[ รายละเอียด ] รำลึกกตัญญู...ครูบาอาจารย์ ครูบูรพาจารย์วัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม "เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี" ผู้สืบสานสายวิชาลึกล้ำทั้งทางอำนาจแห่งเสือ จนถึงผงวิเศษมหาเมตตาจินดามณีสายลป.บุญ (ลป.=หลวงปู่) วัดกลางบางแก้ว สำคัญสุดๆ ก็เห็นจะได้แก่วิชา สักยนต์ ซึ่งนับเป็ฯหนึ่งในตำนานแห่งแผ่นดินที่ต้องบันทึกไว้ด้วยความเป็นจริงและประสบการณ์บันทึกเรื่องราวอันมากมายเหลือเกิน ขนาดทางการต้องห้ามสักกันเลย ในยุคร้อนแรงช่วงนั้น หลวงพ่อท่านก็หยุดสักวางเข็ม เหมือนกัน แม้เป็นฉะนี้ แต่วัดบางพระก็ไม่เงียบเหงาเพราะหลวงพ่อท่านลงครูมอบสายวิชาให้ศิษย์ไว้ชนิดเต็มที่เหมือนกัน ทั้งพระอาจรย์ติ่ง หลวงพี่ต้อย หลวงพี่ญา ซึ่งปัจจุบันปลายเข็มขมังเวทย์วัดบางพระ ก็ยังจรดลงผิวหนังสืบสานอยู่ตลอด มาและดีที่เด็ดเสียด้วย เพราะสายสืบสานต่อๆ มาอย่างหลวงพี่นัน หลวงพี่แป๋ว อาจารย์หนวด ต่างเคร่งมากและพัฒนาการ ไปในทางที่ดีผสานอักขระสายวิชาได้อย่างยอดเยี่ยม ส่วนเรื่องพลังกินน้ำแกง เชื่อได้เลย... เพชรย่อมเป็นเพชร อาจารย์สักที่มีชื่อเสียง ในสมัยหนึ่งพระอาจารย์สักที่มีชื่อเสียงที่สุดองค์หนึ่งชองเมืองไทย ที่มีผู้คน รู้จักและพากันหลั่งไหลไปสักมากที่สุด กระทั่งสักไม่ทัน ต้องประสิทธิ์ประสาทวิชา ให้พระสงฆ์ที่เป็นศิษย์หลายรูปทำการสักแทน และเมื่อสักแล้ว ท่านจะต้องเสกเป่า ให้อีกครั้งหนึ่งคือ ท่านเจ้าคุณ "พระอุดมประชานาถ" หรือที่รู้จักเรียกขานกันทั่วประเทศว่า "หลวงพ่อเปิ่น" เจ้าอาวาสวัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ในวงการสักและวงการวัตถุมงคลนิยม ทุกคืนต่างยอมรับและยกย่องหลวงพ่อว่าเป็น "ยอดของเกจิอาจารย์" องค์หนึ่งของเมืองไทย และนอกจากนี้ในวงการยังยกย่องหลวงพ่อว่าเป็นพระนักพัฒนาแห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ที่หาตัวจับได้ยาก เพราะจะมีวัดต่าง ๆ ที่ขาดจตุปัจจัยมาขอเงิน เพื่อสบทบทุนสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ อยู่มิได้ขาด สร้างโรงพยาบาลราคาก่อสร้าง นับร้อยล้านบาท จนท่านได้วางรากฐานการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านให้ไว้ก่อนมรณภาพ ลายสักที่ขึ้นชื่อลืชาของหลวงพ่อเปิ่นคือ "ยันต์เสือเผ่น" แต่ที่ลึกล้ำและเป็นสัญลักษณ์ขององค์หลวงพ่อเปิ่นแท้จริงคือ "ยันต์แม่ทัพ" อันมีความเกรียงไกรยิ่งในความหมาย ในลายสักของสำนักหลวงพ่อเปิ่น อักขระที่อยู่รอบ ๆ รูปประธาน มักจะประกอบด้วย "นะโมพุทธายะ" อันเป็นพัวใจพระเจ้า 5 พระองค์ "อุอากะสะ" เป็นหัวใจเศรษฐี "นะมะพะทะ" เป็นหัวใจของธาตุทั้ง 4 และ "อุปะสัมปะ" มีความหมายถึงการสำรวมจิตมั่น สัญลักษณ์ทั้งหลายนี้ บ่งระบุถึงความหมายว่า เป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีอำนาจเด็ดเดี่ยว มีความเจริญยิ่ง มั่นคงสมบูรณ์พูนสุข ตราบกาลนานนั่นเอง การสัก โดยเฉพาะในวันเสาร์๕ นั้น ศิษย์ที่หลวงพ่อเปิ่น ประเสิทธิ์ประสาทวิชาการสักให้และได้ออกไปเผยแพร่วิชานี้ในสารทิศต่าง ๆ จะกลับมาหาหลวงพ่อและมาช่วยสักให้แก่ประชาชนที่สนใจทางนี้ เพราะในวันสำคัญๆ ทางไสยศาสตร์บวกกับพุทธศาสตร์นี้ จะมีประชาชนโดยเฉพาะหนุ่มๆ มาจากต่างจังหวัดไกลๆ มาสักกันมาก วิชาการสักยันต์ การสืบสานวิชาสักยันต์อันเกรียงไกรโด่งดังที่สุดแห่งล่มแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีน เห็นจะไม่มีใครเกิน องค์พระคุณเจ้าหลวงปุ่หิ่ม อินทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพระ และเจ้าคณะตำบลวัดบางพระ ผู้สร้างโบสถ์หลังใหม่ ท่านเป็นพระดุ เจ้าระเบียบ ถ้ามีใครส่งเสียงดัง ท่านจะตวาดจนหวาดผวาเงียบเสียงทันที คนเมาเหล้าจะหายเมาเมื่อเจอท่าน เวลาหลวงพ่อจำวัดถ้ามีใครผ่านไปหน้ากุฏิข้างโบสถ์เก่าริมแม่น้ำ จะเดินตัวลีบเงียบไม่กล้าส่งเสียง (กุฏิหลังเก่าของท่าน ปัจจุบันรื้อแล้ว ทำเป็นโรงเก็บเรือพายแข่ง) ทำให้นึกถึงการแข่งเรือประเพณี สมัยหลวงปู่หิ่ม งานแข่งเรือยาวของวัดบางพระลือลั่นดังทั่วคุ้งน้ำนครชัยศรี มีเรือต่างถิ่นมาร่วมงานแข่งมากมาย เรือของวัดบางพระมีชื่อเสียงดังมากในระดับเรือยาว 30 ฝีพาย ฝีพายทุกคนโพกผ้ายันต์ที่หัว พายแข่งชนะจนไม่มีเรือลำใดสู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรือสมานน้ำของวัดห้วยพลู หรือที่มีฝีพายมากกว่าประชาชน จากทั่วแถบลุ่มแม่น้ำท่าจีน มาชมการแข่งเรือแน่นสองฝั่งแม่น้ำ มีเรือพาย เรือแจว ที่จอดเต็มสองฟากตลิ่ง ถนนหนทางสมัยนั้นยังไม่มี ส่วนใหญ่จะ สัญจรทางน้ำ มีคูคลองทะลุถึงกันตลอด ถ้าจะมานครปฐมต้องนั่งเรือมาที่วัดสัปทวน แล้วค่อยที่คลองต่อมานครปฐม หรือจะมาต่อรถไฟที่สถานีท่านานครชัยศรี ไปนครปฐมหรือขึ้นกรุงเทพฯ
ก่อนถึงงานประจำปีของวัดบางพระ หลวงปู่หิ่ม อินทโชโต ท่านให้ลูกศิษย์นำทรายมาเสก แล้วให้ลูกศิษย์ไปโปรยทั่วบริเวณงานวัด เมื่อถึงวันงานประจำปีจะมีประชาชนต่างถิ่นมาเที่ยวงานจำนวนมาก หนุ่มสาวต่างถิ่นมาพบ เกี้ยวพาราสีกัน ธรรมดามักจะเกิดการเขม่นตีกันตามงานวัดที่เห็นอยู่ทั่วไป แต่ก็แปลกมากที่งานประจำปีของวัดบางพระสมัยนั้น จะไม่มีเรื่องราวทะเลาะวิวาทตีกันเลย เมื่อคราวใดที่หลวงปู่หิ่ม อินทโชโต ท่านปลุกเสกวัตถุมงคล ส่วนมากจะเป็นพวกผ้ายันต์ เสื้อยันต์ จะมีทหาร ตำรวจ ประชาชน มาคอยกันเป็นจำนวนมาก มาขอวัตถุมงคลเพื่อเป็นศิริมงคลคุ้มครองป้องกันตัว ว่ากันว่า เสื้อยัต์ของหลวงปู่โยนลงในกองไฟตัวไหนไม่ไหม้ไฟ จึงจะใช้ได้ ใครที่ชอบสักยันต์ท่านก็จะสักยันต์ให้ด้วยตัวท่านเอง ยันต์สักที่โด่งดังในสมัยท่านมี ยันต์เก้ายอด แปดทิศ งบน้ำอ้อย และยันต์หอมเชียง ยันต์หอมเชียง ว่ากันว่า ใครที่ได้ยันต์นี้ไปแมลงวันไม่มีทางได้กินเลือด ขนาดเข็มสักแทงเข้าไปแผ่นหลังยังเด้งดึ๋งๆๆๆ หลวงปู่หิ่ม อินทโชโต สืบสานพุทธาคมไสยเวทย์ จากเจ้าคุณเฒ่าที่โด่งดังมากในช่วงปลายสมัยอยุธยา สมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่2 วัดบางพระเป็นศูนย์รวมความเจริญแถบลุ่มแม่น้ำท่าจีน เมืองนครชัยศรี ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นศูนย์กลางความเจริญสมัยทวาราวดีในฝั่งตะวันตก พระพุทธศาสนาเผยแพร่ เข้ามาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองนครชัยศรีสร้างก่อน พระปฐมเจดีย์ มีอายุนับพันกว่าปีเคยมีคนขุดค้นพบ พวกถ้วยชามของใช้ ของคนสมัยโบราณบ่อย ๆ ทั่วไป หลวงปู่หิ่ม ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชาจากพระอุปัชฌาย์ของท่าน พระอาจารย์ทอง วัดละมุด พระเกจิดังในสมัยนั้นจนหมดสิ้นทั้งในสายพระเวทย์มนต์คาถา การสักยันต์ ตำราสมุนไพรรักษาโรค หลวงปู่หิ่มรับมาหมด พระอาจารย์ทององค์นี้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่บุญ ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาเมตตามหานิยม และตำรายาวาสนา จินดามณี อันโด่งดัง หลวงปู่หิ่มถ้านับเนื่องแล้ว ท่านเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงปู่บุญ ในคุ้งแม่น้ำนครชัยศรีตอนบน ไม่มีใครไม่รู้จัก หลวงปู่หิ่ม อินทโชโต วัดบางพระเป็นวัดเก่าแก่ ทำเลที่ตั้งติดแม่น้ำท่าจีน สายแม่น้ำไหลมาจาก จ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรีลงมา นครชัยศรีเป็นเมืองหน้าด่าน ทำศึกสงครามกับกองทัพพม่าที่มารุกราน ทางด้านทิศตะวันตก เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ ประชาชนชายฉกรรจ์จะต้องถูกเกณฑ์ไปรบทัพจับศึก อยู่ตลอดเวลา ในสมัยโบราณสรรพวิชาไสยเวทย์ต่าง ๆ ในพื้นที่เหล่านี้จึงเรียกว่า สุดยอดที่สุดในประเทศไทย ชายชาตรีทุกหมู่เหล่าต้องรบทัพในศึกสงคราม จึงต้องเสาะแสวงหาวิชาอาคม การลงสักอักขระเลขยันต์ หัวใจยันต์ต่าง ๆ เพื่อมีของดีป้องกันติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้ ยังมีคนสักยันต์อยู่สืบสานตำราสักยันต์อันเก่าแก่ไว้
สืบสานตำรับวิชา ก่อนที่หลวงปู่หิ่ม อินทโชโต จะมรณภาพ ท่านได้ถ่ายทอดวิชาตำรา วิชาอาคม คาถาไสยเวทย์ให้แก่หลวงพ่อเปิ่นจนหมดสิ้น วัดบางพระจึงเจริญสุดขีด ว่ากันว่าหลวงปู่หิ่ม ท่านสำเร็จวิชาเปิดโลกได้ จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่สามารถถอดกายไปเที่ยวสวรรค์ หรือลงไปเที่ยวในเมืองนคร แล้วมาเล่าให้คนใกล้ชิดฟัง สั่งสอนให้เห็นถึง บาปบุญ คุณโทษ กรรมดี กรรมชั่ว เพื่อให้คนเรายึดมั่นทำแต่ความดี หลวงปู่หิ่ม อินทโชโต ท่านมีวาจาสิทธิ์ วัดบางพระที่เราเห็นเจริญมากที่สุดในวันนี้ สมัยก่อนบริเวณวัดร่มรื่น ปกคลุมด้วยแมกไม้น้อยใหญ่ จำพวก ต้นหว้า ต้นมะเดื่อ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นหูกวาง ต้นโพธิ์ นอกบริเวณวัดยังเป็นป่า ต้นไม้ ขึ้นปกคลุมหนาทึบเต็มไปหมด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่าง ๆ ชาวบ้านแถบนั้น เห็นท่านมีเมตตา มักจะนำสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงมาปล่อยไว้ที่วัด ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ไก่ป่า ชะนี ชะมด ด้วยความที่ท่านเมตตา ต่อสัตว์พวกนี้มาก ท่านพูดประกาศิตไม่ให้ใครมาทำร้ายสัตว์ต่าง ๆ ในบริเวณวัด ถ้าใครทำร้ายสัตว์พวกนี้ก็ให้มีอันเป็นไป ครั้งอยู่มาวันหนึ่ง ตาชิดได้เข้ามาขโมยหมูป่า เขี้ยวยาว หนักประมาณสองร้อยกว่ากิโล เอาไปฆ่ากิน สองอาทิตย์ต่อมาปรากฏว่าตาชิดได้ตายอย่างไร้สาเหตุ จนชาวบ้านโจทย์จรรย์ไม่กล้าไปทำร้ายสัตว์ที่อยู่ในวัด หลวงปู่หิ่ม ท่านยังเก่งในตำรายา สมุนไพรโบราณการรักษาคนป่วยไข้ที่เป็นโรคต่าง ๆ คนเจ็บไข้จะมาหาหลวงปู่หิ่ม ให้รักษาโรค ท่านจะถามอาการ ชื่อ ของคนไข้ แล้วรักษา ผิดกับพระอาจารย์องค์อื่น ก็จะรักษาจะสะกดโรคให้อยู่ในตะปู แล้วเอาตะปูมาตอกตามเสา
วิชาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเล่าลือกันมากทั่วคุ้งแม่น้ำนครชัยศรี ท่านสามารถเสกเหล้าให้เป็นน้ำชา ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเล่าให้ฟังว่า แปลกใจมากที่วันหนึ่งหลวงปู่หิ่มให้เขาหาเหล้ามา ตอนแรกนึกว่าจะใช้ผสมสมุนไพรทำยา เมื่อหลวงปู่หิ่มเปิดจุกเทเหล้าลงแก้ว แล้วฉันลงคอ ตัวเขาเองตกใจมาก คลานเข้าไปกราบเรียนหลวงปู่หิ่มว่าเป็นเหล้า หลวงปู่กลับบอกว่าเป็นน้ำชา แล้วื่นให้เขาลองดื่มดู เขาแทบไม่น่าเชื่อเหล้าที่เขานำมาให้ กลับกลายเป็นน้ำชา หลวงปู่เห็นเขาแสดงสีหน้าฉงนใจก็ได้แต่หัวเราะในลำคอ ฮึ..ฮึ... อย่างอารมณ์ดี สรรพวิชาอาคม ทางไสยเวทย์อันเข้มขลังลือชื่อ แห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี (อีกวิชาที่สืบทอดกันมา แต่จุดที่เงียบสงบและให้พลังลึกเห็นจะได้แก่ "สะดุ้งกลับ" ที่สืบสานมาจากหลวงปู่ทอง หลวงปู่บุญ หลวงปู่หิ่ม เป็นต้นตำรับอันยิ่งใหญ่ที่สืบสานกันมา) องค์หลวงพ่อเปิ่น ท่านได้รับถ่ายทอดจนหมด ไม่ว่าจะเป็นการลงนะหน้าทอง ลงสาลิกาลิ้นทอง การลงอักขระสักยันต์ อันมีชื่อเสียงเกรียงไกรโด่งดังที่สุดในยุคนี้ เมื่อคราวรื้อกุฏิหลวงปู่หิ่ม และกุฏิริมแม่น้ำของพลวงพ่อเปิ่น ได้พบตำราพระเวทย์คาถาในใบลาน เก็บอยู่ในหีบเหล็กเก่าแก่และบนเพดานกุฏิ พบพระพุทธรูปเก่าปางต่าง ๆ พระผงจำนวนมาก ตำราในใบลานมีทั้งตำราวิชาอาคม การฝังรูปฝังรอย เสน่ห์เมตตามหานิยม อักขระเลขยันต์ต่าง ๆ ตำรารักษาโรค ในปัจจุบันได้มอบให้พระอาจารย์ติ่ง พระอาจารย์ต้อย พระอาจารย์อภิญญา เก็บรักษาไว้ให้ศึกษา เมื่อลูกศิษย์ท่านใดมีเรื่องไม่เข้าใจ ท่านก็ชี้แนะให้จนเข้าใจ