หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ภูภู95พระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 81 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ภูภู95พระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ภูภู95พระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ ภูดิศ นนทพิมลชัย (ภูภู 95)
รายละเอียด ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
เงื่อนไขการรับประกัน ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
ที่อยู่ เมืองนนทบุรี
เบอร์ที่ติดต่อ -
E-mail poopoo9595@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 12-02-2555 วันหมดอายุ 06-02-2569

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี

วัตถุมงคล: เครื่องราง ของขลังโชว์
เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
27-09-2556 เข้าชม : 35906 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
[ รายละเอียด ] เครื่องรางของขลังที่เป็นประเภทเบี้ยแก้นี้ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ถือว่าเป็นเบี้ยแก้ที่หายากและก็เก่าแก่มากอันหนึ่งและเป็นหนึ่งในห้าเบญจภาคีเครื่องรางสุดยอดเครื่องรางมหานิยม กันเสนียตจัญไร ดับอาถรรพณ์คุณไสย อีกชี้นหนึ่ง ที่ผู้คนใฝ่หา มาเป็นของตนเอง ตามคำกลอนโบราณกาลที่เคยกล่าวไว้ว่า "หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง(อานุภาพขลังเบี้ยเพิ่ม,บุญ) ไม้ครูคู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง ราหูคู่วัดศรีษะทอง เเหวนอักขระต้องวัดหนองบัว ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน ทุกสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามญาตตรา ภัยมิกล้ามาเเพ้วพาน" เครื่องรางที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นของโบราณที่หาดูได้ยาก ควรค่าแก่การเก็บสะสม ปัจุบันก็หาดูได้ยาก ถ้าจะกล่าวถึง เบี้ยแก้ที่ ผู้คนยอมรับยกให้เป็นเบอร์หนึงก็คง หนีไม่พ้น เบี้ยแก้ ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง หลวงปู่รอดท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในสมัยนั้นใครๆ ต่างก็ไปกราบขอเบี้ยแก้ของท่านกันไม่ขาดสาย เนื่องจากพุทธคุณของเบี้ยแก้ของหลวงปู่นั้นมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายครับ
    ตามประวัติหลวงปู่รอดท่านเป็นชาวบ้านบางพรหม อำเภอตลิ่งชัน อุปสมบทที่วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐาน) ในคลองบางพรหม ซึ่งเป็นสำนักวิปัสสนาที่มีชื่อลือเลื่องมากในสมัยนั้น ต่อมาย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรงจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สองของวัดนายโรง ด้วยความที่ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระชั้นสูง อีกทั้งด้านพุทธาคมและเวทวิทยาคม ท่านจึงเป็นเถราจารย์ที่มีความสำคัญองค์หนึ่งในย่านคลองบางกอกน้อย และท่านก็ยังเป็นพระคณาจารย์ร่วมสมัยกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงปู่รอดท่านเป็นผู้สร้างและให้กำเนิดตำนานเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนับว่าเป็นเลิศตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
    กล่าวกันว่า ท่านได้ร่ำเรียนวิชาการทำเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก ที่ธุดงค์มาจากทางภาคใต้ และมาจำพรรษาที่วัดบางบำหรุ
    ซึ่งสันนิษฐานกันว่า เบี้ยแก้ของของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ก็น่าจะเรียนมาจากสำนักเดียวกันนี้ เพราะมีวิธีการสร้างเป็นแบบอย่างเดียวกัน กล่าวคือ
    1.ใช้เบี้ยที่มีฟันครบ 32 ซี่
    2.ใช้ปรอทที่มีน้ำหนักตั้งแต่หนึ่งบาทขึ้นไปมาลงบรรจุในเบี้ย
    3.ใช้รังชันโรงที่อยู่ใต้ดิน มาอุดที่ปากเบี้ย เมื่อทำการบรรจุปรอทเสร็จสิ้นแล้ว
    4.ใช้ตะกั่วตีเป็นแผ่นเรียบ แล้วมาจารลงอักขระ หรือยันต์ เช่นพระเจ้า 16 พระองค์ ยันต์ตรีนิสิงเห หรือถ้าเป็นสายของหลวงปู่บุญ ก็จะมียันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ยันต์เฑาะว์ ตลอดจนมีอักขระขอมเช่น มะ อะ อุ เป็นต้น และใช้ตะกั่วที่มีการลงจารแล้วนั้น นำมาหุ้มที่ตัวเบี้ยอีกชั้น โดยตีรีดแผ่นตะกั่วจนเข้ารูปกับตัวเบี้ย แต่ในบางตัวที่พบกัน อาจใช้ผ้าหุ้มและเขียนยันต์กำกับไว้ก็มี
    ลักษณะเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด ส่วนมากจะใช้เชือกถักพันตัวเบี้ย โดยใช้เชือกถักเป็นห่วงอยู่ในตัว แต่ถ้าเป็นสายหลวงปู่บุญโดยมากจะใช้ทองแดงหุ้มรัดทำเป็นห่วง และเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดในบางตัว อาจมีห่วงถึงสองห่วงก็มี โดยอาจมีเปิดหลังเบี้ยไว้ หรือไม่ก็ถักหุ้มคลุมเบี้ยไว้ทั้งหมด ส่วนลายถักนั้นไม่แน่ชัด อาจมีได้ในหลายๆลักษณะ แต่ที่นำมาลงนี้เป็นลายถักแบบจระเข้ขบฟัน
กรรมวิธีการสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง
    กรรมวิธีสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จากการบันทึกคำบอกเล่าของคุณยายชิต แย้มเมฆ ผู้เป็นหลานของหลวงแก้วอายัด อดีตคหบดีย่านบางบำหรุ มีบ้านเรือนอยู่ตรงข้ามวัดนายโรง มารดาของท่านก็คือ คุณยายเชื้อ แย้มเมฆ ผู้เป็นอุปัฏฐายิกาของหลวงปู่รอด และวัดนายโรง และตอนทำพิธีตัดจุกของท่านเมื่อปี พ.ศ.2451 มารดาของท่านก็ได้นิมนต์หลวงปู่รอดมาเป็นประธานในพิธี ต่อมาคุณยายชิตสนใจในเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดมากจึงรบเร้าให้มารดาพาไปขอเบี้ยแก้จากหลวงปู่ จนมารดาของท่านต้องพาไป ในวันต่อมาได้พาไปหาซื้อวัสดุต่างๆ เพื่อไปถวายหลวงปู่เพื่อทำเบี้ยแก้ให้ ตัวเบี้ยก็ไปซื้อจากร้านเครื่องบวชนาคแถวสะพานหัน และปรอทซื้อจากร้านเครื่องยา สำหรับบรรจุในท้องเบี้ยตัวละหนักหนึ่งบาท และแผ่นตะกั่ว ส่วนชันโรงใต้ดินนั้น ได้ไปขอมาจากนายหมัด ชาวไทยมุสลิมผู้เป็นหลาน พระยากัลยาสูตร (กูบ) เดิมทีเดียวนายหมัดผู้นี้ไม่เคยสนใจอิทธิวัตถุใดๆ แต่คราวหนึ่งเกิดประสบคุณวิเศษของเบี้ยแก้วัดนายโรงด้วยตัวเอง มีความประทับใจและศรัทธาอย่างสูง และใช้ติดตัวตลอด อีกทั้งเป็นผู้ไปพบชันโรงใต้ดินรังใหญ่จึงสะสมไว้
    เมื่อได้สิ่งของครบแล้วมารดาจึงพาลูกๆ ไปด้วยกัน 5 คน ไปกราบนมัสการหลวงปู่รอดพร้อมด้วยเครื่องสักการะคือพานดอกไม้ธูปเทียน และหมากพลู รวมทั้งเบี้ยพู 5 ตัวและอุปกรณ์ครบถ้วน มารดานำคลานไปกราบหลวงปู่ และขอให้หลวงปู่สร้างเบี้ยแก้ให้คนละตัว หลวงปู่ได้ถามคุณยายชิตว่า "อีหนูเอ็งก็อยากได้เบี้ยแก้กับเขาบ้างเหมือนกันหรือ เองจะเอาไปทำอะไรหือ?" คุณยายชิตก็ตอบตามประสาเด็กว่า "หนูจะเอาไปกันผีเจ้าค่ะ หนูกลัวผี" หลวงปู่ได้ฟังก็หัวเราะชอบใจ คุณยายชิตเล่าให้ฟังว่าเมื่อหลวงปู่รับประเคนพานดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ท่านก็ได้พิจารณาตัวเบี้ยโดยละเอียดทีละตัว แล้วก็ตรวจดูสิ่งของว่าครบถ้วนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าถูกต้องดีแล้วท่านก็นำพานไปตั้งบูชาไว้ที่หน้าพระพุทธรูป สวดมนต์บูชาคุณพระศรีรัตนตรัย แล้วทำสมาธิสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงหยิบเบี้ยมาหงายท้องแล้วเทปรอท กรอกลงในตัวเบี้ยโดยไม่หกเลยแม้แต่น้อย แล้วจึงเอาชันโรงปิดใต้ท้องเบี้ย โดยใช้หัวแม่มือไล้จนทั่วท้องเบี้ย จากนั้นท่านก็เอาแผ่นตะกั่วมาหุ้มตัวเบี้ย หลวงปู่จะใช้ด้ามเหล็กจารคลึงรีดแผ่นตะกั่วจนเนียนเรียบร้อย แล้วท่านจึงลงเหล็กจารตัวอักขระบนแผ่นตะกั่วอีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นท่านก็ได้ปลุกเสกตัวเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ทำเช่นนี้จนครบห้าตัว และตลอดเวลาที่หลวงปู่ประกอบพิธี สังเกตได้ว่าหลวงปู่ท่านจะบริกรรมพระคาถาไปด้วยทุกขณะ
    เมื่อเสร็จกรรมวิธีแล้วหลวงปู่จึงมอบเบี้ยให้ หลังจากนั้นมารดาของท่านก็ได้นำเบี้ยไปให้ลุงชมถักด้ายหุ้มเบี้ยให้ เพื่อนำไปลงรักปิดทองหรือลงยางมะพลับ ลุงชมผู้นี้เป็นหลานของพระอาจารย์หมาด ซึ่งเคยเป็นตัวละครของนายโรงกลับ ในสมัยนั้นใครได้เบี้ยจากหลวงปู่มาก็มักจะนำมาให้ลุงชมถักให้แทบทั้งนั้น เพราะฝีมือการถักของลุงชมประณีตงดงาม
    ครับนี่ก็เป็นบันทึกการบอกเล่ากรรมวิธีการสร้างเบี้ยของหลวงปู่รอด จากคุณยายชิตผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในสมัยนั้นครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงมาให้ชมกันครับ
    ในการพิจารณาความเก่า ในกรณีที่ถักเปิดหลังเบี้ย ให้พิจารณาสีสันของตัวเบี้ย ถ้ามีอายุมากๆ กว่า 100 ปีขึ้นไป ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นแบบพระธาตุ ตลอดจนความเก่าของเชือกที่ถักไว้ ก็จะมีความเก่าจัดจนแห้งกรอบหรือเปื่อยยุ่ยง่าย รวมทั้งคราบของรักยางไม้ หรือรักยางพลับ ที่มีความแห้งร่อนแต่อมใสอยู่ในเนื้อ มีสีดำปนแดง หรือแดงอมดำ ตลอดจนน้ำหนักของปรอท ในบางตัวอาจจะไม่เท่ากัน แต่จะมีความหนืดหนักเมื่อเทเอียง และถ้าทดลองฟังเสียงเวลาเขย่าข้างหู จะดังคลุกๆ เป็นเสียงหนักๆ แบบเสียงของปรอทเคลื่อนไหว ทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนประกอบช่วยในการพิจารณา
[ ราคา ] ฿9
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านภูภู95พระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : -


วัตถุมงคล: เครื่องราง ของขลังโชว์
รูปถ่ายหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
พระอุปคุต เนื้อชินเงิน
กะลาแกะหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง หลังพอกครั่ง
รูปหล่อหนุมานเนื้อทองคำ หลวงปู่พรหมมา จ.อุบล
ปลัดขิกนางครวญ หรือ นางแอ่น แกะเก่า
แม่นางกวัก หลวงพ่อย้อย วัดใหม่สุคนธาราม ไม้มะยมตายพราย
รูปหล่อโบราญแม่นางกวัก นครศรีธรรมราช เนืี้อทองแดงเถื่อน
เหรียญรูปไข่พระพรหม หลวงปู่สีห์ วัดสะแก เนื้ออลูมิเนียม
พญาเต่าเรือน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จ.นครนายก               เนื้อหินสบู่เลือด
มีดหมอควาญช้าง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์
น้ำเต้าโภคทรัพย์ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ปี 2500
เหรียญปั้นแม่นางกวัก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
รูปหล่อโบราณแม่นางกวัก หลวงปู่อิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
งาแกะจิ้งจก หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยา
รูปหล่อโบราณพญาเต่าเรือน หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
ลูกอมเมฆสิทธิ์ หลวงพ่อทับ วัดอนงค์
๑๒นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
ม้าลายชะโดจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
ม้าจันทร์เพ็ญฉายาเปาบุ้นจิ้น วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
แพะจันทร์เพ็ญ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ ฉายา ขาวน้ำผึ้ง  โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะจันทร์เพ็ญ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ ฉายา หยินหยาง โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะจันทร์เพ็ญ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ ฉายา หยินหยาง โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะคุกเข่าจันทร์เพ็ญ12 นักษัตรจันทร์เพ็ญชุดกรรมการ ฉายา ขาวน้ำผึ้ง ฐานทองคำ โค๊ดเลขสวย ๑๑
แพะคุกเข่าจันทร์เพ็ญ 12 นักษัตรจันทร์เพ็ญชุดกรรมการ ฉายา ดำ.com ฐานทองคำ โค๊ดเลขสวย ๑๑
12 นักษัตรจันทร์เพ็ญ วัดหนองกะบอก ๑ ใน ๙๙ ชุด  รุ่นประวัติศาสตร์ ชุดกรรมการ ฐานทองคำ โค๊ต ๑๑
เสือหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน
สิงห์งาแกะ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง
ปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
แพะเขาควายเผือกแกะตัวจิ๋วสาริกา (ถูกฟ้าผ่าตาย)  หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จ.ระยอง
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(บางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ
เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง  บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
แพะหลวงพ่อลัด วัดหนองกะบอก ระยอง
ตะกรุดมหามงคลโสฬส หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
ปลาตะเพียน หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
ปลัดขิกงาแกะ หลวงปู่สี วัดสะแก จ.อยุธยา
สิงห์งาแกะจิ๋ว หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
พระนางกวัก หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
พระสิวลีงาแกะหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
งาแกะเก่าท้าวเวสสุสวรรณ
นกสาริกาคู่หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
สิงห์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
แหวนธงชาติเพชรกลับ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
แหวนธงชาติหลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จ.เพชรบูรณ์
แพะงาช้างแกะ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จ.ระยอง
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
แพะเขาควายเผือกแกะ (ถูกฟ้าผ่าตาย) หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก จ.ระยอง
หมากทุยเปลือยหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเพทฯ
หมากทุย หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ
เหรียญหล่อ พระพรหม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา เนื้อสัตะโลหะ
เหรียญสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด พรหมสี่หน้า หลวงปู่สี วัดสะแก รุ่น ส.เสวี หน้าใหญ่ (เนื้อเงิน)
เหรียญเสมาพระราชทาน จ.ป.ร. รัชกาลที่ 5 ปี 2444 เนื้อเงิน
เหรียญเสมาพระราชทาน จ.ป.ร. รัชกาลที่ 5 ปี 2444 เนื้อเงินกะไหล่ทอง
เหรียญโล่ห์พระพรหม หลวงปู่สี วัดสะแก ปี 2523 (เนื้อนวะหน้าเงิน)
ท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ พิมพ์หน้าคน กะไหล่ทอง หรือ ฐานเม็ด ปี 2493
ชูชกไม้แกะ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสงคราม
หนุมาน รากพุดซ้อน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด