วัตถุมงคล: พระชุดเบญจภาคี
พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ A หายากมาก 25-08-2558 เข้าชม : 14957 ครั้ง | [ ชื่อพระ ] พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ A หายากมาก | [ รายละเอียด ] พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ A หายากมาก
วิธีดูพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดระฆัง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) เริ่มสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2387 ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชปัญญาภรณ์(โต) นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 146 ปี และเป็นที่น่ารู้น่าสนใจกันมากว่า พระสมเด็จวัดระฆังแท้เป็นอย่างไร จากการดูด้วยตาจากพระสมเด็จวัดระฆังองค์จริง จะดู 1 องค์ 10 องค์ หรือ 100 องค์ จะปรากฎลักษณะดังต่อไปนี้
1.พิมพ์ทรง พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่มีหลายพิมพ์ และแยกง่ายๆ ให้เข้าใจว่า เป็นพิมพ์ใหญ่ A พิมพ์ใหญ่ B พิมพ์ใหญ่ C หรือเรียกว่า พิมพ์ใหญ่ทรงใหญ่ พิมพ์ใหญ่ทรงกลาง พิมพ์ใหญ่ทรงเล็ก และแยกย่อยให้ชัดว่าเป็นพิมพ์พระประธาน อกกระบอก อกผาย อกวี เป็นต้น ตามรูปลักษณะขององค์พระและขนาดของพระ ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ A ความสูง 3.3 ซม. พิมพ์ใหญ่ B ความสูง 3.2 ซม. พิมพ์ใหญ่ C ความสูง 3.1 ซ.ม การวัดความสูง วัดจากตรงกลางขอบในเส้นซุ้มโค้งด้านบนสุดลากตรงลงมาจดขอบนอกเส้นซุ้มตรงด้านล่าง ลักษณะเส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระ แต่ละพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ถ้าพิมพ์เดียวกันจะเหมือนกันทุกองค์ เพราะกดจากแม่พิมพ์เดียวกัน เช่น เศียรเรียวเล็กคมสะบัดซ้ายขวา จะเหมือนกันทุกองค์ หรือเส้นซุ้มโค้งโย้จะโย้ไปทางเดียว จะมีตำหนิเพียงเล็กน้อย เกิดจากการกดหนักเบา หรือแม่พิมพ์เคลื่อน แม่พิมพ์ตื้น หรือชำรุดจากงานใช้งานมาก
2.เนื้อพระเก่า เนื่องจากพระสมเด็จวัดระฆัง มีอายุการสร้างประมาณ 146 ปี ความเก่าแก่ ทำให้เนื้อพระแกร่งแห้งย่น แต่หนึกนุ่มนวลตา ไม่แห้งกระด้าง ด้วยเนื้อพระมีปูนเป็นส่วนผสมหลักซึ่งเป็นปูนเก่าหม่นซีด จะมีคราบปูนขับออกมาจากเนื้อพระเป็นคราบหรือฝ้าสีขาวหม่น สีเหลืองเข้ม สีน้ำตาลแก่ ถ้ามีส่วนผสมของเนื้อกล้วยมาก เนื้อพระจะมีสีชมพูอ่อน หรือ เหลืองอ่อน ถ้ามีส่วนผสมของปูนมาก จะเป็นสีขาว บางองค์เนื้อพระจะเป็นสีน้ำตาลเข้มที่เรียกว่า"พระเนื้อจัด" ความเก่าแก่จะต้องดูที่องค์จริงหลายๆ องค์ ดูบ่อยๆ จนติดตา แต่นักโบราณคดีหรือนักธรณีวิทยาเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วัดค่าความเก่าแก่ของเนื้อปูนด้วยเครื่องมือตามหลักวิทยาศาสตร์พิสูจน์อายุความเก่าได้
3.มีรอยยุบ รอยย่น รอยยับ รอยแยก รอยแตกลาน รอยหลุมบ่อบนเนื้อพระทั้งด้านหน้าด้านหลัง เป็นธรรมชาติความเก่าแก่ตามกาลเวลาอายุร้อยกว่าปี บ่มพระให้เกิดรอยเหล่านี้ขึ้น ที่เห็นชัดเจนได้แก่ พระที่ลงรักเก่ามาแต่เดิม รักเก่าจะหลุดร่อนเองตามกาลเวลาและอายุของรัก เมื่อรักหลุดร่อนจะเห็นเนื้อในมีทั้งรอยยุบ รอยย่น รอยแยก รอยแตกลาน รอยยับ สาเหตุเกิดจากความร้อน ความชื้น บ่มเนื้อพระ เป็นเวลานาน เกิดการหดตัว ขยายตัว และถูกบีบรัด บางองค์จะแตกลายงา ลายสังคโลก บางองค์แตกคล้ายรากผักชี บางองค์แตกอ้าตามขอบพระด้านหลัง ถ้าไปพบพระแตกลานไม่แตกละเอียด อย่าเพิ่งสรุป เพราะพระสมเด็จวัดระฆังที่พบหลายองค์์ มีแตกลายงาทั้งละเอียด ทั้งแตกหยาบแตกลานไปทั่วผิวพระ องค์พระ และเส้นซุ้มก็มี ลักษณะการเกิดรอยยุบ ย่น ยับ แยก แตกลาน หลุมบ่อ เป็นจุดชี้ชัดความเก่าแก่และเป็นพระแท้
4.ลักษณะของผิวพระสมเด็จวัดระฆัง พระที่ยังไม่ล้างผิว จะมีผิวนอกเป็นชั้นๆ ชั้นนอกจะมีคราบสีน้ำตาลหรือเหลืองแก่ ปกคลุม เรียกว่า "เมือกพระ" ถัดไป จะมีคราบขาวหม่นหรือสีเทาอ่อนๆ ปกคลุมอยู่บางๆ และคราบดังกล่าวจะกลายเป็นเนื้อจริง เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี น้ำปูนจะขับออกมาจากเนื้อพระ บางองค์ลงรักเก่าไว้เมื่อรักหลุดร่อน คราบเหล่านี้ยังปรากฎให้เห็นอยู่ บางคนเรียกว่า "แป้งโรยพิมพ์" และเป็นที่สังเกตถึงความเก่าของเนื้อพระอีกจุดหนึ่ง
5.ความเก่าของรัก พระสมเด็จวัดระฆังที่ลงรักเก่าจะมีสีดำหม่น หรือสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะรักเก่าจะหม่นซีดหมดอายุ รักเก่าจะหลุดร่อนออกเองตามธรรมชาติ เพราะหมดอายุ เผยให้เห็นเนื้อพระ มองดูคล้ายกับว่าอ่อนนุ่ม ยุ่ยชื้นและหนึกนุ่มนวลตา ความจริงแข็งแกร่งเหมือนหิน ถ้าแตกลายงาหรือลายสังคโลก น้ำรักที่ซึมแทรกตามรอยแตกปรากฎเส้นเล็กๆ แต่บางค์องค์แตกลานจะไม่ปรากฎเส้นที่มีรักฝังอยู่ ถ้าเอาพระสมเด็จวัดระฆังองค์ที่รักเก่าหลุดร่อน ออกมาจนเห็นเนื้อ นำไปส่องแสงแดดดู จะสะท้อนแสงแดด เป็นประกายแวววับ คล้ายองค์พระเปล่งรัศมีงามจับตา
6.มวลสาร มวลสารที่ปรากฎบนพระสมเด็จ วัดระฆังทั้งด้านหน้าด้านหลังจะมีมากน้อยบ้างแล้วแต่ส่วนผสม จะมีเม็ดดำ เม็ดแดงจากผงพระซุ้มกอบด มีก้อนสีขาวใส สีขาวขุ่น หรือสีเทาอ่อน แต่แข็งแกร่งฝังอยู่ในเนื้อพระที่เรียกว่า "แร่หิน" และมีผงขาวขุ่น เม็ดก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า "ผงพุทธคุณ" และเม็ดสีขาวอมเหลือง เรียกว่า "เม็ดพระธาตุ" มวลสารเหล่านี้อยู่ในรอยแยกของเนื้อพระ บางทีเม็ดมวลสารเหล่านี้หลุดร่อนออกไป จะเกิดเป็นหลุมบ่อบนพื้นผิวพระทั้งหน้าหลัง ถือเป็นจุดพิจารณาความเก่าแก่ของพระได้เช่นกัน หลุ่มบ่อเหล่านี้มีปรากฎให้เห็นองค์จริงหลายองค์
7.เนื้องอก เป็นจุดสำคัญที่สุดที่บ่งบอกความเป็นพระสมเด็จแท้ จะมีเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ที่เก่าถึงยุค ลักษณะเนื้องอกเป็นเม็ดเล็กๆ ผุดขึ้นจากเนื้อพระตามพื้นผิว เส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระมีน้อยบ้างมากบ้าง ทั้งด้านหน้าด้านหลัง เป็นเพราะมีส่วนผสมมวลสารเช่นเดียวกับ "พระวัดพลับ" ที่สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) สร้างเอาไว้ คือ "ผงธาตุสิวลี หรือ ผงวิเศษ" เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) นำมาคลุกผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ประกอบกับพระสมเด็จวัดระฆัง มีอายุร้อยกว่าปี จะมีเนื้องอกผุดออกจากเนื้อพระ เป็นเม็ดเล็กกลมใส สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล สีขาว ตามสีของเนื้อพระ บางทีการงอกจะดันรักเก่าให้หลุดร่อนออกมาเอง
ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) การสร้างพระเครื่องไว้ เพื่อสืบทอดพระพุทธ ศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระ พุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวน มากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของ พระสมเด็จ เป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบ และย่อมาจากองค์พระประธาน จากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่านั้น ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวา องค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์ สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป) และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆ ปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลย ก็ตามทีต้องยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย นอกจากรูปแบบอันงดงามของพระสมเด็จ ดังกล่าวแล้ว ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่อง อันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คงจะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตเถระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้สร้างปูชนียวัตถุแล้ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์ บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มี ความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆัง โฆสิตารามนั้น ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง อาจจะพูดได้ว่า เป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเอง อย่างบริสุทธิ์ หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์ (อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบอย่างมาจากพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ในท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯนั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม | [ ราคา ] ฿9 [ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านภูภู95พระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : - | |
|