หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  -  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เฟสบุ๊ค ดิว พุนพินhttps://www.facebook.com/profile.php?id=664898702
ลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 83 คน
Welcome to The Land of Spiritual River which has a lot of ancient stories of Lumnampumduang Amulet : ลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี
ชื่อเจ้าของ จตุพล จันทร์ประเสริฐ
รายละเอียด ศึกษา แลกเปลี่ยน นำเสนอพระท้องถิ่นและพระเครื่องภาคใต้ที่มีประสบการณ์เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดและกำลังได้รับความสนใจ จากทั่วปักษ์ใต้ไปสู่ส่วนกลาง เพื่อเป็นแนวทางในการสะสม///Learn Collect and Present about Folk Amulet and Amulet from South of Thailand which are occured experience and very famous nowadays. Appearance from South to The Center of Thailand. To be the way to learning for who love to collect the amulet.
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความพอใจ5วันนับจากวันที่ได้รับพระหัก10%/ รับประกันพระแท้ตลอดชีพคืนเต็ม100%///Satisfaction Guarantee 5 days from the receiving date///Lifetime Authentic Guarantee.
ที่อยู่ ถ.ศรีพุนพิน ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
เบอร์ที่ติดต่อ 087-8888761 .... 0 8 7 - 8 8 8 8 - 7 6 1
E-mail jatu.4444@gmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2553 วันหมดอายุ 10-01-2568

► สแกนคิวอาร์โค้ดไอดีไลน์
รับเช่าพระ เครื่องราง พระบูชาทุกชนิด ด้วยเงินสด
และตรวจสอบพระให้ ด้วยมิตรภาพ
ไอดีไลน์ dew222
โทร087-8888-761

    
      



วัตถุมงคล: ลูกปัดทราวดีเขาศรีวิชัยสุราษฎร์ธานี
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี ผ่านประกวดติดรางวัลที่1
25-05-2554 เข้าชม : 18156 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี ผ่านประกวดติดรางวัลที่1
[ รายละเอียด ]

สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี ผ่านประกวดติดรางวัลที่1 ของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เส้นนี้คัดดาวเด่นดาวดังจากทั่วเขาศรีวิชัยมาร้อยเรียงในเส้นสวยเพื่อแสดงความความในแบบสไตล์ลูกปัดเขาศรีวิชัยดั่งเดิมครอบคลุมความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัย(ศรีโพธิ์)มาไว้เป็นหนึ่งเดียวยากที่หาได้แชมป์สถานเดียวครับ

 

 

 

 

เขาศรีวิชัย/เขาพระนารายณ์

ที่ตั้ง หมู่ 1 บ้านหัวเขา ตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
พิกัดแผนที่
เส้นรุ้ง 9 องศา 9 ลิปดา 15 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง 99 องศา 13 ลิปดา 35 ฟิลิปดาตะวันออก ระวาง 4827 II อำเภอพุนพิน

ลักษณะและสภาพของแหล่ง
เขาศรีวิชัยหรือเขาพระนารายณ์ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของคลองพุนพินสาขาของแม่น้ำตาปี ห่างจากคลองโดยเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร ลักษณะเป็นภูเขาขนาดย่อมประกอบด้วยเนินเขาหินดินดานผสมเนินดิน กว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 650 เมตร สูงประมาณ 21-30 เมตร บนยอดเขามีพื้นที่ราบกว้างประมาณ 45-50 เมตรยาวตลอดแนวสันเขา บริเวณพื้นที่ราบชายเนินมีเนื้อที่ประมาณครึ่งตารางกิโลเมตร ต่อด้วยพื้นที่ราบลุ่มกว้างขวางฝั่งคลองพุนพินซึ่งใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรมของชาวบ้านในปัจจุบัน
บริเวณพื้นที่ราบชายเนินเขาศรีวิชัยเคยปรากฏบริเวณที่เป็นโคกหรือที่ดอน 2 แห่ง น่าจะเป็นศาสนาสถานสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ เพราะปรากฏร่องรอยแนวอิฐและหินดานกรอบประตู ที่เนินโคกหนึ่งพบฐานโยนิ ปัจจุบันเนินดังกล่าวถูกปรับพื้นที่เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนวัดเขาศรีวิชัย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ ส่วนอีกเนินหนึ่งใกล้เชิงเขาพบใบเสมาหินทรายแดงสมัยอยุธยาและเคยพบศิวลึงค์ ส่วนบริเวณพื้นที่ราบห่างจากเขาศรีวิชัยไปทางทิศตะวันตก มีสระน้ำขนาดใหญ่ สันขอบสระเป็นแนวคันดินและอิฐ ชาวบ้านเรียกว่า สระพัง เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับทำกสิกรรมในบริเวณนี้



ประวัติความเป็นมา
จากสัมภาษณ์ราษฎรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้เคียงวัดเขาศรีวิชัยเกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อวัด บ้างว่าวัดเขาศรีวิชัยเรียกกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม บ้างก็ว่าชื่อวัดหัวเขาบน ตามชื่อบ้านซึ่งชื่อบ้านหัวเขา ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นวัดเขาศรีวิชัย เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลักฐานที่น่าสนใจและอาจจะเกี่ยวข้องกับชื่อวัดนี้คือ ตำนานการบูรณะพระบรมธาตุไชยาในสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม ( หนู ติสโส) เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2438 มีชายหนุ่มที่ต่อมารู้จักในนาม ตาปะขาวนุ้ย ไม่ปรากฏว่าหลักฐานแหล่งเดิมอยู่ที่ใดแต่ได้มาขออาศัยที่วัดหัวเขา อำเภอพุนพิน มีชื่อเสียงในการบูรณะวัด ต่อมาชาวไชยาเดินทางไปรับตาปะขาวมาไชยาและเริ่มเข้ามาถากถางเพื่อบูรณะพระบรมธาตุ แต่เกิดเรื่องเสียก่อนจึงบูรณะไม่สำเร็จ ( ธรรมทาส พานิช , 2541: 260 )
เรื่องที่ยกมานี้มีข้อสังเกตที่ชื่อวัดหัวเขา อำเภอพุนพิน ว่าน่าจะเป็นชื่อเดิมของวัดเขาศรีวิชัยที่ชาวบ้านเรียกกันสืบต่อมาก็ได้ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏชื่อ วัดเขาศรีวัย ในหนังสือสัญญาการรับเหมาสร้างกุฏิ 3 หลังที่อารามวัด ลงวันที่ 24 กันยายน ร.ศ. 121 หนังสือสัญญานี้อยู่ในความครอบครองของพระครูวิจิตรคณานุการ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาศรีวิชัย (ธราพงศ์ ศรีสุชาติ , 2529 เล่ม 6 : 2524 ) ดังนั้นจึงเป็นหลักฐานค่อนข้างแน่ชัดว่า ชื่อวัดเขาศรีวิชัยเป็นชื่อที่มีมาไม่ต่ำกว่า พ.ศ. 2445 ส่วนจะเก่าไปถึงเท่าใดก็ไม่ทราบแน่ชัด และชื่อวัดหัวเขาบนคงเป็นชื่อที่ชาวบ้านนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการนั่นเอง



ส่วนชื่อ เขาพระนารายณ์ เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกเขาศรีวิชัย หลักฐานการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร วัดศรีวิชัย ในขณะเดียวกันก็ประกาศขึ้นทะเบียน เขาพระนารายณ์ ( กรมศิลปากร,กรม , 253: 59 ) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเขาศรีวิชัยอีกชื่อหนึ่ง เนื่องจากพบเทวรูปพระนารายณ์อยู่บนซากโบราณสถานบนยอดเขา ชาวบ้านเรียกว่า ฐานพระนารายณ์ มีเรื่องเล่าของชาวบ้านในแถบนี้ว่า เมื่อครั้งพม่ายกกองทัพมาถึงหมู่บ้านในบริเวณนี้ชาวบ้านได้หนีขึ้นไปอยู่บนเขากันหมด พม่าได้ยินเสียงอื้ออึง เมื่อขึ้นไปดูก็ไม่พบผู้คนเห็นแต่เทวรูปอยู่บนเขา ครั้นลงมาข้างล่างก็ได้ยินเสียงเหมือนมีคนอยู่บนเขา แต่เมื่อไปดูไม่พบผู้ใดเนื่องจากอิทธิฤทธิ์ของพระนารายณ์กำบังไว้ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป พม่าจึงฟันแขนเทวรูปหักขาดเรื่องเหล่านี้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบทอดกันมาสะท้อนให้เห็นความศรัทธา เลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ของเทวรูปที่เปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน ต่อมาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดฯ ให้นำไปเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ต่อมาชาวบ้านได้ขุดพบเทวรูปพระนารายณ์ศิลาอีกองค์หนึ่งบริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้สภาพชำรุดไม่มีเศียร สูง 40 เซนติเมตร เป็นเทวรูปรุ่นเดียวกันและลักษณะคล้ายกัน ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และเมื่อปี พ.ศ. 2518 มีการพัฒนาตัดถนนผ่านวัดก็ได้พบลูกปัดจำนวนมาก รวมไปถึงบริเวณที่ราบเชิงเขาจนจรดฝั่งแม่น้ำตาปี ส่วนใหญ่เป็นลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ลูกปัดหลายแบบมีลักษณะคลายกับลูกปัดอินเดีย ลูกปัดหินก็พบแต่มีจำนวนน้อยกว่า มีทั้งที่ทำด้วยหินคาร์เนเลี่ยน อาเกต และควอทซ์ รวมทั้งลูกปัดทองคำด้วย จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเข้าไปลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ จนทำให้เกิดเสียหายกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพราะการขุดคุ้ยเพื่อให้ได้ซึ่งโบราณวัตถุเพียงอย่างเดียว เป็นการทำลายข้อมูลทางวิชาการที่จะทำให้สามารถย้อนอดีตแรกเริ่มที่มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเขาศรีวิชัยลงอย่างน่าเสียดาย ในการขุดหาลูกปัดของชาวบ้านทำให้เกิดการขุดพบพระพิมพ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า พระพิมพ์เม็ดกระดุม โดยบังเอิญ นอกจานี้ยังพบเศษเครื่องถ้วยชามจีน สมัยราชวงศ์ซุ่ง และราชวงศ์หมิง กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปร่วมกับเศษภาชนะดินเผาพื้นเมือง

หลักฐานทางโบราณคดีและรูปแบบศิลปกรรม



1. เนินโบราณสถาน พบเนินโบราณสถานบนยอดเขาทั้งสิ้น 8 เนิน ได้แก่

1.1 เนินโบราณสถานหมายเลข 1 ภายหลังการขุดแต่งในปีงบประมาณ 2534 พบว่าเนินโบราณสถานหมายเลขหนึ่ง เป็นอาคารสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นโดยการดัดแปลงภูเขาธรรมาติให้อยู่ในรูปทรงของฐานปิระมิด โดยการนำหินขนาดใหญ่มาก่อเรียงซ้อนกันขึ้นไปจาเชิงเขาถึงยอดเขา ขนาดประมาณ 50 X 50 เมตร เมื่อถึงยอดเขาได้ปรับพื้นที่ในแนวระนาบให้เรียบร้อยแล้วจึงสร้างอาคารก่ออิฐฐานสูง ขนาด 14 X 18 เมตร เป็นอาคารประธาน สันนิษฐานว่าเป็นเทวาลัยสำหรับประดิษฐานเทวรูปพระวิษณุ จากการขุดแต่งได้พบฐานเสาจำนวน 16 ต้น น่าจะเป็นฐานเสาอาคารของเทวสถานประธาน พบกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้นาจะมีหลังคาจั่ว มีปีกนกรองรับ 1 ชั้น ด้านหน้าอาคารประธานมีอาคารขนาดเล็กอีก 2 หลัง หลังที่อยู่ด้านทิศตะวันตกหมดสภาพไปแล้ว อาคารบริวารด้านหน้านี้สันนิษฐานน่าจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ ที่กระทำพิธีให้กับศาสนิกชน ที่ขึ้นมาประกอบพิธีทางศาสนา

1.2 เนินโบราณสถานหมายเลข 2 อยู่ถัดจากเนินโบรารสถานหมายเลข 1 ไปทางทิศ
เหนือประมาณ 6-8 เมตร ปรากฎแนวหินก่ออิฐเรียงซ้อนกันเป็นฐานอาคารทางด้านทิศใต้ของเนินสูงจากพื้นดินด้านล่างประมาณ 3 เมตร ใกล้กับแนวฐานหินตรงมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มีเนินดินขนาด 20X30 เมตร อยู่ตรงส่วนบนของแนวฐานหินนั้น ความสูงของเนินหินประมาณ 1.50 เมตร

1.3 เนินโบราณสถานหมายเลข 3 อยู่ถัดจากเนินโบราณสถานหมายเลข 2 ไปทาง
ทิศเหนือ ตัวเนินสูงจากพื้นโดยรอบประมาณ 2.10 เมตร ขนาด 20X 30 เมตร พบเศษอิฐแตกหักกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นที่น่าสังเกตว่าเนินโบราณสถานหมายเลข 2 และ 3 อยู่ใกล้กันมากอาจจะเป็นอาคารที่ก่อสร้างอยู่บนฐานหินทรงปิรามิดยอดตัดฐานเดียวกันก็ได้



1.4 เนินโบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานหมายเลข 3 ไปทางทิศเหนือราว 50 เมตร พบเศษอิฐกระจัดกระจายอยู่จำนวนมาก บางก้อนมีลักษณะเป็นชุดประกอบฐานลวดบัวสถาปัตยกรรม และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมศิลา ขนาดของเนินดินประมาณ 50 x 60 เมตร สูงประมาณ 1.50 เมตร

1.5 เนินโบราณสถานหมายเลข 5 อยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข 4 ไปทางทิศเหนือประมาณ 150 เมตร พบเศษอิฐกระจัดกระจาย มีอิฐที่ถากเป็นรูปบัว ขนาดของเนินประมาณ 30 x 30 เมตร สูงประมาณ 1.50 เมตร ที่ขอบเนินทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้พบแนวฐานหินก่อเรียงซ้อนกันสูงประมาณ 3 เมตร ตรงกลางเนินมีลักษณะเป็นบ่อขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 1.00 เมตร อาจเป็นบ่อที่เกิดจากการลักลอบขุดมากกว่าบ่อน้ำธรรมชาติ

1.6 เนินโบราณสถานหมายเลข 6 อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานหมายเลข 5 ไปทางทิศเหนือราว 20 เมตร สภาพเป็นเนินอิฐทับถมกันอย่างหนาแน่น ขนาดของเนินประมาณ 25 x 25 เมตร มีร่องรอยลักลอบขุดเป็นหลุมลึกประมาณ 1 เมตร

1.7 เนินโบราณสถานหมายเลข 7 อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานหมายเลข 6 ไปทางทิศเหนือประมาณ 30 เมตร เป็นเนินที่ชาวบ้านเรียกว่าฐานพระนารายณ์ มีร่องรอยการลักลอบขุดเป็นหลุมขนาดใหญ่อยู่กลางเนิน ขนาดของเนินประมาณ 25 x 25 เมตร หลุมลักลอบขุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.20 เมตร ลึก 1 เมตร

1.8 เนินโบราณสถานหมายเลข 8 อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานหมายเลข 7 ไปทางด้านทิศเหนือประมาณ 30 เมตร เป็นเนินดินขนาดใหญ่ สูงจากพื้นโดยรอบราว 2 เมตร ขนาดของเนินดินประมาณ 25 x 25 เมตร มีเศษอิฐกระจัดกระจายอย่างหนาแน่นตลอดทั้งเนิน มีร่องรอยลักลอบขุดเป็นหลุมลึกประมาณ 1.50 เมตร ถัดจากนี้ก็สิ้นสุดแนวสันเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่าด้านทิศใต้

2. เทวรูปพระวิษณุ (พระนารายณ์) พบทั้งสิ้นจำนวน 4 องค์ได้แก่

- พระวิษณุ สูง 170 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเบิก พระโอษฐ์แย้มพระสรวลอย่างอ่อนโยน พระวรกายแสดงกล้ามเนื้อตามธรรมชาติ พระอังสากว้าง บั้นพระองค์เล็ก ทรงสวมกีรีฏมุกุฏทรงสูง ทรงพระภูษาโจงยาวขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี และคาดทับด้วยปั้นเหน่งผ้าผูกเป็นโบว์อยู่ด้านหน้า คาดผ้าพระโสภีเฉียงและผูกเป็นโบว์อยู่เหนือต้นพระเพลาขวา พระหัตถ์ขวาล่างชำรุด พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือคทา ส่วนพระหัตถ์หลังทั้งสองข้างหักหายไป ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

- ชิ้นส่วนองค์พระวิษณุ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 พระเศียรหักหายไป แต่ลักษณะพระวรกายแสดงถึงกายวิภาคตามธรรมชาติ ทรงพระภูษาโจงยาวขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภีและคาดรัดประคดผ้าทับและผูกเป็นโบอยู่ด้านหน้า คาดผ้าพระโสภีเฉียงและผูกเป็นโบว์ไว้ที่ต้นพระเพลาขวา พระหัตถ์หลังทั้งสองข้างหักหายไป พระหัตถ์ขวาหน้าทรงถือภู (ก้อนดิน) และพระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือคทา (ชำรุดหักเหลือแต่ส่วนบน) ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

- ชิ้นส่วนองค์พระวิษณุ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ลักษณะคล้ายคลึงกับรูปพระวิษณุที่ศาลพระนารายณ์ อำเภอเวียงสระ กล่าวคือพระวรกายแสดงถึงกายวิภาคที่ใกล้เคียงธรรมชาติ พระอังสากว้าง บั้นพระองค์คอด พระโสภีผาย ทรงพระภูษาโจงยาวขมวดเป็นปมใต้พระนาภีและคาดผ้าพระโสภีตามแนวนอนผูกเป็นโบว์อยู่ด้านหน้า

- ชิ้นส่วนพระวิษณุ อายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 13 ลักษณะพระอังสากว้าง พระอุระเล็กสูง บั้นพระองค์คอด พระโสภีผาย ต้นพระเพลาใหญ่ พระชงฆ์ใหญ่ พระบาทโต พระกรทั้งสี่ข้างหักหายไป ทรงพระภูษาโจงยาวขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี และไม่มีผ้าคาดพระโสภี ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. พระพิมพ์ดินดิบ หรือที่เรียกว่า พระเม็ดกระดุม ลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็กคล้ายเม็ดกระดุม ภายในเป็นภาพพระพุทธรูปนูนต่ำนั่งขัดสมาธิราบบนดอกบัว แสดงปางสมาธิ บริเวณพระเศียรมีประภามณฑล (รัศมี) รอบองค์พระมีจารึกคาถา เย ธมมาฯ พบบริเวณที่ราบระหว่างเขาศรีวิชัยกับคลองพุนพินด้านหน้าวัดเขาศรีวิชัย



4. ลูกปัด พบเป็นจำนวนมาก อาจเป็นสินค้าสำคัญอย่างหนึ่งที่มีการติดต่อซื้อขายกันระหว่างชุมชนโบราณเขาศรีวิชัย กับชุมชนโบราณรอบอ่าวบ้านดอน ส่วนใหญ่เป็นลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ได้แก่ สีฟ้า สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดงเข้ม สีน้ำตาลแดง สีดำ และสีขาว มีทั้งรูปทรงวงแหวน ทรงกระบอกสั้นและยาว ลูกปัดหินพบในปริมาณน้อยกว่า ส่วนใหญ่เป็นหินอาเกต สีขาวสลับดำ หินควอตซ์สีขาว และหินคาร์นีเลี่ยนสีส้ม ลูกปัดทองคำทรงผลฟักทอง พบบ้างแต่จำนวนน้อยกว่าประเภทอื่น ๆ ลูกปัดที่พบมีลักษณะคล้ายคลึงกับลูกปัดในแหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ อำเภอไชยา แหล่งโบราณคดีที่ตำบลวัง อำเภอท่าชนะ แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยทั่วไป

5. ฐานโยนิ ศิลา รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 88 x 88 เซนติเมตร เจาะรูกลมตรงกลาง พบบริเวณเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ในเขตโรงเรียนวัดเขาศรีวิชัย ปัจจุบันถูกไถปรับหมดสภาพแล้ว

6. เครื่องประดับ ได้แก่ แหวนโลหะ ต่างหูโลหะ กำไลทำด้วยหินและแก้ว

7.เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เศษภาชนะดินเผา หินบดและแท่นหินบด ตราประทับแม่พิมพ์สำหรับหล่อต่างหูโลหะ เป็นต้น

การประกาศขึ้นทะเบียน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479

การวิเคราะห์หลักฐาน
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบบริเวณเขาศรีวิชัย/ เขาพระนารายณ์ และพื้นที่ราบโดยรอบเขา ได้แก่ เนินโบราณสถานบนยอดเขา ฐานโยนิ เทวรูปพระวิษณุ ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เช่น ธรณีประตู กรอบประตู ฐานเสา อีกทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ จำพวกเศษเครื่องถ้วยจีน เศษภาชนะดินเผาพื้นเมือง และลูกปัดจำนวนมาก สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณขนาดใหญ่ ลักษณะบ้านเรือนคงตั้งเรียงรายอยู่ตามริมน้ำ มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-13 เป็นต้นมา มีการติดต่อกับชุมชนภายนอกหรือชุมชนโพ้นทะเลโดยใช้เส้นทางคลองพุมดวงและแม่น้ำตาปีเป็นหลัก ศาสนาที่สำคัญของชุมชนได้แก่ ศาสนาฮินดูทั้งไวษณพนิกาย ( นับถือพระวิษณุ ) และไศวนิกาย (นับถือพระศิวะในรูปของลึงค์ ) ต่อมาพุทธศาสนามหายานได้เผยแพร่เข้ามาในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาได้มีการก่อสร้างวัดพุทธหินยานบริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของวัดเขาศรีวิชัยในปัจจุบัน

การสร้างศาสนสถานบนยอดเขาเพื่อเป็นเทวาลัยพระวิษณุ เป็นแนวคิดเดียวกับการสร้างศูนย์กลางจักรวาลบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของแคว้นหรือรัฐ โบราณสถานแห่งนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์ของรัฐโบราณรอบอ่าวบ้านดอน ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษา ค้นคว้า ขุดค้น ขุดแต่ง ทางวิชาการโบราณคดีในขอบเขตที่กว้างขวางต่อไป
 
กล่าวโดยสรุปกลุ่มชุมชนโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบเชิงเขาศรีวิชัย เป็นกลุ่มชุมชนที่น่าสนใจมากสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพราะเป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย ในขณะที่ภาพลักษณ์ของชุมชนโบราณรอบอ่าวบ้านดอนในระยะเวลาร่วมสมัยเดียวกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธ เช่นแหล่งโบราณคดีควนพุนพิน เป็นต้น

[ ราคา ] โทรถาม
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี] เบอร์โทรศัพท์ : 087-8888761 .... 0 8 7 - 8 8 8 8 - 7 6 1


วัตถุมงคล: ลูกปัดทราวดีเขาศรีวิชัยสุราษฎร์ธานี
แหวนลูกปัดทราวดี ลูกปัดหลายมนต์ตา หรือ "ลูกยอ" (Stratified eye beads)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี เส้นที่11
ลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี/// bead Srivijaya Surat Thani*
ลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี///  bead  Srivijaya Surat Thani
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่10 boo10)
ความหมายของลูกปัด...........
การบูชาแนะนำความหมายของของลูกปัดตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน
วัดเขาศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณสถานที่พบลูกปัด*
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่9 ae9)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่8 ae8))
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่7 bo7)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่6 ce6)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี(เส้นที่5 ce5)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่4 bo4)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่3 bo3)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี(เส้นที่2 be2)
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (เส้นที่1 ce1)
สร้อยลูกปัดทราวดี ศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี(((ควนพุนพิน))))
สร้อยลูกปัดทราวดีศรีวิชัยสุราษฎร์ธานี เม็ดน้ำส้มกลม!!!
สร้อยลูกปัดทราวดี น้ำเงินกษัตริย์ ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี
สร้อยลูกปัดทราวดี กรุบนควน พุนพิน สุราษฎร์ธานี
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี ผ่านประกวดติดรางวัลที่1
ลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี (((อุดมทวา)))
ลูกปัด(2)เขาศรีวิชัย(หัวเขา)สุราษฎร์ธานี
สร้อยลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย สุราษฎร์ธานี
สร้อยลูกปัด ทราวดีเขาศรีวิชัย ยุคศรีวิชัย

หน้าหลัก  -  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เฟสบุ๊ค ดิว พุนพินhttps://www.facebook.com/profile.php?id=664898702  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด