หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ร้านคนเมืองลุง จตุจักร
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 107 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ร้านคนเมืองลุง จตุจักร

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ร้านคนเมืองลุง จตุจักร
ชื่อเจ้าของ สมใจ ขุนปราบ (ใจ เขาแดงออก)
รายละเอียด สว้สดีครับยินดีต้อนรับสู่ร้านคนเมืองลุง เป็นร้านเกิดจากความชอบและศรัทธาพระเครื่องจึงเกิดการสะสมเน้นพระแท้ดูง่ายเน้นความรับผิดชอบ ยินดีให้คำปรึกษาและจัดหาพระเครื่องภาคใต้ทุกชนิด สายตรงพ่อท่านหมุนวัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง ดูเครื่องหนัง ทุกชนิด พิมพ์ www.khonmuanglung.com
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันพระแท้ตลอดชีพ100% หรือเก้คืนเงินเต็ม (พระต้องอยู่ในสภาพเดิม) ภายใน 3 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 %
ที่อยู่ 14/7 หมู่1 ต.คลอง3 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
เบอร์ที่ติดต่อ 0890236449/02-5041245 (ใจเขาแดงออก)
E-mail ei3ola_boy@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2554 วันหมดอายุ 01-09-2567

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กรุงเทพ จตุจักร
นายสมใจ ขุนปราบ
2090785987
ออมทรัพย์
ไทยพานิชย์ สีลม
นายสมใจ ขุนปราบ
 065-250460-4
ออมทรัพย์

ร้านคนเมืองลุง จตุจักร

จำหน่ายพระเครื่องและเครื่องหนังทุกขนิด โครงการ 11 ฃอย 12/10 แผงค้าที่ 271, 272 และ 284


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองใต้ทั่วไป
พระเนื้อว่านหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ ปี2505 สุราษฎร์ธานี
08-08-2555 เข้าชม : 22988 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระเนื้อว่านหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ ปี2505 สุราษฎร์ธานี
[ รายละเอียด ] พระเนื้อว่านหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ ปี2505 สุราษฎร์ธานี หลวงพ่อพัฒน์อุปสมบทและจำพรรษาที่วัดพระโยคหลายพรรษา จนถึงปี ๒๔๓๙ หลังจากกลับจากธุดงค์กับพระอาจารย์สุข ก็สร้างวัดขึ้นใหม่ ชาวบ้านเรียก "วัดใหม่" หลวงพ่อสร้างวัดบริเวณที่ดินร้างด้านหลังป่าช้าวัดพระโยค ซึ่งยังเป็นป่ารกทึบ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เสือ ลิง ค่าง งูพิษ หนูป่า โดยท่านได้ชักชวนชาวบ้าน ญาติมิตร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมแรงร่วมใจกันตัดต้นไม้ ถางพงหญ้า ขนดินขนทรายมาสร้างเป็นบริเวณวัด อำนวย ศรีขจร "สัมภาษณ์, ๒ มีนาคม ๒๕๔๖) หลานชายหลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ เล่าว่า "ผู้ใหญ่ทับ ม่วงทอง เกณฑ์คนจากสะบ้าย้อย คลองฉนาก มาขุดสระให้หลวงพ่อพัฒน์สร้างวัด ถมดิน ทำโบสถ์"ภิญโญ เพ็ญจันทร์ (สัมภาษณ์, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕) อดีตรักษาการเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ วัดพัฒนาราม หรือ พระภิญโญ ฐิตฺตวณฺ บอกนางบงกช ทิพย์สุวรรณว่า "ที่วัดใหม่คล้ายมีดโต้ สันมีดอยู่โรงพยาบาลบ้านดอน คมมีดอยู่โรงเรียนอนุบาล ด้ามมีดอยู่ป่าช้า" ป่าช้าดังกล่าวคือที่ ที่หลวงพ่อพัฒน์ มาอยู่ในบั้นปลายชีวิตและนั่งสมาธิมรณภาพส่วนโรงเรียนอนุบาล เดิมชื่อโรงเรียนอนุบาลห้องเก่า ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น?มหาวิทยาลัยสงฆ์หลวงพ่อเจียว (สัมภาษณ์, ๒๑ มกราคม ๒๕๔๔) น้องชายหลวงพ่อพัฒน์ ถ่ายทอดให้สามเณรบุญเที่ยง กิ้มฉุ้น บุญยงค์ พัฒนพงศ์ เรื่องการสร้างวัดของหลวงพ่อพัฒน์ว่ามีชาวบ้านญาติพี่น้องมาช่วยลงแรงกัน ญาติๆ ก็มีแม่หีด แป๊ะแก้ว แป๊ะแดง แป๊ะเพชรนายโคน พระประสารศุภชา ส่งเงินมาช่วยจากบางกอก คนสนิทก็มีนายฉ้วน แซ่อ๋อง กับนายจ้วน แซ่เจ้ง เกลอของหลวงพ่อพัฒน์ นางเนี่ยว ชั้ววัลลี นางหนูถิ่น ถาวรสุข ช่วยถางหญ้า หาไม้มาสร้างศาลาชั่วคราว แม่ชีมาร่วมหลายคน มีแม่ชีโบ้ว แม่ชีนก แม่ชีดำชาวโพธิ์หวาย ผู้คนมากันหลายสาย จากสะบ้าย้อย โพธิ์หวาย บางโจร น้ำรอบ ท่าฉางบางขาม เกาะสมุย เกาะพะงัน ทั้งคนไทย คนจีน ช่วยแรง ช่วยปัจจัย ที่เป็นช่างก็ช่วยก่อสร้าง ทั้งคนทั้งช้างพร้อมเพรียงกันช่วยหลวงพ่อ ด้วยความศรัทธา" นายบุญยงค์ พัฒนพงศ์ ค่อยๆ ลำดับความถ่ายทอดให้ผู้วิจัยด้วยการรำลึกถึงอย่างแม่นยำรายงานพระสงฆ์จัดการศึกษามณฑลชุมพร ร.ศ.๑๑๘ บันทึกไว้ว่า "พระพัฒน์ เจ้าอธิการเป็นผู้สามารถ แลเป็นที่นิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นภิกษุหนุ่มก็สามารถสร้างวัดขึ้นใหม่ได้สำเร็จ รู้จักเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "วัดใหม่"แผ่นโลหะจารึกที่ฝาผนังมณฑปซึ่งประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์จารึกไว้ว่า "ปีวอก อัฐศกเดือน ๖ ท่านอธิการภัฒร์ นารทะ ได้ชักชวนผู้มีศรัทธาคิดก่อสร้างอารามนี้ เมื่อปีจอ สัมฤทธิศก เดือน ๖ ได้ยกอุโบสถจนสำเร็จ ครั้งถึงปีฉลู ตรีศก เดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ พระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๒๔๔๔ ได้ผูกพัทธสีมาได้สำเร็จบริบูรณ์ แม่ศิลาพร้อมด้วยแม่แก้วลูกสะใภ้ ภรรยาพระยาวาจี (ขำ) ชาวเมืองชุมพร ได้ถวายช้างพลายควน ๑ เชือก เป็นพาหนะสำหรับอารามนี้ รวมการก่อสร้างอุโบสถนี้ คิดเป็นเงินตราหมื่นบาทเศษ ๑๐๐๐๐ เศษ ขอกุศลที่เกิดจากการก่อสร้างนี้ จงเป็น ผลสำเร็จแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และพระมหากษัตริย์ผู้ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวร และบิดามารดาและหมู่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ทั้งประชุมชนพร้อมทั้งฝ่ายสมณะและคฤหัสถ์ผู้จะได้ปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างขึ้นใหม่ต่อไป ณ ภายหลังขอเป็นอุปนิสัยปัจจัยแด่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น เทอญอนึ่ง จากหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพพระศรีปริยัตโยดม (จันทร์ เขมจารี ป.ธ.๙) เขียนไว้ว่า "ปีจอ สัมฤทธิศก ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๑ หลักฐานของทางวัดใหม่บันทึกว่า หลวงพ่อพัฒน์ ได้เริ่มสร้างวัดใหม่ เมื่อเดือน ๖ ปีวอก อัฐศก ๒๔๓๙"จึงพอจะวิเคราะห์ได้ว่า วัดใหม่เริ่มสร้างเมื่อเดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๔๓๙ เริ่มก่อสร้างอุโบสถเดือน ๖ ปีจอ พ.ศ.๒๔๔๑ สร้างสำเร็จและผูกพัทธสีมาเมื่อเดือน ๖ ปีฉลูพ.ศ.๒๔๔๔ โดยในการสร้างวัดครั้งนี้?มีผู้ถวายช้างมาช่วยในการก่อสร้างด้วยการที่นางศิลา นางแก้ว ลูกสะใภ้และภรรยาพระยาวาจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)ถวายช้างให้ แสดงว่าหลวงพ่อเป็นที่ศรัทธานับถือ เพราะสมัยนั้นวัฒนธรรมความเชื่อของคนไทย ถือว่าช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญ โดยเฉพาะถ้ามีช้างเผือกเกิดขึ้นในแผ่นดินใด?แสดงถึง?บุญญาธิการและพระบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นประจง เรืองณรงค์ (๒๕๔๕,๒๐) เล่าไว้ในหนังสือเรื่องเล่าจากแม่ว่า "ตาหลวงพัฒน์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่สร้างวัดใหม่ หรือวัดพัฒนารามตรงตลาดล่าง แม่ยังจำครั้งตาหลวงพัฒน์สร้างวัดได้ เช่น เห็นช้างชักลากไม้ซุงมาทำเสาและกระดานแผ่นโตๆ มีชาวบ้านมาช่วยกันสร้างจนเสร็จเรียบร้อย ช้างของตาหลวงพัฒน์นั้น แม่ยังจำได้ว่า ท่านตั้งชื่อว่า "พลายสมบุญ"สำหรับช้างพลายสมบุญนี้ จากหลักฐานเอกสาร และคำบอกเล่าของผู้รู้ รวมทั้งแผ่นจารึกในมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ได้ข้อมูล ดังนี้แผ่นโลหะจารึกในมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ บันทึกไว้ว่า "พระภัฒร์เจ้าอธิการฝากช้างไว้กับแม่หีด บุตรแม่หีด พระภิกษุเอาช้างทำการสงฆ์ ไม่ให้ขอศาลบังคับช้างทำการสงฆ์เสร็จฝากบุตรแม่หีดตามเดิม วินัย พัฒนพงศ์ (สัมภาษณ์ ๔ มีนาคม ๒๕๔๖) หลานชายหลวงพ่อพัฒน์เล่าว่า "ตาหลวงพัฒน์สร้างวัดเสร็จ จนมีโบสถ์ หอระฆัง โรงครัวที่ทำเป็นโรงพยาบาล และกุฏิ แล้วจึงมอบช้างพลายสมบุญ ให้เตี่ยไปช่วยทำเหมืองที่พะโต๊ะ ชุมพร" เตี่ยที่นาย วินัยกล่าวถึง คือ นายบุญให้ พัฒนพงศ์ บุตรชายนางหีด?พี่สาวของหลวงพ่อพัฒน์คำบอกเล่าของวินัยตรงกับแผ่นโลหะจารึกในมณฑปที่จารึกว่า "พระภัฒร์ เจ้าอธิการฝากช้างไว้กับแม่หีด บุตรแม่หีด"แม่ชีบุญลาภ พัฒนพงศ์ สัมภาษณ์ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๔) เล่าว่า "พลายสมบุญล้ม (ตาย) เนื่องจากถูกช้างป่า ทำร้ายตอนที่ควาญนำไปช่วยชาวบ้านลากซุงในป่า หลวงพ่อพัฒน์ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดศพช้าง และต้องใช้เวลาเผาศพถึง ๓ วัน ๓ คืนจึงไหม้หมดแล้วเอากระดูกพลายสมบุญที่เหลือฝังไว้ใต้ดินบริเวณที่เผาศพนั่นเองอนึ่ง เกี่ยวกับชื่อวัดนั้น หลวงพ่อพัฒน์ ได้ตั้งชื่อไว้ในแผ่นโลหะจารึกว่า "วัดภัฒร์เฉลิมไช" แต่ไม่มีผู้ใดเรียกขานชื่อนี้ ชาวบ้านเรียกชื่อ วัดใหม่ จนกระทั่งประมาณปี๒๔๗๙ นายบุญยงค์ พัฒนพงศ์ ได้ขอให้ท่านเจ้าคุณภัทรมุนี (มหาอิ๋น ป.ธ.๙) รองเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชาวตำบลบางใบไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งชื่อวัดให้ใหม่จาก "วัดใหม่" เป็นวัด "พัฒนาราม" มาจากคำว่า พัฒนะ กับ อาราม แปลว่าวัดที่เจริญรุ่งเรือง พร้อมกันนี้ ท่านเจ้าคุณได้ตั้งชื่อสกุล เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัด จากสกุลเดิม "กิมฉุ้น" เป็น "พัฒนพงศ์"วัดพัฒนาราม นอกจากจะเป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาของชาวสุราษฎร์ธานี และเป็นโรงพยาบาลแผนโบราณแห่งแรกแล้ว ยังเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ดังเอกสารที่ กวี รังสิวรารักษ์ ได้ค้นคว้ารวบรวมเขียนไว้ในหนังสือ ๓อภิญญา ศรีวิชัยว่า (กวี รังสิวรารักษ์ ๒๕๔๓, ๓๑๘)"วัดใหม่ เป็นวัดที่ทางราชการเลือกใช้เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาดังความในหนังสือที่ ๔๒๘๘ ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) ของพระศรีสมโพธิ์ เจ้าคณะมณฑลชุมพร ตอนหนึ่งว่า "ฉันเพลแล้ว เข้ากระบวนแห่พระบรมรูปทางบกมาวัดใหม่ (วัดที่ถือน้ำ) เชิญพระบรมรูปประดิษฐานไว้ในอุโบสถกับธรรมาสน์ที่พระราชทานหนังสือประวัติพ่อหลวงเจียว พัฒนพงศ์ เขียนไว้ว่า "นายเจียวเป็นครูคนแรกของโรงเรียนสุพรรณดิตถ์พิทยา แขวงบ้านดอน ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ตั้งอยู่ที่วัดพัฒนาราม (วัดใหม)่ เมืองสุราษฎร์ธานีราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ หน้า ๓๓๔ บันทึกว่า วัดใหม่ควรตั้งโรงเรียนหลวงได้ เพราะพระพัฒน์เจ้าอธิการ เป็นผู้สามารถ และเป็นที่นิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้ พระเจียวน้องของเจ้าอธิการได้เคยเข้ามาศึกษาวิชาหนังสือไทยในกรุงเทพฯ เธอ ได้คิดจัดตั้งการสอนมาได้ ๒ ปีแล้ว"จากเอกสารดังกล่าว ยืนยันว่า วัดใหม่เป็นที่ตั้งสถานศึกษาแห่งแรกของทางราชการที่เรียกว่า โรงเรียนหลวงด้วย ข้อมูลประวัติ เกิด วันพุธ เดือน 6 ปีฉลู พ.ศ. 2405 ณ บ้านตลาด บ้านดอน อ.เมือง สุราษฎร์ธานี เป็นบุตรของนายฉุ้น นางเนียม พัฒน์พงศ์ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพระโยค ปี 2430 มรณภาพ วันที่ 11 กรกฎาคม 2485 เวลา 08.43 น. รวมสิริอายุ 80 ปี 56 พรรษา หลวงพ่อพัฒน์ นารโท ปฐมเจ้าอาวาสวัดใหม่ หรือวัดพัฒนาราม บ้านดอน (อำเภอ เมือง) สุราษฎร์ธานี เป็นพระภิกษุสงฆ์อีกท่านหนึ่งที่แม้ได้ละทิ้งเบญจขันธ์ไปแล้ว แต่ก็ ยังคงสถิตอยู่ในความเคารพศรัทธาของมหาชนมาเนื่องนาน ตราบกระทั่งปัจจุบัน ท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๖ ปีจอ พ.ศ.๒๔๐๕ ร.ศ.๘๑ ในปีที่ ๑๒ แห่งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ณ ตลาดบ้านดอน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โยมบิดาของท่านชื่อ ฉุ้น โยมมารดา ชื่อ เนียม บิดาของท่านเป็นชาวบ้านดอน ส่วนโยมมารดาเป็นชาวเกาะพะงัน มีพี่น้องร่วมอุทร บิดา มารดาเดียวกัน ๗ คน หลวงพ่อเป็นคนที่ ๕ ครั้งมีพระราชบัญญัติขนานนามสกุล (ขณะท่านอยู่ในเพศบรรพชิต แล้ว) ญาติพี่น้องของท่านใช้ชื่อสกุลว่า "พัฒนพงศ์" เมื่อเยาว์วัย ได้ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ผ่อง แห่งวัดพระโยคศึกษาเล่าเรียน ตาม เนื้อหาวิชาซึ่งเป็นที่นิยม ศึกษาสืบทอดกันอยู่ในยุคสมัยนั้นตามควรแก่วัยและตาม ภูมิพื้นความรู้ของผู้เป็นอาจารย์ท่านผู้สอน อุปสมบท กล่าวกันว่า เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ท่านก็ได้ทำการสมรสกับนางละม่อมอยู่กินกัน หลายปี แล้วมีเหตุบางประการ ทำให้ท่านต้องบรรพชาอุปสมบท ในระหว่างที่หลวงพ่อบวชอยู่นั้น นางละม่อม ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ได้คลอดบุตร ออกมาเป็นหญิง แต่ถึงแก่กรรมภายหลังคลอดได้ไม่นานนัก ทำให้ท่านตัดสินใจไม่ ยอมลาสิกขา คงครองเพศสมณะอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์เรื่อยมา สำหรับสาเหตุที่ท่านได้อุปสมบท ขณะภรรยากำลังตั้งครรภ์นั้น บ้างว่า เพราะ ความตระหนักรู้เลื่อมใสในหนทางอริยมรรคเกิดความเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย แต่ บ้างก็ว่าเพราะเหตุผลทางประเพณีหรือความเชื่อ เช่น การบวชหน้าไฟ (ในงานศพ บุพการี) หรือการบนบวช เป็นต้น ครั้นเกิดเหตุบุตรที่เพิ่งคลอดเสียชีวิต ประกอบกับการได้หยั่งถึงสัมผัสรับรู้ใน ความสงบเย็น สว่าง และสะอาดของร่มกาสาวพัสตร์อันมีความเป็นสัปปายะเปี่ยม เหตุปัจจัยที่ เอื้ออำนวยเกื้อกูลสนับสนุนโอกาสแห่งความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในทางธรรม จึงทำให้ท่านไม่คิดลาสิกขา คงอยู่ในเพศบรรพชิตต่อไปโดยไม่มีกำหนด หลังจากล่วงเลยเวลาที่ควรลาสิกขาไปนานเข้า นางละม่อมผู้ภรรยาก็ได้ปรารภ กับหลวงพ่อ ขอให้ท่านสละเพศบรรพชิต ออกไปครองเรือนใช้ชีวิตครอบครัวดังเดิม แต่หลวงพ่อได้ปฏิเสธ พร้อมกับแจ้งให้ทราบถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จักอยู่ในสมณ เพศต่อไปแบบไม่มีกำหนด หลายปีต่อมา นางละม่อม ก็ได้แต่งงานใหม่ โดยความอนุโมทนาอันดีของหลวง พ่อเพราะเป็นการช่วยปลดเปลื้องห่วงผูกพันให้แก่ท่านอย่างสิ้นเชิง ในการอุปสมบทของหลวงพ่อพัฒน์นั้น ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ใน พ.ศ .๒๔๓๐ ณ อุโบสถวัดพระโยค โดยมีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าคณะเมืองกาญจนดิษฐ์ เจ้าอธิการวัดโพธิ์ ตำบลบ้านตลาดบน (ยึดถือตามรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ.๑๑๙) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ (ภายหลังเป็นที่พระครูวิธูรธรรมสาส์น) เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ว่า "นารโท" บวชแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา สร้างวัด เมื่อมีอายุพรรษามากขึ้น หลวงพ่อพัฒน์ก็ได้บุกเบิกสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกแห่งหนึ่ง กล่าวกันว่า ที่ดินที่หลวงพ่อพัฒน์ใช้เป็นสถานที่สร้างวัดนั้น แต่เดิมเป็นเขตป่าช้าของ วัดพระโยค ด้วยพรรษากาลที่ไม่ถึงสิบพรรษาและด้วยปัจจัยที่ท่านมีอยู่เพียง ๖ บาท เมื่อครั้ง แรกเริ่มสร้างวัด แต่ด้วยบารมี ผลานิสงฆ์อันท่านได้เคยสร้างสมมา ประกอบกับความ เป็นผู้มุ่งมั่น มีปณิธาน และเป็นที่นิยมนับถือของราษฎร ดังที่ "รายงานพระสงฆ์จัดการ ศึกษามณฑลชุมพร ร.ศ.๑๑๘" กล่าวว่า "พระพัฒน์เจ้าอธิการเปนผู้สามารถ แลเปนที่ นิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้" (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ แผ่นที่ ๒๕ วันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ.๑๑๘ หน้า ๓๓๔) หลวงพ่อพัฒน์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นภิกษุหนุ่ม ก็สามารถ สร้างวัดขึ้นใหม่ได้สำเร็จ รู้จักเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "วัดใหม่" (ชื่อวัดว่า "วัดใหม่" นี้ คงใช้อยู่ตลอดสมัยของหลวงพ่อพัฒน์ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ได้มีการเปลี่ยนชื่อ วัดเพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่านผู้สร้างว่า "วัดพัฒนาราม") ปีที่หลวงพ่อพัฒน์ นารโท เริ่มต้นสร้างวัดประมาณได้ว่า ไม่หลังจาก พ.ศ.๒๔๔๐ (ร.ศ.๑๑๖) อย่างแน่นอน ทั้งน่าเชื่อว่า อาจจะเริ่มก่อสร้างเสนาสนะก่อตั้งวัดก่อนหน้า ร.ศ.๑๑๖ หรือ พ.ศ.๒๔๔๐ อีกด้วย เนื่องจากปี ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) นั้น เป็นปีที่หลวงพ่อพัฒน์ได้เริ่มสร้างอุโบสถ จนกระทั่งแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ครบถ้วนในปี ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) ดังมีรายละเอียด อยู่ในหนังสือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๔๖๓/๘๓๘๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๓ รหัสไมโครฟิลม์ ม ร ๕ ศ/๓๐ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) แต่หลักฐานของทางวัดใหม่ (วัดพัฒนาราม) ระบุว่า "เมื่อปีจอสำเร็จธิศก เดือน ๖ ได้ยกอุโบสถจนสำเร็จ" (ปีจอ สัมฤทธิศกตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๑) ทั้งยังกล่าวว่าหลวงพ่อ พัฒน์ได้เริ่มสร้างวัดใหม่เมื่อเดือน ๖ ปีวอก อัฐศก พ.ศ.๒๔๓๙ วิสุงคามสีมา หลวงพ่อพัฒน์ได้ก่อตั้งและสร้างวัดใหม่สำเร็จถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับพระ บรมราชานุญาตให้จัดการคณะส่วนปกครองของสงฆ์ ร.ศ.๑๑๘ (ภายหลังปรับเปลี่ยนเป็น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑) ที่จำแนกวัดเป็น ๒ แผนก คือ วัด ที่มีวิสุงคามสีมา เป็นวัดแท้ไม่มีวิสุงคามสีมา เป็นแต่วัดพำนัก (โดยวัดแท้ มีหัวหน้า ปกครองเป็นเจ้าอธิการ วัดพำนักเป็นหัววัด) ตั้งแต่ปี ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓) เพราะว่าวัดที่หลวงพ่อพัฒน์สร้างใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ทำให้มีสถาน ภาพเป็นวัดแท้ หรือเป็นวัดโดยสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ของคณะสงฆ์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ.๑๑๙ โดยเขตวิสุงคามสีมา มีความกว้าง ๘ วา ๓ ศอก ยาว ๑๒ วา ๓ ศอก ตามประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๘ แผ่นที่ ๑๑ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) หน้า ๑๔๐ อนึ่ง หลักฐานของทางวัดพัฒนารามระบุว่า ได้ผูกพัทธสีมาสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อปีฉลู ตรีศก เดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ ใน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๔ นอกจากนี้ หลวงพ่อพัฒน์ยังได้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างเสนาสนะสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ อีกหลายอย่างแต่ขอกล่าว พอเป็นสังเขป คือ ศาลา ได้มีการสร้างศาลา กว้าง ๖ วา ยาว ๖ วา ๖ เหลี่ยม (เสมือนหนึ่งรหัสนัยบาง ประการ) ที่บริเวณหน้าอุโบสถวัดใหม่ ในปี ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) สิ้นค่าก่อสร้างรวม ทั้งสิ้นประมาณ ๑,๖๗๑ บาท ซึ่งปรากฎรายละเอียดอยู่ในหนังสือมรรคนายกวัดใหม่ ที่ ๓๕๔๖ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ.๑๒๘ หอระฆัง ในปี ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ.๒๔๕๓) วัดใหม่ได้จัดสร้างหอระฆังขึ้น ฐานกว้างด้านละ ๑ วา ๓ ศอก ๔ เหลี่ยม ๒ ชั้น สูง ๒ วา ๒ ศอก ใช้เงินในการก่อสร้างประมาณ ๑,๕๗๐ บาท โดยจีนเก้าเสี้ยน เป็นผู้บริจาคทั้งหมดปรากฏรายละเอียดในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาคที่ ๑ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) หน้า ๗๖๔ ที่ถือน้ำ ในสมัยราชาธิปไตย บรรดาข้าราชการตามภูมิภาคหรือหัวเมืองและแขวงต่างๆ ต้อง กระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ( น้ำที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน) กันทุกปี โดยมักกระทำพิธีถือน้ำกันในวัดที่เห็นสมควร แม้วัดใหม่ของหลวงพ่อพัฒน์ จะเป็นวัดที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณไม่นานหลัง จาก พ.ศ.๒๔๔๐ แต่ก็เป็นวัดที่ทางราชการในพื้นที่นั้น เลือกใช้เป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยาด้วย ดังความในหนังสือ ที่ ๔๒๘๘ ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) ของพระศรี สมโพธิ์ เจ้าคณะมณฑลชุมพรตอนหนึ่งว่า "ฉันเพลแล้ว เข้ากระบวนแห่พระบรมรูปทางบกมาวัดใหม่ (วัดที่ถือน้ำ) เชิญพระ บรมรูปประดิษฐานไว้ในอุโบสถกับธรรมาศน์ที่พระราชทาน" วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของท่าน คือ พระกสิณ รุ่นแรกสร้างขึ้นปี 2472 มีทั้งเนื้อผง และเหรียญปั๊ม ภายหลังท่านยังสร้างติดต่อกันมาจนกระทั่งมรณภาพ ปี 2505 ท่านได้สร้างวัตถุมงคลครั้งใหญ่ที่สุด มีด้วยกันหลายพิมพ์ ปลุกเสกโดยพระคณาจารย์ชื่อดังทางใต้หลายองค์ พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา พุทธคุณในเนื้อผงรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม โทร 089-0236449
[ ราคา ] โทรถาม
[ สถานะ ] ยังอยู่
[ติดต่อเจ้าของร้านร้านคนเมืองลุง จตุจักร] เบอร์โทรศัพท์ : 0890236449/02-5041245 (ใจเขาแดงออก)


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองใต้ทั่วไป
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
พระปิดตา มหาลาภไม้แก่นเมื่อย พระอาจารย์ โสภณ ฐิตวโส
พระปิดตาเนื้อว่าน พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
พระเจ้า 5 พระองค์ เนื้อว่าน พระอาจารย์ โสภณ ฐิตวโส
พระสมเด็จเนื้อว่าน พระอาจารย์ โสภณ ฐิตวโส
พระลีลา กำแพงเขย่ง พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
ปลัดขิกแก่นมะขามตายพราย อาจารย์โสภณ ฐิตวโส
ปลัดขิก อาจารย์โสภณ ฐิตวโส
หลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่ พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
หลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่ พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
ิหลวงปู่ทวดพิมพ์กลาง พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
ว่านพระเจ้าห้าพระองค์ พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
พระปิดตามหาลาภ พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
หลวงพ่อทวดพิมพ์ พระรอด พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
พระลีลากำแพงเขย่ง พระอาจารย์โสภณ ฐิตวโส
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
ผ้ายันต์ ต้นตำหรับ วัดเขาแดงตะวันออก พัทลุง
หลวงปู่ทวดและมวลสาร วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ชุมพร ปี2505
เหรียญหลวงพ่อขืน วัดแหลมยาง ชุมพร
เหรียญหลวงพ่อขืน วัดแหลมยาง ชุมพร
เหรียญหลวงพ่อช้วน วัดตันตยารามภิรมย์ ตรัง
รูปถ่ายหลวง หลวงพ่อสงฆ์ หลังยาเส้น วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
เหรียญปัญจะพุทธามหามงคล (พระเจ้าห้าพระองค์) วัดเลา กรุงเทพฯ
หลวงปู่ทวดรุ่นแรก พระโสภณ ฐิตวโส ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงปู่ทวดพิมพ์พระรอด รุ่นแรก พระโสภณ ฐิตวโส ชุมพร
หลวงปู่ทวดรุ่นแรก พระโสภณ ฐิตวโส ชุมพร
ิหลวงปู่ทวดรุ่นแรก พระโสภณ ฐิตวโส ชุมพร
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
หลวงพ่อพระทองรุ่นแรก วัดพระทอง ภูเก็ต
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505
เหรียญเจ้าคุณพระราช สารโสภณ วัดตันภิยารม ตรัง
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร
พระเนื้อว่าน หลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ สุราษฎร์ธานี
พระกสิณรุ่นแรก หลวงพ่อพัว วัดบางเดือน สุราษธานี
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร(3)
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก วัดนวนประดิษฐ์นภาราม ปี2505 ชุมพร(2)
เหรียญรุ่นแรก พ่อท่านแปลก วัดปากปรน ตรัง
พระปิดตา พ่อท่านแปลก วัดปากปรน ตรัง
พระเนื้อผงหลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง เกาะสมุย 2506
เหรียญพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ปี 2511วัดเขากง จ.นราธิวาส
เหรียญหลวงพ่อซุ่น ที่พักสงฆ์เชิงเขาโต๊ะแซ๊ะ ภูเก็ต
เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี รุ่นใต้ร่มเย็น
หลวงปู่ทวด รุ่นแรก วัดควนวิเศษ ตรัง
เหรียญรุ่นแรก พ่อท่านสีทันดร วัดวังเทพเนรมิตร จ.ตรัง
ผ้ายันต์ กรมหลวงชุมพร ปากน้ำตะโก ปี 2519 ชุมพร
ผ้ายันต์ หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ สุราษธานี
เหรียญ หลวงพ่อเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี
ภาพวาด หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ สีน้ำมัน สูง 36 นิ้ว กว้าง 28 นิ้ว
ภาพเก่า หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง
เหรียญหลวงพ่อ พระทอง ภูเก็ต
เหรียญกรมหลวงชุมพร จ.ชุมพร
เหรียญ พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ) วัดตุยง ปัตตานี
เม็ดแตง หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี
หลวงปู่ทวด รุ่นสรงน้ำ วัดช้างให้ ปัตตานี
เหรียญ หลวงพ่อทวด รุ่น ใต้ร่มเย็น พิมพ์แข้งขีด วัดช้างให้ ปัตตานี
พระเนื้อว่านหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ ปี2505 สุราษฎร์ธานี
หลวงปู่ทวด รุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดตรังคภูมิ จ.ตรัง
หลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ วัดควนวิเศษ จ.ตรัง
เหรียญพระชยาภิวัฒน์ จ.สุราษฏร์ธานี
เหรียญหลวงพ่ออรรถ ถททโก วัดประชานิมิตร(ใสกล้วย) ตรัง
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อวัฒน์ วัดชมพูพนัส อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี
พระรอด วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร ปี2511
หลวงปู่ทวดนวล พิมพ์เล็ก วัดตุยงค์ ปัตตานี ปี07
หลวงปู่ทวดนวล พิมพ์กลาง วัดตุยงค์ ปัตตานี ปี07
หลวงปู่ทวดนวล พิมพ์ใหญ่ วัดตุยงค์ ปัตตานี ปี07
พระหลวงปู่ทวดนวล รุ่นแรก วัดตุยงค์ พิมพ์กรรมการซุ้มเรือนแก้ว ปี07
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเชียงแสน วัดราษฏร์วิริยาราม อ.ยิ่งงอ จ.นราธิวาส
พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก หลวงพ่อครน วัดอุตตมาราม บางแซะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี
รูปหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
แผ่นโลหะ หลวงพ่อพัฒน์ นารโท วัดพัฒนาราม จ.สุราษฏร์ธานี
พระปิดตา เก่ามาก ไม่รู้สำนัก วัดไหนครับ
พระเนื้อว่าน หลวงพ่อไกร วัดลำพระยา ยะลา
หลวงปู่ทวดหนอน วัดสำเภาเชย ปัตตานี
หลวงปู่ทวดนวล ปี06 หลวงพ่อดำ วัดตุยง ปัตตานี
เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดตรณาราม รุ่นแรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อหรีด วัดป่าโมกย์ พังงา
เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง ชุมพร
สมเด็จปรกโพธ์ วัดหงษ์ปิยาราม ชุมพร
เหรียญหลวงพ่อสิน วัดดอนตะเคียน ประจวบคีรีขันธ์
เหรียญหลวงพ่อคลิ้ง วัดศรี ฯ ตรัง
เหรียญหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
เหรียญรุ่นสองพระราชพุทธิรังษี หลวงพ่อดำ วัดตุยง ปัตตานี
หลวงพ่อคล้าย เนื้อว่านพิมพ์ซุ้มกอ วัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร ปี2505
พระเนื้อว่านหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
พระเนื้อว่านอาจารณ์ทองเฒ่า วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
พระเนื้อผงหลวงพ่อแดง วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
หลวงพ่อกลับ วัดสำนักปรุ 2518 พังงา

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด