หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ภูภู95พระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 91 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ภูภู95พระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ภูภู95พระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ ภูดิศ นนทพิมลชัย (ภูภู 95)
รายละเอียด ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
เงื่อนไขการรับประกัน ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
ที่อยู่ เมืองนนทบุรี
เบอร์ที่ติดต่อ -
E-mail poopoo9595@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 12-02-2555 วันหมดอายุ 06-02-2569

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี

วัตถุมงคล: พระปิดตายอดนิยม
พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์เล็กเศียรบาตร (เนื้อสัมฤทธิ์เงิน)
05-03-2558 เข้าชม : 34815 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์เล็กเศียรบาตร (เนื้อสัมฤทธิ์เงิน)
[ รายละเอียด ] พระปิดตาที่ขึ้นชื่อลือชามากในวงการพระเครื่องบ้านเรา นอกจากพระปิดตา หลวงปู่เอี่ยมวัดหนังธนบุรี กทม. แล้ว ก็ต้องกล่าวถึงพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง กทม. ควบคู่กันไปทั้งสองสำนักเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นพระปิดตาที่มีความนิยม แสวงหากันมากมาโดยตลอด หากแต่พระปิดตาของวัดหนังนั้นสร้างออกมาหลาย เนื้อหาด้วยกัน แต่ของวัดทองส่วนมากจะเป็นเนื้อสำริดที่มีศิลปะงดงามยิ่ง
     วัดทอง หรือ วัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีนักสะสม พระเครื่องน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักวัดนี้ ที่ไม่รู้จักอาจเป็นด้วยเพิ่งแรกก้าวเข้ามาสู่วงการ สังสรรค์ แต่คนที่ผ่านเส้นทางมาอย่างยาวนานย่อมสดับรับฟังถึงเรื่องราว ของ พระปิดตามหาอุตม์ วัดทอง มาแล้ว และอาจมีอยู่ในความครอบครองเสียด้วยซ้ำไป แต่หลายคนที่ได้ชื่นชมเพียงภาพถ่าย หรืออาจจะได้สัมผัสกับพระองค์จริง จาก เจ้าของที่สนิทสนมกันเท่านั้น โดยไม่อาจที่จะเป็นเจ้าของพระปิดตามหาอุตม์ ได้ด้วยเหตุผลนานาประการ
     วัดทอง (วัดสุวรรณาราม) เป็นวัดโบราณที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยาเดิมมีชื่อว่า วัดทอง แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างว่าเป็นผู้ใด สร้างวัดแห่งนี้ แต่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมาโดยเฉพาะในครั้งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อวัดทองเสียแล้ว สถาปนาขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอารามสร้างพระอุโบสถเก๋งด้านหน้า วิหารกำแพงแก้ว และอื่นๆ เมื่อสถาปนาแล้วเสร็จจึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุวรรณาราม"
     นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องเป่าช้าขึ้นคือ เมรุ สร้างหอสวดมนต์ หอทิ้งทานโรงโขน โรงหุ่น ระทา และพลับพลา โรงครัวพร้อมทุกอย่างถวายเป็นสมบัติของพระบรมมหาราชวัง สำหรับ พระราชทานเพลิงศพอีกส่วนหนึ่ง
     ในยุครัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองวัดสุวรรณาราม เมื่อ พ.ศ.2374 ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ฉลองพร้อมกันรวม 9 พระอาราม คือวัดราชโอรส ที่ทรงบรูณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 มาสำเร็จในปีนั้น และอีก 8 พระอาราม คือ วัดสระเกศ วัดราชสิทธาราม วัดอรุณราชวราราม วัดภคินีนาถ วัดโมลีโลกยาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดพระยาทำ และวัดสุวรรณราม ทั้งหมดบูรณะสำเร็จบ้าง ยังค้างคาอยู่บ้าง ซึ่งก็โปรดให้ฉลองพร้อมกัน
     สำหรับ วัดทอง (วัดสุวรรณาราม) แล้วนั้น ความโด่งดังและมีชื่อเสียงของวัดแห่งนี้นอกเหนือจากความงดงามในคุณค่า ของ "จิตรกรรมฝาผนัง" ในพระอุโบสถ อันเป็นผลงานของจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ครูทองอยู่และครูคงเป๊ะ แล้ว ชื่อเสียงของวัดทอง หรือวัดสุวรรณารามยังคงเป็นที่รู้จักกันสำหรับนักสะสมพระเครื่อง โดยผ่านทางพระพิมพ์หรือ "พระเครื่อง" อีกส่วนหนึ่งและความโด่งดังจากส่วนนี้ นำมาจาก "พระปิตตามหาอุตม์ยันยุ่ง" เป็นพระปิดตาที่สร้างขึ้นโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 9 คือ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ อินทโชติ) เกิดในตระกูล ปัทมานนท์ เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2390 ที่บ้านคลองชักพระ บางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี
     เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของนายทิม ปัทมานนท์ และนางน้อย ปัทมานนท์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 18 ปี อยู่ศึกษาในสำนักพระปลัดแก้ว วัดทอง และเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2411 ที่วัดช่างเหล็ก บางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี โดยมีพระอธิการม่วง เป็นพระอุปชัฌาย์ พระปลัดแก้ว วัดทอง และ พระอาจารย์พึ่ง วัดรวก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "อินทโชติ"
     และได้เข้าจำพรรษาที่ วัดทอง หรือ วัดสุวรรณราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา จากพระครูวิมลปัญญา (เนียม) เป็นเจ้าอาวาสเพียง 5 ปี ก็มรณภาพลงเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2455 รวมอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 45
     อย่างไรก็ตามมรดกของหลวงพ่อทับ อินทโชติ ที่ได้ทิ้งไว้ในคนรุ่นหลังได้รำลึกถึงท่าน อันเป็นที่รู้จักกันดีของนักสะสม พระเครื่อง และผู้ที่สนใจพระเครื่องทั้งหลาย คือ พระปิดตามหาอุตม์ ซึ่งมีทั้งเนื้อสำริดเงิน เนื้อชินตะกั่ว เนื้อเมฆพัด เนื้อสำริด แบบขันลงหิน เนื้อผงคลุกรัก และเนื้อแร่บางไผ่อีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นเนื้อพิเศษมากที่พบเห็นได้น้อยองค์หายาก ด้วย หลวงพ่อทับ อินทโชติ ได้เนื้อแร่บางไผ่มาจาก หลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี เจ้าของและต้นฉบับพระปิดตาแร่บางไผ่ แห่งเมืองนนทบุรีนั่นเอง
มนต์เสน่ห์ของพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง เนื้อสำริด กทม. ถือได้ว่าเป็นพระปิดตาเพียงสำนักเดียว ที่มีพิธีการสร้าง อย่างปราณีตที่สุด และเป็นการสร้างขึ้นมาจากแม่พิมพ์และองค์พระเท่านั้นทำให้ไม่มีองค์ไหนเลยที่จะเหมือนกัน นอกจาก จะมีความใกล้เคียงกันทางด้านพิมพ์ทรงเท่านั้น แต่สามารถพิจารณาได้ว่า เป็นงานช่างเดียวกันและเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ ในการพิจารณาพระแท้หรือพระปลอม แต่หากผู้ที่มีความชำนาญแล้วสามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจน ว่าพระปิดตาองค์ไหน แท้หรือปลอมได้อีกด้วย
     พระปิดตาอันโด่งดังของหลวงพ่อทับถูกจัดอยู่ในชุด "เบญจภาคีมหาอุตม์" พระปิดตามหาอุตม์ที่สร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะ เป็นการสร้างขึ้นด้วยการปั้นหุ่นขี้ผึ้งทีละองค์ จากนั้นจึงปั้นด้วยยันต์ขึ้นมาเบ้าหล่อพระปิดตาวัดทอง ทำแบบเบ้าหล่อละลายตัว หุ่นขี้ผึ้งจะละลายไปด้วยเมื่อเทโลหะหลอมลงไปในเบ้าทีละเบ้า จึงทำให้พุทธลักษณะขององค์พระจะออกมาไม่เหมือนกัน แบบฝาแฝดแต่จะมีลักษณะ คล้ายคลึงกันได้บางในบางองค์เท่านั้น ในทำเนียบเบญจภาคีมหาอุตม์ บรรจุพระปิดตามหาอุตม์ หลวงพ่อทับ อินทโชติ ไว้คือ พระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร และพระปิดตาพิมพ์ยันต์น่อง แต่ความจริงแล้ววงการแบ่งแยก พิมพ์ทรงพระปิดตาหลวงพ่อทับไว้อีกหลายพิมพ์ทรงคือ พิพม์ชะลูด พิมพ์นั่งยอง พิมพ์ภควัม พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา ยันต์น่อง พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม ฯลฯ
     พระปิดตาอันโด่งดังของหลวงพ่อทับถูกจัดอยู่ในชุด "เบญจภาคีมหาอุตม์" พระปิดตามหาอุตม์ที่สร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะ เป็นการสร้างขึ้นด้วยการปั้นหุ่นขี้ผึ้งทีละองค์ จากนั้นจึงปั้นด้วยยันต์ขึ้นมาเบ้าหล่อพระปิดตาวัดทอง ทำแบบเบ้าหล่อละลายตัว หุ่นขี้ผึ้งจะละลายไปด้วยเมื่อเทโลหะหลอมลงไปในเบ้าทีละเบ้า จึงทำให้พุทธลักษณะขององค์พระจะออกมาไม่เหมือนกัน แบบฝาแฝดแต่จะมีลักษณะ คล้ายคลึงกันได้บางในบางองค์เท่านั้น ในทำเนียบเบญจภาคีมหาอุตม์ บรรจุพระปิดตามหาอุตม์ หลวงพ่อทับ อินทโชติ ไว้คือ พระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร และพระปิดตาพิมพ์ยันต์น่อง แต่ความจริงแล้ววงการแบ่งแยก พิมพ์ทรงพระปิดตาหลวงพ่อทับไว้อีกหลายพิมพ์ทรงคือ พิพม์ชะลูด พิมพ์นั่งยอง พิมพ์ภควัม พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา ยันต์น่อง พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม ฯลฯ
     ทางด้านลักษณะขององค์พระที่ปิดตานั้นมีทั้งในลักษณะต้อ บางองค์ก็มีพระชานุ (เข่า) ที่กว้างขณะเดียวกันกับใน บางองค์ ก็เป็นแบบพระชานุ (เข่า) แคบ ซึ่งเรียกขานแยกเป็นพิมพ์ได้ว่า พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรโต พิมพ์ยันต์ยุ่งต้อเข่ากว้าง พิมพ์ยันต์ยุ่งชะลูดเข่าแคบ พิมพ์ตุ๊กตา และในพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่งนี้หากพิมพ์ใดหรือพระองค์ใด มีอักขรขอมปรากฏ ตรงพระเพลา (ขาและแข้ง) จะเป็นพิมพ์ทรงอีกพิมพ์หนึ่งที่เรียกกันว่า พิมพ์ยันต์น่อง
     ด้านหลังองค์พระ ตรงกลางเป็นยันต์เฑาะว์ อุณาโลมหางสะบัดขึ้นด้านบนเศียร หรืออาจเป็นตัวอักขระขอมตัวอื่น ด้านข้างตัวเฑาะว์อุณาโลม เป็นตัวอุณาโลมขนาบข้าง 2 ตัว ด้านล่างเป็นอักขระว่า "นะ มะ พะ ทะ" ใต้ฐานองค์พระ เป็นแอ่งลึก
     การพิจารณาแบ่งแยกพิมพ์ทรงนั้นพิมพ์นั่งยองถือว่า เป็นพิมพ์หนึ่งที่สวยสดงดงามยิ่งและหาดูชมองค์จริงได้ยากยิ่งนัก ยิ่งทางด้านเนื้อหาโดยทั่วไปจะออกสีดำนวลๆ สำหรับองค์ที่ไม่เคยผ่านการสัมผัสใช้มาก่อนเลย จะแลเห็นผิวปรอทจับอยู่ ตามซอกมุมองค์พระที่เป็นส่วนลึกอย่างชัดเจนและในด้านความเก่าแล้วเนื้อและปรอทจะแห้งคล้ำคล้ายๆ กับปรอทตาย ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทองกันเลยนะครับ
     ส่วนพิมพ์ภควัม พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร พิมพ์ชะลูด พิมพ์หัวบายศรี พิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม ฯลฯ ถือว่าเป็นพิมพ์ทรงที่มีศิลปะงดงามยิ่งเช่นเดียวกัน หากพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง ได้ผ่านการใช้มาแล้วเนื้อหาจะ กลับดำทุกองค์ และที่สำคัญพระปิดตาทุกองค์มีหลักสำคัญที่ต้องถือว่าเป็นข้อพิจารณาคือพระทุกองค์จะไม่มีรอยตะเข็บ ปรากฏอยู่ในด้านหนึ่งให้เห็นเป็นอันขาด เพราะเป็นการสร้างโดยการหล่อทีละองค์แน่นอนย่อมไม่มีตะเข็บให้แลเห็นหาก พบเห็นพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง องค์ใด ก็ตามมีตะเข็บข้างถือว่าเป็นพระปลอมได้เลยครับ
     ในความแตกต่างของ พระปิดตามหาอุตม์ ระหว่าง หลวงพ่อทับ อินทโชติ วัดทอง และพระภาวนาโกศลเถร (เอี่ยม สุวณฺณสโร) วัดหนัง คือของวัดทองการล้วงปิดทวารนั้น เป็นการล้วงจากด้านในของหน้าตัก ส่วนของวัดหนังจะล้วงลง ปิดทาวรจากด้านนอกของหน้าตัก แต่ส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ทรงอาจจะแลดูคล้ายๆ กันก็เป็นได้นะครับ
     ส่วนพิมพ์ที่มีราคาการเช่าหาบูชากันแพงที่สุดเห็นจะเป็น พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร นั้นถือว่าเป็นหลักสากลและมีการปลอมกันมากที่สุด เป็นพิมพ์ที่มีเนื้อหาเข้มข้นเส้นยันต์ลึกคมชัดทุกองค์พิมพ์ทรงนี้ถือว่า มีการสร้างไว้เป็นจำนวนมากและมีอยู่หลายเนื้อหาด้วยกันคือเนื้อสำริด เนื้อชิน เนื้อเมฆพัดและเนื้อผง พระพิมพ์นี้เศียร ขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายบาตรใส่ข้าวพระและมีทั้งขนาดใหญ่และเล็กอีกด้วย ส่วนพิมพ์ยันต์น่องจะมีลักษณะสำคัญ ของพิมพ์นี้คือมียันต์คล้ายเลขหนึ่ง อยู่ที่น่องขององค์พระและเป็นที่นิยมแพร่ในวงการ
    เป็นพระปิดตามหาอุตม์อีกสำนักหนึ่งที่ขึ้นชื่อลือชามากทางด้านมหาอุตม์หยุดปืนผาหน้าไม้เป็นที่เชื่อกันว่า สุดยอดเยี่ยมมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลกันเลยทีเดียว อีกทั้งมูลค่าในการเช่าหาบูชากันสูงถึงหลักแสนต้นๆ ถึงกลางเลยเดียว สำหรับพระปิดตาสำนักวัดทองของหลวงพ่อทับแห่งนี้ ที่สำคัญของแท้หายาก เพราะมีจำนวนการสร้างน้อย มีพระปลอม มากกว่าพระแท้ในวงการพระเครื่องบ้านเรานะครับ
[ ราคา ] ฿9
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านภูภู95พระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : -


วัตถุมงคล: พระปิดตายอดนิยม
พระปิดตาพิชัย 2 หน้า กรุงศรีอยุธยา
พระปิดตากรุวังหน้า 2 หน้า พิมพ์กลาง
พระปิดตาแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี
พระปิดตาหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก พิมพ์เกลอเดี่ยว
พระปิดตาพระครูพรหมสร(รอด) วัดบ้านไพร จ.นครราชสีมา
พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง  ปี ๒๕๑๘
พระปิดตาหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ พิมพ์หนุมาร เนื้อผงคลุกรัก
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย พิมพ์ 2 หน้านิยม
พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี พิมพ์จัมโบ้ 2 เนื้อผงใบลานแช่น้ำมนต์ นิยม
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อผงพุทธคุณ
พระปิดตายันต์ยุ่งเนื้อเมฆพัตร พิมพ์เล็ก หลวงพ่อทับ วัดทอง
พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์เล็กเศียรบาตร (เนื้อสัมฤทธิ์เงิน)

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด