หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  -  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เฟสบุ๊ค ดิว พุนพินhttps://www.facebook.com/profile.php?id=664898702
ลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 90 คน
Welcome to The Land of Spiritual River which has a lot of ancient stories of Lumnampumduang Amulet : ลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี
ชื่อเจ้าของ จตุพล จันทร์ประเสริฐ
รายละเอียด ศึกษา แลกเปลี่ยน นำเสนอพระท้องถิ่นและพระเครื่องภาคใต้ที่มีประสบการณ์เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดและกำลังได้รับความสนใจ จากทั่วปักษ์ใต้ไปสู่ส่วนกลาง เพื่อเป็นแนวทางในการสะสม///Learn Collect and Present about Folk Amulet and Amulet from South of Thailand which are occured experience and very famous nowadays. Appearance from South to The Center of Thailand. To be the way to learning for who love to collect the amulet.
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความพอใจ5วันนับจากวันที่ได้รับพระหัก10%/ รับประกันพระแท้ตลอดชีพคืนเต็ม100%///Satisfaction Guarantee 5 days from the receiving date///Lifetime Authentic Guarantee.
ที่อยู่ ถ.ศรีพุนพิน ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
เบอร์ที่ติดต่อ 087-8888761 .... 0 8 7 - 8 8 8 8 - 7 6 1
E-mail jatu.4444@gmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2553 วันหมดอายุ 10-01-2568

► สแกนคิวอาร์โค้ดไอดีไลน์
รับเช่าพระ เครื่องราง พระบูชาทุกชนิด ด้วยเงินสด
และตรวจสอบพระให้ ด้วยมิตรภาพ
ไอดีไลน์ dew222
โทร087-8888-761

    
      



วัตถุมงคล: พระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เหรียญในหลวงหลักเมืองสุราษฎร์ธานี รุ่นแรก 2539
02-11-2553 เข้าชม : 12238 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญในหลวงหลักเมืองสุราษฎร์ธานี รุ่นแรก 2539
[ รายละเอียด ]

เหรียญในหลวงหลักเมืองสุราษฎร์ธานีเป็นเหรียญที่สร้างขึ้นในโอกาสฉลองศาลหลักเมืองสุราษฎร์มีเกจิอาจารย์ปลุกเสกจากทุกภาคโดยกำหนดเป็นพิธิใหญ่ โดยมีอาจารย์จากทั่วทุกภาคทั่วประเทศนับเป็นวัตถุมงคลชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของชาวสุราษฎร์มี่เป็นมงคลยิ่ง....อนึ่งการสร้างเหรียญครั้งได้แบ่งเหรียญออกเป็น 2 ประเภทคือเหรียญที่สร้างโดยกองสปาษณ์และเหรียญเนื้อโลหะผสมแบบในภาพให้ผู้เข้าร่วมในพิธีได้ทำบุญ น่าสะสมมากเนื่องจากประสบการณ์ในด้านเจริญก้าวหน้ามีสูงมาก...

หลักเมืองสุราษฎร์ธานี

กับสถาปัตยกรรมศรีวิชัย

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโนม้ว่าในอาตาคตดินแดนแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจในบริเวณภาคใต้ตอบบน

การก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชสักการะและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และเพื่อความเป็นศิริมงคล เป็นหลักชัยและมิ่งขวัญรวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะช่างจากกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง ตามศิลปกรรมศรีวิชัยด้วยการเน้นรูปลักษณะที่เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเดิมที่ได้รับอิธิพลมาจาก ลักา ชวา และเจมรสมกลมกลืนกัน เพื่อแสดงถึงความแข็งแรงมั่นคงและเป็นปึกแผ่น

องค์หลักเมืองประกอบด้วยยอดเสาหลักเมืองบรรจงแกะสลักจากไม่ราชพฤกษ์ เป็นพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่หน้า หันพระพักต์ไปทั้งสี่ทิศเหมือนการแกะสักพระพรหมสี่หน้าไว้ตามยอดหลักเมืองทั่วๆ ไป และตรงมวยพระเกศาสลักเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พร้อมกับลงรักปิดทองอย่างวิจิตรสวยงาม ส่วนตัวเสาหลักเมืองแกะสลักจากไม้ราชพฤกษ์เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นเสากลมโตมีขนาดสูง 108 นิ้วเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว สำหรับรูปทรงของศาลนั้นได้สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อมุม มณฑปสร้างเป็นเจดีย์องค์ประธาน มียอดฉัตร 5 ชั้น ถัดลงมาเป็นหลักงคาซ้อนเป็นชั้นมณฑปลดหลั่นลงมาจำนวน 4 ชั้น แต่ละชั้นมีเจดีย์องค์บริวาร หลังคามีฐานสี่เหลี่ยมขนาดสูง 5.10 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ตกแต่ด้วยลายปูนปั้นแบบศรีวิชัย ทาสีทองปั้นก่อบัวลวดลายบนกลีบขนุนทั้ง 4 ด้าน และได้อัญเชิญเครื่องหมายตราสัญญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา ประดังไว้ทั้ง 4 ด้าน

โครงสร้างจององค์ศาลหลักเมืองประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลังเพื่อสื่อถึงความรุ้สึกแข็งแรงมั่นคงและทรงคุณค่า อีกทั้งให้ทราบถึงความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ยิ่งใหญ่อลังการ บนประตูทางเข้าศาลทั้ง 4 ด้าน ที่ประกอบเป็นหน้าบันแกะสลักเป็นรูปปูนปั้น พระราหูอมจันทร์ ตามคติธรรมของพุทธศาสนิกชนในภาคใต้

การตกแต่งภูมิทัศน์โดยรอบองค์ศาลนั้น มุ่งเน้นความหมายและความงาม ประดับด้วยโคมไฟรูปหงส์ ตกแต่งบริเวณโดยรอบด้วยสวนพรรณไม้มงคลนานาชนิด อาทิ ขอบกำแพงกันดินรอบศาลหลักเมืองชั้นแรก ปลูกต้นกำแพงเงิน บานไม้รู้โรย และเข็มภูเก็ต ส่วนที่บ่อน้ำบริเวณบันไดขั้นที่ 2 ปลูกบัวหลวง ไม้มงคลทางพุทธศาสนา ที่มีความเชื่อว่า บัว หมายถึง ความบริสุทธิ์หมดจด แม้เกิดในโคลนตม หรือสกปรก ดอกบัวก็ยังคงเจริญงอกงามส่วนรอบองค์ศาลนั้น ดูงามด้วยสีสันผสมผสานระหว่างต้นโกสน ดาวเรือง และดอนญ่าควีนสิริรกิต์

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาและความสามัคคึของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหัลกฐานแห่งการสร้างบ้านแปลงเมืองในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ อ้นตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539

บันทึก

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

จากบันทึกความทรงจำของ นายประยูร พรหมพันธุ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

1.แรงบันดาลใจ

ข้าพเจ้าเคยรับราชการที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนานถึงสองครั้งโดยครั้งแรกรับราชการในตำแหน่งปลัดจังหวั ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2529 และได้กลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้งในระหว่างปี พ.ศ.2537-2539 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีข้อสังเกตว่า จังหวัดนี้ได้รับภัยพิบัติ ทั้งจากภ้ยธรรมชาตที่ค่อนข้างรุนแรงและบ่อยครั้ง เช่น ภัยจากพายุ ภัยจากน้ำท่วม ไฟไหม้ และอุบัติภัยที่มีความรุนแรง และกว้างขวาง เช่น กรณีรถชนเด็กนักเรียนทีเดียว เสียชีวิตพร้อมกันถึง 13 รายและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนนำความห่วงใจให้กับประชาชนโดยทั่วไป และเป็นที่น่าเวทนาสงสารสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และญาติพี่น้องเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนที่เสียชีวิตล้วนเป็นนักเรียนจากโรงเรียนที่อยู่ในพระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงมีเมตตาห่วงใยผู้ที่บาดเจ็บเสียชีวิต เป็นอย่างมากได้เสด็จมาทรงเยี่ยมผู้ประสบภัยและญาติพี่น้องถึง 2 ครั้ง นอกากนี้ยังเกิดปัญหาเดือนร้อนในเรื่องอื่น ๆ อยู่บ่อยครั้ง จนข้าพเจ้ามองเห็นว่าประชาชนมีขวัญและกำลังใจตกต่ำ หรือเสียขวัญ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับทหารที่อยู่ในสนามรบเกิดการเสียขวัญก็จะยังความอ่อนแอให้กับกำลังทัพได้ แต่สำหรับประชาชนพลเมืองเกิดการเสียขวัญและกำลังใจ ก็จะยังให้เกิดความหวั่นไหวอ่อนแอ ให้กับสังคมและประชาชนได้เช่นเดียวกันประชาชนจะต้องมีที่พึ่งทางจินใจ เช่น ทางพระพุทธศาสนา และอื่นๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าจิตใจของประชาชนจะต้องมีที่พึ่งทางจิตใจ เช่นทางพระพุทธศาสนาและอื่น ๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าจิตใตของประชาชนจะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยว เสมือนกับทหารที่มีธงชัยเฉลิมพลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของกำลังพลของหน่วยประชาชนพลเมืองก็สมควรที่จะยึดเหนี่ยว นอกจากพระศาสนาแล้ว สิ่งอื่นๆ ที่เป็นที่นิยม ยึดถือกันมาแต่โบราณก็คือ “ศาลหลักเมือง” โดยเชื่อถือกันว่าหลักเมืองก็คือจิตวิญญาฯของเมือง (THE SPIRIT OF THE CITY) มนุษย์ เมื่อไปปักหลักสร้างบ้านสร้างเมืองที่ใด ก็มักจะนิยมปักหลักบอกที่ตั้งอันเป็นสัฐลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวเมืองเหล่านั้น และจัดทำพิธีการที่เป็นว่าเหมาะสมเพท่อเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและการอยู่ร่วมกันอยางมีสันติสุข จึงเกิดแรงบันดาลใจแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าสมควรริเริ่มสร้างศาลหลักเมืองให้กัลชาวเมือง เพื่อเป็นเสมือนธงชัยเฉลิมพลของประชาชนชาวเมืองสุราษณร์ธานี ประกิบกับได้สำรวจตรวจสิบอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว โดยประสาานงานกับกรมศิลปากร ก็ไม่เคยปรากฏว่ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นในจังหวัดนี้มาก่อนแต่อย่างใด และตามประวัติการตั้งและสร้างเมืองของสุราษฎร์ธานีก็มีการเปลี่ยนที่ตั้งเมืองกัานมาหลายครั้งตั้งแต่ในอดีตกาลจนครั้งสุดท้าายได้ย้ายเมืองมาตั้งที่พื้นที่ ที่เรียกว่า “บ้านดอน” ก็ไมปรากฏว่ามีการสร้างหลักเมืองไว้แต่อย่างใด จึงได้นำความคิดอันนี้ ร่วมปรีกษาหารือกับบุคคลสำคัญของพื้นที่ เช่น ส.ส.สุราษฎร์ธานี, พ่อค้า คหบดี,ข้าราชการทุกฝ่าย ทั้งพลเรือน,ตำราจ,ทหารและพระสงฆ์ ตลอดจนพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่แล้วเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะสร้างศาลหลักเมืองขึ้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ โดยให้ถือว่าเป็นความเห็นร่วมกันของประชาชนชาวสุราษฎร์ทั้งปวง และจะร่วมกันบริจาคทรัพย์สิ่งของกันเอง และเงินทองส่วนใหญ่ของประชาชนผู้มีจิตศรัทธาให้มากที่สุด และจะใช้เงินงบประมาณให้น้อยที่สุด และเท่าที่ตำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ความเสียสละและความสานฉันท์ของประชาชนอย่างแท้จริง และโดยประชาชนเป้ฯเจ้าของสิ่งที่ริเริ่มนี้ร่วมกัน



๒. ขั้นตอนการดำเนินการ

จากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นข้าพเจ้าจึงได้มีการเตรียมการและกำหนดขั้นตอนในการทำงานในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้.-

1.การเลือกสถานที่ก่อสร้าง

ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ก่อสร้างศาาลหลักเมืองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง สถานทีจะต้องมี่ความเหมาะสมที่สุด หลักเมืองจะต้องอยู่ใจกลางเมือง หรือใกล้กับชุมชนเมืองให้มากที่สุด และจะต้องเป็นที่ตั้งสง่างามเป็นราศรีของเมือง และจะต้องมีความสะดวกแก่ประชาชนชาวเมือง และกับผู้คนที่เข้ามาสู่เมืองสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างแดนที่จะมาเที่ยวชมเมือง ก็จะได้แวะกราบไหว้หรือเยี่ยมเยือนได้ง่าย และข้อพิจารณาที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องเป็นสถานที่ ที่เชื่อมโยงกับอดีตในทางประวิติศาสตร์ของเมือง สถานที่ ที่เป็นว่าเหมาะสมที่สุดภายใต้ข้อพิจารณาดังกล่าวแล้ว ไม่มีที่ใดจะเหมาะสมเท่ากับที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ที่ถูกผู้ก่อการร้ายในอดีตได้ว่งระเบิดและหสียหายเป็นอย่งมากเมื่อปี พ.ศ. 2525 และต้องหาสถานที่ตั้งใหม่ (คือศาลากลางหลังปัจจุบัน)สถานที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นที่หลวง ที่อยู่ในความดูแลของราชพัสดุจังหวัดและกรมธนารักษ์เป็นเจ้าของ กรมฯจะให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ ก็จะตองพิจารณาถึงความเหมาะสมป็นประโยชน์แก่ทางราาาาชการและประโยชน์ของสาธารนเป็นลำดับแรก ที่ดินแปลงนี้ก็คือ ที่ดินราชพัสดุแปลง หมายเลขทะเบียนที่ สฏ. 33 ตำบล ตลาด อำเภอ เมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาฯ 7-0-7.58 ไร่ แต่เป็นที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปกฌคือ บริเวณ”สนามศรีสุราษฎร์” นั่นเอง ข้าพเจ้าในฐานะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือเสนอ อธิบดีกรมธนารักษ์ ขออนุญาตใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่สร้างศาลหลักเมือง ซึ่งกรมธนารักษ์เห็นชอบ และอนุญาตให้ใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ขอไป

2.รูปแบบของศาลหลักเมือง

โดยที่ได้พิจารณาเห็นว่าดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดสะราษฎร์ธานี และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนครศรธรรมราช, จังหวัดชุมพร ในอดีต เท่าที่เล่าสืบือดกันมาเป็นดินแดนแห่งอาณาาจักรศรีวิชัยมีร่องรอบทางประวัติศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้คือศิลปกรรมแบบศรีวิชัย เช่น ที่วัดพระธาตุไชยาโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายอย่าง มีอยู่ที่ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ่งบอกถึงอารยธรรมของอาณาจักรศรีวิชัย จึงได้ตกลงปลงใจที่จะสร้างศาลหลักเมืองโดยใช้รูปลักษณ์แบบศรีวิชัย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ที่ได้กำหนดรูปแบบศาลหลักเมืองเป็นรูปแบบศรีวิชัย และทางจังหวัดจึงได้มอบหมาย นายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ สถาปนิกผู้ชำนาญด้านศิลปศรีวิชัยเป็นผู่ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองและแบบเสาหลักเมือง ตามแนวทางที่กรมศิลปากรได้กำหนดให้

สำหรับตัวเสาหลักเมืองนั้นข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าเสาหลักเมือง มิใช่เป็นแต่เพี่ยงหลักเสาไม้ธรรมดาอย่างที่เข้าใจกัน แต่จะต้องเป็นเสาหลักที่บรรจุความเชื่อถือเกี่ยวกับความเป็ยศิริมงคลและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนทั้งปวง เคารพบูชา นั่นก็คือ พระรัตนตรับ อันประกิบด้วย พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ จึงได้ขอให้นายช่างผู้ออกแบบได้กำหนดแบบให้มีพระพุทธรปใว้ที่ส่วนบนของเสาหลักเมืองทั้ง 4 ด้านด้วยถัดลงมาได้กำหนดขอให้แกะสลักรูปแบบของพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวรพระโพธิ์สัตว์ ไว้ทั้ง 4 ทิศ ด้วยโดยให้ใช้ต้วแบบรูปพระโพธิสัตว์ที่จำลองไว้ อยู่ที่พระอุโบสถ วัดพระธาตุไชยา อำเภอไชยา จัดหวัดสุราษฎร์ธานี โดยข้าพเจ้าได้เข้าไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิขอพร และขออนุญาตจากพระประธานในพระอุโบสถแห่งวัดนี้ และยังได้กำหนดจิดเป็นสมาธิ ขออนุญาตและขอพรจากท่านพุทธทาสภิกขุ อริยสงฆ์ อันเป็นที่เคารพยิ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ และของชาวไทย รวมทั้งชาวโลกด้วยข้าพเจ้ามีความศรัทธาและมั่นใจอย่างปราศจากความสงสัยว่า ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตและได้รับพรตามความปรารถนาแล้วประการสุดท้ายส่วนบนของเสาหลักเมืองได้ขอให้นายช่างจัดทำเป็นที่บรรจุพระธาตุไว้ด้วย ดดยพระธาตุที่ได้มานั้นได้รับมอบมาจากเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราาชและวัดทองหลาง จังหวัดชุมพร และบางส่วนจากชาวพุทธผู้ปฏิบัติธรรม ได้ มอบไว้บรรจุรวมกันไว้ด้วยกันในผอบ บนยอดเสาหลักเมืองนี้

3. ไม้เสาหลักเมือง

ได้ทำการเสาะแสวงหาไม้มงคลจากท้องที่อำเภอต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการแกะสลักเป็นเสาหลักเมือง มีผู้แสดงความจำนงจะบริจาคไม้มงคล ให้ไว้หลายแห่ง แต่ในที่สุดก็ได้ตกลงใาจรับบริจาดไม้ที่เป็นมงคลนาม คือ ไม้ราชพฤกษ์ จากราษฎร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อ นายเพิง รำเพย ขนาดไม้โต 230 เซนติเมตร สูงวัดถึงกิ่งแรก 4.00 เมตร มีอายุประมาณ 100 ปีเศษ และจังหวัดได้ทำการขออนุญาตัดไม้ตามระเบี่ยบของทางราชการทุกประการ

4.สารขอพระราชทานอนุญาตสร้างศาลหลักเมือง

เมื่อได้มีการวางแผนและเตรียมการเพื่อความพร้ามไปส่วนใหญ่แล้ว จึงได้มีการดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็าจพระเจ้าอยู่ห้ว ให้การสร้าศาลหลักเมืองประจำ จังหวัดสุราษฎ์ธานีขึ้น โดยจังหวัดฯ ได้มีหนังสือขอพระาชทางาร้างศาลตามนัยหนังสือที่ สฎ 0016/6512 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2538 และหนังสือที่ สฏ 0016/20027 ลงวันที่ 14 กรกฏาคม 2538 และต่อมาสำนักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือถึง จังหวัดสุราษฎร์ธาานี แจ้งให้ทราาบ ว่า “ตามที่จังหวัดได้ขอให้นำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทางพระบรมราชานุญาตสร้างศาลหลักเมืองประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งให้ทราบว่า “ตามที่จังหวัดได้ขอให้นำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทางพระบรมราชานุญาตสร้างศาลหลักเมืองประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี ณ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฏร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความแจ้งอยู่แล้วนั้น .. ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราาบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระราชทานพระบรมราชานถญาตให้สร้างศาลหลักเมือง ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามที่ขอพระมหากระณา” ปรกฎตามนัยหนังสือ สำนักราชเลขาธิการ ด่วนมา ที่ รล 0003-19481 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2538



5. การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างเหรียญวัตถุมงคล

เพี่อเป็นศิริมงคลแก่เหล่าพสกนิกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และปวงประชาชนชาวไทย ผู้ภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพี่อเป็นการเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็ษาจพระเจ้าอยู่ห้วที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี จังหวัดจึงได้ขอพระราาชทานพระบรมราชานุญาตสร้างเหรียญวัตถุมงคลเพื่อนำรายได้ส่วนนี้ทั้งหมดสมทบทุนจัดสร้างศาลหลักเมือง โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประดิษฐานบนเหรียญที่ระลัก อยู่ด้านห่นึ่ง และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปศาลหลักเมือง ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี อยู่บนยอดเสาอาคารศาลหลักเมืองซึ่งออกแบบโดย กลุ่มศิลปกรรม กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ตามนัยหนังสือ ขอกพระราชทาน ที่ สฎ 0016/10873 ลงวันที่ 18 เมษายน 2539 และต่อมาได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างได้ตามนัยหนังสือตอบรับของสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0003/7203 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2539

6.ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุธาติ

เมื่อได้มีการแกะสลัก ลงรักปิดทอง เสาหลักเมืองเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จังหวัดจึงได้ของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายยอดเสาหลักเมือง เพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุพระธาตุ ตามนัยหนังสือที่ สฎ 0016/4708 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และต่อมาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 สำนักราชเลขาธิการแจ้งให้ทราบว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2539 เวลา 17.30 น. ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานข้าพเจ้าพร้อมด้วยคณะซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนเหล่าข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน ในนามของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมจำนวน 15 คนได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2539

7.พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันพระราชทานให้เข้าเฝ้า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสในวโรกาสที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะเข้าเฝ้าน้อมเกล้าฯ ถวายยอดเสาหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุพระธาตุ เมื่อว้น พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2539 มีความตอนหนึ่งว่า

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีมีรูปลักษณ์แบบศรีวิชัย เป็นศูนย์รวมใจของประชาชน ก่อให้เกิดความสามัคคี และจะเป็นเครื่องนำพาไปสู่การพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองสืบไป

เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ

นายยงยุทธ วงศ์เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองสุราษฎร์ธานี

ก่อนจะถึงวันนี้อันเป็นศุภวาระมงคลฤกษ์ เนื่องในโอกาส พระราชพิธีเปิดศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี กระผมขอทบทวนเล่าเรื่องความเป็นมาและที่มาจากความคิดริเริ่มของข้าราชการผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลผู้หนึ่งคือ ท่านประยูร พรหมพันธุ์ ได้เชิญกระผม แบะนายกิมจั้ว แซ่โง้ว ไปปรารถให้ฟังว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่สำค้ญมากทั้งด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ การพัฒนาที่จะเป็นผลดีที่สุดก็คือการพัฒนาด้านจิตใจให้ชาวเมืองมีความปรองดองสาานฉันท์ ประโยชน์สุขจะเกิดขึ้นจากการประกายจุดนี้เป็นการเริ่มต้นในการก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ตามลำดับขั้นตอนก่อมากระผมเองได้รับเกียรติจากคณะกรรมการฯ ให้รับหน้าที่เป็นประธานหาทุนภาคเอกชน ซึ่งก็ได้น้อมรับไว้ด้วยความยินดีและด้วยความรับผิดชอบ ทุกประการ

ไมว่าจะการใด กว่าจะสำเร็จลุล่วงได้สมบูรณ์นั้น ย่อมมีซึ่งอุปสรรคนานา ที่หนักหนา ก็คือการขัดแย้งทางความคิดจากมุมมองที่ต่างกัน ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติวัสัยของสังคมผ่านวาระของท่านประยูรฯ ก็ถึงวาระของท่านนิเวศน์ สมสกุล ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนจนหมดวาระเช่นกัน การก่อสร้างช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่สำค้ญมาก เพราะล้วนเป็นส่วนที่เป็ฯโครงสร้างที่สมบูรณ์ ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างก็เป็นวาระของท่านภุชงค์ รุ่งโรจน์ ซึ่งได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายทุกประการสำหรับท่านชาญชัย สุนทรมัฏฐ์ ก็คงจะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อความรุ่งเรืองวัฒนาถาวรของชาวสุราษฎร์ธานีต่อไป ชั่วกาลนาน

เหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคลศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการจัดทำเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึกและวัตถุมงคลเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครงอสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างหลักเมืองทั้งนี้ลักษณะของเหรียญด้านหนึ่งได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานบนเหรียญที่ระลึก และอีกด้านหนึ่งได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติ เป็นปีที่ 50 ไว้บนยอดสุดของเจดีย์ประธานอาคารศาลหลักเมือง ซึ่งราได้จากการสร้างเหรียญครั้งนี้ได้นำสมทบทุนสร้างศาลหลักเมืองและสนับสนุนกิจการสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำหรับการออกแบบเหรียญที่ระลึกศาลหลักเมืองนั้น กลุ่มศิลปกรรมกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการออกแบบและผิลิตเป็นเหรียญ 3 ชนิดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร หนัก 15 กรัม ประกอบด้วย

1.เหรียญทองคำขัดเงา 999 เหรียญ เหรียญ 13,999 บาท

2.เหรียญเงินขัดเงา 5,999 เหรียญ เหรียญ 799 บาท

3.เหรียญทองแดงขัดเงา 29,999 เหรียญ เหรียญ 299 บาท

การจัดทำเหรียญที่ระลึกครั้งนี้ ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประกอบพิธีมังคลาภิเษก ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างศาลหลักเมือง สนามศรีสุราษฎร์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 เวลา 13.39 น.โดยมีเกจิอาจารย์จาก 4 ภูมิภาคของประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้จัดทำหลักเมืองจำลอง โดยใช้เศษไม้มงคล ราชพฤกษ์ ที่ใช้ในการแกะสลักเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี พร้อมกับได้จัดทำผ้ายัต์ามหามงคลศาลหลักเมืองด้วย

เหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ได้จัดทำขึ้นในวาระสำคัญแห่งการสร้างศาลหลักเมือง จึงเป็นวัตถุที่มีค่ายิ่ง ควรเก็บรักษาไว้ตลอดไป

ประวัติความเป็นมา

ไม้มงคลหลักเมือง

นายพูนศรี รำเพย บันทึก

ชื่อพันธ์ไม้ ต้นราชพฤกษ์

เจ้าของ นายเพิง-นางชม รำเพย

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง

อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

ความเป็นมา

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 นายแสง พิมลศรี ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นปู่ทวดของนางชม รำเพย ได้มาบุกเบิกป่าใหญ่ชายคลองพุมดวง บริเวณบ้านหาดหอยคล้า ปัจจุบันตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ทำกินในพื้นที่ดังกล่าวด้วย

ต่อมานายแสง พิมลศรี ซึ่งมีบุตรจำนวน 6 คน ได้มอบที่ดินแปลงนี้อยู่ในความดูแลของนายช่วย พิมลศรี บุตรชาย ซึ่งต่อมาย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อื่นและนายเอม (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นหลานของนายแสง พิมลศรี ได้เข้ามาจับจองที่ดินแปลงนี้ จนถึงปี พ.ศ.2450 ต่อมานายเอมได้ขายที่ดินแปลงนี้แก่นายหวาน-นางเหมือน รำเพย บ้านเดิมอยู่ บ้านพรุสยาม (ปัจจุบันอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นเงินจำนวน 10 บาท

นายหวาน-นางเหมือน รำเพย มีบุตร 3 คน คือ นายเคว็ด รำเพย นายเพิง รำเพย และนางเมื้อง รำเพย และต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2469 ได้แบ่งที่ดินให้อยู่ในการดูแลของนายเพิง-นางชม รำเพย บุตรชาย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านยาสมุนไพรได้ดูแลต้นราชพฤกษ์นี้ไว้เพื่อนำฝักราชพฤกษ์ มาสกัดเป็นยาสมุนไพรขนานต่างๆ ตลอดมา

ปี พ.ศ. 2537 ผู้ใหญ่พูนศรี รำเพย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นบุตรนายเพิง รำเพย ได้มีโอกาสต้อนรับคณะผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ออกตรวจราชการ โดยมีนายประยูร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธรีะ โรจนพรพันธ์ ปลัดจังหวัดและนายธนพล อันติมานนท์ จ่าจังหวัด ณ ศาลาประชาคม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธนพล อันติมานนท์ ได้สอบถามผู้ใหญ่พูนศรี รำเพยเกี่ยวกับต้นราชพฤกษ์ที่ลักษณะถูกต้องสำหรับนำไปทำเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายพูนศรี รำเพย ได้แนะนำต้นราชพฤกษ์ของนายเพิง รำเพย บ้านหาดหอยคล้า บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายประยูร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายจัดหาเสาหลักเมืองฯ โดยมี นายโสภณ สวัสดิโภชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และนายณรงค์ ขำหิรัญ ป่าไม้จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ ในเวลาต่อมาเมือได้รับรายงานจาก นายณรงค์ ขำหิรัญ ป่าไม้จังหวัดแล้ว นายประยูร พรหมพันธุ์ นายธีระ โรจนพรพันธุ์ นายธนพล อันติมานนท์ และคณะได้ไปตรวจดูความสมบูรณ์ ของต้นราชพฤกษ์ดังกล่างเห็นว่าเป็นต้นไม้ที่มีคุณลักษณะถูกต้องตามธรรมเนียมนิยมที่จะนำไม้มาทำเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

วันที่ 30 มกราคม 2539 ทางจังหวัดได้ทำพิธีบวงสรวงต้นราชพฤกษ์ และทำพิธีตัดโค่นในวันดังกล่าวและนำไปแกะสลักที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยนายพระชัย วัฒนวิกย์กิจ ช่างผู้เชี่ยวชาญการและสลักของท้องถิ่น

การดำเนินการจัดทำเสาหลักเมืองครั้งนี้สร้างความปิติยินดีแก่ครอบครัวและญาติพี่น้องของนายเพิง-นางชม รำเพย ตลอดจนข้าราชการและประชาชนอำเภอบ้านตาขุนเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการจัดตั้งศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

ลำดับเหตุการณ์ก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

23 กุมภาพันธ์ 2538 จังหวัดฯได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

13 มีนาคม 2538 จังหวัดฯได้มีหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการพิจารณานำความกราบบังคมทูลของพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

13 ตุลาคม 2538 สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจังให้ทราบว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

30 มกราคม 2539 ทำพิธีบวรสรวงเทพารักษ์และตัดตันไม้มงคล นาม “ราชพฤกษ์” ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แลัวนำไปแกะสลักที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันเดียวกันโดนนายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ เป็นผู้แกะสลัก

12 กันยายน 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายประยูร พรหมพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะเข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายยอดเสาหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจุพระธาตุ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

4 มิถุนายน 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มาหนังสือถึงกรมธนารักษ์ขออณุญาตใช้ที่ราชพัสดุแปลง สฎ 33 (สนามศรีสุราษฎร์) เป็นสถานที่ก่อสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

4 สิงหาคม 2540 กรมธนารักษ์ได้มีหนังสือแจ้งให้จังหวัดทราบว่าไม่ขัดข้องที่จะให้ใช้ที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าว

19 สิงหาคม 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อัญเชิญองค์ศาลหลักเมืองฯ ขนาด 108 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว แกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร สี่พักตร์ ลงรักปิดทอง จากจังหวัดนครศรีธรรมราช มาประดิษฐาน ณ ศาลาชั่วคราว สนามศรีสุราษฎร์ และเริ่มสมโภชน์องค์หลักเมืองเป็นวันแรก

12 กันยายน 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหลักเมือง โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

19 พฤศจิกายน 2540 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จัดพิธีมงคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกและผ้ายันต์มหามงคลชัยโดยเกจิอาจารย์ 12 รูป จาก 4 ภูมิภาค ณ มณฑลพิธีสนามศรีสุราษฎร์

14 มีนาคม 2541 การก่อสร้างอาคารศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการแล้วเสร็จ

13 เมษายน 2541 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีทำพิธีปิดการสมโภชองค์หลักเมืองเป็นวันสุดท้าย รวมเวลาสมโภชทั้งสิ้น 239 วัน

13 เมษายน 2541 นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำพิธีอัญเชิญองค์หลักเมืองประดิษฐานบนศาลหลักเมืองเป็นการถาวรโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี

1 ตุลาคม 2541-30 กันยายน 2543 นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาลหลักเมืองดังนี้

-ก่อสร้างและตกแต่งศาลหลักเมืองด้านสถาปัตยกรรมและวิจิตรศิลป์ โดยมอบหมายให้ นายถนอมจิตร์ ชุ่มวงศ์ อาจารย์ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปกร เป็นผู้ออกแบบ และสำนักงานโยธาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ประยุกต์แบบนำไปใช้ในการก่อสร้าง สำหรับการดำเนินการก่อสร้างและตกแต่งอาคารศาลหลักเมือง แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543

-ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ศาลหลักเมือง เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์รอบนอกศาลหลักเมืองให้สวยงามประกอบด้วย การปรับผิวจราจร ทางเท้า การจัดระบบไฟฟ้า และประปาแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2543

-จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 มีวัตถุประสงค์สำคัญประกอบด้วย ส่งเสริมสนับสนุนการบูรณะตกแต่งอาคารศาลหลักเมือง สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารหลักเมือง และงานพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาลหลักเมือง สนับสนุนการปรับปรุงและก่อสร้างสภาพภูมิทัศน์รอบศาลหลักเมืองให้สวยงามและสะอาดเรียบร้อย ทรัพย์สินของมูลนิธิ มีทุนเริ่มแรกเป็นเงินสด 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)

ศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม

ด้วยองค์ศาลฯ เป็นสถาปัตยกรรมศรีวิชัย โดยนำเค้าโครงของเจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปกรรมเป็นแม่แบบขององค์ศาลฯ โดยประกอบด้วยเจดีย์ประธานเป็นรูประฆังคว่ำ และเจดีย์บริวารทรงระฆังคว่ำขนาดเล็ก 4 มุมลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ อีก 2 ชั้น มุมฐานเจดีย์ ทั้ง 4 มุม ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นพญานาค ถัดลงมาเป็นซุ้มจตุรมุข หลังคาซุ้มจตุรมุข ทำเป็นลอนโค้งปูนปั้น ทาสีน้ำตาลแดงหนัาบันซุ้มจตุรมุข ประกอบด้วย ลวดลายปูนปั้นตรงกลางเป็นรูปราหูอมจันทร์ประดับพื้นกระจกเล็ก ๆ ทำให้เกิดความระยิบระยับขึ้นกับตัวองค์ศาลฯ เมื่อกระทบกับแสงส่วนหน้าบันย่อยที่อยู่บนชั้นถัดขึ้นไปและใบระกาตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นทั้งหมดโดยบรรจุตราเฉลิมพระชนพรรษาครบรอบ 72 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เพื่อเป็นศิริมงคลกับองค์ศาลหลักเมือง โดยรวมแล้วตัวองค์ศาลฯ ตกแต่งด้วยปูนปั้นฉาบปูนเรียบทั้งองค์ฯ ฐานปัทม์ล่างทาด้วยสีน้ำตาล

สภาพภูมิทัศน์โดยรอบศาลหลักเมือง

องค์ศาลหลักเมืองจะมีความโดดเด่นมาก เพราะตั้งอยู่ใจกลางของสนามหญ้าที่เขียวขจีและหมู่ไม้ประดับตกแต่งโดยรอบ เหมือนวางอยู่บนพื้นพรมบนเนื้อที่ 7 ไร่มีถนนรอบบริเวณถึง 4 ด้านสามารถมองเห็นองค์ศาลฯ ได้สวยงามทุกด้าน พื้นที่โดยรอบขององค์ศาลฯ ทำเป็นพื้นลาน 2 ระดับ ก่อนที่จะเข้าสู่องค์ศาลหลักเมืองจากระดับพื้นทางเดินชั้นล่างโดยรอบ (ระดับ 0.45) ทำเป็นกำแพงกันดินลาดเอียงผิวบุด้ยยหินแกรนิตสีเทา ขึ้นสู่พื้นลาน ชั้นแรก (ระดับ+1.45) ถูกจัดตกแต่งให้เป็นสนามหญ้าทั้งหมดเหลือเป็นทางเดินขึ้นสู่พื้นลาด ชั้นที่ 2 (ระดับ+2.45) ซึ่งปูพื้นลานด้วยกระเบื้องแกรนิตสีขาวครีม ล้อมรอบพื้นลานด้วยกะบะปลูกต้นไม้ขอบแต่งด้วยบัวโคมไฟสนามรูปหงส์สีทอง



การพิธีสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

มีผู้สันนิษฐานว่า การสร้างเสาหลักเมืองเป็นวัฒนธรรมของอินเดียแบบลัทธิพราหมณ์ ซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ (6-12) โดยผ่านมาทางชนชาติขอมซึ่งในช่วงสมัยนั้นได้เข้ามาครอบครองดินแดนบางส่วนของของและไทย

เมื่อเวลาผ่านไป ก็ได้มีการผสมผสานกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้ธรรมเนียมปฏิบัติมีทั้งแบบพุทธและแบบพราหมณ์ผสมกัน เช่น โบราณพิธีกล่าวไว้ว่า เมื่อทางจังหวัดพบไม้ที่ต้องการแล้ว จะต้องขอฤกษ์ยามทำพิธีตัดไม้ คือในวันตัดไม้มีพิธีพราหมณ์หรือให้บัณฑิตผู้มีคุณธรรมไปตั้งบัตรพลีบวงสรวงเทพารักษ์ พระสงฆ์สวดมนต์ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่โคนต้นไม้นั้นแล้วจึงลงมือโค่น จากนั้นเมื่อกำหนดพื้นที่ที่จะตั้งศาลหลักเมืองแล้วจะมีการทำพิธีพราหมณ์เพื่อล้างอาถรรพณ์ แล้วจัดการทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เช่น ตางราชวัตรฉัตรธง มีต้นกล้วย ต้นอ้อย วงสายสิญจน์ล้อมรอบ เป็นพิธีมณฑล ตรงกลางเป็นที่ที่จะวางศาลาฤกษ์มีเครื่องสังเวยบวงสรวง หัวหมู บายศรี อิฐ ทอง เงิน นาค ศิลาดวงฤกษ์ จะใช้โหรหรือพราหมณ์เป็นผู้ดำเนินการทำพิธี

ในการนี้จะมีพิธีสงฆ์ด้วยก็ได้ คือ เจริญพระพุทธมนต์เวลาประธานวางศิลาฤกษ์ ถ้าเป็นเวลาเช้าก็มีเลี้ยงพระ 5-10 รูป ถ้าเป็นเวลาบ่ายก็ไม่เลี้ยงพระ แล้วแต่ฤกษ์ที่จะวาง พิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ มีหัวหมูบายศรี ดอกไม้ธูปเทียน อิฐ ทอง เงิน นาค ศาลาจารึกดวงฤกษ์

จังหวัดสุราษำร์ธานีได้ดำเนินการจัดการพิธีที่เกี่ยวข้องตามโบราณประเพณีที่สำคัญ ๆ ตามลำดับ ดังนี้

30 มกราคม 2539 จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำพิธีบวงสวรงเทพารักษ์และตัดต้นไม้มงคล นาม “ราชพฤกษ์” จากที่ดินของนายเพิง รำเพย ราษฎรหมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนำไปสลักเป็นเสาหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันเดียวกัน โดยนายพรชัย วัฒนวิทย์กิจ และนายธีรชัย สุทธิจิต ช่างฝีมือชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการแกะสลักองค์หลักเมืองนครศรีธรรมราชและประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้แกะสลักองค์หลักเมือง

12 กันยายน 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายประยุร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะเข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายยอดเสาหลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงบรรจะพระธาตุ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

16 สิงหาคม 2540 ในสมัยนายนิเวศน์ สมสกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อัญเชิญองค์หลักเมืองประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีขนาดสูง 108 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว แกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร 4 ด้าน ซึ่งมีความหมายถึง อิทธิบาท 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ส่วนบนยอดสุดขององค์เสาหลักเมืองได้บรรจุพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงบรรจุด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐาน ณ ศาลาชั่วคราวสนามศรีสุราษฎร์ธ และได้เริ่มสมโภชองค์หลักเมืองเป็นวันแรก

8 กันยายน 2540 พระศรีธรรมนาถมุนี รองเจ้าคณะภาค 16 พระราชพิพัฒนาภรน์ เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี และพระครูชัยวงศ์ วุฒิคุณ เจ้าคณะอำเภอพุนพิน พระครูวีรกิจโกวิท เจ้าอาวาสวัดปากคู อำเภอกาญจนดิษฐ์ พร้อมด้วย นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธีระ โรจนพรพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิโหราศาสตร์ ได้ร่วมประชุมและกำหนดจุดสถานที่ก่อสร้างอาคารศาลหลักเมือง

9 กันยายน 2540 มีพิธีสวดถอนพลิกแผนดิน ตามประเพณีความเชื่อของชาวบ้านในภาคใต้ว่าพื้นที่ใดเคยมีการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เมื่อมีการรื้อถอนอาคารเก่าแล้วปลูกสร้างอาคารใหม่ จะต้องกระทำพิธีสวดถอนพลิกแผ่นดิน โดยนิมนต์เกจิอาจารย์จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประกอบพิธี

12 กันยายน 2540 ประกอบพิธีพราหมณ์ เพื่อสักการะบูชาหมู่ เทพยดา ในพิธีวางศิลากษ์ โดย พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีกรรมทางโหราศาสตร์ของภาคใต้ และนายพูนสวัสดิ์ ชุมทอง อุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี วางกำหนดฤกษ์และทำการผูกดวงเมืองในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์

นายนิเวศน์ สมสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีในขณะนั้น ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศาลหลักเมือง ณ สนามศรีสุราษฎร์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

19 พฤศจิกายน 2540 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดพิธีมังคลาภิเษกเหรียญที่ระลึกและผ้ายันต์มหามงคลชัย โดยเกจิอาจารย์ 12 รูป จาก 4 ภาค ณ มณฑลพิธีสนามศรีสุราษฎร์

13 เมษายน 2541 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดพิธีสมโภชองค์หลักเมืองเป็นวันสุดท้าย รวมเวลาสมโภชทั้งสิ้น 239 วัน

26 สิงหาคม 2541 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดพิธีอัญเชิญองค์หลักเมืองเข้าประดิษฐานบนศาลหลักเมืองเป็นการถาวร

 

หลักเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี


[ ราคา ] โทรถาม
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านลุ่มน้ำพุมดวงรับเช่าพระสุราษฎร์ธานี] เบอร์โทรศัพท์ : 087-8888761 .... 0 8 7 - 8 8 8 8 - 7 6 1


วัตถุมงคล: พระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เหรียญหล่อหลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส ปี 2500 สุราษฎร์
เหรียญหล่อโบราณ รุ่น2 หลวงพ่อกล่อมวัดโพธาวาส
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดถนน รุ่นแรก สุราษฎร์ธานี
เหรียญท่านเพ็ชร วัดศรีเวียงไชยา จ.สุราษร์ธานี บล็อกไม้แยงหู
ขุนแผนอาจารย์จำรัส วัดท่าล้อน เนื้อดำยอดนิยม จ.สุราษฎร์ธานี
รูปถ่าย2หน้าหลวงพ่อโกศล วัดคุ้งยาง สุราษฎร์ธานี -
เหรียญอาจารย์โกศล วัดคุ้งยาง รุ่นแรกปี2516 สุราษฎร์ธานี2
เหรียญหลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม รุ่นแรก 2505
เหรียญพระยาท่าข้าม 2519 รุ่นแรก วัดท่าข้าม สุราษฎร์
เหรียญหลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส รุ่นแรก ปี 2470 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อชื่น วัดในปราบรุ่นแรกปี 48
เหรียญหลวงพ่อกล่อม วัดโพธารวาส 2537 เนื้อเงิน
เหรียญหลวงพ่อเพชร รุ่น3(นิยม)วัดวัชรประดิษฐ์
เหรียญหลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส ปี2500
รูปถ่ายทับแก้ว หลวงพ่อพร้อม วาจาสิทธิ์ วัดคลองฉนวน ยุคแรกทันท่าน
เหรียญหลวงพ่อหลบ วัดราษฎร์เจริญ ที่ระลึกรุ่นฉลองอายุ79ปี 2553
เหรียญอาจารย์โกศล วัดคุ้งยาง รุ่นแรกปี2516 สุราษฎร์ธานี(โชว์)
เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม รุ่นสอง ยันต์ใหญ่ นิยม วัดทุ่งหลวง จีวร 6ชาย สุราษฎร์ธานี
เหรียญเสมาหลวงพ่อชม วัดท่าไทร รุ่น3 สุราษฎร์ธานี ติดรางวัลประกวด
หลวงพ่อด้วน รุ่นแรก กะไหล่ทองวัดแหลมไผ่  สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อนุ้ย วัดม่วง สุราษฎร์ธานี รุ่น2กะไหล่ทอง(โชว์)
ภาพถ่ายหลวงพ่อเริ่ม วัดบางน้ำจืด ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี
ล๊อกเก็ต รุ่นแรก พ่อท่านสะอิ้ง วัดเขาเเก้ว สุราฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อมั่ง รุ่นแรกวัดมูลเหล็ก ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี
พระรูปหล่อโบราณหลวงพ่อพุ่ม(พระธรรมปรีชาอุดม)รุ่นแรก วัดตรณาราม สุราษฎร์ธานี((2))
พระรูปหล่อโบราณหลวงพ่อพุ่ม(พระธรรมปรีชาอุดม)รุ่นแรก วัดตรณาราม สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดดอนพต รุ่นแรก(เหรียญเล็ก) สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดท่าข้าม รุ่นแรก สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดตรณาราม รุ่นแรก สุราษฎร์ธานี(รมดำ)
เหรียญหลวงพ่อพร้อม วัดคลองฉนวน รุ่นแรก สุราษฎร์ธานี
เหรียญพระครูชลาทรธำรง วัดบางใหญ่ รุ่นแรก ปี2507สุราษฎร์ธานี
พระหลวงพ่อเนียม รุ่นแรก วัดบางน้ำจืด  สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อชื่น วัดในปราบ3K รุ่นแรก กรรมการ สุราษฎร์ธานี
เหรียญพระครูประพัฒน์คณานุกิจหรือ หลวงพ่อปลอง วัดพุนพินใต้(2)
เหรียญพ่อท่านคงแก้ว วัดควนศรี รุ่นแรก สุราษฎร์ธานี
เหรียญอุปัชฌาย์พุ่ม ฉันโท วัดปากคู ปี2500 พุ่มข้าวบิณฑ์ ห่วงเชื่อม สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อพัฒน์ วัดพัฒนาราม(วัดใหม่)ปี2505สุราษฎร์ธานี
ขุนแผน อ.จำรัส วัดท่าล้อน สุราษฎร์
พระเนื้อว่านหลวงพ่อเพชร วัดท่าสะท้อน สุราษฎร์ธานี
เหรียญหลวงพ่อหลบ วัดราษฎร์เจริญ กรรมการ สุราษฎร์ธานี
พระบูชาหลวงพ่อชู วัดท่าตะลิ่งชัน รุ่นแรก หน้าตัก"5นิ้ว สุราษฎร์ธานี
เหรียญในหลวงหลักเมืองสุราษฎร์ธานี รุ่นแรก 2539
รูปถ่ายหลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ หลังผ้ายันต์ ตะกรุด
พระครูสุนทรหริอหลวงพ่อชุ่ม วัดอัมพาวาส รุ่นแรก

หน้าหลัก  -  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เฟสบุ๊ค ดิว พุนพินhttps://www.facebook.com/profile.php?id=664898702  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด