[ รายละเอียด ] เหรียญกษาปณ์ เฟื้องหนึ่ง รัชกาลที่ 5 เนื้อทองคำ จากประวัติชาติไทยระบุไว้ว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์
การผลิตเหรียญเงินที่มีพระบรมรูปพระมหากษัตริย์อยู่บนเหรียญในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรก ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ไทย ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความเจริญของประเทศต่างๆ.... ซึ่งในหลายประเทศ ล้วนมีการผลิตเหรียญพระบรมรูปพระมหากษัตริย์หรือรูปผู้นำในแผ่นดินของประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นประเทศเอกราช พระองค์จึงได้มีพระบรมราชานุญาตให้นำพระบรมรูปมาพิมพ์ไว้บนเหรียญเป็นครั้งแรก.... ในปีพศ.2417 เป็นปีที่มีการค้าขายกับชาวต่างชาติมากมายหลายประเทศทำให้สกุลเงินต่างชาติตกค้างอยู่ในท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเครื่องจักรที่ผลิตเหรียญตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 4 เกิดชำรุดอย่างหนักไม่สามารถผลิตเหรียญต่อไปได้.... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้สั่งซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญใหม่จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเครื่องจักรได้มาถึงประเทศไทยในปีพศ.2418 แต่เมื่อถึงแล้วก็ยังไม่สามารถผลิตได้ เพราะยังขาด"ตราแผ่นดินใหม่"ที่สั่งทำในประเทศอังกฤษ พระองค์จึงได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ผลิตเงินตราพระเกี้ยวเก่าใช้ไปก่อน....
เหรียญเฟื้องหนึ่ง รัชกาลที่ 5
ลักษณะ กลมแบน สันขอบมีเฟืองจักร ด้านหน้า มีพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 ฉลองเครื่องแบบเต็มยศพลเรือน ด้านหลัง มีอักษรว่า กรุงสยาม และ รัชกาลที่5″ ระบุค่าเงิน เฟื้องหนึ่งและตราแผ่นดิน ไม่มี รศ. และ มี รศ. แต่ในที่เห็นนี้เป็นแบบไม่มี รศ. หมายเหตุ ด้านล่างระบุค่าเงินตามค่าเหรียญได้แก่ บาทหนึ่ง,สลึงหนึ่ง,เฟื้องหนึ่ง,ใช้ตราแผ่นดินน้อย ชนิด :เนื้อเงินและทองคำมีเฉพาะสลึงหนึ่งและเฟื้องหนึ่ง
คนไทยเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ.2403 ประมาณ 150 ปีที่แล้ว ก่อนที่เราจะมีเหรียญกษาปณ์ใช้คนไทยใช้เงินตราหลายรูปแบบ เช่น เงินพดด้วง ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สุโขทัย เหรียญกษาปณ์ จะเริ่มใช้ในยุครัตนโกสินทร์ เหรียญกษาปณ์ในช่วงแรกๆ จะทำจากโลหะ เงิน ทอง ทองแดง ดีบุก และนิกเกิล ค่าเงินสมัยก่อน จะใช้หน่วยเป็นน้ำหนักแบ่งเป็น เบี้ยหอย โสฬส อัฐ เสี้ยว ซีก เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง และชั่ง จนมาถึงรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยเงินเป็นแบบสตางค์ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
เหรียญกษาปณ์มี 2 ชนิด
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญตทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา
ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง |