หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ภูภู95พระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 81 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ภูภู95พระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ภูภู95พระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ ภูดิศ นนทพิมลชัย (ภูภู 95)
รายละเอียด ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
เงื่อนไขการรับประกัน ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
ที่อยู่ เมืองนนทบุรี
เบอร์ที่ติดต่อ -
E-mail poopoo9595@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 12-02-2555 วันหมดอายุ 06-02-2569

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี

วัตถุมงคล: เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นตอกโค๊ตเจ้าสัว
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม รุ่นเจ้าสัว เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยาสีแดง
09-02-2559 เข้าชม : 2217 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม รุ่นเจ้าสัว เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยาสีแดง
[ รายละเอียด ] เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว ลูกหลานเชื้อสายจีนสร้างถวาย เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยาสีแดง พิมพ์หลังยันต์ ตอกโค๊ตเจ้าสัว ๑ โค๊ต จำนวนการสร้าง ๕๐๐๐ เหรียญ ผู้สร้าง สร้างไว้แจกเท่านั้น ทหาร ตำรวจชายแดน อบจ. ดับเพลิงบางบัวทอง เทศบาลบางบัวทอง ญาติผู้ใหญ่ และเพื่อนสมาชิกทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักกันทั่วหน้า อีกส่วนหนึ่งก็ถวายให้ หลวงตาวาส วัดสะพานสูง
ปลุกเสกวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๙ น. ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวโดย หลวงตาวาส วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ในกุฏิหลวงตาวาส วัดสะพานสูง

วิชาโสฬสมหามงคล "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี เป็นต้นตำรับของวิชาโบราณ ขนาดเซียนพระชื่อดัง พยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ยังต้องพก "ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม" ปลุกเสกด้วยวิชาโสฬสมหามงคลติดตัว

ปัจจุบันค่านิยมเล่นหาสะสมดอกหนึ่งอยู่ที่หลักล้าน พระเกจิอาจารย์ที่สืบทอด "วิชาโสฬสมหามงคล" โดยลำดับ "หลวงปู่เอี่ยม" สืบทอดสู่ "หลวงปู่กลิ่น" มาที่อาจารย์แปลก ร้อยบาง จากนั้นหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ก็รับสืบต่อ

จนมาถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในปัจจุบัน "หลวงปู่วาส" วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ล่าสุดท่านตั้งสัจจะอธิษฐานถึงการทำ "วิชาโสฬสมหามงคล" ว่า ขออัญเชิญ คุณวิชาครูบาอาจารย์สืบๆ กันมา มีองค์หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม, หลวงปู่กลิ่น, หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง, หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน, พระอาจารย์ผัน วัดอินทาราม, หลวงพ่อจำปา วัดสาลีโข, อาจารย์แปลก ร้อยบาง เป็นที่สุด อาตมาอาราธนาบรมครูทั้งหมดทั้งมวลร่วมกันสร้าง เป็นทานอันยิ่งใหญ่มีอานิสงส์เลิศในพระพุทธศาสนา ขอพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมแรงร่วมใจกันให้กิจแห่งพระศาสนานี้สำเร็จ ด้วยเทอญ

"อนึ่ง การขอเชิญบารมีคุณวิชาอาจารย์ทั้งหมด ประสิทธิ์ประสาทในมงคลวัตถุที่อาตมาได้สร้างและปลุกเสก ตอบแทนท่านผู้ใจกุศลในครั้งนี้ ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ครอบครองมงคลวัตถุนี้มีอานุภาพเท่าเทียมเสมอเหมือนของที่ครูบาอาจารย์ มีองค์หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม องค์หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน พระอาจารย์ผันแห่งวัดอินทาราม หลวงพ่อจำปา วัดสาลีโข อาจารย์แปลก ร้อยบาง ลงสร้างเองกับมือท่านเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ"

ปัจจุบัน หลวงปู่วาส สีลเตโช สิริอายุเกือบๆ 100 ปี ท่านสืบทอดวิชาสืบทั้งสายเลือดองค์ต้น หลวงปู่เอี่ยมองค์บูรพาจารย์ ขนาดแท้ กล่าวคือ หลวงปู่วาส เป็นหลานของทวดอิ่ม ผู้ซึ่งเป็นน้องสาวร่วมอุทรของ หลวงปู่เอี่ยม ในสายวิชา หลวงปู่วาส ท่านเป็นศิษย์อาจารย์แปลก ร้อยบาง ฆราวาสทายาทพุทธาคม ที่ถือวิชาต้องลอยเรือกลางแม่น้ำ

ท่านอาจารย์แปลกเป็นศิษย์ฆราวาส ร่ำเรียนวิชาการทำตะกรุดโสฬสมหามงคล มาจากหลวงปู่เอี่ยม ศิษย์ทรงวิชาที่เป็นฆราวาสคนเดียวเท่านั้น ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเมือง อาจารย์แปลกได้ถ่ายทอดวิชาการทำตะกรุดให้หลวงปู่วาส อีกทั้ง หลวงตาใย ศิษย์ในสายหลวงปู่เอี่ยมได้ครอบครูยันต์โสฬสมงคลให้กับหลวงปู่วาสอีกด้วย หลวงปู่วาสร่ำเรียนวิชานี้อย่างครบสูตรเกิดความชำนาญ สามารถสานต่องานลงจารเขียนยันต์ด้วยจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ บังเกิดเป็นพุทธคุณเห็นทันตาในยุคนั้น

จนกล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่า "วิชาโสฬสมหามงคลนี้ ต้องยกให้สายสะพานสูง และผู้สืบทอดวิชานี้ืในปัจจุบันก็คือหลวงตาวาส วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี นี้ืืคือเชื้อสายสะพานสูงอย่างแท้จริง

ตะกรุดโสฬสมหามงคล อย่างที่รู้ว่ามีอานุภาพมากมายดุจฝอยท่วมหลังช้าง ใครได้พบได้เจอ ได้บูชา จะเกิดสิริมงคลมาก ความสำเร็จชนะศัตรูหมู่มาร ไปทางใดมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสถานเดียว ให้บูชาด้วยศีลธรรมไว้เถิดเห็นผลไวดีนัก นักสะสมต่างยกให้ตะกรุดโสฬส ว่าเป็นสุดยอดเบญจภาคี เครื่องรางของขลังประเภทตะกรุดมาตั้งแต่โบราณกาล
[ ราคา ] ฿9
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านภูภู95พระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : -


วัตถุมงคล: เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นตอกโค๊ตเจ้าสัว
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม เนื้อทองคำลงยาสีแดง รุ่นเจ้าสัว
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อเงินลงยาเต็มองค์สีแดง
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อเงินลงยาเต็มองค์สีเหลือง
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อเงินลงยาเต็มองค์สีเขียว
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อเงินลงยาเต็มองค์สีน้ำเงิน
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อเงินลงยาสีเขียว
เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง ตอกโค๊ตเลขไทย ๑๖๘ ตอกโค๊ตคำว่า " เจ้าสัว "๒โค๊ต  ตอกโค๊ต อุ ๒ ตัว
เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง ตอกโค๊ตเลขไทย ๑๖๘ ตอกโค๊ตคำว่า " เจ้าสัว "๒โค๊ต  ตอกโค๊ต อุ ๑ ตัว
เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง ไม่ได้โค๊ตเลขไทย ๑๖๘ ตอกโค๊ตคำว่า " เจ้าสัว "๒โค๊ต  ตอกโค๊ต อุ ๑
เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง ไม่ได้ตอกโค๊ตเลขไทย ๑๖๘ ตอกโค๊ตคำว่า " เจ้าสัว "๒โค๊ต
เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง ตอกโค๊ตเลขไทย ๑๖๘ ตอกโค๊ตคำว่า " เจ้าสัว "๒โค๊ต
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ลงยาสีส้ม หลังยันต์กรรมการ
เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ไม่ตัดปีกลงยาสีส้ม พิมพ์หลังยันต์กรรมการ ตอกโค๊ตเจ้าสัว ๒ โค๊ต ตอกโค๊ต ภ๙
หลวงปู่เอี่ยม เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ไม่ตัดปีกหลังเรียบลงยาสีส้ม ตอกโค๊ต เจ้าสัว ตอกโค๊ต ๑๖๘  ตอกโค๊ต ภ
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อนวะลงยาสีน้ำเงิน หลังยันต์กรรมการ
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้ออัลปาก้าลงยาสีเขียวหลังยันต์
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อฝาบาตรลงยาสีแดงหลังยันต์กรรมการ
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง รุ่นเจ้าสัว เนื้อทองแดงลงยาสีส้ม ตอกโค๊ต (อุ)
เหรียญเนื้อทองแดงลงยาสีเหลือง พิมพ์หลังยันต์กรรมการ ตอกโค๊ตเจ้าสัว ๒ โค๊ต
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม รุ่นเจ้าสัว เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยาสีแดง

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด