หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
เจ้าพระยาพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 73 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เจ้าพระยาพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เจ้าพระยาพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ Weerapong prommontree/วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ Weerapong prommontree 165/91 Senbordee Pimolrach Bangboutong, Nontaburi 11110/วีรพงศ์ พรหมมนตรี 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2554 วันหมดอายุ 01-01-2568

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายเพชรบุรี,ประจวบฯ
พระผงรูปไข่หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลังยันต์ครู รุ่นเสกตาปูถอน ปี 2535 เนื้อผงพุทธคุณ
01-05-2563 เข้าชม : 1527 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระผงรูปไข่หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลังยันต์ครู รุ่นเสกตาปูถอน ปี 2535 เนื้อผงพุทธคุณ
[ รายละเอียด ] พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 2535 รุ่น “เสกตะปูถอน” วัตถุมงคลรุ่น “เสกตะปูถอน” พ.ศ. 2535 จัดสร้างโดยวัดหนองจอก วัตถุประสงค์เพื่อให้แก่ผู้ร่วมทำบุญ โดยนำปัจจัยไปสร้างกุฏิสงฆ์ที่สำนักสงฆ์ไร่เนิน ต.หินเหล็กไฟ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ที่หลวงพ่อยิดเป็นประธานอุปถัมภ์ ทำพิธีปลุกเสกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2535 สาเหตุที่เรียกรุ่นนี้ว่า “ตะปูถอน” เกิดจากในระหว่างที่หลวงพ่อยิดกำลังเข้าฌานสมาธิทำพิธีปลุกเสกอยู่นั้น ตะปูที่ตอกไว้ในปะรำพิธี ค่อยๆ ถอนขึ้น และกระเด็นหลุดออกมาหลายตัว ต่อสายตาประชาชนที่มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก คนที่เห็นถึงกับกรูกันไปแย่งเก็บตะปู หลังจากเสร็จพิธีหลวงพ่อถึงกับพูดขึ้นว่า “วัตถุมงคลรุ่นนี้ สามารถถอนและป้องกันคุณไสย และอันตรายต่างๆ ได้” หลังจากนั้น หลวงพ่อได้ปลุกเสกเดี่ยว วัตถุมงคลรุ่นนี้ให้อีก 1 ไตรมาส จึงนำออกมาให้บูชา โดยแบ่งเป็นพิมพ์ต่างๆ ดังนี้
    1. พิมพ์หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อเต็มองค์ เนื้อเงิน สร้างจำนวน 488 องค์
    2. พิมพ์หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อเต็มองค์ เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 1,200 องค์
    หมายเหตุ ในส่วนรูปหล่อเนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ ทางคณะกรรมการได้ทำโค้ดออกมา 2 แบบ คือ “โค้ดอุเล็ก” กับ “โค้ดอุใหญ่” โดย “โค้ดอุใหญ่เอาไว้ตอกรูปเหมือนเนื้อนวโลหะจำนวน 1,200 องค์” ส่วน “โค้ดอุเล็กเอาไว้ตอกรูปเหมือนเนื้อเงินจำนวน 488 องค์” แต่ผู้ตอกโค้ดเมื่อตอกรูปเหมือนเนื้อนวโลหะเสร็จแล้ว เกิดลืมโดยได้นำ “รูปเหมือนเนื้อเงินไปตอกโค้ดอุใหญ่ต่อไปอีก 163 องค์” เมื่อกรรมการมาเห็นเข้าจึงให้หยุดตอก และนำโค้ดอุเล็กที่ทำไว้ตอกรูปหล่อเนื้อเงินโดยเฉพาะมาตอกแทน จึงเหลือ “รูปเหมือนเนื้อเงินที่ตอกโค้ดอุเล็กจำนวน 325 องค์”
    3. พิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อเต็มองค์ เนื้อผงพุทธคุณ สร้างจำนวน 15,000 องค์
    หมายเหตุ แบ่งเป็นที่ใต้ฐานปั๊มโค้ด “อุ” จำนวน 12,000 องค์ และที่ใต้ฐานปั๊ม “ลายเซ็นหลวงพ่อ” จำนวน 2,000 องค์
    4. พิมพ์รูปไข่หลวงพ่อยิด เนื้อผงพุทธคุณ และ พิมพ์นางกวักเมตตา เนื้อผงพุทธคุณ ด้านหลังยันต์ครู จำนวนสร้างรวมกัน 5,000 องค์
    5. พิมพ์พระนางพญา เนื้อผงพุทธคุณ ด้านหลังยันต์ครู สร้างจำนวน 10,000 องค์
    6. ตะกรุดโทน เนื้อทองแดง เนื้อทองฝาบาตร เนื้อตะกั่ว มีทั้งแบบถักเชือก และไม่ถักเชือก สร้างรวมกันจำนวน 300 ดอก
    7. ปลัดขิกเนื้องาช้าง เนื้อกัลปังหา เนื้อไม้ขนุน เนื้อไม้คูณ เนื้อไม้มะยมตายพราย สร้างรวมกันจำนวน 500 ชิ้น
    เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ด้วยประสบการณ์ที่โชกโชนจากผู้ที่ใช้บูชาต้องบอกว่า “หลวงพ่อปลุกเสกจนตะปูถอนออกมาได้ ท่านก็ลองคิดดูว่าเข้มขลังขนาดไหน” จึงต้องรีบเก็บสะสมกันไว้ รุ่นนี้สุดยอดจริงๆ
   Sacred Image ‘Sake Tapoo Torn’ (Un-nail Incantation) Sacred image ‘Sake Tapoo Torn’, made in the year 2535BE by Nong Chok Temple. The building’s objective was to distribute to the people who help donated and accumulated fund for the building of monk houses at Rai Nern House of Monk, at Hin Lek Fire District of Prachuap Khiri Khan – a house of monk that Master Yid kindly support as the main patron. This sacred image had its magic incantation performed on November 20th of the year 2535BE. The reason for this sacred image’s name: ‘Sake Tapoon Torn’ (Un-nail Incantation) was because in its magic incantation ceremony, while Master Yid was performing the magic incantation. The nails of the ceremony pavilion were ‘un-nail’ on their own, fly out of the wood and land on the ground, under countless eye witnesses, which hastily picked them up. After the ceremony, Master Yid remarked this incident: ‘This sacred image can protect and ‘undo’ the bad magic and harm.’ Master Yid also solely perform the magic incantation on this sacred image for whole three months, then made them available for public worshiping. The sacred image in this series were comprise of:
    1. Sacred image of Master Yid’s full body, made from silver, 488 pieces
    2. Sacred image of Master Yid’s full body, made from Nawaloha (The 9 Metals), 1,200 pieces.
    Note: For both silver and Nawaloha sacred images, the making committee build them with 2 kinds of coding, namely: ‘Small U spell code’ and ‘Big U spell code’. Originally, ‘Big U Code’ was intend to use on the 1,200 Nawaloha sacred image and Small U code was intend to use on the 488 silver sacred image’. However, after finished coding the Nawaloha sacred image, the craftmen accidently continued use Big U Code on the silver sacred image, which account for 163 pieces. When the making committee saw this mistake, they changed to use Small U Code for the rest of the silver sacred image. Hence, there are 325 pieces of silver sacred image that come with Small U Code.
    3. Sacred image of Master Yid’s full body, made from Buddhist sacred powder, 15,000 pieces. Note: For this type of sacred image, 12,000 pieces were coded with ‘U Spell’ at the base, while 2,000 pieces were inscribed with ‘Master Yid’s signature’
    4. Sacred image of Master Yid, made in egg-shape, and Sacred image of Master Yid, made in Nang Kwak Metta Mold, both were made from Buddhist sacred powder and inscribed with Master Yid’s Master Cabalistic Writing in the back, totally 5,000 pieces were made.
    5. Sacred image of Master Yid, made in Nang Phaya Mold, made from Buddhist sacred powder and inscribed with Master Yid’s Master Cabalistic Writing in the back, totally 10,000 pieces were made.
    6. Sole sacred rolled charm, made from copper, substance from the cover of Buddhist monk’s bowl or lead, with or without knitted rope, totally 300 pieces were made.
    7. Sacred rolled charm, made from elephant’s ivory, coralline, Khanoon’s wood, Khoon’s wood, Mayom Tai Prai’s wood (wood of died Mayom tree), totally made 500 pieces.
    This is another popular sacred object that has been in the worshiper’s wish list for a long time, as many experienced collectors note: ‘Master Yid performed his magic incantation so powerful, he made the nail jump out of the wood, imagine how powerful this sacred image is?’ This is a ‘recommend to have’ sacred object.

 หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน หรือ พระครูนิยุตธรรมสุนทร แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นอีกหนึ่ง ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมอภิญญาอาคมขลัง ท่านถวายตัวเป็นถตาคตสืบทอดและเผยแพร่พุทธศาสนาตามแนวทางของพระศาสดาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างวัดหนองจอกด้วยมือของท่านเอง จากที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าไผ่และดงหนาม จนสำเร็จเป็นวัดที่เจริญและงดงามในปัจจุบัน


         ย้อนกลับไปประมาณซัก 10 ปี ผู้ที่นิยมพระเครื่องน้อยคนที่ไม่รู้จักชื่อ หลวงพ่อยิดแห่งวัดหนองจอก ด้วยที่ว่างานสรงน้ำปีละครั้งเดียว (หมายถึงว่า ใน 1 ปีหลวงพ่อยิดท่านอาบน้ำเพียง 1 ครั้งคือในงานสรงน้ำนั่นเอง) และจะอนุญาติให้ลูกศิษย์ที่มาสรงน้ำท่านใช้แปรงทองเหลือง (ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำความสะอาดพื้นปูนซีเมนต์) ขัดทำความสะอาดตัวท่าน โดยที่แปรงทองเหลืองที่แสนคมหาได้ระคายผิวหนังของหลวงพ่อยิดแม้ซักนิด เป็นข่าวขจรขจายไปทั่วในเวลานั้น ส่วนวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ ทหารและตำรวจ เพราะเชื่อกันว่าใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้วจะดีเด่นในด้าน เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกทั้งมีผู้ประสบ เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งแคล้วคลาดและโชคลาภจากการบูชาวัตถุมงคลจากหลวงพ่อยิดติดตัว ชื่อเสียงของหลวงพ่อยิดจึงโด่งดังมากในยุคนั้น ปัจจุบันแม้หลวงพ่อยิดท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ดีเด่นในด้านเมตตาแคล้วคลาด เล่นหาบูชากันในวงกว้าง

ชาติภูมิ

         หลวงพ่อยิดท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด มีนามเดิมว่ายิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อพร้อย มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4

อุปสมบท

         เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้าไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล (หลวงน้า) เป็นอุปฌาย์ ได้ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป และได้ขออนุญาติออกธุดงค์วัตรกับพระอุปฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อยิด เริ่มมีชื่อเสียงจากการ สักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อยิด สักยันต์ ให้แล้วเกิดมีประสบการณ์ จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น (ขณะนั้นอายุประมาณ 17-19 เท่านั้น)

         เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์ วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสียจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกันเพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้วกลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด(ขณะนั้น) ให้เพลา ๆ การสักยันต์ลง

         ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรีจ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน

มรณภาพ

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี 30 พรรษา

วัตถุมงคล

         หลวงพ่อยิด ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบทดลองสร้างดูพุทธคุณตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ยิด โดยสร้างเป็นตะกรุดเพียงไม่กี่ดอก ได้มาเริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบจริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนสร้างวัดหนองจอกนี่เอง โดยสร้างเป็นเหรียญรูปหล่อ และปลัดขิก และสร้างเรื่อยมา เพราะลูกศิษย์ลูกหาต่างแสวงหา เพราะต่างก็เชื่อมั่นในพุทธคุณของวัตถุมงคลที่หลวงพ่อจัดสร้างขึ้น

ปัจจุบัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดได้รับความนิยมมาก แต่ราคายังถูกอยู่คือ จะอยู่ประมาณ หลักร้อยถึงหลักพันต้น ถ้าสนใจอยากบูชาไว้คุ้มครองตัว ให้จดจำลักษณะให้ดีแล้วจะได้ของดีไว้บูชาครับ

ประวัติ หลวงพ่อยิด อีกหนึ่งที่มา... มีดังต่อไปนี้ครับ

หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เสก “ปลัดขิก” จนกระดิกได้

         เมื่อพูดถึง “ปลัดขิก” นับเป็นเครื่องรางของขลังที่พระเกจิอาจารย์ดังในอดีตหลายองค์นิยมสร้างกันอาทิ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา,หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี,หลวงพ่อโสก วัดปากคลองบางครก เพชรบุรี, ฯลฯ

         ปลัดขิกของแต่ละท่าน ล้วนโด่งดัง-เข้มขลังด้วยประสบการณ์ เล่าขานสืบมาจนทุกวันนี้ หนึ่งในเกจิอาจารย์ที่สร้างตำนาน “ปลัดขิก” จนดังสะท้านประเทศก็คือ “หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณฺโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ วิทยาคมของท่านนั้นแก่กล้าขนาดที่ว่า สามารถเสกปลัดขิกบินรอบวัด ก่อนจะแจกจ่ายให้ญาติโยม นี่คือเรื่องจริงที่หลายๆ คนได้ประจักษ์กับสายตามาแล้ว

         หลวงพ่อยิด เกิดในสกุล “สีดอกบวบ” เมื่อวันอังคารที่ 10 มิ.ย. 2467 ณ บ้านหัวหรวด ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของนายแก้ว และ นางพร้อย

         สมัยเด็กไปอยู่กับหลวงพ่อหวล (มีศักดิ์เป็นน้า) ที่วัดประดิษฐนาราม (วัดนาพรม) จนกระทั่งบวชเป็นเณรเมื่ออายุ 9 ขวบ และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ภาษาขอม เลขยันต์ พร้อมกับเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง

         อายุ 14 ปีลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัว ซึ่งย้ายไปประกอบอาชีพ ที่อ.กุยบุรี จนอายุ 20 ปีก็กลับมาอุปสมบทที่วัดนาพรม มีหลวงพ่ออินทร์ (เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “จนฺทสุวณฺโณ” มีความหมายว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์”

         ต่อมาบิดาเสียชีวิต ท่านจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดา และได้มีครอบครัว อยู่กินกับนางธิติจนมีบุตรหนึ่งคน ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งในปี พ.ศ.2517 ณ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดทุ่งน้อย ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาผู้มีจิตศรัทธาซึ่งเลื่อมใสในตัวท่านได้มอบที่ดิน 21 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี ให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “สำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์” เมื่อปี พ.ศ.2518 ก่อนจะขออนุญาตสร้างเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2527 ตั้งชื่อว่า “วัดหนองจอก” ปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพัดยศแก่ท่าน เป็น “พระครูนิยุตธรรมสุนทร”

         หลวงพ่อยิด นั้นได้ชื่อนักพัฒนาที่มีฝีมือรูปหนึ่ง เห็นได้จากการสร้างสรรค์พัฒนาให้วัดหนองจอก จนเป็นวัดที่สมบูรณ์มีถาวรวัตถุทางศาสนาครบ ยากที่จะหาวัดใดๆ สร้างได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาจิตใจและการศึกษาของเด็กและเยาวชนอย่างเต็มที่ โดยสนับสนุนด้านทุนการศึกษา,ทุนอาหารกลางวันแก่โรงเรียนหลายแห่งใน จ.ประจวบฯ รวมทั้งร่วมสร้างสาธารณประโยชน์แก่สถานที่ราชการและหน่วยราชการมากมาย

         สมัยยังชีวิต ท่านมีกิจนิมนต์ในการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังทั่วประเทศจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ในวันเสาร์ 5 ท่านปลุกเสกวัดแรกที่ จ.นครสวรรค์ วัดสุดท้ายที่วัดหนองจอก แต่ละวัดจะปลุกเสกวัดละ 30 นาที รวมทั้งหมดวันเดียวปลุกเสก 9 วัด

         การรับแขกของหลวงพ่อยิดแต่ละวันนั้น บางวันแทบไม่ได้ลุกไปห้องน้ำเลย นอกจากฉันอาหารเพลเท่านั้น แม้แต่ยามอาพาธ ก็ยังแสดงความอดทน ออกมาต้อนรับญาติโยมเหมือนไม่เป็นอะไรเลย

         ยิ่งเรื่องการเขียน การจารวัตถุมงคลด้วยแล้ว บางวันถึงขนาดไม่ได้ฉันข้าวก็มี เมื่อเขียน,จารเสร็จแล้ว ท่านจะเอานิ้วที่ซีดแนบเนื้อติดกระดูกให้ผู้อยู่ใกล้ชิดดู จนต้องช่วยกันบีบนวดให้เพราะสงสารท่าน

         พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ส่วนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ใกล้ชิด ลูกศิษย์ กลุ่มพุทธพาณิชย์ หาผลประโยชน์จากการสร้างวัตถุมงคลเพื่อหวังผลกำไรจำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับหลวงพ่อยิด ซึ่งมีหลายกลุ่ม แต่ท่านจะไม่ว่าอะไรใครทั้งสิ้น

         เมื่อมีผู้ถาม ท่านก็จะตอบว่า “ใครที่ประพฤติตนหาผลประโยชน์จากพระ บุคคลนั้นต่อไปจะยากจน เพราะตัวเองจะป่วย แล้วก็ใช้เงินจากการจำหน่ายพระมารักษาตัวจนหมดสิ้น และชีวิตก็จะอยู่ไม่มีความสุขภายในครอบครัว” และวาจาท่านก็ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเสียด้วย เพราะมีหลายคนที่เป็นไปตามคำพูดนั้น

         เรื่องแปลกของหลวงพ่อยิดเรื่องหนึ่งก็คือ ท่านสรงน้ำปีละครั้ง ในเดือน 4 ในวันอาทิตย์แรกของข้างแรม สาเหตุก็เนื่องมาจาก ท่านได้รับปากกับอาจารย์ที่สอนวิชาอาคมให้สมัยที่ยังเป็นฆราวาส เมื่อเรียนจบแล้ว ท่านก็อาบน้ำ จนกระทั่งบวชเป็นพระก็สรงน้ำปีละครั้งตลอดมาจนมรณภาพ

         ลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธาจะเอาแปรงทองเหลืองขัดตัวท่าน ท่านจะยิ้มเพราะไม่เจ็บ และไม่ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย กระทั่งปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา จึงงดใช้แปรงขัดเนื่องจากหมอขอร้อง เพราะแม้ผิวหนังท่านจะคงกระพันจริง แต่เนื้อและเส้นโลหิตไม่ได้คงกระพันด้วย อาจจะเป็นอันตรายได้

         ท่านมักจะสอนศิษย์เสมอว่า การที่จะปลุกเสกวัตถุมงคลให้ขลังนั้นจะต้องมีสมาธิ และสัจจะ โดยเฉพาะสัจจะสำคัญมาก เพราะฉะนั้น วัตถุทุกชนิดเมื่อผ่านการปลุกเสกจากท่าน จึงเชื่อถือกันว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก ที่โด่งดังและรู้จักกันดีทั่วประเทศก็คือ “ปลัดขิก” ซึ่งท่านปลุกเสกจนกระดุกกระดิกเคลื่อนไหวได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น

แม้แต่ผู้ที่มีความรู้เป็นถึงนักเรียนนอกอย่าง ม.ล.ปาณสาร หัสดินทร อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังนับถือ เพราะได้ประสบมากับตาตนเอง คุณวิเศษในปลัดขิกที่ผ่านการปลุกเสกจากท่าน ใช้ดีในทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ค้าขาย เรื่องแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ตะขาบ แตน ต่อ แมงป่อง เอาไปวนบริเวณที่กัดจะหายเป็นปลิดทิ้งทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อความศรัทธาเป็นที่ตั้ง

แต่สิ่งหนึ่งที่ฝังอยู่ในใจศิษย์ตลอดมาก็คือภาพอดีตที่ฉายให้เห็นถึงคุณงามความดีที่
ท่านสร้างไว้ให้วัดหนองจอก,พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งไม่มีวันลบเลือนไปง่ายๆ

[ ราคา ] ฿800
[ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านเจ้าพระยาพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07


วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายเพชรบุรี,ประจวบฯ
เหรียญ มหาลาภ จตุรทิศ หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เพชรบุรี เนื้อทองเหลือง
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดคงคารามวรวิหาร ปี 19
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่น กตัญญู ปี 37 เนื้อทองแดง
เหรียญพระพุทธ วัดหนองศาลา จ.เพชรบุรี ปี 2516 เนื้อทองแดงกะหลั่ยเงิน
พระผงหลวงปู่คำ สุวัณโชโต วัดหนองแกรุ่นเสาร์5 ปี 37
พระกริ่งเนื้อผง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นแรก ปี 2535 พร้อมเลี่ยมตลับเงินลงยา
พระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นไตรมาส 37
พระผงรูปไข่หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลังยันต์ครู รุ่นเสกตาปูถอน ปี 2535 เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญนาคปรกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 2537 รุ่นสีดอกบวบ เนื้อทองแดง
เหรียญที่ระลึก มงคลพิธีเปิด ธนาคารนครหลวงไทย สาขาเพชรบุรี ปี 25 17 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นฉลองพัดยศ ปี 35 เนื้อทองแดง ตอกโ้ค้ด
พระสมเด็จสะดุ้งกลับหลังยันต์ครู หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 34
เหรียญหลวงพ่อหิน วัดเกตุชยาราม รุ่นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมา
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2519 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอุปัชฌาย์ธูป หลังพระปิดตา วัดใหญ่ จ.สมุทรสงคราม รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญเจ้าพ่อหลักเมือง วัดโคก จ.เพชรบุรี รุ่นพิเศษ ปี 2518 เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง ปี 2552 เนื้อผงพุทธคุณ
สมเด็จปรกโพธิ์ วัดหนองยายอ่วม เนื้อหาจัด ปี ลึก
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นสร้างอาคาร ฯ ปี.2537 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด นะ
เหรียญหลวงพ่อกล่อม วัดสามกระทาย เนื้อทองแดง เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญพระพุทธ วัดบ้านหนองแก ต.ไร่ใหม่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2519 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อสุโขทัย วัดในกลาง บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ปี 2519 เนื้อกะหลั่ยทองหายาก
เหรียญพระราชสุวรรณมุนี วัดมหาธาตุ เพชรบุรี ปี 2507 เนื้อทองแดง
พระผงรูปเหมือนนั่งพานหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 37 เนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์นิยม
เหรียญหลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ ปี 2521 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ปี ๒๕๑๓ เหรียญหนาหลังขีดนิยมสุด
รูปหล่อหลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ เนื้อทองผสม ปี 2527 มีโค๊ด
เหรียญพระอธิการผูก วัดดอนหว้า รุ่นแรก ปี 2512 เนื้อทองฝาบาตร
สมเด็จหลังรูปเหมือนหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก  รุ่นสรงน้ำ ปี 2537 มีจาร พร้อมกล่อง
เหรียญนั่งพานหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 37 เนื้อทองแดงผิวไฟ นิยม สภาพสวยมีโค๊ด และมีเบอรฺกำกับ
เหรียญปาดตาลหลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง ปี 2553 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ  ปี 2537 พิมพ์รูปไข่ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อสุโข วัดมหาธาตุ เพชรบุรี
เหรียญอธิการโต๊ะ วัดท่อเจริญธรรม รุ่นแรก ปี 2517 เนื้อทองแดงรมดำ พิมพ์นิยม
พระสมเด็จเจ็ดชั้นยันต์ข้าง เนื้อว่าน 108 รุ่นเสริมบารมี หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 34 เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงรูปไข่หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลังยันต์ครู รุ่นเสกตาปูถอน ปี 2535 เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก มหาเมตตา มหาอำนาจ มหาลาภ ปี 35 เนื้อทองแดง
พระสมเด็จเกาะหลัก หลวงพ่อเกตุ  วัดเกาะหลัก รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ จ.ประจวบคีรีขันธ์
สมเด็จหลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก รุ่นแรก ปี 2531 เนื้อชานหมากศักดิ์สิทธิ์
เหรียญหล่อหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก พิมพ์ใบโพธิ์เล็ก ปี 35 เนื้อทองผสม
เหรียญพระครูรัตนรังษี วัดชีประเสริฐเพชรบุรี ๒๕๑๓
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ปี ๒๕๑๓ เหรียญบางหลังขีดนิยม
เหรียญหลวงพ่อมั่น วัดหาดทราย จ.เพชรบุรี รุ่นแรก ปี ๒๕๑๖ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อแดง หลวงพ่อเจริญ วัดเขาบันไดอิฐ รุ่นโบสถ์ลั่น ปี 12 บล็อกหลุมกอร์ฟ
เหรียญหลวงพ่อปลั่ง วัดห้วยมงคล รุ่นแรก ปี 2524 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ้อตุ้ม วัดศีลคุณาราม ปี 15 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยเงิน
เหรียญหลวงปู่คำ สุวัณณโชโต วัดหนองแก รุ่นเสาร์ห้า ปี 2537 พิมพ์ทรงเตารีด  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นพญาสิงหราช เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่คำ สุวัณณโชโต วัดหนองแก รุ่นเสาร์ห้า ปี 2537 พิมพ์นั่งพาน เนื้อทองแดง
เหรียญศิริมงคลพระครูสิริวัชรกิจ(หลวงพ่อแปํะ) วัดดอนผิงแดด เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อปลัดเสน วัดไสกระดาน ปี๒๕๒๐ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ปี ๒๕๑๓ เหรียญบางเนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นที่ระลึกสร้างกุฎิสงฆ์  ปี 2536
เหรียญหลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก รุ่นพิเศษ  เนื้อทองแดงรมดำ ปี 28
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ  ปี 2537 พิมพ์อาร์มใหญ่ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อรวม วัดท่าคอย ปี 2511 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อผ่อน วัดพระรูป จ.เพชรบุรี ปี 2519 เนื้อทองแดง
พระผงหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก พิมพ์เจ้าสัวเล็ก เนื้อผงพุทธคุณ  ปี 2535 พร้อมกล่องจากวัด
พระผงหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์เจ้าสัวเล็ก  ปี 2535
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ปี 22 ออกวัดหนองหินประชาราม เนื้อทองแดง
พระกริ่งทรงพลใหญ่หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรุบุรี
เหรียญหลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ ปี 2527 เนื้อทองแดงรมดำ
พระกริ่งเนื้อผง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นแรก ปี 2535
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์ รุ่น ร.พ. ปว. ปี 2534
พระปรกใบมะขาม หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี ๒๕๓๗ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์ 2536
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี ๒๕๓๗ เนื้อทองแดง มีโค๊ดสร้างน้อยหายาก
เหรียญหลวงพอ่สันติ วัดบ่อฝ้าย ปี 2514 พิมพ์กงจักร หายาก
เหรียญหลวงพ่อแดงหลังหลวงพ่อเจริญ ปี 14 เนื้อทองแดงรมดำ พื้นเหรียญมีเส้นตาราง
พระปิดตาปลดหนี้ 3 ไตรมาส แช่นำมนต์ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก พ.ศ. 2536 -2538 มีจาร ตัวอุ
ปิดตาจัมโบ้รุ่นแรก หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี 36 มีจาร ตัวอุ
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ปี ๒๕๑๓ เหรียญหนาหลังขีดนิยมสุด
เหรียญหลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก รุ่นแรก เนื้อทองแดง ปี 19
รูปหล่อหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นเสกตะปูถอน เนื้อโลหะผสม ปี 2535 มีจาร นะใต้ฐาน
เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก รุ่นแรก บล็อคมีกระเดือกนิยม มีจาร
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ปี ๒๕๑๓ เหรียญบางหลังขีดนิยม
หลวงพ่อแดง หลวงพ่อเจริญ วัดเขาบันไดอิฐ รุ่นโบส์ถลั่น ปี 12
เหรียญหลวงพ่อทองคำ สิริปัญโญ วัดเหียงปม รุ่นแรก อายุ 85 ปี

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด