หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ภูภู95พระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 93 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ภูภู95พระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ภูภู95พระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ ภูดิศ นนทพิมลชัย (ภูภู 95)
รายละเอียด ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
เงื่อนไขการรับประกัน ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
ที่อยู่ เมืองนนทบุรี
เบอร์ที่ติดต่อ -
E-mail poopoo9595@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 12-02-2555 วันหมดอายุ 06-02-2569

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี

วัตถุมงคล: เครื่องราง ของขลังโชว์
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(บางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ
19-11-2556 เข้าชม : 95307 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(บางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ
[ รายละเอียด ] หนึ่งในเบญจเครื่องราง ตามคำกลอนโบราณกาลที่เคยกล่าวไว้ว่า ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ เขี้ยวเสือ หลวงปาน หนุมาร หลวงพ่อสุ่น วัวปันหุ่น วัดศรีษะทอง เบื้ยแก้ กันของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เขี้ยวเสือ จัดอยู่ในประเภทเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งและที่โด่งดังมาก คือ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ แม้แต่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระราชนิพนธ์ถึงหลวงพ่อปานกับเขี้ยวเสือมาแล้วด้วยพระองค์เอง
    สมัยก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”
    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน
    บรรดาชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้สามเณรน้อยซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประตูน้ำหลวงที่ตำบลคลองด่านนั้น ในขบวนผู้ตั้งแถวรับเสด็จมีสามเณรน้อยและพระภิกษุรูปร่างล่ำสันผิวคล้ำด้วยแดดเผาประ ปนอยู่ด้วย ในมือของสามเณรน้อยประคองพานแว่นฟ้าอย่างระมัดระวัง ทว่าด้วยความประหม่า เมื่อได้ยินเสียงเจ้าพนักงานประโคมเป็นเครื่องบอกให้รู้ว่าเสด็จพระราชดำเนินมาถึงปากทางดังขึ้น สามเณรก็ทำท่าลุกลนเท้าสะดุดกันเอง จนเสียหลักทำให้พานแว่นฟ้าในมือเอียงจนวัตถุชิ้นเล็ก ๆ สี่ห้าชิ้นที่วางอยู่บนพานก็หล่นลงน้ำ
    เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จใกล้จะมาถึง หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากสามเณรผู้ติดตาม แต่สามเณรคนนั้นบอกกับท่านว่า “เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว”
    เมื่อพระภิกษุชราได้รับฟังเช่นนั้นแล้วจึงไม่แสดงท่าทีว่าโกรธเคืองหรือทำโทษ ทว่ากลับเอื้อมมือไปลูบหัวสามเณรน้อยแล้วเป่าเรียกขวัญแล้วหันไปกระซิบกับเด็กวัดที่ ยืนอยู่ถัดออกไป ปรากฏว่าเด็กวัดหายไปไม่นานก็กลับมาพร้อมด้วยหมูสามชั้นดิบ ๆ แบะหนึ่ง มีเชือกผูกมัดไว้อย่างดี พระภิกษุชราชี้มือให้หย่อนเชือกที่ผูกเนื้อหมูลงไปตรงที่ของตกในน้ำ หมูสามชั้นจมไปในน้ำเพียงปริ่ม ๆ พระภิกษุรูปนั้นพนมมือหลับตา ปากขมุบขมิบท่องมนต์ เมื่อมองเห็นขบวนเสด็จพระราชดำเนินมาแต่ไกล และเคลื่อนใกล้เข้ามา ดึงขึ้นได้แล้วเสียงพระภิกษุชราผิวคล้ำร้องสั่งเด็กวัด เมื่อหมูสามชั้นด้านที่มีหนังโผล่พ้นน้ำ ปรากฏว่ามีวัตถุชิ้นเล็ก ๆ สีเหลือง ๆ ติดมาด้วยสี่ห้าตัวเด็กวัดค่อย ๆ ประคองชิ้นหมูมาส่งให้ท่านเอามือลูบผ่านวัตถุนั้นไป มันก็ร่วงลงมาฝ่ามือข้างที่ท่านแบรองอยู่ ท่านก็หัวเราะฮิ ๆ พึมพำพอได้ยินว่า “กัดติดเชียวนะไอ้พวกนี้ดุนัก”
หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า
“พอแล้วหลวงตา”
หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า
    “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”
แล้วรับสั่งถามว่า
“ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”
หลวงพ่อปานทูลตอบว่า
    “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนทนากับหลวงพ่อปานอยู่ชั่วครู่จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ และทรงให้สังฆการีนิมนต์ให้เข้าไปรับพระราชทานฉันในพระบรมมหาราชวัง ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” และทรงรับสั่งเรียกเป็นการส่วนพระองค์ว่า “พระครูป่า”
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระดำรัสถามท่านพระครูป่า “ทำไมจึงสร้างเสือด้วยเขี้ยวเสือ เสือมีดีอะไร” ท่านพระครูอธิบายถวายว่า “อันว่าเสือนั้นเป็นเจ้าป่ามีมหาอำนาจราชศักดิ์เพียงคำราม สัตว์ทั้งหลายก็ตกใจไม่เป็นอันสมประดี กลิ่นสาปลอยไปกระทบจมูกสัตว์ตกใดก็มีอาการกะปลกกะเปลี้ยเพลียแรง และเสือนั้นแม้จะดุร้ายก็มีเสน่ห์ ใคร ๆ อยากเห็นอยากชม เอามาใส่กรงก็มีคนไปดู จึงนับว่าเสือเป็นสัตว์ที่น่านิยมอย่างยิ่ง”
    สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปตัวเสือสำเร็จรูปซึ่งบรรจุอาคมของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (มงคลโคธาวาส) ถึงแม้จะตกน้ำไปแล้ว ท่านก็ภาวนาเรียกแล้วก็ล่อด้วยหมูมันก็กระโดดขึ้นจากน้ำงบติดหนังหมูขึ้นมาทันควัน

    พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า
    “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว
คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"
จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า
“ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”
    พระราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว

    หลวงพ่อนก วัดสังกะสี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดนาคราช) เล่าให้ศิษย์ฟังว่า “เมื่อข้าออกเดินธุดงค์กับพระอาจารย์ท่านนั้น ท่านมักจะเอาเขี้ยวเสือที่แกะสำเร็จรูปแล้วติดย่ามของท่านไปด้วยเวลาดึกสงัดกลางคืนย ามดึกเงียบสงัดพระที่ร่วมธุดงค์หลับไปหมดแล้ว ท่านก็จะจุดตะเกียงแล้วเอาเสือที่แกะแล้วนั้นมาลงเหล็กจาร และก่อนหน้านี้ที่จะลงเหล็กจารนั้น ป่าทั้งป่าได้ยินแต่เสียงจักจั่นและนกกลางคืนตลอดจนเสือสางดังระงม ทว่าเมื่อเหล็กจารสัมผัสกับตัวเสือแกะและเริ่มลงอักขระสรรพสิ่งทั้งหลายก็เงียบสงบลง ไปพร้อมกับการเป่าลมหายใจของท่านพระอาจารย์ เมื่อเหล็กจารยกขึ้นเสียงเหล่านั้นก็เงียบหายไปด้วยอย่างน่าอัศจรรย์ใจ บางครั้งข้าก็เห็นท่านเอาเสือที่ท่านจารสำเร็จมาปลุกเสกในบาตร ข้าเห็นมันกระโดดออกจากบาตรกันเป็นแถว เหมือนข้าวตอกแตก ท่านกวักมือเรียกเสียงเบา ๆ ว่า “พ่อเสืออย่าซนนะ กลับเข้าบาตรนะพ่อนะ พวกมันก็กระโดดกันเป็นแถว”
    สาเหตุที่เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานมีอิทธิฤทธิ์ก็เพราะว่าท่านสร้างตามตำรับโบราณ อันว่าด้วยเขี้ยวงาซึ่งกำหนดอาถรรพณ์ด้วยกันสองชนิดเอาไว้ดังนี้คือ 1. เขี้ยวหมูตัน 2. เขี้ยวเสือกลวง
    1. เขี้ยวหมูตัน เป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องรางถือว่าดีตามธรรมชาติอันได้แก่ เขี้ยวหมูป่าที่งอกยาวออกมาจากปากตันตลอดตั้งแต่โคนถึงปลาย ป้องกันอันตรายได้หลายอย่างและตันหมูเขี้ยวตันเองนั้นยิงไม่ค่อยถูกหรือถูกก็ไม่เข้า
    2. เขี้ยวเสือกลวง ก็เป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องรางและจะต้องกลวงตั้งแต่โคนถึงปลาย จึงจะใช้ได้และไม่ได้ทำแจกเป็นมาตรฐานและถ้าใครมีปัญญาหาเขี้ยวเสือกลวงมาได้ก็มาให้ ช่างแกะเป็นรูปเสือในท่าหมอบช่างจะแกะให้ ส่วนมากจะเป็นช่างแถววัดคลองด่านเพราะคุ้นเคยกับรูปทรงขนาดใหญ่เรียกว่า เขี้ยวเต็มเขี้ยวจะตัดปลายเป็นส่วนฐาน หรือปล่อยปลายแหลมไว้ก็แล้วแต่จะชอบแบบไหน ส่วนผู้ที่จะประหยัดหรือเสียดายก็ให้แกะหลายเขี้ยวก่อนเป็นตัวเล็ก ๆ แล้วก็แบ่งเขี้ยวที่เหลือออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า เขี้ยวซีกและเป็นตัวย่อม ๆ หรือจิ๋วลงไป จึงมันจะพบเสือกลวงพ่อปานลักลักษณะดังกล่าว ทว่าอนุมานได้เป็นแบบเดียวกันคือ ไม่มีหน้าตาคล้ายเสือ แต่จะคล้ายแมวมากกว่า
    ข้าราชการ ประชาชน จะนิยมหาเขี้ยวเสือมาแกะแล้วถวายไว้ให้หลวงพ่อปาน นำไปทำการปลุกเสกลงเหล็กจารอักขระตอนออกธุดงค์ พอเข้าพรรษาก็เอาดอกไม้ธูปเทียนมารับจากมือท่านไปจึงเป็นอันเสร็จพิธี
    เนื่องจากกาลเวลาที่ผ่านมาร้อยกว่าปีเศษ ทำให้เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานนั้นมีความเก่า เขี้ยวจะเหลือฉ่ำเป็นเงาใสคล้ายเคลือบมุก มีรอยลึกกร่อนการใช้ให้เห็น ส่วนของปลอมจะไม่ฉ่ำ แต่ใช้การทอดน้ำมันเดือน ๆ หรือคั่วกับทรายร้อน ๆ จะเกิดรอยไหม้เกรียมดำ ให้สักเกตจะเช่าจะหากันก็ต้องระวังกันเป็นพิเศษ เพราะของเทียมมีมากกว่าของแท้
    ลักษณะการแกะนั้นจะถือเอาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เพราะเป็นการแกะทีละตัว ๆ แม้คนคนเดียวกันแกะก็ใช่ว่าจะเหมือนกันเป๊ะ ย่อมเพี้ยนไปเป็นธรรมดา โดยให้ดูความเก่าและฝีมือการแกะให้มีเค้าเหมือนกันกับตัวครูที่มีประวัติการตกทอดมาจ ากตำราโบราณอย่างแน่นอน จะมียันต์ รึ รือ (ฤ ฤๅ) ตรงตะโพนซ้ายขวา กลาง หลังก็มี ข้อนี้ไม่อาจยุติ ซึ่งอาจจะมีตรงโน้นตรงนี้บ้างก็ได้ ส่วนที่สำคัญคือ การลงเหล็กจารอักขระนั้นจะต้องลงที่ใต้ฐานเสือ จะมียันต์แบบเหรียญหลวงพ่อกลั่น ด้านหลังเรียกกันว่า ยันต์กอหญ้า หรือที่เรียกว่า นะขมวด (อุณาโลม) กำกับเอาไว้ ส่วนที่อื่นนั้นมักจะไม่ค่อยได้เห็นเพราะลงเอาไว้เบา ถูกเสียดสีหน่อยก็เลือนหายไป
    พุทธคุณนั้นดีทางมหาอำนาจควรติดตัวไว้จะได้เป็นที่เกรงขามของสัตว์ป่าและสัตว์หน้าขน ทั้งหลาย และเวลาเข้าไปในป่าก็อาราธนาให้คุ้มกันภัยได้ แถมยังเอาแช่น้ำทำน้ำมนต์แก้ไข้ป่า ส่วนเขี้ยวขนาดใหญ่ที่กลวงตลอดนั้น ใช้เป่าให้ดังวี้ด วี้ด ๆ ๆ สะกดภูตผีปิศาจได้ทุกชนิด และเป็นคงกระพันชาตรีมหาอุดเป็นที่สุดแล และตามธรรมเนียมเมื่อปิดท้ายของเรื่องจะต้องมีคาถากำกับเสือเป็นมหาอำนาจซึ่งมีดังต่ อไปนี้
    พระคาถาพญาเสือมหาอำนาจใช้ภาวนากำกับเขี้ยวเสือดังนี้
    ตั้งนะโมสามจบแล้วอาราธนาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และกล่าวถึงหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (หรือผู้เป็นเจ้าของเขี้ยวเสือ) เป็นที่ตั้ง และจะมีเขี้ยวเสือหรือไม่มีเขี้ยวเสือก็ได้แล้วภาวนาพระคาถาว่า
" ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือพญาพยัคโฆ สัตถา อาหะ พยัคโฆจะวิริยะ อิมังคาถามะหะ อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม "
    เคล็ดลับ การภาวนาพระคาถาให้ภาวนาตั้งแต่ ตะมัตถัง มาจนถึง อิมังคาถามะหะ ให้กลั้นลมหายใจเวลาท่องให้มั่น ทำจิตให้ดุเหมือนเสือแล้วจึงย้ำว่า อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม จึงผ่อนลมหายใจ เวลาจะบู๊หรือจะเข้าตีกัน ให้ว่าพระคาถานี้ให้ใจกล้ายิ่งมีเขี้ยวเสือยิ่งดี บุกเข้าไปเถิด
    พุทธคุณ เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้นมีพุทธคุณครบเครื่องทั้งเมตตา แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี แต่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นทางด้านคงกระพันชาตรีครับ

    หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า
    ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก
    ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด
    หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น) ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน
    หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้
    นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯยังเป็นหัวหน้าสายรุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสีซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสายมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้ มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น
    เนื่องจากหลวงพ่อปานมีอาคมขลัง มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์ เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว
    เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อน ที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน” แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย
ปรากฏว่าเสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้ แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์
    บุญญาภินิหารของหลวงพ่อ
หลวงพ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ
อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่านเตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า
“คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”
พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า
“อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”
พระผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ
หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์
ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา
เรื่องนี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด
ต่อมาเป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ
ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ
เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)
เนื่องจากหลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า
หลวงพ่อปานเห็นดังนั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
    ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”
    ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย
    ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้
    ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบเสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย
    ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"
    ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที
    เมื่อท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของท่าน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

    เสือหลวงพ่อปานแบบมาตรฐานนิยม นั้น ต้องอยู่ในลักษณะ เสือนั่งชันขาหน้า หางม้วนรอบฐาน หรือม้วนพาดขึ้นหลัง มีทั้งเสือนั่งหุบปาก และเสืออ้าปาก นิ้วเท้าแต่ละเท้าโดยมากมี 4 นิ้ว แต่มีบางตัวมีแค่ 3 นิ้วก็มี หลักการดูเสือหลวงพ่อปาน นี้ท่องกันมาเป้นคำกลอนว่า "เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า" เมื่อดูพิมพ์เข้าเค้าแล้ว ต่อไปต้องพิจารณา ความเก้าของเนื้อเขียวกันต่อไปละครับทีนี้ ต้องเก่าจัด และมีเนื้อฉ่ำ การพิจารณา
    1. เสือหลวงพ่อปาน ต้องแกะจากเขี้ยวเสือเท่านั้น จะไม่แกะจากกระดูก หรือวัสดุอื่นใด เขี้ยวจะต้องมีเนื้อทึบ จะไม่ใส (ถ้าใสจะเป็นวัสดุประเภทเรซิ่น ที่ทำเลียนแบบขึ้นมา ควรระวังให้มาก กันโดนทุบจะหาว่าไม่เตือนครับ)
    2. เขี้ยวเสือ ที่นำมาแกะมีทั้งแบบเต็มเขี้ยวทั้งอัน และเขี้ยวครึ่งซีก (เรียก เขี้ยวซีก) เขี้ยวเต็มอันจะมี "รูกลม" ตรงกลางผ่านตลอดจากด้านบนสู่ด้านล่าง และต้องมีรอยแตกอ้าทุกเขี้ยว ส่วนเขี้ยวครึ่งซีกจะไม่มีรอยแตกอ้า เขี้ยวด้านหนึ่งต้องมีสีอ่อน อีกด้านจะมีสีแก่ ด้านที่มีสีอ่อน นั้นคือ ด้านแกนในของเขี้ยวนั่นเอง ส่วนด้านที่มีสีแก่ คือด้านนอกของเขี้ยว "เขี้ยวจะมีสีเดียวกันทั้งตัวไม่ได้" ห้ามลืม ข้อนี้สำคัญครับ
    3. ความเก่า ต้อง พิจารณาจากความแห้งเก่า และความฉ่ำของเนื้อเขี้ยว เขี้ยวต้องมีความฉ่ำ กรณีเสือสภาพเดิม ผ่านการใช้บูชามาไม่มาก ผิวจะแห้งเก่า ผิวไม่ตึงเรียบนัก แต่เสือที่พบส่วนใหญ่จะผ่านการใช้ สัมผัสเหงื่อ น้ำมัน คราบไคลต่างๆของร่างกายคน สิ่งเหล่านี้จะซึมเข้าไปสู่เนื้อเสือส่งผลให้เนื้อเขี้ยว แลดู "ฉ่ำ" มาก ฉ่ำใสมีสี เหลืองอมขาวขุ่น ลักษณะเหมือนเช่นเทียนไข โดยเนื้อเขี้ยวควรมีสี "อ่อน-แก่" แลดูเป็นธรรมชาติ มีลายเนื้อในคล้ายๆลายสัปปะรดมีรอย "แตกลาน" เล็กๆ หน่อยๆเป็นกลุ่มๆ ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเซ็ทตัวแห้งลงตามธรรมชาติ จึงดึงให้เนื้อเขี้ยวหดตัวด้วย และให้ระวังเขี้ยวเสือที่ทำจากเรซิ่นด้วยน่ะครับ
    4. รอยลงเหล็กจาร ก็ เป็นจุดสำคัญในการพิจารณา ลักษณะการจารจะเป็นแบบหวัดๆ เส้นคมลึกไม่เท่ากัน จารเป้นขีดๆคล้ายๆลายเสือ จารอักขระยันต์คล้ายๆเลขเจ็ดไทย และเลขสามไทย ลายมือลงจารจะเอียงๆ แหลมๆ จะลงจารบริเวณลำตัว สะโพก และขาหน้า ถ้าน้ำหนักการลงเหล็กจารเท่าๆกันลงแบบไม่แน่ใจในการเขียน ลายเส้นไม่หนักเบา แต่ลึกเท่ากันทุกเส้นอันนี้ควรตั้งข้อสงสัยไว้
5. ใต้ฐาน จารยันต์กอหญ้า ลักษณะเป็นยันต์กลมๆ รีวนไปวนมา ซ้อนกันหลายวง และเป็น ฤ ฤา หรือ ตัวอุ ร่วมกันด้วยก็มีครับ

[ ราคา ] ฿9
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านภูภู95พระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : -


วัตถุมงคล: เครื่องราง ของขลังโชว์
รูปถ่ายหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
พระอุปคุต เนื้อชินเงิน
กะลาแกะหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง หลังพอกครั่ง
รูปหล่อหนุมานเนื้อทองคำ หลวงปู่พรหมมา จ.อุบล
ปลัดขิกนางครวญ หรือ นางแอ่น แกะเก่า
แม่นางกวัก หลวงพ่อย้อย วัดใหม่สุคนธาราม ไม้มะยมตายพราย
รูปหล่อโบราญแม่นางกวัก นครศรีธรรมราช เนืี้อทองแดงเถื่อน
เหรียญรูปไข่พระพรหม หลวงปู่สีห์ วัดสะแก เนื้ออลูมิเนียม
พญาเต่าเรือน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จ.นครนายก               เนื้อหินสบู่เลือด
มีดหมอควาญช้าง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์
น้ำเต้าโภคทรัพย์ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ปี 2500
เหรียญปั้นแม่นางกวัก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
รูปหล่อโบราณแม่นางกวัก หลวงปู่อิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
งาแกะจิ้งจก หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยา
รูปหล่อโบราณพญาเต่าเรือน หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
ลูกอมเมฆสิทธิ์ หลวงพ่อทับ วัดอนงค์
๑๒นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
ม้าลายชะโดจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
ม้าจันทร์เพ็ญฉายาเปาบุ้นจิ้น วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
แพะจันทร์เพ็ญ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ ฉายา ขาวน้ำผึ้ง  โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะจันทร์เพ็ญ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ ฉายา หยินหยาง โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะจันทร์เพ็ญ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ ฉายา หยินหยาง โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะคุกเข่าจันทร์เพ็ญ12 นักษัตรจันทร์เพ็ญชุดกรรมการ ฉายา ขาวน้ำผึ้ง ฐานทองคำ โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะคุกเข่าจันทร์เพ็ญ 12 นักษัตรจันทร์เพ็ญชุดกรรมการ ฉายา ดำ.com ฐานทองคำ โค๊ดเลขสวย ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
เสือหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน
สิงห์งาแกะ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง
ปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
แพะเขาควายเผือกแกะตัวจิ๋วสาริกา (ถูกฟ้าผ่าตาย)  หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จ.ระยอง
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(บางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ
เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง  บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
แพะหลวงพ่อลัด วัดหนองกะบอก ระยอง
ตะกรุดมหามงคลโสฬส หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
ปลาตะเพียน หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
ปลัดขิกงาแกะ หลวงปู่สี วัดสะแก จ.อยุธยา
สิงห์งาแกะจิ๋ว หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
พระนางกวัก หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
พระสิวลีงาแกะหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
งาแกะเก่าท้าวเวสสุสวรรณ
นกสาริกาคู่หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
สิงห์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
แหวนธงชาติเพชรกลับ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
แหวนธงชาติหลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จ.เพชรบูรณ์
แพะงาช้างแกะ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จ.ระยอง
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
แพะเขาควายเผือกแกะ (ถูกฟ้าผ่าตาย) หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จ.ระยอง
หมากทุยเปลือยหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเพทฯ
หมากทุย หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ
เหรียญหล่อ พระพรหม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา เนื้อสัตะโลหะ
เหรียญสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด พรหมสี่หน้า หลวงปู่สี วัดสะแก รุ่น ส.เสวี หน้าใหญ่ (เนื้อเงิน)
เหรียญเสมาพระราชทาน จ.ป.ร. รัชกาลที่ 5 ปี 2444 เนื้อเงิน
เหรียญเสมาพระราชทาน จ.ป.ร. รัชกาลที่ 5 ปี 2444 เนื้อเงินกะไหล่ทอง
เหรียญโล่ห์พระพรหม หลวงปู่สี วัดสะแก ปี 2523 (เนื้อนวะหน้าเงิน)
ท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ พิมพ์หน้าคน กะไหล่ทอง หรือ ฐานเม็ด ปี 2493
ชูชกไม้แกะ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสงคราม
หนุมาน รากพุดซ้อน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด