(ภาพ เอื้อเฟื้อจาก  พระครูสัญญา เตชปญฺโญ   เจ้าอาวาส วัดแหลมวังองค์ปัจจุบัน )

 

 พ่อท่านจันทร์ วัดแหลมวัง

 “ ลำหรับหลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง นี่เป็นสุดยอดเกจิฯ ที่ผม นับถือเลย..วัด ของท่าน ตั้งอยู่ที่ ต.คูขุด อ.สทิงพระ   จ.สงขลา ซึ่งต้นตระกูลของบ้านคุณตา ผม ก็เกิดที่นั้นครับ..คุณตาผมเองสมัยเด็กๆก็เรียนหนังสือ และ บวช กับหลวงพ่อจันทร์ ด้วย...ท่านเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มากๆ รูปหนึ่ง..เหรียญรุ่นแรก ปี2489 หาชมยาก”

“เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง จ.สงขลา รุ่นแรก ประมาณพ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงพ่อจันทร์ ท่านเป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่าของจังหวัด ท่านเกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๒๐ มรณะภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ สำหรับวัดแหลมวัง ตั้งอยู่ที่ ต.คูขุด อ.สทิงพระ ซึ่งการเดินทางสมัยก่อนลำบากมาก ต้องอาศัยเรือข้ามทะเลสาปสงขลาไปสทิงพระ เนื่องจากยังไม่มีสะพานติณฯ แต่หลวงพ่อจันทร์ ท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของชาว จ.สงขลา ว่ากันว่าท่านเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านนิยมบนบานศาลกล่าว โดยมักขอแก้บนด้วยขนมโค ก็มักจะสมหวังตามปรารถนา.                           นอกจากนี้หลวงพ่อท่าน ยังเป็นสหธรรมมิก กับ พระอาจารย์เอียด สำนักเขาอ้อ ตามประวัติที่ผมค้นหามาทำ ให้ทราบว่าพระอาจารย์เอียดได้เคยมาที่วัดแหลมวังด้วย ซึ่งที่วัดแหลมวังเอง ก็มีพิธีอาบว่าน เช่นเดียวกับ ที่สำนักเขาอ้อ ..แต่ที่วัดแหลมวังจะทำการอาบกันบนรางเรือครับ สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่าน นั้นจัดหนึ่งในเหรียญหลักหายากของจังหวัดสงขลา ลักษณะเป็นเหรียญห้าเหลี่ยม เนื้อทองแดงชุบกะไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่เกิน ๒๐๐๐ เหรียญ ปัจจุบันนี้แทบไม่เห็นแล้ว         “                                                                                            

 ก้อง   หาดใหญ่

“ เหรียญท่าน สร้างปี ๒๔๘๐ กว่าครับ แต่ปีที่แน่ชัดไม่แน่ใจ และท่านก็ปลุกเสกเองด้วย ส่วนประวัติของท่านไว้จะนำมาเสนออีกที ....แต่ที่ได้ยินมาจากคนแก่ละแวกกวัดที่ทันท่าน ว่ากัน ว่าท่านมีอาบยาแช่ว่าน แบบของสำนักเขาอ้อ แต่จะแช่กันในเรือ กลางทะเล ”                                                                                         

หาดใหญ่

“              ท่านเป็นคนใจดีมากๆ ไม่เคยโกรธหรือให้ร้ายใคร ใบหน้าท่านมีแต่รอยยิ้ม  ชาวบ้านมักบนกับท่าน แม่เฒ่าผมบอกว่าท่านบนรับตั้งแต่ท่านยังอยู่ และการแก้บนจะแก้บนด้วยขนมโคหรือขนมเปี๊ยะ          ”                                                                                

  กรุง    เด็กสองเล

 

 

ประวัติพ่อท่านจันทร์ สาราภิรัตน์

ชาตะ ๔ มีนาคม ๒๔๒๐   มรณะ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๙๕

 

                        นามเดิมของท่านชื่อ จันทร์ นามสกุล มุสิกพงษ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๔ มีนาคม ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู พ.. ๒๔๒๐ ที่บ้านแหลมวัง หมู่ที่ ๑ ตำบลคูขุด อำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา มารดาชื่อ นางสุ้น มุสิกพงษ์ และ บิดาชื่อ นาย หนูเลี่ยม มุสิกพงษ์.

                ท่านได้เป็นศิษย์ เรียนหนังสือชั้นต้นกับพระดำ วัดคูขุด บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี อยู่ที่วัดแหลมวัง ได้รับญัตติอุปสมบทกรรมเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ ๒๓ ปี ท่านพระครูวิจารณ์ศีลคุณ  (หรือรู้จักกันในนามพ่อท่านชู  ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณรอยู่วัดดอนคันตะวันออก   นอกจากท่านเคร่งพระวินัยแล้วยังมีความรอบรู้ ในด้านจิตรกรรม  ดนตรีฝีมือชั้นครู ปราชญ์ ทางด้านกลอน โคลง ฉันท์ กาพย์ ปั้นและแกะสลัก  ทำภาพหนังตะลุง ) เจ้าคณะอำเภอจะทิ้งพระ วัดจะทิ้งพระ เป็นพระอุปัชฌายะ พระสมุห์นุ่ม และพระยก  วัดจะทิ้งพระ ทั้ง ๒ องค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทอยู่ที่วัดแหลมวัง ๗ พรรษา ในพรรษาที่ ๘ ได้เข้าไปศึกษาพระปริยัติธรรม และภาษาบาลี ในสำนักเรียนวัดพลับ กับพระอาจารย์วัน แต่ได้อาศัยอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี อยู่ได้เพียง ๓ พรรษา ก็ต้องกลับ เพราะเกิดเหตุจำเป็นขึ้นทางบ้าน แล้วก็ไม่ได้โอกาสกลับเข้าไปเรียนอีก เพราะได้รับตำแหน่งหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดแหลมวัง และเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของท่านพระครูวิจารณ์ศีลคุณด้วย.

(ตามคำบอกเล่าท่านเดินด้วยเท้าเปล่าจากสงขลาไปกรุงเทพเพื่อเรียนนักธรรม ขากลับมีคนฝากท่านกลับมากับเรือภาณุรังสีลงที่เกาะหนูเกาะแมว)

 

 

 

 

 

 

 


                                                                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           ภาพที่ ๑.    ภาพเหรียญของพระครูวิจารณ์ศีลคุณซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อท่านจันทร์

                       

                        ท่านได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าคณะตำบล เมื่อ พ.. ๒๔๗๔ และเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อ พ.. ๒๔๖๗.ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูจันทรสาราภิรัต เมื่อ พ.. ๒๔๘๕. การบากบั่นเข้าไปศึกษาในกรุงเทพฯของท่าน สำหรับสมัยนั้น ไม่ใช่เป็นของง่ายเลยย่อมเป็นเหมือนความฝันทีเดียว แต่ด้วยความรักการก้าวหน้า เพื่อให้ทันสมัย และเพื่อนฝูงท่านก็มีความรู้เป็นเกียรติประดับตัว ที่ควรภาคภูมิใจได้เหมือนกัน  การสร้างวัดแหลมวัง จากสภาพเดิมที่คล้ายโคก-โรงวัว ให้มีกุฏิ-โรงครัว-ศาลาโรงธรรมและ-พระอุโบสถขึ้นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาจนเป็นคนละสภาพย่อมได้รับการรับรองในความสามารถของท่านเป็นอย่างดี.

                        ท่านมีนิสัยชอบพึ่งตัวเอง ทำงานเอง รักการทำงานที่ก้าวหน้าในด้านการก่อสร้าง มีฝีมือในการจักสาน และประดิษฐ์-คิดทำเครื่องใช้ได้เกือบทุกชนิด เป็นช่างไม้-ช่างปูน-ช่างปั้น-ช่างแกะสลัก-ฉลุ-เขียนลวดลายวิจิตรต่างๆ ออกความคิดในการทำอิฐ-เผาอิฐ.

                        วัดแหลมวัง เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในทางฝีมือช่างมานาน ประชาชนชอบให้ลูกหลานไปบวช เพื่อจะได้เรียน-ฝึกหัดวิชา ปลูกเรือน ขุด-ต่อเรือ และวิชาอื่นๆ.

                        ในการประดิษฐ์เครื่องใช้นี้ เป็นที่น่าสังเกตอยู่บ้าง พ่อท่านคิดประดิษฐ์-ทำของใช้ได้หลายอย่าง เช่น จากลา-แมงดา ตรอง (กะชอน) เป็นต้น ซึ่งทำได้ด้วยความประณีต-สวยงามยิ่ง.

                        พ่อท่าน ได้จัดสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัดหลังหนึ่ง-ใหญ่มาก มอบให้เป็นสถานการศึกษาของกุลบุตร และกุลธิดาแก่ทางการ ได้จัดสร้างสะพานข้ามคลองแหลมวัง เสาคอนกรีต ปูพื้นกระดานไม้เคี่ยม ซึ่งเป็นสะพานแห่งแรกสำหรับท้องที่-ที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงแข็งแรง-ให้วัวควายเดินข้ามได้.

                        เมื่อปี พ.. ๒๔๙๔ นี้เอง ทางราชการได้ขอร้อง-มอบหมายเงินบำรุงท้องถิ่นจำนวนหนึ่ง ให้ท่านช่วยสร้างสะพานข้ามคลองบ้านพรวน ซึ่งเงินมีอยู่จำนวนน้อย ไม่พอสร้าง และหาคนสามารถควบคุมงานก่อสร้างให้สำเร็จได้ยาก แต่ท่านก็ได้สร้างสำเร็จไปแล้ว ท่านได้จัดการขุดสระน้ำใหญ่ขึ้นสระหนึ่ง ขังน้ำได้มาก ประชาชนได้ใช้กิน-ใช้อาบและ-เลี้ยงสัตว์พาหนะอย่างสะดวกสบาย เพราะท้องถิ่นนั้นกันดารน้ำ จึงเป็นที่ยินดีของประชาชนอย่างยิ่ง.

                        ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อ พ.. ๒๔๖๗ จนกระทั่งถึงมรณะภาพเป็นเวลาถึง ๒๘ ปี จึงมีศิษย์อยู่มากโดยทั่วไป ในเขตตำบลอันเป็นเขตปกครองของท่านได้เปิดสำนักเรียนสอบนักธรรมขึ้นถึง ๓ สำนัก ท่านได้สนใจ และเอาใจใส่ในการศึกษาของศิษย์อย่างดียิ่ง ได้จัดส่งศิษย์ไปศึกษาวิชาสามัญ-ชั้นสูงตามโรงเรียนรัฐบาลก็มาก ไปศึกษานักธรรม และภาษาบาลี จนสำเร็จเป็นเปรียญ และนักธรรมชั้นสูงในสำนักต่างๆก็มีไม่น้อย ย่อมแสดงถึงการปลูก-ฝังศิษย์ ด้วยการสงเคราะห์-อนุเคราะห์เกี่ยวกับอนาคตของชีวิต ให้เจริญก้าวหน้าในทางโลก และทางธรรมวินัยเป็นอย่างดี

                        ภาระหนักที่ท่านแบกอยู่ ทั้งเวลาอาพาธ และก่อนมรณะภาพ คือ การสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และท่านได้ตั้งใจจะสร้างอย่างไว้ฝีมือจริงๆ ท่านเกิดมาเพื่องาน และมรณะภาพลงไป-ในขณะดำเนินงาน ทำงานจนสิ้นลมหายใจ ดัดเหล็กเองจนหมดกำลังจะดัด และสั่งงานสร้างพระอุโบสถ จนหมดเสียง-หมดลมปากจะสั่ง-พูดแผ่วจนฟังไม่ได้ยิน ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่บรรดาศิษย์จะต้องคิด-ต้องดำเนินงานเสริมสร้างต่อไปจนสำเร็จ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒. โบสถ์วัดแหลมวัง ที่ท่านทุ่มเทแรงกาย แรงใจในการสร้าง  ต่อมาคณะศิษย์ช่วยกันสานต่อจนแล้วเสร็จประมาณว่าในราวปี 2505 มีงานผูกพัทธสีมา วัดแหลมวัง ซึ่งในครั้งนี้พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ได้มาร่วมงานและได้แจกผ้ายันต์เป็นที่ระลึกในงานดังกล่าวด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


  ภาพที่ . ผ้ายันต์พ่อท่านคล้ายแจกในงานผูกพัทธสีมาวัดแหลมวัง ปี ๒๕๐๕ (เอื้อเฟื้อภาพ โดย  คุณ ก้อง หาดใหญ่)

 

                        การตอบแทน สนองบุญคุณ ของผู้ที่มีพระคุณนั้น ไม่เฉพาะต่อกับพ่อท่าน แม้กับผู้มีพระคุณอื่นๆ ก็ควรทำให้เสมอกัน ไม่ควรคิดทำเพียงผักชีโรยหน้า-ชั่วครั้งชั่วคราว พอเป็นพิธีให้เอิกเกริกเท่านั้น บุญกุศลและความดี ย่อมอยู่ที่การกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำให้มาก-ทำบ่อยๆ-ทำเสมอต้นเสมอปลาย.

                        พ่อท่านได้ป่วยเป็นโรคชรา-กระเสาะกระแสะมาเป็นเวลานาน ซึ่งท่านได้เรียกมันว่าโรคเวรโรคกรรม เพราะรักษาไม่ถูก-ไม่หายสักที เวลาอาการกำเริบขึ้น ท่านก็หยุดทำงาน พอค่อยทุเลาลง ท่านก็ทำงานของท่านต่อไป ในที่สุดท่านก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความเป็นธรรมดาของสังขาร และพวกเราทุกคน ก็ต้องแพ้มันเหมือนกัน แล้วก็ม้วนเสื่อกลับบ้านเก่ากัน.

                        ท่านได้ถึงมรณะภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.. ๒๔๙๕ ด้วยอาการสงบอันดี รวมอายุของท่านได้ยังไม่เต็ม ๗๖ ปีบริบูรณ์.    

                        ร่างกาย ซึ่งต้องแก่-ตายของท่าน ได้ตายไปแล้ว แต่ชื่อเสียงแห่งคุณงาน-ความดีอันเป็นนามธรรมของท่านยังคงเหลือ ยังให้ความสุขแก่ประชาชนอยู่ตลอดไป.

                        ความสามัคคีกันในระหว่างศิษย์ ด้วยการไม่เบียดเบียน-ทำร้ายกัน ไม่ลักทรัพย์-ฉ้อโกงกันเอง ไม่รังแกหัวใจด้วยการทำกับคนรัก-นับถือกัน ไม่เมาเหล้า-เป็นพาล-เกะกะ-เกเรข่มเหงกันเองให้เดือดร้อน ให้รู้จักศิษย์อาจารย์เดียวกัน ต้องเป็นความประสงค์ของพ่อท่านยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ซึ่งจะทำให้วิญญาณอันบริสุทธิ์ของท่านในสัมปรายิกภพหายห่วง-มีความสุข ถ้าใครทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม แน่ละ ! ต้องเป็นคนอกตัญญูต่อท่านอย่างแน่นอน.

                        ด้วย "เส้นหมึก” อันไหลจาก "หยดหมึก” มาปรากฏเป็นตัวหนังสือของฉัน ฉันขอถือเป็นน้ำหวานในดอกไม้อันใสบริสุทธิ์ จากแอ่งน้อยนิดแห่งกลุ่มเกษรดอกไม้ของหัวใจ สำหรับสรงน้ำศพ และเป็นสักการะอันมีค่าสูง ขอให้เป็นเครื่อง "อธิษฐานจิตสำหรับส่งดวงวิญญาณของท่านสู่ที่สุข-จนถึงวิมุตติสุขทุกประการเทอญ.  (จากหนังสือเสียงสำนึกที่ พระประสิทธิศีลคุณ วัดประยุรวงศ ฯ ธน ฯ

เขียนเมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๙๗. สำหรับแจกในงานพระราชทานเพลิงศพพ่อท่านจันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๗ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                         ภาพที่ ๔. ภาพปกนอกของหนังสือเสียงสำนึก พระประสิทธิศีลคุณ (ปัน นกแก้ว)  เขียน สำหรับแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๕. ภาพปกในของหนังสือเสียงสำนึก

 

สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อคราวญี่ปุ่นบุกเมืองสงขลา ท่านสั่งให้นำเรือจากวัดร่องทางทะเลสาบไปตัวเมืองสงขลาเพื่อรับคุณหญิง พูนสุข ปรีชาพานิช (ประธานราษฎร์นิกร ) ผู้ซึ่งมีคุณต่อวัดแหลมวัง ในการก่อสร้าง โรงเรียนวัดแหลมวัง อนามัยประจำตำบลคูขุด   มาพักที่วัดชั่วคราว เป็นการหลบจากเป้าหมายของการรุกรานจากสงคราม    ภายหลังท่านคุณหญิงนำพ่อท่านเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสงขลา และสิ้นบุญวัดแหลมวัง  ท่านคุณหญิงเป็นผู้มีความศรัทธาต่อพ่อท่านจันทร์และวัดแหลมวังอย่างสูงท่านได้สนับสนุนการสร้าง โรงธรรม และมลฑปที่มีรูปองค์พ่อท่านจันทร์ภายในเพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                    ภาพที่ ๖. โรงธรรมและมลฑป ที่มีรูปองค์พ่อท่านจันทร์ภายในเพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                  ภาพที่ ๗. รูปปั้นพ่อท่านจันทร์ภายในมลฑป และ จารึกการสร้างถวายโดยคุณหญิงพูนสุขประธานราษฏร์นิกร ปรีชาพานิช เมื่อปี ๒๕๑๙

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                                ภาพที่ ๘. รูปปั้นพ่อท่านจันทร์ตั้งอยู่ภายนอกมลฑปสร้างในภายหลังเพื่อให้ชาวบ้านกราบไหว้บูชาและติดทอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๙. ยันต์หัวใจเศรษฐีคณะศิษย์สร้างในคราวทำบุญอายุครบ ๗๕ ปีบริบูรณ์.. ๒๔๙๕  เป็นแผ่นกระดาษยันต์จัดสร้างขณะพ่อท่านมีชีวิตอยู่หลังจากนั้นท่านอาพาธและสิ้นบุญในเวลาต่อมาในปีเดียวกัน  แผ่นกระดาษยันต์นี้ชาวแหลมวังและคูขุดมีไว้บูชาประจำทุกบ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                                ภาพที่ ๑๐.   ยันต์หัวใจเศรษฐีภาพจากในหนังสือเสียงสำนึก ปี ๒๔๙๗ แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ

 

 

เหรียญและสิ่งระลึก

เหรียญห้าเหลี่ยมเนื้อทองแดงรุ่นแรกเป็นที่หวงแหนไม่เฉพาะของชาวแหลมวังแต่ของชาวสงขลาด้วย ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าสร้างกี่เหรียญแต่น่าจะน้อย (ประมาณหลักพัน) เป็นเหรียญหลักของจังหวัดสงขลาเหรียญหนึ่ง ประสบการณ์ดีและพุทธคุณเป็นที่กล่าวขานในทุกด้าน ลักษณะของเหรียญดังปรากฏในภาพที่๑๑ ด้านหน้าเป็นรูปพ่อท่านนั่งบนธรรมาสน์ ด้านหลังยันต์ เรียกขานกันว่ายันต์พุทธซ้อนมาจาก คาถาที่ว่า นะ โม พุทธ ธา ยะ ถือเป็นยันต์ใหญ่ คือยันต์พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ พุทธคุณ มหาอุต เมตตา โชคลาภ ได้รับการยืนยันว่าสร้างแจกงานศพพ่อท่านจันทร์เมื่อปี ๒๔๙๗ หลังจากท่านมรณภาพครับ ท่านเจ้าคุณประสิทธิศีลคุณ (ป. นกแก้ว)  ท่านมหาสุจินต์ (พระเทพสิทธิวิเทศน์) และท่านปลัดอบ (ท่านพระครูปลัดอบ ประภัสโร) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านเป็นผู้สร้างขึ้นมา อย่างไรก็ตามบางกระแสก็ว่าสร้างสมัยท่านได้เลื่อนสมณะเป็นพระครูประมาณ ปี ๒๔๘๕ ขณะนี้ (หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยให้ความกระจ่างด้วยจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติพระเครื่องเมืองสงขลาในการณ์ต่อไป)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๑๑.   เหรียญห้า เหลี่ยมรุ่นแรก ด้านหน้า (คุณก้อง    หาดใหญ่ เอื้อเฟื้อภาพ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๑๒.   เหรียญห้า เหลี่ยมรุ่นแรก ด้านหลัง  (คุณก้อง    หาดใหญ่ เอื้อเฟื้อภาพ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๑๓.   เหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นแรก ด้านหน้า (คุณก้อง    หาดใหญ่ เอื้อเฟื้อภาพ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๑๔.   เหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นแรก ด้านหลัง  (คุณก้อง    หาดใหญ่ เอื้อเฟื้อภาพ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


    ภาพที่ ๑๕.   เหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นแรก ด้านหน้า (คุณ หาดใหญ่ ชมรมคนรักษ์พระเครื่อง  เอื้อเฟื้อภาพ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


     ภาพที่ ๑๖.   เหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นแรก ด้านหลัง  (คุณ หาดใหญ่ ชมรมคนรักษ์พระเครื่อง  เอื้อเฟื้อภาพ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๑๗.   เหรียญห้าเหลี่ยมหลังจากรุ่นแรก ด้านหน้า  (ภาพของ คุณ พิฆเนศ www.uamulet.com )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


   ภาพที่ ๑๘.   เหรียญห้า เหลี่ยมหลังจากรุ่นแรก ด้านหลัง  (ภาพของ คุณ พิฆเนศ www.uamulet.com )

 

ต่อมาเหรียญรูปไข่ โลหะผสม ออกประมาณปี  ๐๖- ๑๐ไม่ทราบแน่นชัด ลักษณะตามปรากฏในรูปที่ ๑๙  ท่านใบฎีกาส้อง เจ้าอาวาสวัดแหลมวัง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพ่อท่านจันทร์มีเชื้อสายคนพัทลุง ร่วมกับคณะกรรมการวัดแหลมวังให้  ท่านปลัดอบ (ท่านพระครูปลัดอบ ประภัสโร) เป็นผู้ดำเนินการ เท่าที่รู้ปลุกเสกที่วัดแหลมวัง และมีพระเกจิอาจารย์สายพัทลุงมาปลุกเสกหลายองค์และหนึ่งองค์ที่มาร่วมด้วยคือ พ่อท่านหมุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                ภาพที่ ๑๙. เหรียญรูปไข่ด้านหน้า  (เอื้อเฟื้อภาพ โดย คุณ ก้อง หาดใหญ่)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒๐. เหรียญรูปไข่ด้านหลัง  (เอื้อเฟื้อภาพ โดย คุณ ก้อง หาดใหญ่)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒๑.  เหรียญรูปไข่ด้านหน้า  (เอื้อเฟื้อภาพ โดย คุณ ก้อง หาดใหญ่)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒๒.  เหรียญรูปไข่ด้านหลัง  (เอื้อเฟื้อภาพ โดย คุณ ก้อง หาดใหญ่)

 

 

สำหรับ เหรียญ รูปไข่และห้าเหลี่ยมแจกอีกครั้งในงานศพท่านส้องครับปี 2522 หลังจากนั้นมีเหรียญออกอีกหลายแบบในยุคหลังเช่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒๓.  เหรียญพ่อท่านจันทร์หน้าและพ่อท่านเพื่อมวัดคูขุดหลัง  ออก ปี ๒๕๒๔ (ไม่ได้ออกวัดแหลมวัง)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒๔. เหรียญรุ่นบุญสูงปี ๒๕๓๙ ด้านหน้า   ท่าน ดร. ไมตรี บุญสูง สร้างถวายและออกที่วัดแหลมวัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 ภาพที่ ๒๕. เหรียญรุ่นบุญสูงปี ๒๕๓๙ ด้านหลัง   ท่าน ดร. ไมตรี บุญสูง สร้างถวายและออกที่วัดแหลมวัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ ๒๖.  เหรียญสามเหลี่ยมเล็ก ออกปี ๒๕๓๗ ด้านหน้า   (ปลุกเสกวัดเขาตกน้ำ รัตภูมิ และ ออกวัดแหลมวัง)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ ๒๗. เหรียญสามเหลี่ยมเล็ก ออกปี ๒๕๓๗ ด้านหน้า   (ปลุกเสกวัดเขาตกน้ำ รัตภูมิ และ ออกวัดแหลมวัง)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ ๒๘. เหรียญ หน้าหลวงปู่ทวด หลังพ่อท่านจันทร์   ออก ปี ๒๕๒๐วัดพังเถียะ

 

 

 

 


    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ ๒๙. ผ้ายันต์พ่อท่าน ออกปี ๒๕๕๐วัดแหลมวัง   

 

 

รวมคอลเลคชั่น

 

 (ภาพเหล่านี้ได้จากการค้นหาทางอินเตอร์เนต ต้องขออนุญาตและขออภัยเจ้าของภาพที่ไม่สามารถเขียนชื่ออ้างอิงได้ เพราะไม่สามารถสืบค้นไปถึงข้อมูล อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขายหรือผลประโยชน์ส่วนตัวประการใด ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ เหล่านี้ล้วนแต่ทำเพื่อเผยแพร่บารมีพ่อท่านจันทร์และรวบรวมไว้เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลาเพียงประการเดียวเท่านั้น)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                             เหรียญรูปไข่  (เอื้อเฟื้อภาพ โดย คุณ ก้อง หาดใหญ่)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดสังเกตเปรียบเทียบของเหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นแรกและรุ่นหลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพซ้ายคือเหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นหลังเปรียบเทียบกับภาพขวาคือเหรียญห้าเหลี่ยมรุ่นแรก

 

 

 

กิตติกรรมประกาศ

                ข้อมูลที่นำมาเสนอนี้บางตอนมีหลักฐานอ้างอิง บางตอนได้จากคำบอกเล่าไม่ถูกต้องประการใดผมต้อง ขออภัยมา ณ ที่นี้อย่างสูงด้วย  และภาพบางภาพไม่สามารถติดต่อกับเจ้าของภาพเพื่อขออนุญาต จึงต้องขออภัยมาอย่างสูงสุด ด้วยจิตบริสุทธิ์และศรัทธาในองค์พ่อท่านจันทร์  หวังว่าท่านคงมอบอภัยทานที่เป็นทานที่สูงสุดแก่ผมซึ่งไม่มีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ใดๆจากการนำเสนอ แค่ขอเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมให้ประจักษ์เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลาสืบไป

จากจิตที่ล้วนศรัทธาพ่อท่านจันทร์อย่างหมดหัวใจ   แม้จะไม่เคยเจอท่านด้วยรูปกายของพวกเรา หากแม้รูปใจนั้นพวกเราได้เห็นและประจักษ์อยู่เสมอ และหวังว่าผู้ศรัทธาและศิษย์ทั้งหลายคงรู้สึกเหมือนกันทุกคน              จึงได้ส่ง แรงใจ รูปภาพ และข้อมูล ร่วมสนับสนุนและทำบุญร่วมกัน เช่น  คุณก้อง ขำสังข์ (ก้อง หาดใหญ่) มิตรแดนไกลผู้ยิ่งใหญ่ เลือดลูกหลานคน สงขลา  คุณกรุง สองเล ลูกหลานชาวแหลมวัง และคุณหาดใหญ่ ที่เคยให้ข้อแนะนำและข้อมูลต่างๆในเว็ปชมรมพระเครื่องเมืองลุง  ที่ขาดเสียไม่ได้คือ พี่ อ้น ระโนด  และเพื่อนๆชาวสมาชิก ชมรมคนรักพระเครื่องเมืองลุง    สมาชิกชมรมรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลา ชมรมคนรักพระเครื่องเมืองตรัง ทุกๆคนที่ได้ให้ความรู้และ แลกเปลี่ยน   ร่วมกันสร้างวิทยาทานร่วมกัน  เปรียบเหมือนหนึ่งครูและมิตร ผู้พรั่งพร้อมและถึงซึ่งพรหมวิหาร ๔ และ สังคหวัตถุ ๔ ประโยชน์อันใด ที่เกิดขึ้น    จากผลงานนี้ ขอท่านทั้งหลายจงได้รับร่วมกันให้บังเกิด ลาภ ยศ ความสุข ความเจริญ กันทุกท่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


“ จันทร์แจ่ม                          จิตจึง                                      จดจำ

  จริยะจารย์                            จริงจัง                                    จดจ้อง

 จารย์จาก                                จร-ใจ                                   จับจิต

จรัสจ้า                                    เจิดแจ้ง                                  จารย์จันทร์    “        

 

โปรดได้รับความขอบพระคุณจาก

วังเข้     ชายคลอง    (เจริญยุทธ  เดชวายุกุล)

วันครู…….๑๖  มกราคม   ๒๕๕๑ 

หาดใหญ่  สงขลา

 

หลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง


ภาพนี้คือปกหนังสืออนุสรณ์ที่แจกในงานพระราชทานเพลิงพ่อท่านจันทร์เมื่อ 15 พฤษภาคม 2497 เขียนโดยท่าน ป. นกแก้ว หรือ พระประสิทธิศีลคุณ ศิษย์ของพ่อท่าน เมื่อพศ. 2496 ขณะที่เป็นท่านเจ้าคุณอยู่ที่นั้น เนื้อหาตอนต้นเป็นประวัติย่อของพ่อท่านจันทร์ จะนำมาให้พี่น้องชมรมอ่านกันอ่าน ผมกำลังคัดหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาใหม่ให้กับทางวัด เพื่อแจกในงานสงกรานต์ปีหน้า (ถ้าทัน) ตามความตั้งใจที่เคยสัญญากับตัวเองและกับน้องก้อง หาดใหญ่ไว้น่าแล้ว เนื้อหาในหนังสือตอนท้ายเป็นกลอนธรรมที่ไพเราะมาก แต่ตอนี้จะนำเสนอเฉพาะประวัติพ่อท่านก่อนครับ ณ วัดประยุรวงศาวาส ธนบุรี
ตอนที่2ครับ การสร้างวัดแหลมวัง จากสภาพเดิมที่คล้ายโคก-โรงวัว ให้มีกุฏิ-โรงครัว-ศาลาโรงธรรมและ-พระอุโบสถขึ้นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาจนเป็นคนละสภาพย่อมได้รับการรับรองในความสามารถของท่านเป็นอย่างดี. ท่านมีนิสัยชอบพึ่งตัวเอง ทำงานเอง รักการทำงานที่ก้าวหน้าในด้านการก่อสร้าง มีฝีมือในการจักสาน และประดิษฐ์-คิดทำเครื่องใช้ได้เกือบทุกชนิด เป็นช่างไม้-ช่างปูน-ช่างปั้น-ช่างแกะสลัก-ฉลุ-เขียนลวดลายวิจิตรต่างๆ ออกความคิดในการทำอิฐ-เผาอิฐ. วัดแหลมวัง เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในทางฝีมือช่างมานาน ประชาชนชอบให้ลูกหลานไปบวช เพื่อจะได้เรียน-ฝึกหัดวิชา ปลูกเรือน ขุด-ต่อเรือ และวิชาอื่นๆ.
ในการประดิษฐ์เครื่องใช้นี้ เป็นที่น่าสังเกตอยู่บ้าง พ่อท่านคิดประดิษฐ์-ทำของใช้ได้หลายอย่าง เช่น จากลา-แมงดา ตรอง (กะชอน) เป็นต้น ซึ่งทำได้ด้วยความประณีต-สวยงามยิ่ง. พ่อท่าน ได้จัดสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัดหลังหนึ่ง-ใหญ่มาก มอบให้เป็นสถานการศึกษาของกุลบุตร และกุลธิดาแก่ทางการ ได้จัดสร้างสะพานข้ามคลองแหลมวัง เสาคอนกรีต ปูพื้นกระดานไม้เคี่ยม ซึ่งเป็นสะพานแห่งแรกสำหรับท้องที่-ที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงแข็งแรง-ให้วัวควายเดินข้ามได้. เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ นี้เอง ทางราชการได้ขอร้อง-มอบหมายเงินบำรุงท้องถิ่นจำนวนหนึ่ง ให้ท่านช่วยสร้างสะพานข้ามคลองบ้านพรวน ซึ่งเงินมีอยู่จำนวนน้อย ไม่พอสร้าง และหาคนสามารถควบคุมงานก่อสร้างให้สำเร็จได้ยาก แต่ท่านก็ได้สร้างสำเร็จไปแล้ว ท่านได้จัดการขุดสระน้ำใหญ่ขึ้นสระหนึ่ง ขังน้ำได้มาก ประชาชนได้ใช้กิน-ใช้อาบและ-เลี้ยงสัตว์พาหนะอย่างสะดวกสบาย เพราะท้องถิ่นนั้นกันดารน้ำ จึงเป็นที่ยินดีของประชาชนอย่างยิ่ง.
ตอนที่ 3 ครับ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ จนกระทั่งถึงมรณะภาพเป็นเวลาถึง ๒๘ ปี จึงมีศิษย์อยู่มากโดยทั่วไป ในเขตตำบลอันเป็นเขตปกครองของท่านได้เปิดสำนักเรียนสอบนักธรรมขึ้นถึง ๓ สำนัก ท่านได้สนใจ และเอาใจใส่ในการศึกษาของศิษย์อย่างดียิ่ง ได้จัดส่งศิษย์ไปศึกษาวิชาสามัญ-ชั้นสูงตามโรงเรียนรัฐบาลก็มาก ไปศึกษานักธรรม และภาษาบาลี จนสำเร็จเป็นเปรียญ และนักธรรมชั้นสูงในสำนักต่างๆก็มีไม่น้อย ย่อมแสดงถึงการปลูก-ฝังศิษย์ ด้วยการสงเคราะห์-อนุเคราะห์เกี่ยวกับอนาคตของชีวิต ให้เจริญก้าวหน้าในทางโลก และทางธรรมวินัยเป็นอย่างดี ภาระหนักที่ท่านแบกอยู่ ทั้งเวลาอาพาธ และก่อนมรณะภาพ คือ การสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และท่านได้ตั้งใจจะสร้างอย่างไว้ฝีมือจริงๆ ท่านเกิดมาเพื่องาน และมรณะภาพลงไป-ในขณะดำเนินงาน ทำงานจนสิ้นลมหายใจ ดัดเหล็กเองจนหมดกำลังจะดัด และสั่งงานสร้างพระอุโบสถ จนหมดเสียง-หมดลมปากจะสั่ง-พูดแผ่วจนฟังไม่ได้ยิน ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่บรรดาศิษย์จะต้องคิด-ต้องดำเนินงานเสริมสร้างต่อไปจนสำเร็จ การตอบแทน สนองบุญคุณ ของผู้ที่มีพระคุณนั้น ไม่เฉพาะต่อกับพ่อท่าน แม้กับผู้มีพระคุณอื่นๆ ก็ควรทำให้เสมอกัน ไม่ควรคิดทำเพียงผักชีโรยหน้า-ชั่วครั้งชั่วคราว พอเป็นพิธีให้เอิกเกริกเท่านั้น บุญกุศลและความดี ย่อมอยู่ที่การกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำให้มาก-ทำบ่อยๆ-ทำเสมอต้นเสมอปลาย. พ่อท่านได้ป่วยเป็นโรคชรา-กระเสาะกระแสะมาเป็นเวลานาน ซึ่งท่านได้เรียกมันว่าโรคเวรโรคกรรม เพราะรักษาไม่ถูก-ไม่หายสักที เวลาอาการกำเริบขึ้น ท่านก็หยุดทำงาน พอค่อยทุเลาลง ท่านก็ทำงานของท่านต่อไป ในมี่สุดท่านก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความเป็นธรรมดาของสังขาร และพวดเราทุกคน ก็ต้องแพ้มันเหมือนกัน แล้วก็ม้วนเสื่อกลับบ้านเก่ากัน. ท่านได้ถึงมรณะภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๙๕ ด้วยอาการสงบอันดี รวมชนมายุของท่านได้ยังไม่เต็ม ๗๖ ปีบริบูรณ์.
ร่างกาย ซึ่งต้องแก่-ตายของท่าน ได้ตายไปแล้ว แต่ชื่อเสียงแห่งคุณงาน-ความดีอันเป็นนามธรรมของท่านยังคงเหลือ ยังให้ความสุขแก่ประชาชนอยู่ตลอดไป. ความสามัคคีกันในระหว่างศิษย์ ด้วยการไม่เบียดเบียน-ทำร้ายกัน ไม่ลักทรัพย์-ฉ้อโกงกันเอง ไม่รังแกหัวใจด้วยการทำกับคนรัก-นับถือกัน ไม่เมาเหล้า-เป็นพาล-เกะกะ-เกเรข่มเหงกันเองให้เดือดร้อน ให้รู้จักศิษย์อาจารย์เดียวกัน ต้องเป็นความประสงค์ของพ่อท่านยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ซึ่งจะทำให้วิญญาณอันบริสุทธิ์ของท่านในสัมปรายิกภพหายห่วง-มีความสุข ถ้าใครทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม แน่ละ ! ต้องเป็นคนอกตัญญูต่อท่านอย่างแน่นอน. ด้วย "เส้นหมึก” อันไหลจาก "หยดหมึก” มาปรากฏเป็นตัวหนังสือของฉัน ฉันขอถือเป็นน้ำหวานในดอกไม้อันใสบริสุทธิ์ จากแอ่งน้อยนิดแห่งกลุ่มเกษรดอกไม้ของหัวใจ สำหรับสรงน้ำศพ และเป็นสักการะอันมีค่าสูง ขอให้เป็นเครื่อง "อธิษฐานจิตสำหรับส่งดวงวิญญาณของท่านสู่ที่สุข-จนถึงวิมุตติสุขทุกประการเทอญ.
ตอนจบครับ
ธูป-เทียนแพ-ดอกไม้จันทร์
กว่าจะปลงใจตก ก็ทำให้ครุ่นคิดอยู่นาน ทุกคน ที่มาในงานพระราชทานเพลิงศพของพ่อท่าน ทางฝ่ายวัด จะต้องจัดเลี้ยงอาหารคาว-หวาน อย่างอิ่มหนำ-สำราญ ตามอัธยาศัยของเจ้าของถิ่น ซึ่งมีปรกติใจกว้างขวางโอบอ้อมอารีอยู่แล้ว ฉัน ผู้เป็นศิษย์ของพ่อท่านคนหนึ่ง แม้จะไปอยู่ต่างถิ่นเสียนาน แต่เพาะเกิดบ้านฉาง ก็ยังคงเป็นเจ้าของถิ่นอยู่เหมือนกัน ก็ต้องมีอะไรต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มุ่งหน้ามาถวายสักการะศพของท่าน-พระอุปัชฌายะของตังบ้าง เมื่อทำอาหารคาว-หวานไม่เป็นกับเขา ก็ต้องมีอาหารเลี้ยงกับเขาบ้างเหมือนกัน จึงจะไม่เป็นคนใจจืด- - เอ ! ทำอะไรดี-ที่กินแล้ว อิ่มทน-กินไม่รู้จักหมด กินไปได้นาน-ถูกรสนิยมเป็นที่ชื่นชอบของพี่น้องชาวปักต์ใต้เรา ก็ได้คิดถึงพระพุทธภาสิต-ขึ้นมาได้- สัพพะ ระสัง ธัมมะระโส ชินาติ รสแห่งธรรม ชำนะสิ่งมีรสอร่อยทั้งหมด รสอร่อยอย่างอื่น กินแล้ว เอาน้ำกลั้วคอ รสหายไป กินแล้วหิว-หิว ต้องกินกันใหม่อีก-ไม่สิ้นสุด ทั้งมีรสนิยมต่างๆกัน ลิ้นหนึ่ง ก็ชอบรสอย่างหนึ่ง จึงมักทะเลาะกันเรื่องกินบ่อยๆ- จึงตกลงใจ พิมพ์หนังสือที่เป็นสุภาษิต คือ "เสียงสำนึก” ของ "ป นกแก้ว" เล่มที่ท่านกำลังถืออ่านอยู่นี้ แจกเป็นอาหารใจ กินกันให้ทั่วถึง เพราะพี่น้องชาวปักต์ใต้ของเรา มีนิสัยเป็นจินตกวี-เจ้าบทเจ้ากลอน คิดว่าคงเป็นที่พอใจกันทุกคน จะได้อาศัยความพอใจทุกดวงใจ-จากทุกคน ส่งความสุขไปให้แก่พ่อท่าน เพื่อความอุดม-สมบูรณ์ตามคติภพของท่านทุกประการ. พ่อท่าน ได้มีบุญคุณกับฉันมาก ยิ่งคิด ก็ยิ่งเห็น เมื่อปี ๒๔๙๕ ฉันพ้อมด้วยคณะสามัคคีพุทธบริษัทวัดประยุรวงศ์-กรุงเทพฯ-ธนฯ ได้มาทอดกฐินที่วัดแหลมวังวันจะกลับ ตอนเช้ามืด ได้เข้าไปกราบเท้า-ลาท่าน ถึงในห้องนอน เวลาจะถอยกลับ ได้ยินเสียงแผ่วเบา-กระเส่า-ด้วยความกังวล ตามออกมาด้วย- “ผม-ขอ-ฝาก-โบสถ์--ด้วย--.” ทำให้ใจของฉันเศร้า และรู้สึกว่า ได้รับภาระ ที่ท่านปลดออกจากบ่าของท่านแล้วส่งให้ฉัน ซึ่งฉันคิดว่า จะต้องเป็นหน้าที่ในการต้องร่วมมือกับบรรดาศิษย์ทุกคน ดำเนินการสร้างพระอุโบสถของท่านไปตามกำลัง เราจะต้องร่วมมือ-ร่วมแรงกัน แรงช้างก็จูงลากไปตามกำลังช้าง แรงมด ก็ขนไปอย่างมด งานจึงจะสำเร็จลงได้ ฉันจึงขอบอกกล่าวให้ทราบทั่วกันด้วย. เพราะต้องการจะรักษาประวัติของหนังสือเรื่องนี้ไว้ จึงได้คงบทความต่างๆ ที่เคยพิมพ์มาแล้ว-ไว้ด้วย และในการพิมพ์ครั้งนี้ ก็ได้แก้ไข-ปรับปรุง ถ้อยคำของกลอน ให้สละสลวยขึ้นบ้าง ตามเวลาที่อำนวยให้ ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก. ส่วนทุนในการพิมพ์ ได้ใช้เงินบางส่วน ที่เหลือจากการทอดกฐิน ของคณะสามัคคีพุทธบริษัท วัดประยุรวงศ์-กรุงเทพฯ-ธนฯ ซึ่งมาทอดที่วัดแหลมวังนี้ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๙๖ นั้น อันเป็นเงินส่วนค่าพาหนะ ในการเดินทางของคณะ และเจ้าของเรือ "สุวรรณแสง” กับเรือ "แสนสมบูรณ์” ไม่ยอมรับค่าเรือ โดยคิดช่วยเหลือเป็นการอนุโมทนาในการกุศลครั้งนั้นด้วย จึงเป็นทุนของเจ้าของเรือทั้งสองลำนั้นด้วย ฉันเอง เป็นผู้ออกเพิ่มเติมที่ขาด-ให้พอ ทุกๆฝ่าย จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ "วิทยาทาน” นี้ด้วยกัน จึงขออนุโมทนาไว้ในที่นี้ด้วย. ขอขอบคุณในการสงเคราะห์ของคุณ อุบล เปล่งวานิชย์ เจ้าของโรงพิมพ์ "ห้างสมุด” พระนครฯ ซึ่งคิดราคาพิมพ์เป็นการลดพิเศษ ให้เป็นการเบาใจตามเคย. ขออนุโมทนา ต่อความเอื้อเฟื้อของคุณฯทองพูน แห่งบริษัทโยคี-ทองพูน สพานหัน พระนครฯ ที่ได้เฉลี่ยค่าโฆษณา มาเผื่อแผ่ ช่วยเหลือค่าพิมพ์ให้สำเร็จเป็นเล่มหนังสือขึ้นอย่างสมบูรณ์ด้วย. ในการบำเพ็ญกุศล เนื่องด้วย "ทักษิณา” อุทิศ ในการพระราชทานเพลิงศพของพ่อท่านครั้งนี้ ทั้งบรรดาศิษย์ และประชาชน ที่มีความนับถือ และเลื่อมใสในท่าน ได้พร้องใจกันมาสักการะศพ และบริจาคทรัพย์ บำเพ็ญกุศลอุทิศกันอย่างคับคั่ง ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงเป็นที่ปลาบปลื้มใจของคณะกรรมการจัดงานเป็นอย่างยิ่ง บุญกุศลนั้นๆ ย่อมสำเร็จความประสงค์ตามเจตนาอุทิศ โดยสมควร. ไม่ใช่เพียงในฐานะที่พ่อท่านเป็นพระภิกษุผู้เฒ่า ในพระบวรพุทธศาสนาแต่อย่างเดียวที่ทำให้ท่านเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ-นับถือและ-เลื่อมใสของบรรดาศิษย์ และประชาชนโดยทั่วไปเท่านั้น แต่พวกเขาได้เคารพนับถือท่าน ในฐานะของผู้ทรงคุณวิเศษอันขลัง และศักดิ์สิทธิ์ เหมือนเทพเจ้าด้วย จึงมีการบลบาน ของความคุ้มครองปลดเปลื้องความทุกข์ ยาก-ลำบาก-แก้ความขัดข้องในการงาน และเรื่องต่างๆด้วย และเป็นการขออารักษา ตามฐานะที่ได้เคยเชื่อถือสืบๆกันมาด้วย. จึง ถึงแม้ว่า ศพของท่านจะได้ถูกเผาไปแล้ว เหลือแต่อัฐิธาตุ และความขลัง-ศักดิ์สิทธิ์แห่งคุณวิเศษนั้น จะยังคงเหลือให้เป็นที่อุ่นใจ ในการเรียกร้องขอความช่วยเหลือของประชาชนสืบไปอีก-ชั่วกาลนานด้วย. ด้วยอำนาจบุญ-กุศลทุกๆประการ ที่ทุกๆคนได้กระทำไปด้วยการบูชาคุณ อันเกิดจากความสำนึกแห่งความกตัญญูกตเวทีครั้งนี้ ขอจงเป็นพาหะและเครื่องอุปกรณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์-เกิดเกื้อกูลแก่ความสุข แด่พ่อท่าน ตามคตินิยม ตามความปรารถนาทุกประการเทอญ.
พระประสิทธิศีลคุณ
วัดประยุรวงศ ฯ ธน ฯ
๑ เมษายน ๒๔๙๖
ข้อมูลจากคุณ วังเข้
เหรียญรุ่นแรก