หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  เที่ยววัดสะพานสูง
เกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 78 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์
ชื่อเจ้าของ นายสัญญา นาคบุตร (นก- ชุมพร)
รายละเอียด ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง สนใจโทรหาต่อรองราคากันได้ตามมิตรภาพครับ ส่วนภาพถ่ายพระเครื่องใน ร้าน เกจิน้อยพระเครื่องออนไลน์ ทางร้านขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว ห้ามนำภาพในร้านไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากทางร้าน ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม หากพบเจอจะดำเนินคดีตามกฎหมายที่บัญญัติไว้สูงสุด
เงื่อนไขการรับประกัน พระทุกองค์ที่เปิดเช่ารับประกันแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม ครับ หากพระเก้ หรือ มีปัญหา รับคืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % .
ที่อยู่ 116 ม.8 ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
เบอร์ที่ติดต่อ 081-4070684
E-mail noksunyaarea@gmail.com และnoksunya@hotmail.co.th
วันที่เปิดร้าน 05-06-2556 วันหมดอายุ 05-06-2567

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
0 0
นายสัญญา นาคบุตร 
0
ออมทรัพย์ 

วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายกรุงเทพฯ
เหรียญหล่อรูปไข่ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นสอง ปี ๒๕๓๙ หลังเจดัีย์ (เหรียญที่2)
18-05-2564 เข้าชม : 7346 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญหล่อรูปไข่ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นสอง ปี ๒๕๓๙ หลังเจดัีย์ (เหรียญที่2)
[ รายละเอียด ] เหรียญหล่อรูปไข่ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นสอง ปี ๒๕๓๙ รุ่นสร้างหอพระไตรปิฎก เนื้อทองเหลืองหลังเจดีย์ (นิยม) ตอกโค้ดด้านหลังเหรียญ รุ่นนี้คือรุ่นไข่ ๒ บางท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็นรุ่น ๓ เพราะปี ๒๕๓๔ ที่สร้างรุ่นจอบ ๒ ทางวัดไม่ได้สร้างรูปไข่ออกมา มาสร้างไข่ ๒ ตอนปี ๒๕๓๙ เป็นรุ่่นสร้างหอพระไตรปิฎก พร้อมกับพิมพ์เสมา หรือ พื้นที่เรียกว่าก้นแมงดาครับ เพราะฉนั้น รุ่นนี้จึงเป็นพิมพ์รูปไข่ รุ่น ๒ นั้นเอง ใน พ.ศ. ๒๕๓๙ สร้างเหรียญหล่อรูปไข่และเหรียญหล่อรูปเสมา (ย้อนยุค) รุ่นสร้างหอพระไตรปิฎก ประกอบไปด้วย ๑. เหรียญหล่อรูปไข่ ด้านหลังตัวหนังสือที่ระฤก ๒๔๗๘ ๒. เหรียญหล่อรูปไข่ ด้านหลังเจดีย์ ๓. เหรียญหล่อรูปเสมา ด้านหลังตัวหนังสือที่ระฤก ๒๔๗๘ มีเนื้อทองคำ เงิน นวะ ทองแดง สตางค์ นวะแก่ทอง ทองเหลือง จำนวนการสร้างทุกเนื้อรวมกันประมาณ ๘,๔๐๐ เหรียญ - เนื้อทองคำสร้างตามจำนวนการสั่งจอง ตอกโค๊ตด้านหลังเป็นเลข ๒ หลักยันต์ ด้านหน้าทุกเหรียญมีหมายเลขกำกับ เนื้อทองคำเท่าที่พบเห็นด้านหลังเป็นพิมพ์ตัวหนังสือที่ระฤก ๒๔๗๘ - ส่วนเนื้อสตางค์ และเนื้อนวะแก่ทอง ตอกโค๊ตไว้ที่ด้านหน้าเหรียญ เนื้อนวะแก่ทองนี้เป็นเนื้อที่เหลือจากการหล่อพระบูชา จัดเป็นเหรียญหล่อที่มีพุทธคุณสูงโดยเฉพาะในด้านคงกระพันชาตรี เป็นที่ยอมรับในวงการพระเครื่องมาอย่างยาวนานและเป็นเหรียญหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดเหรียญหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งรุ่นแรกราคาไปไกลและหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน หากต้องการพึ่งพาพุทธคุณใช้รุ่นหลังแทนได้ในราคาไม่แพงมาก เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงนับว่าเป็นเหรียญหล่อยอดนิยมที่มีค่านิยมสูงสุดในวงการเคียงคู่กับเหรียญจอบเล็กจอบใหญ่ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลานมาช้านาน หลวงพ่อไปล่ท่านเป็นสุดยอดเกจิ เวลาปลุกเสกพระท่านชอบประเภทบินเดี่ยว เสกเดี่ยวด้วยเพราะมั่นใจในพุทธาคมอันแก่กล้า และ ก็ไม่เคยผิดหวัง เพราะ ประสบการณ์เหลือล้นเกินบรรยาย จนทำให้เหรียญหล่อของท่านขึ้นอันดับหนึ่งของวงการมาโดยตลอด เหรียญรุ่นแรกของท่านไม่ว่าจะเป็นพิมพ์จอบ พิมพ์ไข่ ค่านิยมสวยๆองค์ละหลายๆล้านบาท และหาของแท้ยากยิ่งในปัจจุบัน ออกจากวัดกำแพงโดยตรงในปี ๒๕๓๙ จะเห็นได้ว่าการสร้างเหรียญหล่อของวัดกำแพงนั้น ค่อนข้างเคร่งครัด ไม่ได้เน้นการโฆษณา หรือ เน้นแบบโปรโมท แต่เป็นการสร้างโดยเจตนาบริสุทธิ์และ พิธีกรรมที่เข้มขลังจริงๆ และจะเห็นไ้ด้ว่าตั้งแต่เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อไปล่ ที่ออกจากวัดในปีพศ ๒๔๗๘ ในสมัยหลวงพ่อไปล่ยังมีชีวิตแล้วก็ไม่เคยมีเหรียญรุ่น ๒ ออกมาอีกเลยจวบจนปี ๒๕๓๔ที่มีเหรียญจอบใหญ่ออกมา และ ในปี ๒๕๓๙ ที่มีการออกเหรียญรูปไข่ และ เหรียญทรงเสมา รุ่น ๒ ของหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงออกมา พิธีการสร้างเป็นแบบปลุกเสกหมู่ ทำพิธีถูกต้อง และ ทำพิธีที่วัดกำแพง มีการอัญเชิญดวงวิญญาณหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงมารับรู้และรับทราบในพิธีกรรมครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีการผสมชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งเหรียญเก่าๆรุ่นแรกในสมัยหลวงพ่อไปล่ยังมีชีวิต ผสมลงไปเป็นมวลสารอีกด้วย เนื้อหาที่ออกที่แนะนำให้จับตามองและน่าสะสม ที่ออกจากวัดในรุ่น2นี้จะเป็นเหรียญหล่อโบราณที่มีเนื้อหาดีมากด้วย เพราะคงจะมีมวลสารชนวนโลหะดีๆผสมอยู่มาก เนื้อจึงเข้มสวยงาม พระของหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ที่นับว่าเป็นเหรียญดีล้ำค่า ชนวนมวลสาร พิธีดีเยี่ยม และน่าใช้ไม่แพ้รุ่นแรก และ ใช้แทนกันได้อย่างสนิทใจ หายากน่าเก็บน่าใช้อีกละคราฟ ************************************************************************************************************************************************** เหนียวจนดัง "มีเหรียญหลวงพ่อไปล่วัดกำแพง ถึงไหนถึงกัน" แม้ก้อนหินข้างทาง ยังเสกให้ขลังได้ ทหารพกไปออกรบ ไม่โดนกระสุน แม้นัดเดียว หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง เมื่อครั้งที่ "หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง" และ "หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง" ยังมีชีวิตอยู่ เป็นที่ล่วงรู้ถึงกิตติศัพท์ของท่านทั้งสองว่า "สุดยอด" สมัยนั้นใครมีเหรียญวัดหนัง จะไม่กล้าแหยมกับคนที่แขวนเหรียญวัดกำแพง เจอกันครั้งใดก็กินกันไม่ลง เพราะ "เหนียว" ทั้งคู่ ประสบการณ์ของเหรียญทั้งสองวัดเด่นชัดในเรื่องคงกระพันชาตรี เป็นที่นิยมของนักเลงจริงในยุคนั้น เล่าขานกันว่า ขนาดโดนรุม ๑๐ ต่อ ๑ ยังรอดมาได้ ทั้งมีด ไม้ กระบอง ลูกซองปืนพก ไม่มีเลือดตกยางออกให้ได้เห็นแม้แต่น้อย ด้วยพุทธคุณอันลือลั่น และประสบการณ์อันลือเลื่องจึงทำให้เหรียญของท่านทั้งสองเป็นที่หมายปองของนักเลงพระ ส่งผลให้ราคาค่านิยมสูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งปัจจุบันต้องพูดกันที่ "หลักแสน" ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเพราะว่ารูปแบบของเหรียญทั้งสองสำนักคงความเป็นเอกลักษณ์ที่งดงามด้านศิลปะที่คนรุ่นใหม่ไม่อาจเลียนแบบได้ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ชื่อเสียงอาจจะดังกว่าหลวงพ่อไปล่ เพราะเหรียญของท่านติดอันดับ "ท็อปไฟว์" ชุดเบญจภาคีเหรียญ แต่เรื่องเวทวิทยาคมต้องบอกว่า "ข่ม" กันไม่ลง ชาวบางขุนเทียนและคนฝั่งธนบุรียกนิ้วให้ว่า "ไม่ธรรมดา" ทั้งคู่ โดยเหรียญของหลวงพ่อไปล่นั้นมีคำขวัญว่า "มีเหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกัน คงกระพันชาตรีดีนักแล" พระเทพสิทธินายก (หลวงพ่อเลียบ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เทเวศร์ และวัดเลา ซึ่งเป็นศิษย์อุปัชฌาย์องค์เดียวกัน เคยกำชับพวกนักเลงว่า อย่าไปเล่นกับท่านวัดกำแพงนะ ท่านเป็นคนจริง อย่าไปทำแหยให้ท่านเห็นเป็นอันขาด อาจจะหมดลายไปเลยทีเดียว ชื่อเสียงของท่านโด่งดังถึงขั้นถูกบรรจุเป็นคำขวัญของเขตบางขุนเทียนคือ "หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง แหล่งเกษตรกรรม วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ พื้นที่ทะเลกรุงเทพฯ" "หลวงพ่อไปล่" เกิดวันอังคาร เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหมู่ที่ ๖ ต.บางบอนใต้ อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี เป็นบุตร นายเหลือ นางทอง นามสกุล "ทองเหลือ" ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้ไปศึกษาหนังสือไทยและขอมกับหลวงพ่อทัต วัดสิงห์ ท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญ ทรหดอดทน มีเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านบางบอนใต้เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่ กัดปลา ข้องอ้อย เป็นต้น เวลาวัดมีงานมักจะนัดตีกันเป็นประจำ ตัวท่านถูกพรรคพวกยกย่องให้เป็นลูกพี่ ทำให้บิดามารดาเกรงว่าจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล จึงขอร้องให้บวชพระให้สักหนึ่งพรรษา ท่านก็ไม่ขัดโดยเข้าอุปสมบทที่วัด กำแพง มี หลวงพ่อทัต วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "ฉันทสโร" หลังบวชแล้วท่านได้สนใจศึกษาทางธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง หลังจากบวชแล้ว "หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร" อยู่จำพรรษาที่วัดกำแพง กรุงเทพฯ ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบทสวดมนต์จนจบทุกบททุกคัมภีร์ จดจำได้แม่นยำ และเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ครบหนึ่งพรรษาแล้วเลยไม่ยอมสึก พอพรรษาที่ 2 ก็พยายามจนท่องพระปาฏิโมกข์ได้ และขอถ่ายทอดวิชาด้านกรรมฐานและวิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌายะและคู่สวดซึ่งล้วนแต่เชี่ยวชาญทางนี้ ด้านพุทธาคมได้เรียนวิชาเมตตามหานิยม เช่น ผง ๑๐๘ ขี้ผึ้งสีปากจากหลวงพ่อพ่วง วัดกก เรียนทางคงกระพันชาตรี ทำผ้าประเจียดแดงกับหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง นอก จากนี้ ยังได้ไปขอเรียนวิชาไสย ศาสตร์เวทมนตร์ เช่น วิชาผูกหุ่นพยนต์จากหลวงพ่อคง อาจารย์รุกขมูลธุดงค์ จนมีวิชากล้าแข็ง แม้ท่านเก่งขนาดไหนแต่ไม่เคยคุยโอ้อวด ชอบดำรงตนแบบสมถะ ไม่ทะเยอทะยานในลาภยศ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ กวาดกุฏิเอง ของส่วนตัวทำเอง ไม่เคยใช้ให้ใครทำ ขยันในการทำวัตรสวดมนต์เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยชอบความมีระเบียบเรียบร้อย หลวงพ่อเลียบ วัดเลา" เคยสนับสนุนให้ท่านได้สมณศักดิ์เป็นพระครู ท่านกลับพูดเป็นคำคมว่า ฉันไม่อยากเป็น"ครูพระ"หรอก สอนตัวเองก็พอใจแล้ว เพราะการเป็น"พระครู" หมายถึงต้องเป็นครูสอนพระ นั่นเพราะท่านไม่ได้หวังเป็นใหญ่เป็นโตอะไร ไม่สนใจเรื่องยศช้างขุนนางพระตามคำกล่าวของคนโบราณ ส่วนตำแหน่งสมภารท่านก็ไม่เคยสนใจ แต่ขัดชาวบ้านไม่ได้ก็จำเป็นต้องรับ ใครมีลูกหลานส่วนใหญ่จะมาให้ท่านบวช เพราะเลื่อมใสศรัทธาในจริยาวัตรและอยากได้ของขลังของดีจากท่าน ปี พ.ศ.๒๔๗๘ คณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลฉลองอายุให้ท่าน ในงานนี้ได้ออกเหรียญรูปท่านเต็มองค์ห่มลดไหล่สมาธิ เป็นเหรียญหล่อทำรูปคล้ายจอบ ด้านหลังเหรียญมีอักษรไทยว่า "ที่ระฤก ๒๔๗๘" วันเทเหรียญปรากฏว่า สายสิญจน์ ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัยจี้อยู่จนหมดเวลาพิธี ปรากฏว่าสายสิญจน์ไม่ไหม้เป็นที่น่าตื่นเต้น เพราะขณะนั้นท่านนั่งปรกบริกรรมด้วยจิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ท่านชอบเสกเดี่ยว ไม่ค่อยไปร่วมพิธีกับใคร โดยกล่าวเป็นนัยว่า การไปรวมกันไม่รู้ว่าใครจะแน่ สู้เดี่ยวไม่ได้ และเหตุที่สร้างเหรียญรูปจอบ ก็เพราะจอบเป็นสัญลักษณ์เครื่องมือสำคัญในการเพาะปลูก ชาวสวนชาวนาต้องพึ่งจอบ ซึ่งเหรียญรุ่นนี้มีประสบ การณ์มาก ใครที่รับแจกไปห้อยคอสมัยนั้นรับประกันเรื่องความเหนียว มีดหรือปืนไม่ระคายผิวหนัง ถึงขนาดที่ว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือด วัตถุมงคลของ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กรุงเทพฯ นอกจากเหรียญจอบยอดนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปไข่ สร้างเนื้อสัมฤทธิ์ และทองเหลืองฝาบาตร ที่ต้องทำเป็นเหรียญหล่อท่านบอกว่าพิธีเข้มข้นกว่าเหรียญปั๊มมาก และเหรียญรุ่นนี้ก็มีประสบการณ์ดังมาก คำขวัญของเหรียญมีว่า "มีเหรียญหลวงพ่อไปล่วัดกำแพงใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกันคงกระพันชาตรีดีนักแล" ต่อมาในงานล้างป่าช้าวัดกำแพง ท่านได้ออกเหรียญเป็นรูปพระพุทธ เนื้อโลหะทองเหลือง เรียกว่า "รุ่นล้างป่าช้า" ใช้ได้ผล มีคนนิยมมากเช่นกัน การแจกเหรียญของท่านไม่กะเกณฑ์ในเรื่องเงินทอง ใครจะทำบุญก็ทำ ใครจะมาขอฟรีท่านก็แจกให้ หลวงพ่อไปล่ท่านมีกระแสจิตกล้าแข็ง คราวหนึ่งเจ้าคุณพระพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปวิกาโส) วัดอัปสรสวรรค์ (วัดหมู) ศิษย์เอกองค์หนึ่งของพระภาวนาโกศลเถร (หลวงปู่เอี่ยม) วัดหนัง ได้มานิมนต์ให้ไปนั่งปรกในงานหล่อพระ ท่านบอกว่าให้บอกเวลามาว่าพิธีจะเริ่มเมื่อไหร่ แล้วท่านก็นั่งทำสมาธิอยู่ที่กุฏิ โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงวัด พอถึงเวลาปลุกเสก พระอาจารย์ที่นิมนต์มาจะเห็นร่างหลวงพ่อไปล่ปรากฏนั่งสมาธิอยู่ในพิธีด้วย เรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันทั่วไป ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ลูกศิษย์คนหนึ่งถูกเกณฑ์ไปร่วมรบได้มาขอของดีจากท่านเพื่อเอาไปคุ้มครองตัว ท่านได้เสกก้อนหินข้างทางรถไฟให้หนึ่งก้อน ศิษย์คนนั้นเห็นแล้วจะไม่เอาก็เกรงท่านจะว่า จึงนำหินก้อนนั้นถักลวดแขวนคอติดตัวไปสนามรบ ปรากฏว่าไม่เคยมีอันตรายและไม่เคยป่วยไข้ ปืนในสนามรบยิงมาเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเลย หลวงพ่อไปล่ มรณภาพด้วยอาการอันสงบเมื่ออายุ ๗๙ พรรษา ๕๙ มีคนเล่าว่าแม้จะมรณภาพไปแล้ว หนังก็ยังเหนียว พวกสัปเหร่อเอามีดตบแต่งศพก็เฉือนไม่เข้า ต้องจุดธูปจุดเทียนบอกกล่าวขอขมา แม้กระนั้นก็ยังเฉือนไม่เข้า และศพก็แห้งไปเฉยๆ ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น ทั้งนี้ เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์นั่นเอง ในวันเผาศพมีผู้คนไปร่วมงานกันมากมายหลายจังหวัด ทั้ง คนใหญ่คนโต คนธรรมดาสามัญหลายชั้นวรรณะ และท่านได้แสดงอภินิหารให้เป็นที่ประจักษ์ โดยพวกศิษย์ได้นำพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้เพลิงมาจุด ปรากฏว่าด้านหมดเนื่องจากท่านไม่ชอบเสียงอึกทึกครึกโครม แต่พองานเลิกได้นำมาจุดใหม่ เกิดดังสนั่นหวั่นไหว กลายเป็นเรื่องเล่าขานมาจนทุกวันนี้ แม้แต่กระดูกขี้เถ้าก็ถูกยื้อแย่งกันอุตลุดจนไม่มีเหลือ ก็เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์โดยแท้ สำหรับคาถาที่ หลวงพ่อไปล่ท่านภาวนาเป็นประจำคือ "คาถากำแพงแก้ว ๗ ประการ" ท่องว่า"พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัตตะระตะมะปะการัง อัมมหากัง สะระณังคัจฉามิ สุสุละละโสโส นะโมพุทธายะ พุทโธพระบังธัมโมพระบัง สังโฆพระบัง" ให้ภาวนาก่อนนอนทุกคืน คุ้มภัยอันตรายได้ดี พวกศัตรูทำอะไรไม่ได้ วัตถุมงคลหลวงพ่อไปล่ที่ได้รับความนิยม เหรียญหล่อ'หลวงพ่อไปล่'แพงสุดอันดับ๒ของวงการ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ได้สร้างเหรียญหล่อโบราณที่วงการนิยมกันอย่างกว้างขวาง โดยแบ่งออกเป็น ๔ แบบ คือ ๑.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ มี ๒ แบบ คือ ๑.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อฝาบาตร หรือเนื้อทองเหลือง พิมพ์มาตรฐาน และ ๒.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ชาวบ้าน ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อไปล่ นั่งขัดสมาธิราบ บนฐานชั้นเดียว รูปทรงจอบ มีเส้นโค้งนูน โดยรอบเหรียญ ๒ เส้น ปรากฏรายละเอียดบนใบหน้าพอประมาณ ครองจีวรเห็นรัดประคดชัดเจน ด้านบนเหรียญ มีหูหล่อในตัว ด้านหลังมีอักษรไทยนูนสูง เขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘” หล่อด้วยเนื้อทองเหลือง (ฝาบาตร) เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อขันลงหิน ๒.เหรียญหล่อพิมพ์รูปไข่ มี ๒ เนื้อ คือเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อทองเหลือง หรือเนื้อฝาบาตร ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อไปล่ นั่งขัดสมาธิราบ บนฐานเขียง เห็นผ้าสังฆาฏิและรัดปะคดชัดเจน เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูหล่อในตัว ด้านหลังมีอักษรไทยเขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘” มีเรื่องเล่ากันว่า ในวันทำพิธีเททองหล่อเหรียญรุ่นนี้ ปรากฏว่า สายสิญจน์ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัย แต่สายสิญจน์ไม่ไหม้ เป็นที่มหัศจรรย์มาก โดยขณะนั้นท่านกำลังนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกด้วยจิตอันเป็นสมาธิแน่วแน่ ๓.เหรียญหล่อพิมพ์ห้าเหลี่ยม วงการเรียกว่า “รุ่นล้างป่าช้า” สร้างในวาระที่ท่านบูรณปฏิสังขรณ์ป่าช้าวัดกำแพง ซึ่งชำรุดเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ ประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัว ๒ ชั้น อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีหูหล่อในตัว ด้านหลังมีอักษรขอม แปลเป็นภาษาไทยว่า “สุคโต” และมีตัว “อุ” ด้านบน หล่อด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ๔.เหรียญหล่อพิมพ์เสมา เนื้อสัมฤทธิ์ (มีน้อยมาก) ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อไปล่ อยู่ในกรอบรูปเสมา มีห่วงหล่อในตัว ด้านหลังมีทั้งแบบหลังเรียบ และแบบหลังมีอักษรไทย เนื้อสัมฤทธิ์ เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และ เหรียญหล่อพิมพ์รูปไข่ สร้างในปีเดียวกัน คือ พ.ศ.๒๔๗๘ ในวาระที่ท่านมีอายุครบ ๗๕ ปี โดยทำพิธีหล่อหลายครั้ง ตามความต้องการของลูกศิษย์ที่มาให้ช่างหล่อให้ เล่ากันว่า ช่างหล่อพระเป็นน้องชายแท้ๆ ของหลวงพ่อ หากมีลูกศิษย์นำเนื้อโลหะอะไรมาให้หล่อ ช่างก็จะหล่อให้ตามความประสงค์ และหลวงพ่อจะปลุกเสกให้เป็นคราวๆ ไป (ข้อมูลจากคุณบัณฑิต กรกนก) ส่วน เหรียญหล่อพิมพ์เสมา และ เหรียญหล่อพิมพ์ ๕ เหลี่ยม ไม่แน่ชัดว่า สร้างในปีใด การแจกเหรียญนั้น บางท่านเล่าว่า เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ ท่านไว้แจกผู้ชาย เหรียญหล่อพิมพ์รูปไข่ไว้แจกสตรี ส่วนเหรียญพิมพ์เสมา เนื้อสัมฤทธิ์ สำหรับแจกเด็ก พระพุทธคุณ เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ ทุกรุ่นทุกพิมพ์ขึ้นชื่อในเรื่องมหาอุด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือทั่วไป และเป็นเหรียญหล่อโบราณที่ได้รับความนิยมสูง มีสนนราคาเช่าหาอยู่ที่หลักแสนปลายขึ้นไปจนถึงหลักล้าน โดยได้รับการจัดอันดับ เหรียญแพง ที่ ๒ รองจาก พระหล่อโบราณรูปเหมือน และ เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่-พิมพ์จอบเล็ก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
[ ราคา ] ฿6500
[ สถานะ ] ยังอยู่
[ติดต่อเจ้าของร้านเกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์ ] เบอร์โทรศัพท์ : 081-4070684
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายกรุงเทพฯ
พระเนื้อผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพ ปี พศ. ๒๔๘๕ พิมพ์สามเหลี่ยมวัดสามปลื้ม
พระปิดตาพิมพ์ต้อ กรุวัดนางชี  ธนบุรี เนื้อชินตะกั่ว
พระกรุวัดท้ายตลาด พิมพ์ซุ้มปราสาท (เก๋งจีน) วัดโมลีโลกยาราม  ธนบุรี
พระปางประจำวันทั้ง 7 เนื้อผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ท่าเตียน (องค์ที่10)
เหรียญหล่อโบราญหลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี กรุงเทพ ประมาณปี 2475 ยุคแรก (องค์ที่2)
พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน วัดประสาทบุญญาวาส กทม.เนื้อว่านสบู่เลือด ปี 2506
พระสมเด็จเนื้อผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ท่าเตียน (องค์ที่9)
พระคงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ธนบุรี  เนื้อผงพุทธคุณ (เนื้อลูกอม)
พระเนื้อผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพ พิมพ์พระพุทธหน้าลายผ้า(องค์ที่8)
พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพ  พิมพ์รูปเหมือนอาจารย์หนู (องค์ที่ 7)
พระแผงรัตนะตัดเดี่ยว สมัยรัตนโกสินทร์ (องค์ที่3)
พระแผงรัตนะตัดเดี่ยว  (องค์ที่ 2)
พระแผงรัตนะตัดเดี่ยว (องค์ที่1)
เหรียญหล่อรูปไข่ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นสอง ปี ๒๕๓๙ หลังเจดัีย์ (เหรียญที่2)
พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ หลังยันต์จม พระครูสังฆรักษ์ วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ ปี 2495
พระพิมพ์เล็บมือซุ้มชินราช ท่านเจ้าจุ้ย วัดสามปลื้ม  จ. กรุงเทพ ปี ๒๔๗๕
พระผงของขวัญ รุ่นสี่ พระธรรมขันธ์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพ ปี2514
พระพรหมสี่หน้า หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กรุงเทพ  เนื้อดินผสมผง    ปี 2478 กว่าๆ
พระสมเด็จแหวกม่าน วัดทรงประมูล
หลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาส จ.กรุงเทพมหานคร ปี 2506 พิมพ์กลางเนื้อเทาลังเม้ง  (องค์ที่7)
พระเนื้อผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพ จัดสร้างราวปี พศ. ๒๔๘๕ พิมพ์ขุนแผน (องค์ที่5)
เหรียญสมเด็จพระสังฆราชชื่นวัดบวรนิเวศวิหาร รุ่นแรก  ปี ๒๔๙๕
พระหลวงพ่อทวดวัดประสาทบุญญาวาส กทมฯ พิมพ์เล็ก  ปี ๒๕๐๖ พิมพ์อาปาเช่ เนื้อโซนชมพู (องค์ที่ 6)
สมเด็จ ผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ กรุงเทพ สร้างปี พศ. ๒๔๘๕ (ผิวลายผ้า องค์ที่ 4)
พระคงเล็ก หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ธนบุรี
พระปิดตา หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ เนื้อทองผสม (องค์ที่ 5)
รูปถ่ายหมอชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูแห่งการแพทย์ วัดสมณานัมบริหาร ( วัดญวนสะพานขาว ) กรุงเทพ
เหรียญพระพุทธชินราช หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพปี ๒๕๑๐  (องค์ที่ 2)
เหรียญท้าวสหัมบดีพรหม ปี ๒๕๑๗
รูปหล่อท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ หลวงพ่อบ๋าวเอิง วัดญวนสะพานขาว กรุงเทพ  ปี 22 (องค์ที่ 2)
พระสังกัจจายน์ เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ปี 2485
นางพญา พิมพ์อกนูน (หนา) หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพ ปี ๒๔๗๒
พระพิมพ์สมาธิข้างยันต์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพ ปี ๒๔๗๓ (องค์ที่2)
เหรียญหล่อหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กรุงเทพมหานคร พิมพ์สี่เหลี่ยม จัดสร้างราว ปี ๒๔๗๒
ปิดตากรุอัมพวา พิมพ์วัดพลับ
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ออกวัดโคนอน กรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๑๕ (องค์ที่ 2)
พระเนื้อผงยาพิมพ์สมาธิบัวชั้นเดียว หลวงพ่อสิน วัดบางกระดี่ ธนบุรี จัดสร้างประมาณปี ๒๔๗๕
ล็อกเก็ตจัมโบ้ หลวงปู่ทวด สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์  ปี ๒๕๕๕
พระปิดตาปุ้มปุ้ยเนื้อเทา วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖
เหรียญรูปไข่สมเด็จพระพุฒาจารย์นวม วัดอนงคาราม กรุงเทพ ปี ๒๕๐๐
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อ สี่เข่าวัดศาลาครืน ปี ๒๕๒๑
พระปิดตา หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ เนื้อทองผสม (องค์ที่ 4)
เหรียญหล่อซุ้มกอ พระสังวราชุ่ม วัดพลับ ปี ๒๔๖๘ เนื้อโลหะผสม
พระพิมพ์สมาธิข้างยันต์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียนกรุงเทพ ปี ๒๔๗๓ (องค์ที่1)
เหรียญหลวงพ่อโต วัดยาง อ่อนนุช กรุงเทพ รุ่นสองปี ๒๕๐๐
พระคงจิ๋ว หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ธนบุรี (องค์ที่ 2)
พระปิดตา หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ เนื้อทองผสม (องค์ที่ 3)
พระปิดตา หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ เนื้อเมฆพัตร พิมพ์อุขึ้น เฑาะลง (องค์ที่ 2)
เข็มกลัดตุ๊กแกเรียกทรัพย์ พ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม  กรุงเทพ ยุคแรกปี ๓๐
พระปิดตารัศมี กรุวัดเงินคลองเตย (องค์ที่1)
พระสมเด็จพิมพ์เศียรโต หลังเรียบ หลวงพ่อสุพจน์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ปี ๒๔๘๔ (องค์ที่ 6)
เหรียญหล่อชินราชหลวงพ่อโม วัดสามจีน รุ่นแรก ปี ๒๔๖๐ (องค์ที่1)
พระสมเด็จพิมพ์เศียรโต หลังยันต์ (นิยม) หลวงพ่อสุพจน์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ปี ๒๔๘๔ (องค์ที่5)
เหรียญพระศิวะมหาเทพหลังพระพรหมมหาเทพ พิธีพรหมศาสตร์ วัดทุ่งเสรี ราม ๒ กรุงเทพ ปี ๒๕๑๙ (เหรียญที่3)
พระปิดตาเนื้อดิน หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ยันต์ มะอะอุ ฐานบัวฟันปลา ยุคต้น ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖-๓๙)
เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พุทธศักราช ๒๕๐๐
พระชัยวัฒน์พระครูสอน วัดมักกะสัน กรุงเทพ จัดสร้างราวปี ๒๔๘๐-๒๔๘๕ (องค์ที่2)
พระสมเด็จพุทธคยา (สมเด็จตรัสรู้) พิมพ์เล็ก ออกวัดทุ่งเสรี กรุงเทพฯ ปี ๒๕๑๙
รูปหล่อท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ หลวงพ่อบ๋าวเอิง วัดสมณานัมบริหาร ( วัดญวนสะพานขาว )
พระชัยวัฒน์พระครูสอน วัดมักกะสัน กรุงเทพ จัดสร้างราวปี ๒๔๘๐-๒๔๘๕ พิมพ์หน้าเดียว
พระพิมพ์ชินราชซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียน จ.กรุงเทพ ปี ๒๔๗๓
พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ซุ้มปรกโพธิ์ บัวเล็บช้าง กรุงเทพมหานคร
พระกริ่งประทานพร วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖ (องค์ที่1)
พระสมเด็จหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร พิมพ์ ๗ ชั้นฐานกว้าง บัว ๕ จุด จัดสร้างราวปี ๒๔๘๖
รูปหล่อบูชาหน้ารถ หลวงปู่เปี่ยม สาริกบุตร มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดสร้าง ลพ.เกษม เขมโก ปลุกเสก ปี ๒๕๓๗
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย หลังยันต์ เนื้อผงน้ำมัน วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ปี ๒๔๙๑
เหรียญกลมหลวงปู่ทวด ออกวัดเชตุพน(วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ปี ๒๕๐๖
พยัคฆ์เขี้ยวดาบ ที่ระลึกสร้างอุโบสถ วัดปริวาสราชสงคราม ปี 2551
พระปิดตาผสมผงเก่าบางขุนพรหม อาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง (บางซื่อ) จัดสร้างราวปี ๒๕๐๕
พระกรุ วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพมหานคร หลังยันต์อุ เนื้อว่านสบู่เลือด พิมพ์เล็บมือข้างรัศมี
พระสมเด็จ ผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ กรุงเทพ สร้างราวปี พศ. ๒๔๘๕ พิมพ์ปรกโพธิ์ (องค์ที่3)
พระหลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส ปี ๒๕๐๖ (องค์ที่ 4)
พระหลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส ปี ๒๕๐๖ (องค์ที่3)
พระปิดตา หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ เนื้อเมฆพัตร (องค์ที่1)
พระกริ่งจีนใหญ่ สมเด็จญาณฯ วัดบวรนิเวศฯ รุ่นเพชรเจ้าฟ้า ปี ๒๕๓๘
พระผงวัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖ พิมพ์วันทาเสมา (องค์ที่ 3)
เหรียญหล่อซุ้มกอ พระสังวราชุ่ม วัดพลับ เนื้อชินตะกั่ว ปี ๒๔๖๘
พระกรุวัดกลางตลาดพลู (พระวัดจันทาราม) กรุงเทพ
พระคงจิ๋ว หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก (องค์ที่ 1)
พระพิมพ์วัดสามปลื้ม หลวงพ่อสุพจน์ วัดสุทัศน์ ปี ๒๔๘๔ (องค์ที่4)
พระสมเด็จพิมพ์เล็บมือ หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์   ปี ๒๔๖๔ รุ่นสองหลังยันต์
นางกวัก ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ ปี ๒๔๙๕
สมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ กรุบึงพระยาสุเรนทร์ กรุงเทพฯ กรุเก่า
พระพิมพ์จันทร์ลอย ข้างเม็ด เนื้อดิน วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖
พระพิมพ์จันทร์ลอย ข้างเม็ด วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖
เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ส.ช.) ชั้นที่1 "อสาธุํ สาธุนา ชิเน" ปี ๒๕๑๒
พระสมเด็จหลวงพ่อทอง วัดราชโยธา ข้างยันต์ สร้างประมาณปี ๒๔๗๖ (องค์ที่ 2)
พระสมเด็จพิมพ์ฐาน 3 ชั้น หลังเรียบ หลวงพ่อสุพจน์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ปี ๒๔๘๔ (องค์ที่3)
พระสมเด็จพิมพ์เศียรโต หลังเรียบ หลวงพ่อสุพจน์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ปี ๒๔๘๔ (องค์ที่ 2)
พระหลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส ปี ๒๕๐๖ (องค์ที่ 2)
พระพิมพ์เศียรแหลม หลังสิงห์ วัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร) ปี ๒๕๑๕
พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์ ท่าเตียน พิมพ์ หลวงพ่อโต บางกระทิง กรุงเทพ จัดสร้างราวปี ๒๔๘๕ (องค์ที่ 2)
พระพิมพ์ซุ้มหยัก ( พิมพ์มารวิชัย ) หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพ ปี ๒๔๗๓
ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียนกรุงเทพ ปี ๒๔๗๓
พระปิดตาฐานตารางหลังยันต์ตรีนิสิงเห หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพ ยุคต้น ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖-๓๙)
พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ เนื้อว่านสบู่เลือด ออกวัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖
เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงพ่อบุญเรือน วัดยางสุทธาราม กรุงเทพฯ ปี ๒๕๓๗
พระกริ่งครึ่งซีกเนื้อดิน เจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) วัดสุทัศน์ กรุงเทพ ปี ๒๔๘๔
พระสมเด็จพิมพ์ฐานคู่ เจ้าคุณสุพจน์ วัดสุทัศน์ ปี ๒๔๘๔ (องค์ที่1)
สมเด็จ ผงกระดูกผี อาจารย์หนู วัดโพธิ์ กรุงเทพ สร้างปี พศ. ๒๔๘๕ (องค์ที่ 1)
พระเม็ดบัวรัศมี หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร บางขุนเทียน กรุงเทพฯ จัดสร้างราว ปี ๒๔๙๐
รูปหล่อปั๊มพระพิฆเนศวร์ พิธีพรหมศาสตร์ อาจารย์ชุม ไชยคีรี วัดทุ่งเสรี ราม ๒ กรุงเทพ ปี ๒๕๑๙
พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงปู่นาค วัดระฆัง ปี ๒๔๙๕
เหรียญพระพุทธชินราช หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพปี ๒๕๑๐
พระกริ่งน้อย หน้านาง เจ้าคุณนร วัดเทพศิรินทร์ ปี ๒๔๙๕
เหรียญพระศิวะมหาเทพหลังพระพรหมมหาเทพ  วัดทุ่งเสรี ราม ๒ กรุงเทพ ปี ๒๕๑๙ (เหรียญที่ ๒)
เหรียญพระครูศีลนิวาส(หลวงพ่อโม้) วัดสน ราชบูรณะ กรุงเทพ ปี ๒๕๓๔
เหรียญหลวงพ่อจำปา วัดอินทราวาส(ประดู่) ตลิ่งชัน กรุงเทพ รุ่น ๒ ปี ๒๕๑๖
เหรียญพระครูสังฆรักษ์(พระอาจารย์สงัด) วัดพระเชตุพน กรุงเทพ ปี ๒๕๐๖
เหรียญพระศิวะมหาเทพหลังพระพรหมมหาเทพ พิธีพรหมศาสตร์ วัดทุ่งเสรี ราม ๒ กรุงเทพ ปี ๒๕๑๙
พระปิดตาจัมโบ้ เนื้อผงเกสร หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รุ่น ๑๑๑ ปี จัดสร้างปี ๒๕๔๑
พระกริ่ง นิรันตราย (จำลอง) จัดสร้างโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปี ๒๕๕๕
รูปหล่ออุดกริ่งหลวงปู่ถม วัดโพธิ์เรียง ธนบุรี กรุงเทพ รุ่นแรก สร้างราวปี ๒๕๑๘
พระกลีบบัว พิมพ์เศียรโล้น หลังสิงห์ วัดสามปลื้ม ปี ๒๕๑๕
เหรียญหลวงพ่อบ๋าวเอิง วัดสมณานัมบริหาร (วัดญวน) สะพานขาว กรุงเทพ ปี ๒๕๒๒
เสือมหาอำนาจรุ่นแรก หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี (รามคำแหง 2)
พระสมเด็จเจดีย์ (แขนกลม) หลวงปู่หิน วัดระฆัง ปี ๒๔๘๘
พระกริ่งอู่ทองหลัง ว ช ร หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง วัดชิโนรส กรุงเทพฯ ปี 2512
รูปหล่อไต้ฮงกงรุ่นแรก ปี 2493 (พิมพ์เล็ก)
พระพิมพ์ปรกโพธิ์กิ่ง เนื้อชินเงิน กรุวัดเลียบ กรุงเทพ  (องค์ที่ 2)
พระพิมพ์ปรกโพธิ์กิ่ง เนื้อชินเงิน กรุวัดเลียบ กรุงเทพ (องค์ที่1)
พระกรุวัดเลียบ พิมพ์ยืนประทานพร เนื้อชินเงิน กรุงเทพฯ (องค์ที่3)
เข็มกลัดหลวงพ่อโต วัดยาง พระโขนง จัดสร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๖ (องค์ที่ 2)
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ รุ่นอนุสรณ์ ๑๑๘ ปี พ.ศ. ๒๕๓๓
เหรียญพ่อปู่เปี่ยม วัดเขาเลี้ยว หลัง หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา ปี 2514
เหรียญหลวงพ่อโต วัดยาง อ่อนนุช กรุงเทพ รุ่นสองปี 2500
เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดอินทรวิหารบางขุนพรหม กรุงเทพ รุ่นพิเศษ  ปี 2518
เหรียญเสมาหลวงพ่ออาคม คุณสวโร วัดยายร่ม กรุงเทพฯ ปี 2554
ล็อกเก็ตหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ จัดสร้างโดยสำนักรัตนปฏิมากรปี ๒๕๐๘
พระสมเด็จหลวงตาพัน วัดใหม่อมตรส( บางขุนพรหม ) พิมพ์ใหญ่ใหล่ยก เคลือบแล็คเกอร์ ปี 2502
พระสมเด็จ ซุ้มระฆังขาโต๊ะ หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ กรุงเทพ ปี 2485
เหรียญพระครูนวการโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพิกุล ธนบุรี รุ่น สาม ปี 2517 (เหรียญที่ 2)
เหรียญพระครูนวการโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพิกุล ธนบุรี รุ่น สาม ปี 2517 (เหรียญที่ 1)
เหรียญหลวงพ่อโม้ วัดสน ราชบูรณะ กรุงเทพ รุ่น ๒ ปี ๒๕๐๐
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ออกวัดโคนอน กรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๑๕
เหรียญรัชกาลที่ ๕ หลังพระพุทธอังคีรส ทรงสร้างวัดราชบพิธสถิตม หาสีมาราม ๒๗ มกราคม ๒๔๑๒ ปี ๒๕๓๖
พระปิดตารุ่นเสาร์ห้ายันต์กลับ หลวงปู่นาค วัดระฆัง ปี ๒๕๐๐
เหรียญหลวงพ่อพร รุ่นสร้างพระอุโบสถ วัดหนองแขม กรุงเทพ ปี ๒๕๑๙
เหรียญอาภากร กรมหลวงชุมพรพระครูสงัด ออกวัดพระเชตุพน ปี 2511
เหรียญในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่งบัลลังก์ กาญจนาภิเษก  บล็อกกระบี่สั้น (เหรียญที่2) ปี 2539
เหรียญหล่อโบราญหลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี ปี 2475
พระสมเด็จวัดประสาท พิมพ์พระครูมูล  ปี พ.ศ. 2506
พระยืนปางห้ามสมุทร กรุวัดเลียบ กรุงเทพ เนื้อชินเงิน กรุงเทพฯ (องค์ที่ 2)
เหรียญหลวงพ่อไกรสร ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมา ปี 2520
เหรียญ หลวงปู่ทวด หลังพระพรหม วัดเชตุพน (วัดโพธิ์)ปี 2506
เหรียญพระพรหมหลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม ปี 2518
พระยืนปางห้ามสมุทร กรุวัดเลียบ กรุงเทพ เนื้อชินเงิน กรุงเทพฯ (องค์ที่ 1)
เหรียญหลวงพ่อโต วัดยาง พระโขนง ปี 2516
รูปหล่อห่มคลุมหลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี รุ่นแรก ปี 2543
รูปหล่อปั้มหลวงพ่อโอภาโส วัดไตรมิตร ปี 2506
ภาพถ่ายหลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร วัดกำแพง ขนาด 1x1.50 นิ้ว
เหรียญวิเศษเรืองปัญญา หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา รุ่นเสาร์ 5 ปี 2516
รูปถ่ายพระครูรัตนรังสี หรือ หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ปี 2535
เหรียญพระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรฯ ปี 2519
เหรียญในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่งบัลลังก์ กาญจนาภิเษก (บล็อกนิยม-เหรียญที่1)  ปี 2539
พระพิมพ์สมเด็จจิตรลดาหลังว่านไพลดำ หลวงพ่อถาวร วัดปทุมวนาราม
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ ชลูดโย้ ฐานเอียง
พระกริ่งหน้าตั๊กแตนเจ้าคุณศรีประหยัด วัดสุทัศน์ รุ่น 2ปี96
พระชัยวัฒน์บัว 3ชั้น เจ้าคุณศรีประหยัดวัดสุทัศน์ ปี 2495
พระสมเด็จสุคโต วัดบวรปี2517 พิมพ์พระประธาน
สมเด็จปรกโพธิ์ หลังยันต์ตรีฯ พิมพ์ตื้น ปี 2521 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
พระกริ่งปวเรศ สมเด็จพระสังฆราช รุ่น 100 ชันษามหาสิทธิโชค วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 56
สมเด็จบางขุนพรหมฐานคู่ กรุเจดีย์เล็ก
พระกริ่งปวเรศ สมเด็จพระสังฆราช รุ่น 100 ชันษามหาสิทธิโชค วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 56
พระผงวัดปากน้ำ (พระของขวัญ) รุ่นแรก พิมพ์ 3
พระผงวัดปากน้ำ (พระของขวัญ) รุ่น 2
เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์จอบใหญ่ (รุ่น3) "รุ่นสร้างมณฑป" เนื้อทองเหลืองปี ๒๕๕๕
พระผง รัตนสันติสุข หมายเลข.382 ปี 2519

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  เที่ยววัดสะพานสูง  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด