่นที่ระลึกสร้างฝายน้ำล้น ปี 2521
[ รายละเอียด ]

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก บึงกาฬ หนองคาย รุ่นที่ระลึกสร้างฝายน้ำล้น ปี 2521 เหรียญรุ่นนี้ออกเมื่อ ปี 21 เพื่อสาธุชนที่มีจิตศรัทธาสบทบทุนในการสร้างฝายน้ำล้น ถึงไม่ใช่เหรียญแรกๆของท่านและราคาแพง แต่เหรียญนี้เป็นเหรียญที่ได้ออกแบบไว้ได้อย่างสวยงามแบบฉบับสมบูรณ์ การบันทึกไว้บนเหรียญมีความหมายยิ่งนัก พุทธศิล เกินร้อยดังจะบรรยายด้วยคำพูด ช่างแกะหน้าหลวงพ่อได้คล้ายองค์จริงมากแบบมีชิวิตชีวา เหรียญนี้อาจจะไม่มีความหมายมากหนักสำหรับนักเล่น แต่สำหรับนักท่องเที่ยวหลายๆท่านที่ได้มาเยื่อนถึงถิ่น หลายๆท่านบอกเป็นคำเดียวกันว่า อยากได้ไว้บูชาสักเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึก

     พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ศิษสายหลวงปู่มั่น ครับ. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านมีชื่อที่แท้จริงว่า จวน นามสกุล นรมาส เกิดเมื่อวันเสาร์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่บ้านเหล่ามันแกว ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี โยมพ่อของท่านมีอาชีพทำนา แต่ก็เป็นผู้ที่มีความรู้ในทางด้านสมุนไพร และรักษาแผนโบราณ เรียกได้ว่า เป็นหมอประจำหมู่บ้านก็ว่าได้ ซึ่งเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง เพราะว่า บรรดาเพื่อนบ้านเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะได้อาศัยโยมพ่อของท่านพระอาจารย์จวน ได้รักษาจนหายป่วยหายไข้ นอกจากว่าจะเป็นหมอประจำหมู่บ้านไปด้วยในตัวแล้วก็ยังได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านอีกด้วย โยมพ่อของท่านชื่อ สา และโยมแม่ของท่านซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพ มาจากทางเวียงจันทน์ เป็นอุปราชของทางเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้นจนกระทั่งเวียงจันทน์แตก อุปราชผู้เป็นต้นตระกูลก็ได้พาครอบครัวอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู และต่อมาก็ได้ย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง มาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จนได้มาพบกับโยมพ่อของท่าน และได้อยู่ร่วมครอบครัวเดียวกัน โยมแม่ของท่านชื่อ แหวะ นามสกุลเดิม วงศ์จันทร์ ท่านพระอาจารย์จวน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๖ หมู่บ้านตามชนบทในสมัยก่อนนั้นการศึกษาเล่าเรียนนับว่าลำบากมากพอสมควรทีเดียว เพราะโรงเรียนนั้น ไม่ได้มีไปทุกหมู่บ้าน บางโรงเรียน จะเป็นที่รวมกันของหมู่บ้านใกล้เคียง หลายๆ หมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน บางทีต้องเดินไปเรียนหนังสือกันเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ดังนั้นเด็ก ๆ ที่จะได้ไปเรียนหนังสือตามหมู่บ้านที่ห่างไกลออกไปนั้นก็จะต้องโตพอสมควร ท่านพระอาจารย์จวนได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือที่อีกหมู่บ้านหนึ่ง จนกระทั่งท่านเรียนหนังสือจบชั้นประถม ๓ โรงเรียนที่ท่านเรียนอยู่นั้นก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ซึ่งติดกับบ้านเหล่ามันแกว ใกล้ ๆ กับบ้านของท่าน และที่โรงเรียนนี้เอง ท่านพระอาจารย์จวนจึงได้มีโอกาสเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่า เป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนตามชนบทนั่นเอง ท่านพระอาจารย์จวนเป็นเด็กที่ฉลาดและขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ จนถึงชั้นประถม ๖ นั้น ท่านสอบไล่ได้ที่ ๑ มาโดยตลอด ได้รับคำยกย่องชมเชย จากครูบาอาจารย์เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความประพฤติและด้านการเรียนจนเป็นที่เชื่อถือรักใคร่ของครูบาอาจารย์ ในปีที่สุดท้ายก่อนที่ท่านพระอาจารย์จวนจะออกจากโรงเรียนนั้น ได้มีพระธุดงค์องค์หนึ่งมาปักกลดอยู่ใกล้ ๆ บ้านของท่าน ท่านพระอาจารย์จวนได้ไปที่กลดของพระธุดงค์องค์นี้อยู่เสมอ เมื่อไปสนทนากับพระธุดงค์นี้ครั้งใดก็จะบังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ถึงกับตั้งปฏิธานไว้ว่า ต่อไปจะต้องบวชอย่างท่านบ้าง และด้วยความสนใจฝักใฝ่ในทางพระพุทธศาสนาของท่านพระอาจารย์จวน พระธุดงค์องค์นั้นจึงได้มอบหนังสือ ไตรสรณาคมน์ ซึ่งพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยคโม วัดป่าสาลวัน นครราชสีมาได้บรรยายไว้ให้ ซึ่งหนังสือนี้เป็นหนังสือที่สอนให้ได้รู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้อย่างแท้จริง และสอนให้รู้จักวิธีการปฏิบัติภาวนาด้วย และนี่เองท่านพระอาจารย์จวน จึงได้เกิดความคิด ความเลื่อมใสศรัทธาที่จะลองปฏิบัติไปตามหนังสือนั้นดู พระอาจารย์จวนได้เริ่มฝึกหัดสวดมนต์ ไหว้พระ และทำวัตร ตลอดจนนั่งสมาธิบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ จนกระทั่งปรากฏว่า จิตของท่านในขณะนั้นรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอารมณ์ จิตกับกายแยกกันไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย ท่านพระอาจารย์จวนเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง เพราะว่าหัดเอง ทำเอง ตามลำพังแต่เพียงคนเดียว ไม่มีผู้รู้ผู้ใดมาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ก็ได้แต่รู้สึกว่า เมื่อได้นั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่บนอากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาอยู่เสมอ ๆ วันใดถ้าจิตใจไม่สบายเป็นต้องเข้าที่นั่งภาวนาให้จิตสงบอยู่เสมอ ๆ ท่านพระอาจารย์จวนได้ฝึกหัดปฏิบัติภาวนาพุทโธตามแบบฉบับในหนังสือ ไตรสรณาคมน์ ของท่านพระอาจารย์สิงห์นี้จนกระทั่งท่านเรียนจบ และออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพแล้ว ท่านก็ยังได้ฝึกหัดปฏิบัติอยู่เช่นนั้น เพราะโดยนิสัยส่วนตัวของท่านแล้ว ท่านพระอาจารย์จวนก็เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในทางวัดวามาตั้งแต่เด็ก ๆ นิสัยทางด้านของเรื่องการสร้างบาปสร้างกรรมของท่านนั้น ไม่มีเลย ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต สัตว์เล็กสัตว์น้อยท่านก็ไม่เคยทำ หรือจะเป็นการหยิบฉวยลักขโมยสิ่งของแต่อย่างใด จนแม้อาจจะกล่าวได้ว่า เข็มสักเล่มเดียวก็ไม่เคยลักไม่เคยหยิบของใครเลย อายุของท่านย่างเข้า ๑๘ ปีในตอนนั้น ท่านพระอาจารย์จวนก็ได้มีโอกาสเข้าทำราชการที่กรมทางหลวงแผ่นดิน ในระหว่างที่ทำงานอยู่ที่กรมทางหลวงแผ่นดินนี้ ท่านก็มีโอกาสได้อ่านหนังสือของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ชื่อ จตุราลักษณ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้บรรยายไว้ เกี่ยวกับเรื่องของมรณานุสติ เมื่ออ่านไปทำให้จิตใจของท่านพระอาจารย์จวนมีความสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่ง ความสลดใจนั้นเกิดขึ้นจากคำบรรยายเป็นธรรมะของท่านพระอาจารย์เสาร์ ซึ่งได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเรานั้นย่อมมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้เป็นบุญหรือเป็นบาปเมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจะเป็นทายาท ให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อ ๆ ไป คือ หมายความว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้เป็นไปต่าง ๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่อได้อ่านไปถึงตอนนี้ จิตใจของท่านพระอาจารย์จวนก็ยิ่งบังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่งว่า คนเรานั้นก็ต้องมีตายอยู่นั่นเอง ถ้าเกิดมาไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ในขณะนั้นเองจิตใจของท่านพระอาจารย์จวนได้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพิ่มพูนขึ้นเป็นอย่างมาก ระหว่างนั้นเองถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบจากการทำงานอยู่ที่กรมทางหลวงทั้งหมดรับเป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินเพียงคนเดียว นำเงินไปสร้างพระประธานสร้างส้วมในวัดจนหมด จนกระทั่งท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้ลาออกจากกรมทางหลวงแผ่นดินเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งยังเป็นฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌาย์ชื่อ บุ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง และได้รับฉายาว่า กลฺยาณธมฺโม ในขณะนั้น เมื่อบวชแล้วท่านพระอาจารย์จวน ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนนักธรรม จนสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้นเอง ในการบวชของท่านพระอาจารย์จวนนั้นเรียกกันได้ว่า เป็นพระบ้านแต่ท่านพระอาจารย์จวนก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะออกเดินธุดงค์ เพื่อเจริญรอยตามพระธุดงค์กรรมฐานที่ท่านพระอาจารย์จวนได้เคยไปกราบนมัสการเมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กอยู่ ดังนั้นเมื่อไปขอลาพระอุปัชฌาย์ก็ไม่ยอมให้ออกไปธุดงค์ ท่านพระอาจารย์จวนจึงตัดสินใจลาสิกขาบท สึกออกมาเป็นฆราวาสก่อนเป็นการชั่วคราว หลังจากที่ได้ลาสิกขาบทเป็นฆราวาสแล้ว ท่านพระอาจารย์จวนก็ได้เดินทางไปแสวงหาพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน จนกระทั่งได้ไปถึงที่ สำนักวัดป่าสำราญนิเวศน์ อำเภออำนาจเจริญ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยมีท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิตเทวิโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งเป็นศิษย์กรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น พระอุปัชฌาย์รูปนี้ท่านเพิ่งได้รับแต่งตั้ง และมาบวชท่านพระอาจาย์จวน เป็นองค์แรก ได้ตั้งฉายาให้ท่านพระอาจารย์จวนว่า กุลเชฏฺโฐ ซึ่งแปลความหมายได้ว่า พี่ชายใหญ่ที่สุดของวงศ์ตระกูลนี้ ส่วนพระภิกษุองค์ที่ ๒ ที่พระอุปัชฌาย์ รูปนี้ได้บวชให้ในเวลาภายหลัง นั่นคือ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร แห่งวัดป่าแก้ว บ้านชุมพลนั่นเอง... พรรษาต่อมา พระอาจารย์จวนได้ชวนพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ไปพำนักปฏิบัติภาวนาที่ดงหม้อทองอีก พรรษานี้มีพระเณรร่วมเดินทางไปพำนักด้วยถึง ๔ องค์ สัตว์ป่าก็ดูจะคุ้นเคยไม่เป็นข้าศึกแก่กัน จนกระทั่งออกพรรษาแล้วก็ได้วิเวกไปทางดงศรีชมภู ทางเขตอำเภอโพนพิสัย ได้ไปพบสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กับ ซากเมืองเก่าบริเวณแห่งนี้มีต้นจันทน์มากมาย พระอาจารย์จวนจึงได้ขอให้ญาติโยมช่วยปลูกเป็นร้านเล็ก ๆ และ ที่ถ้ำจันทน์นี้อยู่ห่างจากบ้านคนมาก มีบ้านของพวกข่าอยู่ ๒ หลังคาเรือน ซึ่งห่างไปประมาณ ๑๐๐ เส้นทางที่จะไปบิณฑบาตนั้นเป็นทางที่ช้างเดิน กว่าจะถึงทางเกวียนต้องเดินไปอีกไกลโขทีเดียว พอพวกญาติโยมกลับไปแล้วพระอาจารย์จวนก็อยู่เพียงองค์เดียว ตกกลางคืนได้ยินเสียงเสือมาคำรามอยู่ใกล้ ๆ บางคืนก็ได้ยินเสียงคนพูดคุยกันอยู่ตามพลาญหินก็มี บางวันก็ได้ยินเสียงเหมือนคนสวดมนต์ไหว้พระทำวัตรอยู่ที่ถ้ำจันทน์นั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครอยู่ด้วยเลย ที่ถ้ำจันทน์มีวัตถุโบราณเป็นพระโบราณฝังอยู่ในดิน เมื่อขุดดูก็ได้ปรากฏว่าพบเศียรพระ แขนพระ และองค์พระ ซึ่งแต่ก่อนถ้ำจันทน์นั้นเป็นที่อยู่ของบรรดาสัตว์ป่าทั้งหลาย ระยะแรกที่พระอาจารย์จวนไปปักกลดอยู่นั้นก็ได้อาศัยบิณฑบาตจากข่า ๒ ครอบครัวนั้นเองมาประทังเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ตลอดมา การปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำจันทน์นี้ แม้จะอยู่เพียงองค์เดียว แต่ก็เป็นสัปปายะในการภาวนาเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์จวนท่านเล่าว่าจิตรวมดี การค้นคิดพิจารณาในร่างกายก็เป็นไปอย่างดี ท่านได้บำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างไม่ลดละ หลังจากออกจากพรรษาแล้วท่านก็เกิดอาพาธหนักด้วยไข้ป่าอีก ไม่มียาจะรักษาก็ได้ปล่อยให้ธาตุขันธ์รักษาตัวเองไปตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น ระหว่างที่เป็นไข้อยู่นั้น วันหนึ่งขณะจะเคลิ้มหลับไปก็ได้นิมิตเห็นโยมพ่อซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้วตั้งแต่ที่ท่านพระอาจารย์จวนอายุได้ ๑๖ ปี โยมพ่อซึ่งเป็นหม้อกลางบ้านนั้นได้เข้ามาหาและได้ถวายฝนยาให้พระอาจารย์จวนดื่ม กลิ่นของยาหอมน่าดื่มจริง ๆ หลังจากนั้น อาการเจ็บป่วยก็ได้หายสนิทลง ร่างกายก็มีกำลังฉันอาหารได้เป็นปกติ และตั้งแต่นั้นมาอาการเจ็บป่วยในลักษณะนั้นก็ไม่เคยได้เกิดขึ้นอีกเลย ท่านพระอาจารย์จวนได้พำนัก บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำจันทน์เป็นเวลาถึง ๓ พรรษาด้วยกัน แต่ถ้านับปีก็นานถึง ๔ ปี ในระยะหลังก็ได้มีบรรดาชาวบ้านพากันอพยพเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นจำนวนมาก เพราะเหตุว่า ในภายหลังบรรดาชาวบ้านได้ไปเห็นว่าเป็นที่อันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีน้ำดี ดินดี ท่านพระอาจารย์จวนเห็นว่า เมื่อมีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่กันมาก ๆ ทำให้สถานที่นั้นไม่สงบเป็นการรบกวนต่อการทำสมาธิภาวนาท่านจึงคิดที่จะโยกย้ายไปหาที่อันสงบสงัดวิเวกเพื่อทำความเพียรต่อไป ออกจากถ้ำจันทน์ พระอาจารย์จวนได้มุ่งหน้าไปยังภูสิงห์ ในเขตอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ได้ขอให้ญาติโยมพาไปดูสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นภูเขาลูกหย่อม ๆ ระหว่างภูสิงห์ใหญ่และภูทอกใหญ่ เขาลูกนี้เรียกชื่อว่า ภูสิงห์น้อย หรือ ภูกิ่ว ตามลักษณะคอดกิ่วของภูเขานั้น ระยะแรกที่ พระอาจารย์จวนไปพำนักอยู่นั้น ภูสิงห์น้อยยังเป็นป่าที่รกมากมีถ้ำเงื้อมหินอันสงบสงัด มีน้ำซับตามธรรมชาติ ได้ปลูกเสนาสนะหลังหย่อม ๆ อยู่เป็นการชั่วคราว โดยอาศัยญาติโยมจากบ้านนาสะแบงบ้าง บ้านนาคำภูบ้างมาช่วยกันยกกระต๊อบเป็นเสนาสนะอย่างหยาบ ๆ และพระอาจารย์จวนได้เล่าว่าที่ภูสิงห์น้อยนี้การทำความเพียรได้ผลดีมาก แม้การบิณฑบาตก็ไม่ลำบากไม่ขาดแคลนพออาศัยยังชีพไปได้วันหนึ่ง ๆ ในพรรษานี้มีพระติดตามท่านมาด้วยองค์หนึ่งและมีเณรอีกองค์หนึ่ง ผ้าขาวผู้ชราอีกคนหนึ่ง ก็ได้ไปบิณฑบาตที่บ้านคำภู ซึ่งอยู่ห่างจากเชิงเขาไปถึงหมู่บ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร ต่างองค์ต่างก็แยกกันอย่างขะมักเขม้นยิ่งยวดตลอดทั้งพรรษา อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์จวนกำลังเดินจงกรมอยู่นั้น ได้กำหนดจิตภาวนาบริกรรมไปโดยตลอด ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้จะค่ำแล้ว ก็รู้สึกว่าได้กลิ่นเหม็นอยู่ชอบกล พระอาจารย์จวนได้ตั้งจิตถามไปจิตก็ได้ตอบว่า เป็นกลิ่นของเปรต พระอาจารย์จวนก็ได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ กลิ่นนั้นก็ได้จางหายไปในที่สุด พอรุ่งเช้าได้พบปะพูดคุย กันกับพระอาจารย์สอนที่ไปด้วยนั้นท่านก็ว่าได้กลิ่นเหม็นเหมือนกัน และในคืนนั้นเอง พระอาจารย์จวนก็ได้นิมิตอย่างประหลาด คือเห็นเปรต ๒ ตน เป็นผู้หญิง นุ่งแต่ผ้าไม่ใส่เสื้อเปลือยตลอด ผมยาว ผิวดำคล้ำเศร้าหมอง เมื่อได้สอบถามดูก็ได้ความว่า เป็นเปรตอยู่ที่ภูสิงห์นี้มานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งเป็นมนุษย์ก็ได้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ผู้เป็นพี่ชื่อนางเสาทา ผู้เป็นน้องชื่อนางเสาสี ได้เอาตัวไหมตัวหม่อนซึ่งมีฝักรังใหม่อยู่ข้างในมีตัวอ่อนอยู่ข้างในมาต้มในน้ำร้อนเพื่อสาวเอาใยใหมมาทอผ้า และด้วยบุพกรรมอันนี้พอตายจากมนุษย์ก็ได้กลายเป็นเปรตไป ดังนี้ พระอาจารย์จวนท่านกล่าวว่า ถ้าจะเปรียบเทียบกับสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านได้เคยไปมาแล้วนั้น ที่ภูสิงห์น้อยนี้นับว่าเป็นสถานที่ ที่เป็นสัปปายะที่สุด เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของท่าน แม้ที่ดงหม้อทองจิตจะรวมง่าย แต่ปัญญาก็ไม่แก่กล้า ท่านพึ่งมาได้พิจารณาคิดค้นกายอย่างหนัก พึ่งจะเริ่มกระจ่างมาเป็นลำดับก็ที่ภูสิงห์น้อยนี่เอง ในระหว่างพรรษานี้ พระอาจารย์จวนได้เร่งทำความพากเพียรอย่างเต็มความสามารถ ได้พิจารณาร่างกายอันเป็น กายาคตาสติ ไม่ให้จิตรวมไม่ให้จิตพัก ได้พิจารณาไปพอสมควร พอสงบก็พิจารณาค้นในร่างกาย พิจารณาทวนขึ้นและตามลงเป็นปฏิโลมและอนุโลม พยายามพิจารณาร่างกายให้รู้เห็นตามเป็นจริงไป พอออกพรรษาแล้วพระอาจารย์จวนก็ได้ไปพำนักปฏิบัติภาวนาอยู่ที่ถ้ำบูชา ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านแห่งนั้นไป ๑๐ กิโลเมตร ในที่นี้การบิณฑบาตลำบากมาก พระอาจารย์จวนได้ขอให้ญาติโยมช่วยกันตัดทางจากบ้านดอนเสียดขึ้นไปบนภูวัวไปถ้ำบูชา ได้ช่วยกันทำอยู่ ๓ เดือนจึงสำเร็จเป็นทางที่รถและเกวียนพอจะเดินขึ้นไปได้ พรรษาแรกนั้นได้มีพระไปอยู่พำนักด้วย ๕ องค์ มีเณร ๒ องค์ ต่างองค์ก็ต่างแยกย้ายกันหาที่วิเวกได้ปรารภความเพียรกันอย่างไม่ประมาท อยู่มาวันหนึ่งในขณะที่พระอาจารย์จวนท่านได้นั่งภาวนาอยู่นั้นก็ได้นิมิตขึ้นว่า ท่านกำลังค้นหาพระแต่หาไม่เห็น ในขณะนั้นได้มียักษ์ผู้หญิง รูปร่างสูงใหญ่มีร่างกายดำสนิท ผมยาวรุงรัง นุ่งผ้าอยู่เพียงท่อนล่าง ส่วนท่อนบนนั้นเปลือยกาย ท้องก็อ้วนใหญ่ อยู่ในน้ำตกสะอาม พระอาจารย์จวนได้เข้าไปถามว่าเป็นใครทำไมถึงได้มาอยู่ในที่นี้ ยักษ์นั้นก็ได้ตอบว่า เป็นยักษ์อยู่ที่น้ำตกสะอาม เพราะแต่ก่อนได้เคยทำบาป คือในชาติที่ได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นได้เกิดมาเป็นภรรยา ของท่านอาจารย์ แต่เป็นผู้ทุจริตประพฤติผิดมิจฉากาม ไม่ซื่อสัตย์ต่อสามีคือท่านอาจารย์ ไปคบชายอื่นเป็นชู้ เมื่อสามีจับได้ก็ล่อลวงปิดบังไว้ และด้วยบาปอกุศลกรรมอันนั้นก็จึงทำให้ต้องมาเกิดเป็นยักษ์อยู่ในที่นี้ พระอาจารย์จวนได้ถามต่อไปว่า มีพระพุทธรูปโบราณอยู่ที่ถ้ำสะอานนี้ใช่ไหม ยักษ์ก็บอกว่ามีอยู่จริง แต่ยักษ์นั้นก็ไม่ยอมบอกว่าอยู่ที่ไหน เพราะเหตุว่า ยังเกลียดชังท่านพระอาจารย์ที่ได้ทิ้งยักษ์ไปตั้งแต่ชาติที่เคยเป็นคน และเป็นสามีภรรยากันนั่นเอง พระอาจารย์จวนก็ได้บอกญาติโยมว่า อย่าเข้าไปหาพระพุทธรูปโบราณนั้นเลย ไม่เห็นหรอก เพราะเขาไม่ให้เห็น ในพรรษาต่อมาพระอาจารย์จวนได้กลับลงมาพำนักอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ขาวที่วัดถ้ำกลองเพล ได้ปฏิบัติหลวงปู่ ได้ฟังเทศนารับการอบรมจากหลวงปู่ขาวอย่างใกล้ชิด พอออกพรรษาแล้ว ก็ได้กราบลาหลวงปู่ขาวกลับไปวิเวกที่ภูวัวอีก ระยะที่พำนักวิเวกอยู่ที่ภูวัวได้ ๑ เดือน คืนวันหนึ่งขณะที่นั่งทำความเพียรอยู่นั้นก็ได้เกิดนิมิตขึ้นว่า ได้มีปราสาท ๒ หลังหนึ่งเล็ก อีกหลังนั้นมีความสวยงามวิจิตรมาก ตั้งอยู่ทางด้านเขาภูทอกน้อย และภูทอกใหญ่ เมื่อมองจากภูวัวจะปรากฏเห็นชัดเจนทีเดียว ในนิมิตนั้นพระอาจารย์จวนได้เหาะขึ้นไปบนปราสาทหลังนั้น แต่บังเอิญประตูเข้าปราสาทนั้นปิดอยู่ ท่านไม่สามารถจะเข้าไปข้างในได้ ก็จึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า ถ้าหากว่าท่านมีบารมีแรงกล้าแล้ว ขอให้ประตูนั้นเปิดออกมาให้ท่านเข้าไปข้างในได้ ในทันใดนั่นเองประตูปราสาทหลังเล็กนั้นก็เปิดออก พระอาจารย์จวนก็จึงได้เข้าไปภายในปราสาทนั้น ในห้องมีความวิจิตรพิสดารงดงามเป็นอย่างยิ่ง มีหญิงสวยงาม ๔ คนด้วยกันเฝ้าอยู่ในปราสาทนั้น ได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์จวนให้อยู่ร่วมด้วย แต่ท่านไม่ยอมตกลง เพราะเป็นพระจะอยู่ร่วมกับผู้หญิงไม่ได้ พระอาจารย์จวนจึงลงจากปราสาทหลังนั้น พอจิตถอนออกมาท่านจำนิมิตนั้นได้ติดตา พร้อมทั้งจำทางขึ้นทางลงได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นพระอาจารย์จวนจึงเดินทางจากภูวัว ไปยังภูทอกน้อยเพื่อพิสูจน์นิมิตนั้น พอไปถึงก็เดินทางขึ้น ไปบนภูเขาระยะทางที่ผ่านไปนั้น เหมือนดังในนิมิตอยู่ทุกประการ ได้สำรวจดูเขาชั้นต่าง ๆ ก็ได้เห็นเป็นโตรก เป็นซอก เป็นถ้ำ เป็นหินผา อันสูงชัน มีภูมิประเทศที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะบูรณะให้เป็นสถานที่สำหรับพระภิกษุสามเณรจะได้อาศัย เป็นที่ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรมต่อไป ดังนั้นเองท่านพระอาจารย์จวน จึงได้ตัดสินใจอยู่บูรณะและก่อสร้างเป็นวัดขึ้น และขณะนั้นก็ประกอบเข้าด้วยกับว่าบรรดาชาวบ้านนาคำแคน บ้านนาต้องได้พากันอาราธนาให้ท่านพระอาจารย์จวนได้อยู่โปรด พวกเขาเป็นหลักยึดเหนี่ยวต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย ท่านพระอาจารย์จวนได้เริ่มขึ้นไปอยู่บนภูทอกนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ระยะแรกที่ขึ้นไปอยู่นั้นอยู่กันเพียง ๒ องค์กับท่านพระครูสิริธรรมวัฒน์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ ในอำเภอบึงกาฬนั้น กับผ้าขาวน้อยองค์หนึ่งเท่านั้น ได้อาศัยอยู่ที่ตีนเขาซึ่งเป็นโรงที่ต่อกับโรงครัวในปัจจุบัน บริเวณโดยรอบยังเป็นป่าทึบ และรกชัดมาก มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมากทีเดียวสมัยนั้น ความเป็นอยู่ต้องอดน้ำ ต้องอาศัยน้ำฝนที่ค้างขังอยู่ตามแอ่งหิน และเรื่องการบิณฑบาต ก็ต้องอาศัยจากชาวบ้านนาคำแคน ซึ่งอพยพเข้าไปอยู่กันใหม่ ๆ ประมาณ สัก ๑๐ หลังคาเรือน จึงทำให้การบิณฑบาตขาดแคลนมาก พอที่จะได้อาศัยฉันไปตามมีตามได้ พอเข้าหน้าแล้งท่านก็ได้ขอให้ชาวบ้านช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำ และได้ปลูกกระต๊อบไว้ชั่วคราว ที่โขดหินตีนเขาบนชั้นที่ ๒ นั้นเอง ในปีแรกที่ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่ภูทอกนั้น มีพระอยู่ด้วยกัน ๓ องค์ ได้พากันปลูกกระต๊อบขึ้นพอที่จะอาศัยทำความเพียรกันได้ ๔ หลังด้วยกัน พระทุกองค์ต่างก็ทำความเพียรกันอย่างเต็มที่ พอตกค่ำพระอาจารย์จวนจะขึ้นไปจำวัดอยู่บนชั้น ๕ โดยปีนขึ้นไปตามเครือของเถาวัลย์ตามรากไม้ ปัจจุบันบนชั้น ๕ นั้นเป็นถ้ำวิหารพระ ซึ่งในสมัยก่อนยังเป็นป่าทึบมีต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น แต่ด้วยความอุตสาหะของท่านพระอาจารย์จวนระหว่างกลางพรรษาที่ ๒๗ นั่นเอง พระอาจารย์จวนได้ชักชวนญาติโยมให้ทำบันไดเวียนขึ้นไปบนเขาชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ จนสำเร็จ ได้ทำอยู่ประมาณแค่ ๒ เดือน กับ ๑๐ วันเท่านั้นจึงเสร็จเรียบร้อยดี การสร้างบันไดนี้เสร็จในกลางพรรษาโดย ได้อาศัยศรัทธาญาติโยมช่วยกันคนละเล็กคนละน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยกันด้วยกำลัง เรื่องกำลังทรัพย์นั้นหายากเพราะต่างก็เป็นคนยากจน มีแต่ศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใส และใช้กำลังเป็นที่ตั้งเท่านั้น มาในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ระหว่างกลางพรรษานั้นเอง พระอาจารย์จวนได้นิมิตไปว่า ท่านได้เดินอุ้มบาตรลัดเลียบ ไปตามหน้าผาที่ภูทอกใหญ่ อ้อมไปเรื่อย ๆ ก็ได้เห็นหน้าต่างปิดอยู่ และตามหน้าผานั้นมองไม่เห็นใครเลย ท่านจึงหยุดยืนรำพึงว่า ?ทำไม จึงมีแต่หน้าต่างปิด ไม่เห็นคนออกมาใส่บาตรเลย? ครู่หนึ่งก็ได้เห็นคนเปิดหน้าต่างออกมาใส่บาตรกัน ท่านจึงตั้งจิตถามขึ้นมาว่า ?นี่เป็นใครกัน? เขาก็ได้ประกาศขึ้นมาว่า ?พวกผมนี้เป็นพวกบังบดขอรับอยู่กันที่ภูทอกใหญ่ หรือภูแจ่มจำรัสนั่นเอง? พวกบังบดนี้ท่านพระอาจารย์จวนได้อธิบายว่า คือพวกภูมมเทวดาที่มีศีล ๕ ประจำ และพวกนี้ก็ได้อธิบายต่อไปว่า ชื่อเดิมของภูทอกใหญ่นี้คือ ภูแจ่มจำรัส ซึ่งแต่ก่อนมีฤาษีชีไพรมาบำเพ็ญพรตภาวนากันอยู่ที่ภูแจ่มจำรัสมากมาย เมื่อใส่บาตรเสร็จเรียบร้อยพระอาจารย์จวนได้ถามว่า ?ทำไมจึงรู้ว่าอาตมามาบิณฑบาต? เขาก็พากันยิ้ม ๆ แล้วตอบว่า รู้ครับ รู้ด้วยกลิ่น กลิ่นของพระผู้เป็นเจ้า พระอาจารย์จวนก็ซักต่อไปว่า ?กลิ่นนั้นเป็นอย่างไร? เขาก็ตอบว่า ?กลิ่นหอมขอรับ ถูกกลิ่นพระผู้เป็นเจ้าก็เลยพากันมาเปิดหน้าต่างมาใส่บาตรพระผู้เป็นเจ้ากัน เพราะว่าท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีควรแก่การบูชา พวกเราจึงได้พร้อมใจกันมาใส่บาตร? พอเขาใส่บาตรเสร็จท่านก็กลับมา ขณะนั้นก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาได้พิจารณาดูนิมิตนั้นก็เห็นว่าแปลกดี เช้าวันนั้นอาหารที่บิณฑบาตได้ก็รู้สึกว่าจะมีรสเอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้มีคนอื่นมาใส่บาตรเลย มีแต่ชาวบ้านเท่านั้น และอาหารก็เป็นอาหารพื้นบ้านธรรมดา ๆ นั่นเอง ในพรรษาแรกพระเณรที่ไปอยู่นั้นพากันเจ็บไข้กันมาก บางองค์ก็บอกว่าเทวดาประจำภูเขามาหลอกหลอนดึงขาปลุกให้ลุกขึ้นทำความเพียรบ้าง บางทีก็ไล่ให้หนีเพราะพากันมาแย่งวิมานของเขา พระอาจารย์จวนได้พยายามตักเตือนพระเณรให้มีศีลที่บริสุทธิ์ บำเพ็ญความเพียรแผ่เมตตาให้ทำความเพียร อย่าได้ประมาท ภายหลังอยู่ต่อมาวันหนึ่ง พระอาจารย์จวนได้นิมิตว่ามีเทวดามาหาท่านแล้วบอกว่า ?ขอน้อมถวายภูเขาลูกนี้ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดรับไว้รักษาพวกข้าพเจ้าจะลงไปอยู่ข้างล่าง? และยังให้ท่านประกาศแก่มนุษย์ที่จะมาเที่ยวบนเขาลูกนี้ว่า ขออย่าได้กล่าวคำหยาบ อย่าได้ส่งเสียงดังอึกทึก อย่าถ่มน้ำลายลงไปข้างล่าง อย่างขว้างปา หรือทิ้งเศษขยะเอาไว้บนเขาเลย เมื่อพระอาจารย์จวนออกจากนิมิตนั้นแล้ว ก็ได้พิจารณาคำขอร้องของเทวดาก็เห็นว่าเป็นแยบคายดี น่าจะเป็นข้อที่บรรดาสาธุชน ทั้งหลายควรจะปฏิบัติอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีในวันต่อมาได้มีชาวบ้านมาเล่าให้ฟังว่า พวกเขาก็ได้พากันฝันไปว่ามีคนมามอบภูเขาให้พระอาจารย์จวนรักษาไว้ และพวกเขาก็จะลงไปอยู่ข้างล่างแทนช่างน่าบังเอิญอะไรเช่นนั้น ที่ทุกคนต่างก็มาฝันตรงกัน ท่านพระอาจารย์จวน ได้มาพำนักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูทอกนี้และได้ก่อสร้างจนกระทั่งภูทอกนี้เป็นสถานที่อันเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความสงบให้เกิดขึ้นในจิตในใจ ด้วยจิตกราบบูชา

ภายหลังมรณภาพจากที่ท่านเครื่องบินตก บริเวณทุ่งรังสิต จ.ปทุมธานี ขณะที่กำลังเดินทางไปเจริญพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ 2523

ภายหลังประชุมเพลิงอัฐิท่านได้แปรเป็นพระธาตุ

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ อดีตเจ้าอาวาสวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) เป็นพระปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยเป็นวัดที่หลวงปู่จวน (มรณภาพแล้ว) ได้สร้างบันไดรอบภูเขา (ภูทอก) สูง 7 ชั้น สามารถชมทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม วัดแห่งนี้เริ่มสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 จากการที่พระอาจารย์จวนเดินทางมาธุดงค์อยู่ที่นี่ ชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาจึงได้ช่วยกันสร้างบันไดขึ้นภูทอก จนถึงชั้นที่ 5-6 และได้ปลูกสร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์อยู่ถึง 2 เดือน 10 วัน จึงเสร็จ แต่เป็นการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีความมั่นคงแข็งแรง อันคำว่า "ภูทอก" ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านนาคำแคน ตำบลนาสะแบง ภูทอกมี 2 ลูก คือ ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียรเพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ ความยากลำบากในการสร้างภูทอกนั้นอยู่ตรงการก่อสร้างบันไดไม้สำหรับไต่ขึ้นไปตั้งแต่ในปี พ.ศ.2512 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น เป็นการเจาะหินทำนั่งร้านด้วยไม้เนื้อแข็ง 2 ท่อน ผูกติดกับเสาที่ปักไม้เท้าแขนลงไป แล้วจึงพาดไม้กระดานเป็นสะพานทีละช่วง ช่วงละประมาณ 1 เมตรเศษ ระหว่างคานจะมีคานรองรับอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สะพานแข็งแรงมาก ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม โดยบันไดทั้ง 7 ชั้น มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้คือ

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3

ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกันเรียกว่า "ดงชมพู" ทิศตะวันออกจรดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำและลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกามาอาศัยอยู่มาก จึงเรียกกันว่า "ภูรังกา" แล้วเพี้ยนมาเป็นภูลังกาในที่สุด บนชั้นที่ 4 นี้จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ

ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง มีศาลากลางและกุฏิที่อาศัยของภิกษุ และเป็นที่เก็บศพของพระอาจารย์จวนไว้ด้วย ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างอยู่ราว 20 แห่ง มีหน้าผาชื่อต่างๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิต, ผาหัวช้าง, ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6

ชั้นที่ 6 เป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7

ชั้น 7 เป็น "สถานที่ปฏิบัติธรรมของพระ-เณร มิใช่สถานที่ท่องเที่ยว ห้ามส่งเสียงดัง..." ป้ายเตือนสติที่ติดไว้ตามรายทางเป็นระยะเพื่อทำให้ผู้มาเยือนพึงระลึกอยู่เสมอว่ากำลังอยู่ในบริเวณวัด นอกจากป้ายเตือนสติแล้ว ระดับความสูงที่ค่อยๆ ชันขึ้นตามขั้นบันได และพื้นไม้ที่สามารถมองลอดช่องผ่านลงไปดูความสูงด้านล่างได้นั้น บางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดเอาดื้อๆ ได้เหมือนกัน ครั้นเมื่อถึงเวลาลง สติกับสมาธิเท่านั้นที่จะใช้ เพื่อควบคุมจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านกับความสูง (และความเสียว) ถึงแม้บรรยากาศโดยรอบจะเป็นวิวแบบ พาโนรามา ราวกับยืนอยู่ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างผืนดินและแผ่นฟ้า ลมเย็น หรือร่มเงาของหน้าผา ก็ยังไม่อยู่ในสายตามากกว่า "ก้าวต่อไป" ของตัวเอง ขาที่เคยเดินดีๆ จู่ๆ ก็ "สั่น" โดยไม่รู้สาเหตุ ยังไม่เท่าขนาดของหัวใจกำลังหดลงทุกทีๆ กว่าจะเอาตัวเองลงมาจาก "สวรรค์ชั้น 7" ได้ "รู้เลยว่าสติแตกมันเป็นอย่างนี้นี่เอง" เจ้าตัวบ่นเสียงสั่นจงมีจิตใจที่ดี รักเพื่อนมนุษย์ เชื่อในความดีของผู้อื่น และไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดจงพยายามยิ้มกับตัวเองแล้วบอกว่าตนเองมีความสุข สามารถแก้ปัญหาได้ ความคิดแบบนี้จะช่วยทำให้มีสติในการควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้

    การเดินทางสู่ภูทอก ภูทอกอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 20 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือ ท่านสามารถเดินทางมากับรถบัสขนาดเล็กได้ โดยเดินทางจากอำเภอบึงกาฬไปลงอำเภอศรีวิไล จากนั้นเดินทางต่อไปโดยรถสองแถวที่ไปภูทอก โดยใช้เส้นทางหมายเลข 212 (บึงกาฬ-บ้านชัยพร) ประมาณ 24 กิโลเมตร และเดินทางจากบ้านชัยพรเข้าสู่ภูทอกอีกประมาณ 22 กิโลเมตร

     บึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของไทย ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่รวม 4,305.746 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 399,043 คน ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ คือ อำเภอบึงกาฬ, ปากคาด, โซ่พิสัย, พรเจริญ, เซกา, บึงโขงหลง, ศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า มีอาณาเขตติดกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ คือ

     ทิศเหนือติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

    ทิศตะวันออกติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

    ทิศใต้ติดต่อกับ อ.นาทม จ.นครพนม-อ.อากาศอำนวย และ อ.คำตากล้า จ.สกลนคร และ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย 

    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย และแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว    

    นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจและสวยงามมากมาย อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว, วัดอาฮงศิลาวาส, ศาลเจ้าแม่สองนาง, หลวงพ่อ พระใหญ่ บ้านท่าใคร้, หนองกุดทิง, หาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขง, บึงโขงหลง, หาดคำสมบูรณ์, น้ำตกตาดกินรี, ภูทอก, น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกถ้ำฝุ่น, น้ำตกชะแนน ฯลฯ ที่สามารถเดินทางไปเที่ยวชมและพักผ่อนได้ทุกฤดูกาล

     พระอาจารย์จวน เป็นพระเกจิผู้มีญาณวิเศษสำเร็จมรรคผล ท่านสร้างบันไดวนรอบภูทอกสูง 7 ชั้นโดยไม่มีเครื่องทุนแรงใช้แค่ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีคนพื้นที่บอกว่าใครไปเที่ยวภูทอกแล้วขึ้นไม่ถึงชั้น7แสดงว่า บุญ ไม่ถึงพระอาจารย์ จวน ผมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการมรณภาพของพระอาจารย์จวนมาให้ฟังครับ เพื่อไม่ให้เพื่อนคิดอคติต่อท่านพระอาจารย์ จริงแล้วท่านพระอาจารย์ท่านทราบดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับท่านแต่ท่าน ปล่อยวางไม่ยึดติดกับโลกภายนอก คนเราไม่สามารถเปลี่ยนอนาคตได้ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ก่อนเดินทางมีพระและศิษย์ใกล้ชิด ขอติดตามแต่ท่านก็ได้ห้ามไว้และสั่งให้ช่วยกันพัฒนาดูแลวัดภูทอกให้ดีด้วย พร้อมพูดว่าท่านอาจจะไม่กลับมาแล้ว บรรดาศิษย์ต่างๆปลอบใจตัวเองว่าท่านคงไปจำพรรษาที่อื่นเดียวก็คงกลับ จนเมือเดินทางกลับเครื่องตกท่านมรรณภาพ องค์พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสร้าง เจดีย์พิพิธภัณฑ์ อัฐิ บริขาร ที่หน้าวัดเจติยาศีรีวิหาร

ปาฏิหาริย์ฟันท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

     ในการจัดเตรียมอัฐิและพระธาตุของท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ให้พร้อมสำหรับพิธีการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุอัฐิธาตุนั้น ทางคุณไพบูลย์ พบสุข ผู้ช่วยหัวหน้ากองพระราชพิธีในขณะนั้น แจ้งว่า ทางวัดและเราจะต้องเลือกพระธาตุและอัฐิในจำนวนอันสมควรที่จะสามารถทรงบรรจุได้ในเวลาอันจำกัด ตามหมายกำหนดการที่ทางสำนักพระราชวังจัดถวาย คุณไพบูลย์มองดูอัฐิในโกศ และพระธาตุในโถแก้วใหญ่สองโถแก้ว แถมพระธาตุลักษณะต่างๆ พระธาตุที่กำลังแปรจากอัฐิอีก จำนวนกว่ายี่สิบครอบแก้ว แล้วส่ายหน้า “ พระองค์ท่านไม่ทรงมีเวลาพอหรอก ” คุณไพบูลย์นำพานทองมาให้ 1 พาน แล้วพูดขึ้นว่า “ พี่จัดให้ท่านอยู่ในพานนี้นะครับ ” ทั้งๆที่เราปรารถนาเหลือเกิน ที่จะให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรพระธาตุทั้งหมด ซึ่งเชื่อว่ามีจำนวนเรือนหมื่นแล้ว จักได้ทรงชื่นชมและเบิกบานพระราชหฤทัย เมื่อทรงประจักษ์ด้วยสายพระเนตรว่า พระภิกษุที่ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะ ถวายพระบรมราชานุเคราะห์ตลอดมานั้น ได้เจริญรอยตามบาทพระศาสดาและพระอาจารย์ท่าน ครั้นมรณภาพ อัฐิของท่านก็ได้แปรสภาพเป็นจำนวนมากในลักษณะที่เรียกกันว่าพระธาตุของพระอรหันตสาวก อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาในพิธีมีค่า และกำหนดไว้ชัดแจ้ง เราก็ต้องเลือกอัฐิและพระธาตุของท่านลักษณะพิเศษ ใส่ในตลับในจำนวนเท่าที่จะสามารถบรรจุลงในพานทองใบนั้นได้ คงได้จำนวน 8 ตลับ ตลับหนึ่งจัดเฉพาะฟันของท่านทั้งหมด ซึ่งเคราะห์ดีที่มีการถ่ายรูปได้ด้วย แม้นรูปจะเลือนซักหน่อย แต่ก็ยังพอเห็น ส่วนอัฐิในโกศและพระธาตุอีกสองโถแก้วใหญ่ ท่านพระอาจารย์แยง สุขกาโม ท่านเจ้าอาวาสวัดภูทอก และคุณไพบูลย์ ช่วยกันเชิญลงในเจดีย์จำลอง โดยมีพระภิกษุสงฆ์วัดภูทอก คุณนงคราญ จันทนยิ่งยง รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่อีกหลายคนเป็นพยาน เรียบร้อยแล้วคุณไพบูลย์ ก็ขอให้ท่านพระอาจารย์แยง สุขกาโม เก็บรักษาไว้เพื่องานพิธีวันรุ่งขึ้นของสำนักพระราชวังจะมาขอรับจากท่านพระอาจารย์แยง เวลาประมาณบ่ายสองโมง ทางพระราชสำนักไม่อยากรับไปแต่วันนั้น ด้วยเกรงว่าพระธาตุอัฐิจะหายไปบ้างหรือไม่ บอกว่าให้ท่านพระอาจารย์แยง เก็บดีกว่า เพราะท่านเป็นพระ ท่านพระอาจารย์แยงจึงเก็บไว้ในห้องพิพิธภัณฑ์ในเจดีย์นั้นเอง ใส่กุญแจถึง 2 ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบรรจุลงในเจดีย์จำลอง ทรงชักสายสูตรเชิญเจดีย์จำลองขึ้นบนยอดเจดีย์ใหญ่ ยอดเจดีย์ใหญ่ที่เปิดช่องรอไว้เพื่อการนี้ มีการโบกปูนและรีบปิดโมเสกทับภายในไม่กี่วันต่อมา วันดีคืนดีก็นึกขึ้นได้ว่า...ก่อนหน้านี้เราได้เป็นผู้จัดเตรียมพระธาตุและอัฐิธาตุเพื่อที่จะนำไปบรรจุในเจดีย์ และรวมทั้งพระธาตุที่จัดตั้งแสดงเป็นหมวดหมู่ในมณฑปพระธาตุด้วย พระธาตุลักษณะต่างๆในมณฑปพระธาตุในเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์จวนนั้น ล้วนเป็นพระธาตุและอัฐิธาตุที่จัดถวายไปจากบ้านเรือนไทยทั้งสิ้น ช่วงเวลานั้นลูกเกดมายืนดูแม่ทำงาน แล้วก็พูดเสียงอ่อยๆว่า “ มามี้..ฟันท่านพระอาจารย์ด้วยหรือคะ ” ความจริงแล้วฟันของท่านพระอาจารย์จวนได้ปาฏิหาริย์มาที่บ้านเรือนไทยให้เราได้กราบไหว้ก่อนหน้านั้น และทำให้พวกเราได้ตื่นเต้นกันใหญ่อยู่ระยะหนึ่ง ลูกเกดพูดว่า “ ท่านพระอาจารย์บอกให้ฟันมามี้ไว้นี่คะ ” เราบอกลูกไปว่า “ เราไม่มีสิทธิ์ลูก ท่านรับสั่งให้บรรจุรวมในเจดีย์เดียวกัน ก็ถวายไปให้หมดก็แล้วกัน อย่างน้อยท่านก็ปาฏิหาริย์มาให้เราได้กราบไหว้บูชาอยู่หลายปีแล้ว ถึงเวลาก็ต้องถวายกลับไป ” ที่ท่านเสด็จมานี้...หรือว่าท่านพระอาจารย์จวนจะเมตตาลูกเกด...เด็กน้อยที่ท่านเรียกอย่างเอ็นดูอยู่เสมอๆ.

[ ราคา ] ฿800
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านKCM Shop/ร้านโขงชีมูล] เบอร์โทรศัพท์ : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองเลย/หนองคาย/บึงกาฬ/นครพนม/สกลนคร
เหรียญพระราชทานเพลิงศพ อ.ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ปี 2521
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต รุ่นถวายพระพร ปี 2539 เนื้อทองแดงรมดำ มีโค๊ด
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2536 พิมพ์พัดยศครึ่งองค์ เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญปรกใบมะขาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นแรก ปี ๓๓ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่บัว เตมิโย วัดหลักศิลามงคล เนื้อทองแดง ปี 18
เหรียญหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ปี 2518
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก บึงกาฬ  หนองคาย รุ่นที่ระลึกสร้างฝายน้ำล้น ปี 2521
เหรียญพระอาจารย์มหาสิน วัดถ้ำบาหลอด รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดง  จ.เลย

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด