หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ศูนย์พระเครื่องสายใต้ เจ กันตัง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 62 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ศูนย์พระเครื่องสายใต้ เจ กันตัง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ศูนย์พระเครื่องสายใต้ เจ กันตัง
ชื่อเจ้าของ วชิระ ไชยวัฒน์ ( เจ กันตัง )
รายละเอียด ศูนย์แลกเปลี่ยนวัตถุมงคลทุกชนิด ติดต่อเราได้ที่ Tel. 086-6009417 หรือ Line ID:0866009417 หรือ FB: เจ กันตัง
เงื่อนไขการรับประกัน วัตถุมงคลทุกชิ้นรับประกันแท้ตามหลักสากล หากตรวจสอบแล้วไม่แท้ ยินดีคืนเงินเต็มจำนวนทันที
ที่อยู่ ปทุมธานี
เบอร์ที่ติดต่อ 086-6009417 / Line ID:0866009417
E-mail wachira_chaiwat@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-11-2552 วันหมดอายุ 20-06-2567

การชำระเงิน

Payment

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
ไทยพานิชย์ รังสิต
วชิระ ไชยวัฒน์
349-245-4790
ออมทรัพย์


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองคอน
พระผงพิมพ์สมาธิ พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง....๑
24-01-2562 เข้าชม : 1380 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระผงพิมพ์สมาธิ พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง....๑
[ รายละเอียด ] ประวัติพ่อท่านจับ วัดท่าลิพง........พระครูอุทัยสีลาจาร นามเดิม จับ ชุมสร้าน ชาตะเมื่อ วันอาทิตย์ เดือนขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง ตรงกับ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๗ ที่บ้านพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อนายซ่าน ชุมเสน เป็นชาวพัทธสีมา โดยกำเนิด มารดาชื่อนางจิบ เป็นชาวบ้านใหม่ ตำบลโคกพิกุล อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน ดังนี้ ๑. นายจับ ชุมสร้าน (พระครูอุทัยสีลาจาร) ๒. นายเคลื่อน ชุมเสน (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๓. นายชื่น ชุมเสน ภรรยาชื่อนางเลื่อน อยู่บ้านบางฉนาก ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง ๔. นายทับ นางเอื้อน ชุมเสน อยู่บ้านพระแสง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ๕. นายเทียบ ชุมเสน ถึงแก่กรรมแล้ว ๖. นางแกวด สามีชื่อนายอั้น ไม่ทราบนามสกุล บ้านอยู่บ้านป่าหวาย อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๗. นางประเทือง สามีชื่อนายเสนอ ขุนพิทักษ์ บ้านท้องโกงกาง ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง สำหรับนามสกุลของพ่อท่านจับที่เป็น “ชุมสร้าน” จากหนังสือสุทธิ สำหรับพระภิกษุและสามเณร ซึ่งต่างจากบิดามารดาและพี่น้องที่เป็น “ชุมเสน” ไม่มีหลักฐานให้สืบได้ชัดว่าเป็นเพราะเหตุใด บรรพชาอุปสมบท จากเอกสารหนังสือสุทธิฉบับนั้นจากการบอกเล่าพ่อท่านว่า ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะท่านว่าท่านเข้าเป็นเด็กวัดก่อนบรรพชาประมาณ ๒-๓ ปี และถือโอกาสศึกษาตัวหนังสือขอมจากอาจารย์ในสำนักวัดพัทธสีมา แห่งนี้หลายท่าน อาทิ ท่านอาจารย์ชูเฒ่า ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพัทธสีมาในขณะนั้น และท่านเองยังฝากตัวเป็นศิษย์ท่านอาจารย์เอียด บรรพชา เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี คือ พ.ศ.๒๔๖๔ ณ สำนักวัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสามเณรจับ ชุมสร้าน อาศัยศึกษาจนอายุครับ ๒๐ ปี อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๐ ปี คือ พ.ศ.๒๔๖๗ มีพระครูพนังศรีวิสุทธ์พุทธภักดี สำนักวัดศาลาแก้ว ตำบลโคกพิกุล อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระแบน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงคุณอีกท่านหนึ่งของวัดพัทธสีมา) และพระแดง เป็นพระอนุสาสนาจารย์ ณ วัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ฉายาว่า ”อุทโย” และศึกษาศาสตร์ต่างๆของสำนัก วัดพัทธสีมา การศึกษาอบรมและวิทยฐานะ พ.ศ.๒๔๖๑ โดยประมาณ ช่วงท่านปฐมวัยมีใจรักที่จะศึกษาตามความนิยมของคนไทยในสมัยนั้น ซึ่งกล่าวว่า ใครใคร่เรียนอะไรเรียน ใครใคร่รู้อะไรต้องขยันเรียนเอาเองจึงจะรู้ ไม่มีการสอบเทียบชั้น ไม่มีหนังสือรับรองคุณสมบัติของการเรียน คือหากบริเวณบ้านหรือใกล้เคียงยังไม่มีโรงเรียนประชาบาล ต้องอาศัยเรียนสำนักวัดซึ่งเป็นทั้งที่ศึกษาวิชาการตามใจชอบ และเป็นทั้งที่อาศัยไปด้วย เด็กชายจับ ได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์คนหนึ่งของอาจารย์เอียด วัดพัทธสีมา ซึ่งตอนนั้นอาจารย์ชูเฒ่าเป็นเจ้าอาวาส และเป็นอาจารย์อีกองค์ประกอบด้วยสมัยนั้นขึ้นชื่อว่า สำนักวัดพัทธสีมา มีอาจารย์ผู้ทรงคุณหลายต่อหลายท่าน มีสอนมีเรียนแทบทุกสาขาวิชา อาทิหนังสือไทยที่เรียกว่า นอ โม กอ กา และหนังสือขอม การแพทย์แผนโบราณ ที่เรียกว่ายาต้ม ตลอดจนตำราหมอดู ตลอดจนฤกษ์พานาที แม้แต่ยามอุบากองโดยตำราแขก และที่ขึ้นชื่อของสำนัก วัดพัทธสีมา และในนามของท่านอาจารย์ชูเฒ่า คือ ”ยาเม็ดผักกาด” หากเปรียบกับพระสายกลาง น่าจะเป็นผงยาจิดามณีก็ว่าได้ และพ่อท่านจับ นายจับฝากตนเข้าเรียนในหลายสาขาวิชา จนมีความรู้แตกฉานทั้งหนังสือไทย หนังสือขอม ตามสมควรแก่อัตภาพ พ.ศ.๒๔๖๔ ด้วยในใจรักและรักเรียนในสาขาวิชาดังกล่าวแล้ว ครั้งอายุได้ ๑๗ ปี ได้สมัครใจบรรพชา ณ สำนักวัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสามเณรจับ ชุมสร้าน และได้ศึกษาต่อตามวิชาแขนงที่ตนถนัดเรื่อยมา พ.ศ.๒๔๖๗ ได้อุปสมบทที่สำนักเดิม มีพระครูพนังศรีวิสุทธ์พุทธภักดี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระแบน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระแดง เป็นพระอนุสาสนาจารย์ ณ วัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ฉายาว่า ”อุทโย” พ.ศ.๒๔๖๙ เดินทางไปศึกษาต่อทางธรรม ณ สำนักวัดหน้าพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมตรี ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดหน้าพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมโท ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดหน้าพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.๒๔๗๖ ได้เดินทางกลับมาจำพรรษา ณ สำนักวัดพัทธสีมา ตามเดิม และยังคงศึกษาอบรมกับท่านอาจารย์ เพื่อเป็นการเพิ่มเติมบางสาขาวิชาจนแตกฉานมากยิ่งขึ้น พ.ศ.๒๔๗๘ ได้มีชาวตำบลการะเกดคณะหนึ่ง อันประกอบด้วย - นายนิธิ อักษรทิพย์ อดีตกำนันตำบลการะเกด ยุคสมัยนั้นเรียกกันว่ากำนันเห้ง ซึ่งเป็นที่รู้จักและนับถือจากคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง เดินทางกลับมา - นายพุ่ม กองทอง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ ตำบลการะเกด - นายจับ กลับช่วย คหบดี และคนอื่นๆอีก ๓-๔ ท่านได้เดินทางไปวัดพัทธสีมา เพื่อนิมนต์พระจับ อุทโย มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลิพง ท่านรับนิมนต์โดยไม่มีข้อขัดข้องใดๆ เพราะสนิทสนมกันมาก่อนประการแรก และโดยที่มีความเห็นคล้องจองกันว่าจะได้ช่วยกันเป็นแรงกายแรงใจบุกเบิกพัฒนาทรัพยากรคนให้ได้รับการศึกษาอบรมเห็นแสงสว่างของอารยธรรมสมัยใหม่ จากบันทึกของท่านเองท่านมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ ปีกุล สัปตศก จ.ศ.๑๒๙๗ ร.ศ.๑๕๔ เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพฤหัสบดี ตรงกับวันที่ ๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๘ แต่ในหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาสซึ่งเพิ่มมีตามหลังมา แต่งตั้งในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ซึ่งเป็นปกติของการสื่อสารในยุคก่อนๆ สมณศักดิ์ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศ ระดับชั้นโท ชื่อ พระครูอุทัยสีลาจาร แต่ท่านปฏิเสธไม่ขอรับ ไม่เซ็นชื่อลงนามใดๆ บรรดาศิษย์อ้อนวอนท่านก็ยืนยันไม่ขอรับ บรรดาศิษย์ชวนกันอ้างว่า เมื่อเวลาท่านมรณภาพจะได้ทำเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพ เป็นเหตุให้ท่านไม่พอใจและกล่าวว่า ”รบกวน ยุ่งยากเปล่าๆ สำหรับเราให้เอาทางพร้าว ๒-๓ ทาง กับไม้สังแกที่ปลูกไว้ข้างวัดสักสองต้นก็หมด” ซึ่งหลังจากได้รับโปรดเกล้าแล้วบรรดาศิษย์เป็นวิตกว่าท่านไม่รับพัด เจรจากันหลายคนหลายท่านแล้วแต่ท่านปฏิเสธ จนถึงศิษย์ท่านอีกคนคือ พ.ต.ต.สุวรรณ ทองนอก (ถึงแก่กรรมแล้ว) ซึ่งบวชเรียนมากับท่านเป็นน้ำพักน้ำแรงในการพัฒนาวัด ได้พยายามในเรื่องนี้อีกครั้งดังคำของท่าน พ.ต.ต.สุวรรณ ทองนอก ที่บันทึกไว้ในหนังสือที่ระลึกว่า พ.ต.ต.สุวรรณ ทองนอก และครอบครัวในงานบำเพ็ญกุศลท่าน พ.ต.ต.สุวรรณ ได้บันทึกไว้คราไปขอให้ท่านรับพัดว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ ประมาณเดือนมีนาคม กระผมตั้งจิตอธิฐานว่า “ปีนี้กระผมจะไปขอของดีสุดยอดของหลวงปู่ให้จงได้” และกระผมรับปากกับผู้ใหญ่ที่กระผมเคารพนับถือหลายท่านว่า “กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่กระผมกราบขอต้องได้แน่ ๙๙.๙๙ % เนื่องจากของดีดังกล่าวมีบุคคลหลายคนที่เคารพนับถือในตัวหลวงปู่ได้กราบเรียนขอและได้รับความผิดหวังตามๆกันมาแล้วทุกราย กระผมตั้งใจมั่นจะขอกราบแทบเท้าเรียนขอเป็นคนสุดท้าย เมื่อกระผมมีความตั้งใจแน่วแน่ จึงเดินทางไปยังวัดท่าลิพงพร้อมด้วยบุตรชายคนเล็ก ไปถึงกุฏิหลังเล็ก ซึ่งเป็นกุฏิไม้คร่ำครึที่ท่านโปรดมากกว่าอยู่ตึก กระผมก้มกราบแทบตักท่าน ๓ ครั้ง พร้อมเอาฝ่ามือฝ่าเท้าท่านของหลวงปู่มาลูบศีรษะของกระผม เพื่อเป็นศิริมงคล ทันใดนั้นท่านได้ถามขึ้นว่า “มีธุระอะไร” กระผม (หมายถึง พ.ต.ท.สุวรรณ) บอกว่า “มาเยี่ยมหลวงปู่ และมาขอของดีสุดยอดของหลวงปู่” หลวงปู่พูดว่า “ไม่มีของดีอะไรจะให้อีกแล้ว และของดีที่มีก็ได้ให้ไปหมดแล้ว สุวรรณจะขออะไรอีกหรือ” กระผมตอบหลวงปู่ไปว่า “ยังมีอีก ถ้าหลวงปู่ให้ กระผมจะเป็นผู้มีอำนาจวาสนาในหน้าที่ราชการตลอดจนครอบครัวยิ่งๆขึ้นไป คือ...กระผมและลูกชายขอให้หลวงปู่รับสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูในปีนี้ด้วยเถิด” เมื่อกระผมพูดเช่นนั้นหลวงปู่ตกลงรับแล้วบอกว่า “ให้จัดพิมพ์แบบประวัติมาให้พร้อมเถิด เราจะลงลายมือชื่อให้ และกาลต่อไปไม่ควรขออะไรเราอีกแล้ว” ซึ่งเรื่องการรับสัญญาบัตรพัดยศ ที่ท่านปฏิเสธไม่ขอรับ เพราะด้วยเดิมศิษย์ขอให้ท่านรับด้วยให้เหตุผลที่แจ้งกับท่านว่า เมื่อท่านมรณภาพจะได้ทำเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพ เป็นเหตุให้ท่านไม่พอใจและดุผู้ที่มาขอให้ท่านรับพัดและท่านบอกว่า “รบกวนยุ่งยากเปล่าๆ สำหรับเราให้เอาทางพร้าว 2-3 ทางกับไม้สังแกที่ปลูกไว้ข้องวัด สักต้นสองต้นก็หมด” และเมื่อท่านตกลงรับพัดแล้ว วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ รับพระราชทานพัดยศ จากพระหัตถ์สมเด็จพระสังฆราชมหาสถลสังฆปรินายก ณ วัดตันตยาภิรมย์ (วัดต้นตอ) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หากตามที่ชาวบ้านบอกจะบอกว่าท่านไม่ไปรับพัด แต่เจ้าคณะจังหวัดรับมาให้แล้วเก็บไว้ที่เจ้าคณะ หลังจากท่านตกลงรับ ศิษย์จึงไปรับจาดเจ้าคณะจังหวัดมาสมโภชน์ ตามภาพ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๗ คณะศิษย์ร่วมใจกันจัดงานฉลองสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศ เพื่อเป็นการร่วมใจกันแสดงมุทิตาจิตและประกาศเกียรติคุณในพระเดชพระคุณท่านที่ วัดท่าลิพง ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจัดงาน ๓ วันคือ วันที่ ๒๖-๒๗-๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๗ งานด้านการศึกษา ท่านเป็นผู้ใฝ่ใจให้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม โดยมีอุดมการณ์ว่า ”สร้างคนก่อนสร้างงาน” เพราะท่านว่างานจะดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะสมบูรณ์ดีได้เพียงใดต้องมาจากทรัพยากรบุคคลที่ดีมีคุณภาพ รากเหง้าต้องมาจากการศึกษาอบรม ท่านจึงเน้นหนักให้คนได้มีการเรียนหนังสือก่อนเป็นเรื่องแรก และก่อนที่จะศึกษาอบรมทางธรรมให้แตกฉานได้ ต้องมาจากการอ่านออกเขียนได้ก่อน ดังนั้นในปีแรกที่ท่านได้รับการนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลิงพง ได้ริเริ่มบุกเบิกเรื่องการศึกษาในรูปของโรงเรียน เป็นประการแรกๆ และอุปการะโรงเรียนไว้ในความอุปถัมป์ของท่านตลอดมาจนถึงกาลมรณะภาพ ท่านเป็นพระเถระยุคเก่าที่มีศิลาจิยาวัตรที่งดงาม อยู่ในศีลในธรรมสร้างแต่กรรมดี จนได้สัญญาบัตรพัดยศที่ "พระครูอุทัยสีลาจาร" พ่อท่านจับเป็นพระที่ใคร่เรียนรู้ท่านมีอาจารย์มากหลายท่าน องค์แรกในฐานะพระอุปัชฌาย์ด้วยคือ ท่านพระครูพนัง วัดศาลาแก้ว อาจารย์ท่านอีกองค์ซึ่งเป็นเจ้าสำนักเรียน คือ ท่านชูเฒ่า วัดพัทธสีมา อาจารย์ท่านอีกองค์คือ ท่านอาจารย์เอียด วัดพัทธสีมา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสต่อจากอาจารย์ชูเฒ่า และอีกองค์ตืออาจารย์แบน วัดพัทธสีมา และท่านเป็นศิษย์สำนักเรียนวัดหน้าพระบรมธาตุ องค์อาจารย์ของท่านจับอีกองค์ คือ พระศรีธรรมราชมุนี หนือพระครูกาแก้ว (หมุ่น อิสสโร) อาจารย์ท่านอีกองค์ คือ ท่านชูเฒ่า หรือท่านชู เหตุที่เรียกว่าท่านชูเฒ่า เพราะมีพระอันดับในวัดพัทธสีมา มีหลายรูปชื่อชู เหมือนกัน ชาวบ้านเลยต้องใส่สร้อย หรือสรรพนามตามหลัง เพื่อให้รู้ได้ว่าหมายถึงองค์ใด ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อท่านจับได้ศึกษาเรียนรู้ศาสตร์ด้านต่างๆกับพระอาจารย์ชูเฒ่าตั้งแต่เข้าศึกษาในวัดพัทธสีมา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๔ จนท่านอาจารย์ชูเฒ่า ถึงกาลมรณภาพรวมแล้ว ๖ ปีโดยประมาณงานศพท่านชูเฒ่าจัดฌาปนกิจ ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ หลังจากสิ้นบุญท่านชูเฒ่าแล้ว พระอาจารย์เอียด อินทรตนะ ซึ่งเป็นอาจารย์อีกองค์ของพ่อท่านจับ เป็นเจ้าอาวาสต่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๐ ถึง พ.ศ.๒๔๗๘ จนท่านชูเฒ่าสิ้นบุญ พ่อท่านจับท่านไม่ชอบการอยู่ในกุฏิหลังใหญ่ที่บรรดาศิษย์สร้างให้ หลวงแดง ติสสโร จึงสร้างกุฏิเล็กด้วยไม้ทั้งหลัง ท่านบอกว่า เหมาสมกับอัตภาพ และหลวงแดงท่านี้เป็นพระที่ช่วยพ่อท่านจับสร้างพระผงของท่าน ทั้งตำผงและกดพิมพ์พระ มรณภาพการณ์ ของพ่อท่านจับ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๗ เวลาเช้าตรู่ ประมาณ ๐๖.๐๐ น.เศษๆ เมื่อทราบว่าท่านป่วย บรรดาศิษย์ไปถึงปรากฏว่าท่านพูดไม่ได้แล้ว แต่ความรู้สึกตัวยังมี ท่านโบกมือปฏิเสธคณะศิษย์เมื่อตกลงกันว่าจะพาท่านไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และท่านไม่ยอมฉันยาที่หมอศักดิ์ชัย พรหมเพ็ญ จัดถวาย เข้าใจว่าท่านไม่ต้องการให้รักษา โดยเจตนารมณ์ต้องการมรณภาพโดยอาการสงบปกติ ไม่ต้องรบกวนใคร แต่ศิษย์ยังจำต้องนำท่านไปยังโรงพยาบาลมหาราช และท่านละสังขาร ณ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๗ เวลา ๐๗.๐๐ น. ท่านละสังขาร ณ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๗ เวลา ๐๗.๐๐ น. รวมอายุท่านโดยตั้งเลขลบจะได้........๘๐ ปี ๕เดือน ๑ วัน ถ้าคิดด้วยการนับนิ้วแบบสามัญ..............๘๒ ปี นับอายุกาลทางพรรษาได้........................๖๒ พรรษา บรรดาศิษย์ร่วมแรงร่วมใจจัดงานโดยตั้งศพบำเพ็ญถึง ๗ วัน ๗ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๓-๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๗ และขอพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษชั่วคราวที่วัดท่าลิพง ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๐๐ น. วัตถุมงคลในองค์พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง หากแบ่งยุคเรียงลำดับก่อนหลังมีดังนี้ ๑. ลูกตุก หายากพบเจอน้อย ๒. สายเอวถัก ๓. สายคอชนิดเชือกร่ม ๔. ภาพถ่ายอัดพลาสติกแบบเก่า ๕. พระเนื้อว่านพิมพ์ต่างๆชนิดลงชะแล็ค มีพิมพ์รูปเหมือน,พิมพ์มารวิชัย,พิมพ์สมาธิ,พิมพ์พระสิวลี,พิมพ์พระสมเด็จ,พิมพ์ประทานพร,พิมพ์ยี่สิบห้าศตวรรษ, ๖. เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๒๐ ๗. วัตถุมงคลสร้างแจกงานผูกพัทธสีมา ปี พ.ศ.๒๕๒๔ มี - เหรียญรุ่นสอง ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา - พระเนื้อว่านแบบพิมพ์ต่าง - ผ้ายันต์สกรีนสีแดง ๘. พระบูชาขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว ๙. อื่นๆ อาจจะมีการสร้างแต่ไม่สามารถสืบค้นได้ การเล่นหาควรจะหาที่มาที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ เท่านั้น(ขอบคุณข้อมูลพี่หลวงชา ป่ายอม).....
[ ราคา ] ฿8
[ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านศูนย์พระเครื่องสายใต้ เจ กันตัง] เบอร์โทรศัพท์ : 086-6009417 / Line ID:0866009417


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองคอน
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อลาภ วัดแหลมตะลุมพุก บล็อคนิยม
เหรียญพระธาตุ นครศรีธรรมราช บล็อกนิยม(ฟ้าผ่า) ปี ๒๔๙๗
เหรียญพ่อท่านเขียว วัดหรงบล จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
พระผงพิมพ์สมาธิ พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง....๑
พระท่าเรือ อาจารย์เผ้ง วัดหน้าพระธาตุ พิมพ์ใหญ่ หายาก
พระลีลา พระครูกาแก้ว วัดหน้าพระธาตุ จ.นครศรีธรรมราช พ.ศ.2485
พระนางตราพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ
พระปิดตาพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ พิมพ์อุเดียว ฟอร์มสวย
หล่อโบราณ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน พิมพ์ห่มคลุม
รูปหล่อโบราณพ่อท่านเอียดดำ วัดในเขียว
พระเนื้อว่านหลวงพ่อโบ วัดศิลาชลเขต รุ่นแรกปี ๒๕๐๕ พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อปลอด วัดนาเขียง รุ่นพิเศษ
หล่อโบราณหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก รุ่นแรก จ.นครศรีธรรมราช
รูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อแดง วัดโท อ.ท่าศาลา จ.นครศรีฯ
หล่อโบราณพระครูแก้ว อุปัชฌาย์ รุ่นแรก นครศรีฯ
พระรูปเหมือนเนื้อดินผสมว่านรุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเสน วัดนาควารี (วัดหูล่อง) นครศรีธรรมราช ปี 2513
พระเนื้อดินท่านเจ้าคุณไพศาล วัดท่าโพธิ์ พิมพ์นางตรา
พระเนื้อดินท่านเจ้าคุณไพศาล วัดท่าโพธิ์...๑
พระปิดตาหลวงพ่อน่วม วัดหลวงครู พ.ศ. ๒๕๑๗ ฝังตะกรุด...๒
พระปิดตาหลวงพ่อน่วม วัดหลวงครู พ.ศ. ๒๕๑๗ ฝังตะกรุด...๑
เหรียญพ่อท่านน่วม วัดหลวงครู รุ่นแรก
พระปิดตาพ่อท่านหีต วัดเผียน
เหรียญพระครูสุวรรณธรรมรังสี วัดควนยาว
พระพวย พ่อท่านผุด วัดพระมหาธาตุฯ...๓
พระพวย พ่อท่านผุด วัดพระมหาธาตุฯ...๒
รูปหล่อพ่อท่านนวล วัดไสหร้า รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อดำ วัดควนชะลิก อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
รูปหล่อพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง รุ่นแรก...๒
รูปหล่อพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง รุ่นแรก...๑
เหรียญพ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ รุ่นแรก
เหรียญพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ รุ่นไตรมาส
เหรียญรุ่นแรกพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ
หลวงพ่อยุ้ง วัดกะเปียด รุ่นแรก ปี ๒๕๐๙
เหรียญพ่อท่านไข่ วัดลำนาว อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี ๒๕๓๘ นิยม...2
เหรียญพ่อท่านไข่ วัดลำนาว อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช รุ่นแรก ปี ๒๕๓๘ นิยม...1
พระรูปหล่อรุ่นแรกหลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
พระเนื้อว่านหลวงพ่อโบ วัดศิลาชลเขต รุ่นแรกปี ๒๕๐๕ พิมพ์เล็ก
แผ่นปั๊มบูชาพ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อสังข์ วัดเทพมงคล...๒
เหรียญหลวงพ่อสังข์ วัดเทพมงคล...๑
พระปิดตามหาจักรี นวะโลหะ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ปี ๒๕๒๕
เหรียญพระครูนนท์ วัดนันทาราม รุ่นแรก พิมพ์นิยม
หลวงพ่อแดง วัดโท รุ่นแรก (นิยม)

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด