หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 127 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2567

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองสงขลา
เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก ปี 2537 เนื้อทองแดง
01-10-2559 เข้าชม : 5337 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก ปี 2537 เนื้อทองแดง
[ รายละเอียด ] เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก ปี 2537 ปลุกเสกหนึ่งไตรมาส สรรพคุณจะเกี่ยวกับแคล้วคลาดปลอดภัยจะดี
    ประวัติพระครูสมานคุณากร ( จันทร์ จนฺทวํโส)
    ชื่อ – สกุล(เดิม) จันทร์ ยอดมุณี วัน เดือน ปี วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
    สถานที่เกิด บ้านท่าจีน ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    บิดา นายสีแก้ว ยอดมุณี (เสียชีวิต พ.ศ.2497)
    มารดา นางแดง (ช่วยบุญ) ยอดมุณี (เสียชีวิต) (มีนาคม พ.ศ.2542)
    พี่-น้อง
    1. นายจันทร์ ยอดมุณี (พระครูสมานคุณากร)
    2. นางเนี้ยว บัวคีรี
    3. นายช่วง ยอดมุณี
    การประกอบอาชีพของบิดา-มารดา
    ทำนา ทำสวน (เช่น สวนทุเรียน ยางพารา สะตอ) ลักษณะของการทำสวนสมัยนั้นเป็นไปตามธรรมชาติไม้ผลต่างๆ ที่ขึ้นในสวนเป็นไม้ผลที่ขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติเพียงแต่เข้าไปถากถางหญ้าให้สวนเรียบร้อยเท่านั้น นอกจากนี้บิดายังมีความรู้ทางด้านการก่อสร้าง จึงทำให้พระครูสมานคุณากรมีความรู้พิเศษทางการก่อสร้างซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาวัดโคกสมานคุณ ได้แก่ การสร้างโรงเรียน และกุฏิเทพพิทักษ์
    ชีวิตในวัยเด็ก
    เด็กชายจันทร์ ยอดมุณี เกิดที่บ้านท่าจีน ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ บ้านโคกหาร ต.น้ำน้อย .หาดใหญ่ จ.สงขลา อันเป็นสถานที่ที่นายปลอด (ขณะนั้นมีอายุประมาร 15-20 ปี) ซึ่งเป็นน้องชายของบิดาเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในบริเวณนี้ก่อนได้ 2-3 ปีแล้ว ทั้งนี้สภาพของบ้านโคกหารขณะนั้นเป็นป่าดงดิบ มีเสือและสัตว์ป่าอื่นๆอาศัยอยู่มาก นายปลอดเข้ามาบุกเบิกทำไร่ทำนา(ข้าวไร่) การทำนาในสมัยนั้นใช้วิธีเดินตามกันสองคน โดยคนแรกใช้ไม้ไผ่เจาะพื้นดินนำทางก่อน แล้วคนที่เดินตามหลังจะหยอดเมล็ดข้าวซึ่งอยู่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วใช้เท้ากลบดิน วิธีการปลูกข้าวไร่แบบนี้ทำให้ไม่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เป็นวิธีที่นิยมใช้ทำนาในที่ดอนที่ไม่มีน้ำมาก สมันนั้นการทำนาทำเพื่อพอกินเท่านั้น จึงปลูกข้าวประมาณ 6-7 ไร่ หากมีการขายข้าวเมื่อไหร่ย่อมหมายความว่าในช่วงระยะเวลานั้นไม่มีอะไรจะกินแล้ว ส่วนการปลูกผักเป็นการปลูกเพื่อขายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในระยะเวลานั้นต้องพึ่งพาตนเอง ทั้งผู้หญิงและผู้ชายช่วยกันทำไร่ทำนา นอกจากนี้ผู้หญิงยังต้องรู้จักทอผ้าใช้เองภายในครัวเรือนอีกด้วย ภายหลังจากที่นายสีแก้ว โยมบิดาของพระครูสมานคุณากร(จันทร์ จนฺทวํโส) เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกหารแล้ว บรรดาญาติพี่น้องคนอี่นๆ ก็ทยอยเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น
    ในระยะนั้นใครมีกำลังมากน้อยเท่าไหร่ ก็สามารถจับจองที่ทำกินได้ตามกำลังความสามารถของแต่ละครอบครัว นายสีแก้วจึงทำการหักร้างถางพงทำไร่ทำนาเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ สร้างฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งสามารถสร้างบ้านเรือนหลังใหญ่ ซึ่งคนในบริเวณนั้นรู้จักกันดีในนาม ”ศรีแก้วเรือนใหญ่” อันมีความหมายถึง บ้านที่ใหญ่ที่สุดในละแวกนั้น
    เมื่อเด็กจันทร์ มีอายุได้ 9 ปี เนื่องจากโรงเรียนอยู่ห่างไกลจากบ้านโคกหาร ทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปโรงเรียน หลวงน้า(สีเพ็ชร์ บุญช่วย) ซึ่งบวชอยู่ที่วัดแหลมพ้อ (ตั้งอยู่ที่เกาะยอบริเวณข้างสะพานติณสูลานนท์ในปัจจุบัน) จึงนำเด็กชายจันทร์ ยอดมุณี ไปอยู่ที่วัดด้วย เพื่อให้ได้เรียนหนังสือ หลวงน้า (สีเพ็ชร์ ช่วยบุญ) ได้อบรมสอนหนังสือเด็กชายจันทร์ตามแบบวิธีในสมัยปัจจุบัน คือในตอนกลางวันเริ่มเรียนตั้งแต่ นโม พุทธายะ และ ก ข ค ฆ ง ฯลฯ การผันอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ ส่วนในช่วงเวลากลางคืน เรียนภาษาบาลี ปี ) เด็กชายจันทร์ ยอดมุณีได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนหนังสือในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดแหลมพ้อ แต่ด้วยพื้นความรู้ที่หลวงน้า (สีเพ็ชร์ ช่วยบุญ) ได้อบรมสั่งสอนมาก่อน ทำให้ครูผิน ณ สงขลา อนุญาตให้เด็กชายจันทร์ ยอดมุณี เลื่อนไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ต่อมาได้เรียนหนังสือพระ คือหนังสือสวดมนต์ควบคู่ไปด้วย ครั้นอายุได้ 16 ปี จึงเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 และต้องออกจากโรงเรียนวัดแหลมพ้อเพื่อมาช่วยบิดา มารดาทำไร่ ทำนา เป็นเวลา 4 ปี ชีวิตสมณเพศ
    เมื่ออายุครบ 20 ปี หลวงน้า (สีเพ็ชร์ ช่วยบุญ)ได้พานายจันทร์ ยอดมุณี ไปบวชนาคที่วัดโคกสมานคุณ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงน้า (สีเพ็ชร์ ช่วยบุญ) ได้ย้ายมาจำพรรษา วัดโคกสมานคุณสร้างเมท่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2466 มีพระครูสมานคุณารักษ์(ปั้น อุตฺรโร) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก โดยที่หลวงพ่อปาน(ลิ้นดำ) ผู้ซึ่งสร้างวัดคลองเรียนได้นำหลวงพ่อปั้นมาบวชที่วัดคลองเรียนแล้วให้ไปจำพรรษาที่วัดโคกสมานคุณ สภาพของวัดโคกสมานคุณในระยะแรกเป็นป่าต้นพ้อ ต้นเสม็ด วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งทางด้านหน้าวัดมีบ้านอยู่เพียงหนึ่งหลัง ในระยะเวลาต่อมาพวกมิชชั่นนารีได้มาเปิดโรงพยาบาลมิชชั่นทางด้านหน้าวัดส่วนทางด้านตะวันตกเป็นชุมชนของคนหาดใหญ่มีชื่อเรียกว่า “บ้านกลาง บางหัก” ซึ่งมีโรงเหล้าเก่าตั้งอยู่แต่ในปัจจุบันรื้อไปแล้ว
    เมื่อมาอยู่วัดโคกสมานคุณ นาคจันทร์ได้ทำการทบทวนหนังสือที่ได้เรียนมาเมื่อครั้งยังเด็กจนคล่องแคล่วแล้ว จึงเช้ารับการอุปสมบท แต่ในเวลานั้นอยู่ในช่วงของการเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระหว่างการทำสงครามบริเวณชายหาดสมิหลา จ.สงขลา เป็นจุดหนึ่งที่ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกของชายฝั่งประเทศไทย ภาวะสงครามได้ทำให้เกิดความเดือดร้อนและความยากลำบากแก่ประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก ต้องทอผ้าเอง สบู่กลายเป็นของหายากทำให้ชาวบ้านเป็นหิด เหา เมน(มีลักษณะคล้ายๆตัวไร มีสีขาวชอบอยู่ตามผ้า) ทำให้ต้องต้มผ้าเพื่อกำจัดสัตว์เหล่านั้น ผ้าในสมัยสงครามหาได้ยากยิ่ง จนต้องมีการนำอาผ้าเต้นท์มาตัดเป็นกางเกง และนำเอาเส้นใยสับปะรดมาทำเป็นด้ายเย็บผ้า นอกจากนี้การเดินทางไปมาหาสู่ทำได้ยากลำบาก ด้วยอัตคัดยานพาหนะ ซึ่งความยากลำบากนี้ส่งผลกระทบไปถึงนาคจันทร์ ที่ไม่อาจจะหารถไปบ้านโคกหาร ตำบลน้ำน้อยเพื่อไปอุปสมบท จึงต้องเดินทางด้วยเท้าไปตามเส้นทางรถไฟโดยใช้เวลานานถึง 3 ชั่วโมง เมื่อถึงบ้านโคกหาร นาคจันทร์ได้รับการอุปสมบทที่วัดแม่เตย ในวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ขึ้น 3 ค่ำ โดยมีพระอุปัชฌาย์ช่วย ธฺมมโชโต แห่งวัดแม่เตยเป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูสมานคุณารักษ์ (หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร) แห่งวัดโคกสมานคุณ พระครูอุดมสาธุกิจ(อิน) แห่งวัดท่านางหอม เป็นพระคู่สวด เมื่อทำการอุปสมบทแล้วได้รับฉายาว่า จันทร์ จนฺทวํโส หลังจากเสร็จพิธีบวชที่วัดแม่เตยในเวลา09.00น จึงได้เดินทางตามทางรถไฟจากวัดเนินไศลไปถึงวัดโคกสมานคุณ เวลา 07.09 น.เมื่อภิกษุจันท์ จนฺทวํโส มาอยู่ที่วัดโคกสมานคุณได้เข้าศึกษาในหลักสูตรนักธรรมตรีและสามารถสอบนักธรรมตรีได้เมื่อ พ.ศ.2487
    ต่อมาใน พ.ศ. 2488 มีพระครูสมานคุณารักษ์ (หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร) ดำริจะสร้างโรงเรียน และกุฏิภายในวัดโคกสมานคุณ รวมทั้งกุฏิเทพพิทักษ์ด้วย จึงพาภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส ไปตัดต้นไม้ที่ควนจง นามม่วง เพื่อนำไม้ไปสร้างโรงเรียน(สมัยนั้นปูนซีเมนต์ถุงละ 18 บาท ทองคำบาทละ 400 บาท ทั้งนี้ได้ทำการลากไม้มาตามทางรถไฟ ด้วยการใช้แรงควายที่ขอยืมมาจากด่านกักสัตว์หาดใหญ่ จำนวน 10 ตัว ชักลากไม้จากควนจง นาม่วงมาที่วัด โคกสมานคุณ เมื่อได้ไม้มาแล้วหลวงพ่อปั้น อุตฺตโร พร้อมด้วยภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส กับพระลูกวัดองค์อื่นๆ อีก 25 รูป และมีนายหัวท่าขาวเป็นสายช่างใหญ่ ในการสร้างโรงเรียนและกุฏิครั้งนี้ได้ระดมกำลังทำกันทั้งกลางวันและกลางคืน (ด้วยการจุดตะเกียงเจ้าพายุให้ความสว่าง) ในการนี้ ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสได้ใช้แรงกายและอาศัยความรู้ทางช่าง(การก่อสร้าง) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากโยมบิดา เข้าช่วยเหลืออย่างเต็มที่ จึงไม่ได้เข้าสอบนักธรรมโทในปีพ.ศ.2488 แต่มาสมัครเข้าสอบนักธรรมโทและสอบได้ใน พ.ศ.2489
    จากนั้นใน พ.ศ.2490 ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส ดำเนินการสร้างกุฏิเทพพิทักษ์ต่อ และในปีเดียวกันนี้ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสได้รับตราตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม และพระครูไพศาลสาธุกิจแห่งวัดวังปริง ต.พังลา อ.สะเดามาขอตัวภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสจากพระครูสมานคุณารักษ์ (หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร)ให้ไปช่วยสอนนักธรรมที่วัดวังปริง โดยที่ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนนักธรรมนานถึง 4 ปี (ในช่วง พ.ศ. 2491-249
    ในปี พ.ศ. 2494 ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสกลับไปอยู่ที่วัดโคกสมานคุณและสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในปีเดียวกันนั้นเอง นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการสร้างกุฏิเทพพิทักษ์ต่อจนสำเร็จ และได้ใช้เป็นที่พักสืบต่อมาจนกระทั่งมรณภาพ ขณะเดียวกันนั้นภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสยังได้ช่วยงานในตำแหน่งเลขานุการของพระครูสมานคุณารักษ์ (หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร)ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบล และภิกษุจันทร์ได้เดินทางไปวัดสามพระยา จ.กรุงเทพฯ นานถึง 45 วันเพื่ออบรมวิชานักธรรม ศาสนพิธีต่างๆ การตั้งโต๊ะหมู่บูชา พระบูชาการทำสัญญาก่อสร้าง การทำบัญชี การบริหารวัด ในช่วงระหว่างการอบรมครั้งนี้ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส ได้ใช้ทุนส่วนตัวไปเรียนพิมพ์ดีดในตอนกลางคืนที่ตลาดบางขมิ้น (หลังวัดระฆังโฆษิตาราม) เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 นายสีแก้วโยมบิดาภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส ถึงแก่กรรม ทำให้ภิกษุจันทร์คิดจะลาสิกขาบทเพื่อไปช่วยโยมมารดาทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว เพราะน้องชายอยู่ระหว่างการบวชพระที่วัดท่านางหอม ครั้นเมื่อภิกษุจันทร์เข้าไปลาพระครูสมานคุณารักษ์(หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร) ท่านได้กล่าวว่า “คุณสึกแล้วผมจะอยู่กับใคร คุณสึกพร้อมผมดีกว่า” ทำให้ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส ล้มเลิกความคิดที่จะสึก เพราะรู้ว่าพระครูสมานคุณารักษ์ (หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร) ไม่มีทางสึก ในระหว่างนี้ภิกษุจันทร์ จนฺทวํโสได้ทำหน้าที่เลขาให้พระครูสมานคุณารักษ์ (หลวงกพ่อปั้น อุตฺตโร) ซึ่งต้องทำหน้าที่ดูแลวัดในความปกครอง 5 วัดคือ วัดคลองเรียน วัดคอหงส์ วัดคลองแห วัดหาดใหญ่ วัดท่าแซะ เป็นเวลานานถึง 10 ปี โดยได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องการทำบัญชีรายชื่อพระและผู้เข้าสอบนักธรรมซึ่งจะต้องเขียนด้วยมือ เพื่อส่งไปยังอำเภอ และจังหวัดต่อไปต่อมา โดยได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์จันทร์ จนฺทวํโส
    ในปี พ.ศ. 2498 ครั้นเมื่อพระเดชพระคุณพระเทพมุนี (กลิ่น ศรนริทร์) ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอรรถโมลี” ทำให้ต้องควบคุมวัดต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาจำนวน 300 กว่าวัด ต่อมา พระสมุห์จันทร์ จนฺทวํโส ทำหน้าที่เป็นเลขาของเจ้าคณะตำบลหาดใหญ่ (ท่านปั้น) เป็นเวลา 3 ปี และในปี พ.ศ. 2518 พระเดชพระคุณพระเทพมุนี(กลิ่น ศรนริทร์) ได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระราชรัตนดิลก” และพระสมุห์จันทร์ จนฺทวํโส ได้รับตำแหน่งฐานานุกรมเป็นพระครูสมุห์จันทร์ จนฺทวํโส
    ต่อมาพระครูสมุห์จันทร์ จนฺทวํโสได้ลงความเห็นร่วมกับเจ้าอาวาส(หลวงพ่อปั้น อุตฺตโร) ร่วมกันสร้างหอฉันเพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุมโดยใช้เวลาสร้างนานถึง 9 ปี ทั้งนี้เพราะว่าทุนทรัพย์ที่นำมาใช้สร้างหอฉันนี้ มาจากการรวบรวมเงินบริจาคของญาติโยมทั้งหลาย โดยที่พระครูสมุห์จันทร์ จนฺทวํโส มีความคิดว่า การสร้างหอฉันในครั้งนี้จะใช้แรงกายเหมือนอย่างครั้งการสร้างโรงเรียนและกุฏินั้นคงจะไม่เพียงพอ จึงเกิดความคิดว่าจะต้องรวบรวมทุนทรัพย์จากชาวบ้าน ซึ่งอยู่ในรูปของการดำเนินกิจกรรมหลายรูปแบบภายใต้การนำขอภิกษุจันทร์ จนฺทวํโส เช่นการทอดกฐิน การทอดผ้าป่าข้าวสารซึ่งการที่จะไปบอกบุญเรี่ยไรให้กับญาติโยม และการเทศน์ให้เพียงอย่างเดียวอาจไม่เป็นที่น่าสนใจมากนัก จึงได้ทำหนังสือผ่านทางเจ้าอาวาสวัดโคกสมานคุณไปถึง USIS เพื่อขอภาพยนตร์มาฉาย ปรากฏว่าทาง USIS ได้ให้ความอนุเคราะห์ทั้งภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพยนตร์ คนฉายภาพยนตร์ คือ คุณบุญเลิศ โดยเดินทางมาหลายครั้ง ครั้งละเป็นเวลานาน ในทุกครั้งก่อนที่จะดำเนินการบอกบุญพระครูสมุห์จันท์ จนฺทวํโส จะทำการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าด้วยการพิมพ์ข้อความรายละเอียดแจ้งวัน เวลา สถานที่ ลงบนถุงกระดาษสีน้ำตาล ครั้นเมื่อถึงตามกำหนดจะมีการเทศน์โดยภิกษุวีระ(ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) จากนั้นคุณบุญเลิศได้ฉายภาพยนตร์ของUSIS ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับการเสด็จประพาสประเทศสหรัฐอเมริกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยพระวีระทำหน้าที่บรรยายประกอบภาพยนตร์ ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประชาชนเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ในสถานที่ต่างๆ ที่เดินทางไปบอกบุญที่ไกลที่สุดทางด้านตะวันออก คือ ต.พร่อน อ.ตากใบ และทางด้านใต้ อ.แว้ง จ.นราธิวาส อนึ่งในการกำหนดแผนการเดินทางแต่ครั้งพระครูสมุห์จันท์ จนฺทวํโสทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดแผนการ คณะที่ไปมีเพียง 5 คน ด้วยวิธีการนี้ทำให้ได้รับบริจาคข้าวสารจากประชาชนเป็นจำนวนมาก (ในสมัยก่อนเงินเป็นของหายาก ชาวบ้านจึงบริจาคข้าวสารแทน ซึ่งเป็นของที่หาได้ง่ายกว่าเพราะมีการปลูกกันอยู่ทุดครัวเรือน) หลังจากที่ได้รับข้าวสารแล้ว ทางวัดนำเอาข้าวสารที่ญาติโยมศรัทธาบริจาคไปเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้สร้างหอฉัน ทั้งนี้มีโยมแฉล้มแห่งร้าน ฉ.วัฒนา เป็นกำลังสำคัญในการจัดการเรื่องนี้ เมื่อได้เงินมาในแต่ละครั้งก็จะถูกนำไปใช้สั่งซื้อไม้จากกรุงเทพโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้สั่งให้ ไม้ที่ซื้อมาคือไม้ตะแบก ไม้เต็ง ไม้รัง เมื่อได้ไม้มาแล้วต้องบรรทุกเกวียนจากควนจงมาหาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะในระยะนั้นทางรถไฟสายเก่าไม่ผ่านหาดใหญ่
    ทางด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ภายในวัดโคกสมานคุณนั้นแต่เดิมได้มีการศึกษาวิชาทั้งทางธรรมและทางโลก ในการสอนทางธรรมได้สอนเกี่ยวกับประวัติ ธรรมะ วินัย กระทู้ (เรียงความ) ส่วนการเรียนการสอนวิชาทางโลกนั้น พระเดชพระคุณพระเทพมุนี (กลิ่น ศรนรินทร์) เป็นผู้บุกเบิกเป็นคนแรก โดยได้แบ่งเวลาการเรียนการสอนวิชาทางโลกเรียนในช่วงเช้าระหว่างเวลา 08.30 – 11.30 น. และช่วงบ่ายเรียนวิชาทางธรรมระหว่างเวลา 13.00 – 16.30 น. ทั้งนี้พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส ได้สอนวิชาทางธรรมและท่านมีวิธีการสอนที่สนุกทำให้พระนักเรียนไม่ง่วงนอน แม้นว่าจะเรียนในช่วงบ่ายก็ตาม จากการที่วัดโคกสมานคุณเปิดสอนวิชาทั้งทางโลกและทางธรรมทำให้สำนักเรียนนักธรรมที่วัดโคกสมานคุณเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมาก มีพระมาเรียนมากถึง 100 กว่าองค์ โดยมาจากที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ จ. ชุมพรถึง จ.นราธิวาส แม้แต่ จ.นครศรีธรรมราชก็มีพระมาเรียนด้วยเช่นกัน ช่วงระหว่างที่พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส อยู่ที่วัดโคกสมานคุณได้มีส่วนช่วยพัฒนาความเจริญให้แก่วัดในหลาย ๆ ด้านได้แก่ การสร้างหอฉัน การสร้างโรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน (หลังเก่าเป็นอาคารไม้ และได้ถูกพายุพัดพังในปี พ.ศ. 2494 จึงได้สร้างหลังใหม่ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมของเอกชนเพื่อการกุศล โดยวัดโคกสมานคุณเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนโรงเรียนวัดโคกสมานคุณเป็นโรงเรียนของรัฐในระดับประถม ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้ร่วมกับเจ้าอาวาสทำการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามมกาลเวลา ไม่เหมาะที่จะทำสังฆกรรมได้สะดวก อีกประการหนึ่งมีค้างคาวมากในแต่ละครั้งสามารถเก็บมูลค้างคาวได้ 4-5 กระสอบ และในแต่ละสัปดาห์สามารถนำรถหกล้อมาเก็บมูลค้างคาวไปขายได้เป็นจำนวนมาก ในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่นี้พระครูปลัดจันทร์ได้ระดมทุนจากญาติโยมผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมากผู้ที่เป็นกำลังสำคัญคือ พระเสน่หามนตรีได้บริจาคเงินเป็นทุนประเดิมจำนวน 250,000 บาท และได้เงินจากการทอดกฐินอีก 2,000บาท (ขณะนั้นทองคำบาทละ 400 บาท ) การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่นี้นายช่างสนั่น(ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งมาจากกรุงเทพฯ ได้ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างพระอุโบสถ โดยทางวัดได้จ่ายเงินให้เป็นงวดๆ จนกระทั่งงวดสุดท้ายวัดไม่มีเงินจ่ายให้ แต่นายช่างสนั่นได้สร้างให้ก่อนปรากฏว่าเมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จในพ.ศ. 2520 ส้นเงินจำนวน 3,500,420 บาท พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส ต้องค้างเงิน นายช่างสนั่นอยู่ 50,000 บาท ครั้นพระอุโบสถสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยกช่อฟ้า เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 ในการเสด็จครั้งนี้พระองค์ทรงมีพระราชศัทธาถวายพระราชทรัพย์ร่วมสรางพระอุโบสถ 25,000 บาท และทรงประทับอยู่ที่วัดนานถึง 40 นาที ทรงมีพระปฏิสันถารเล่าเรื่องราวเหตุการณ์การลอบวางระเบิดที่ จ.ยะลา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่นาน และในโอกาสนี้พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโสได้ถวายพระเครื่องแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1 ห่อ ภายหลังจากการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ไม่นาน วัดโคกสมานคุณก็ได้รับการยกฐานะเป็นวัดหลวงชั้นสามัญ ในปี พ.ศ. 2521
    ใน พ.ศ. 2522 พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส ได้เดินทางไปประเทศศรีลังกาเพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มูลเหตุแห่งการเดินทางในครั้งนี้สิบเนื่องมาจากพระมหาศรีสัจจ์ ซึ่งเป็นพระวัดโคกสมานคุณได้ไปเรียนที่ประเทศศรีลังกา และเมื่อเดินทางกลับมาเมืองไทย ได้เล่าถึงพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาให้พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส ฟัง จึงเกิดศรัทธาที่จะเดินทางไปประเทศศรีลังกา การเดินทางในครั้งนี้ ได้รับการบริจาคตั๋วเครื่องบินจากคุณอำภา ซึ่งได้มาดูดวงชะตาเรื่องการขายบ้านจัดสรรว่าจะขายได้หมดหรือไม่ ถ้าหากขายได้หมดจะถวายตั๋วเครื่องบิน พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส บอกว่าขายได้หมด คณะผู้เดินทางประกอบด้วย หลวงพ่อท่านสอน วัดน้ำน้อยในนายเล้ง (ไม่ทราบนามสกุล)ซึ่งเป็นลูกศิษย์และเป็นคนหาดใหญ่ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว พระ ดร.ทวีซึ่งเป็นคนจังหวัดพัทลุงเป็นผู้นำทาง ปัจจุบันพระ ดร.ทวีเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ จ. พัทลุง เมื่อเดินทางไปถึงประเทศศรีลังกาแล้วได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 3 นิกาย (รามัญนิกาย อมรนิกาย(พม่า)สยามนิกาย) พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 3 พระองค์ พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส และคณะอยู่ที่ประเทศศรีลังกา 15 วัน ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดได้ขอสมณศักดิ์ให้พระครูปลัดจันทร์ จนฺทวํโส เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสมานคุณากร” (พระครูกึ่งชั้นเอก-โท) และได้เดินทางไปรับพัดยศที่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 5 ธันวาคม 2527
    พ.ศ. 2541 พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) อาพาธหนักถึงกับต้องส่งเข้าห้อง ICU ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ด้วยอาการหายใจไม่ออก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยมีนายแพทย์อำนาจ อัครวิเนก ให้การรักษาพยาบาลจนกระทั่งเป็นปกติ ซึ่งต้องอยู่โรงาพยาบาลนานถึง 5 วัน และกลับมาจำวัดที่วัดโคกสมานคุณ หลังจาก พ.ศ. 2541 พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) มีสุขภาพไม่แข็งแรง เช่น เดินแล้วปวดขามาก เนื่องจากเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ในปี 2542 ได้รับการผ่าตัดหลังที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ด้วยความชราภาพและเป็นโรคหัวใจ พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) ได้อยู่ในความดูแลของนายแพทย์อำนาจ อัครวิเนก มาตลอด จนกระทั่งเดือนตุลาคม 2544 ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่อยู่ถึง 20 วัน ใน ระหว่างนั้นนายช่วง ยอดมณี น้องชายเป็นผู้ดูแลมาตลอด จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
    ความสนใจทางด้านโหราศาสตร์
    สืบเนื่องมาจากแนวความคิดที่ต้องการให้ประชาชนมาวัด พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) สังเกตพบว่าโดยส่วนใหญ่ประชาชนจะมาหาพระก็ต่อเมื่อมีธุระ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นการนิมนต์ไปสวดในงานศพและงานต่างๆ พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) มักจะถูกนิมนต์ให้ไปสวดพระอภิธรรมศพเกือบทุกคืนโดยไปกับพระคู่สวด คือพระครูอมรสมานคุณ และพระดำรง (ปัจจุบันมรณภาพแล้วทั้งสององค์) การสวดพระอภิธรรมในสมัยนั้นต้องอยู่สวดศพทั้งคืนเพื่ออยู่เป็นเพื่อนศพ จึงมีทั้งการสวดพระมาลัย สวดสังคห เมื่อสวดไปเรื่อยๆ ครั้นดึกมากๆ คนเฒ่าคนแก่พากันหลับกันหมดเหลือแต่ลูกหลาน พระครูสมานคุณากรจึงได้เรียกลูกๆหลานๆ ที่อยู่เป็นเพื่อนศพมาดูดวงชะตา ราศี เพื่อจะได้ไม่ง่วงนอน แม้ความรู้เกี่ยวกับการดูชะตา ราศี ในขณะนั้นยังมีไม่มากนัก แต่ได้รับความสนใจจากผู้ที่ดูชะตาราศี จากจุดนี้เองทำให้พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) เกิดความสนใจทางด้านโหราศาสตร์อย่างจริงจัง ทั้งนี้เริ่มจากการศึกษาเรื่องเลข 7 ตัวก่อน จากนั้นได้ศึกษาในเรื่องการผูกดวงชะตา หารหาฤกษ์ยาม การเขียนยันต์ลงอักขระฯลฯ อนึ่งการศึกษาทางด้านโหราศาสตร์นี้ เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากตำรา จากการฟัง การจดจำจากหมอดูที่มาอยู่มาพำนักอยู่ที่กุฏิ ทำให้พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) สามารถทำนายทายทักให้กับบุคคลต่างๆ และได้รวบรวมเก็บสถิติต่างๆ ครั้นนานวันผู้คนเริ่มมาให้พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) ดูดวงชะตา ราศีมากขึ้น จนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอนึ่งในการตรวจดูดวงชะตา ราศีของพระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) นั้นไม่ได้เรียกเก็บเงิน แต่มักจะรับการบริจาคเงินจากบุคคลต่างที่มาดูดวงชะตา ราศี ทั้งนี้เงินจำนวนดังกล่าวนี้ได้ถูกนำไปใช้เลี้ยงเด็กและพระ 30 กว่าองค์ที่อยู่ภายในวัดมาโดยตลอด และยังนำเงินบางส่วนมาใช้ในการสร้างเสนาสนะภายในวัดอีกด้วย ความภาคภูมิใจ การสร้างพระปรางค์ ความปรารถนา กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระปรางค์ หลักปฏิบัติ ประพฤติ ปฏิบัติงานตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือการไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดีและทำใจให้บริสุทธิ์
    ผลงานที่สำคัญ
    1.การถวายเทียนพรรษา พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) มีความคิดที่จะช่วยพัฒนาวัดต่างๆ ที่มีคุณูปการต่อพระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส)ในอดีต จึงได้นำเงินส่วนหนึ่งจากการดูดวงชะตา ราศี และจากการบอกบุญแก่บรรดาญาติโยมที่มีจิตศรัทธาต่อพระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) ไปซื้อน้ำมันก๊าดจำสวน 80 ปี๊บ(ระยะนั้นน้ำมันก๊าดปี๊บละ24-25 บาท) ไปถวายวัดท่านางหอมในช่วงก่อนเข้าพรรษา เพื่อใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างในตอนกลางคืน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าและอยู่ห่างไกล ทางเข้าก็ทุรกันดาร การเดินทางในระยะแรกๆ ต้องหาบปี๊บน้ำมันก๊าดไปถวายที่วัดท่านางหอม นับจากจุดนี้ในปีต่อๆมาได้มีการทำบุญทุกปีและค่อยๆ เพิ่มจำนวนวัดมากขึ้น จาก 1 วัด เป็น 2,3,4 ไปจนถึง 10 วัดใน(พ.ศ. 2541) โดยที่วัดต่างๆ ที่ไปวายเทียนพรรษานั้นนอกจากจะเป็นวัดที่เคยเกี่ยวข้องกับ ต่อพระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) มาก่อนแล้วมักจะเป็นวัดที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดาร ลำดับการเดินทางถวายเทียนพรรษาตามวัดต่างๆ มีดังนี้ แรกเริ่มที่วัดท่านางหอม วัดเนินไศล วัดน้ำน้อยนอก วัดน้ำน้อยใน วัดศรีษะคีรี วัดบ่อระกำ วัดห้วยขันต์ วัดโคกสูง(วัดนี้ในระยะหลังตัดออกเพราะมีถนนหนทางสะดวก มีผู้คนเดินทางมาทำบุญมากแล้ว และมีความเจริญมากขึ้น) วัดท่าข้าม และวัดแม่เตย (เป็นวัดที่พระครูสมานคุณากรบวช) โดยจัดแบ่งให้คณะลูกศิษย์และผู้ร่วมศรัทธาจองเป็นคณะเจ้าภาพในแต่ละวัด ในระยะต่อมาความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันก๊าดหมดไป เมื่อไฟฟ้าเข้าไปถึงวัดต่าง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งของที่นำไปถวายวัดต่างๆ โดยเปลี่ยนจากน้ำมันก๊าดเป็นวัตถุสิ่งของที่จำเป็นแก่วัดแทน เช่น ข้าวสาร หลอดไฟฟ้า น้ำตาล น้ำปลา จอบ เสียม บุ้งกี๋ ปูนซีเมนต์ ฯลฯ ต่อมากิจกรรมการถวายเทียนพรรษาได้ขยายตัวมากขึ้น และ เริ่มเปลี่ยนรูปแบบขบวนแห่จากการเดินมาเป็นการขบวนแห่ด้วยรถโดยสารเริ่มจาก 2-3 คันเมื่อปี พ.ศ. 2528 มาเป็นประมาณ 100 คันในช่วงปี พ.ศ. 2528 เส้นทางการเดินทางมีจุดเริ่มต้นขบวนอยู่ที่วัดโคกสมานคุณ โดยท่านพระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) จะแจกธงเป็นสัญลักษณ์การเข้าร่วมขบวนและป้องกันอุบัติเหตุ ทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ มาตลอด จากนั้นไปวัดเนินพิชัย วัดท่านางหอม (ซึ่งมีวัดน้ำน้อยนอก วัดน้ำน้อยใน วัดศรีษะคีรี มารับที่นี้) วัดเนินไศล(วัดควนหิน) วัดบ่อระกำ วัดห้วยขันธ์ และวัดแม่เตยเป็นวัดสุดท้าย กิจกรรมการถวายเทียนพรรษาทั้ง 10 วัดนี้ทำภายในหนึ่งวัน ตลอดระยะเวลาของการทำกิจกรรมนับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันนี้(พ.ศ. 2541) รวมเป็นเวลาประมาณเกือบ 20 ปี ได้สร้างความเจริญให้แก่วัดต่างๆ อย่างมาก นอกจากนี้แล้วยังเป็นการระดมผู้คนจากที่ต่างๆ ทั้งในตัวเมืองหาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง รวมไปถึงชาวมาเลเซียที่มีความศรัทธาต่อพระครูสมานคุณากร(จันทร์ จนฺทวํโส) ให้มาร่วมกิจกรรมทำบุญอย่างยิ่งใหญ่ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมนี้คือนางหงษ์ พฤกษยากรณ์ นางถั้น (ป้าปุก) จันทร์ดำรงค์ ซึ่งเป็นโยมอุปฐากของพระครูสมานคุณากร(จันทร์ จนฺทวํโส) มาตลอดชีวิต โดยจัดให้แต่ละคระเป็นเจ้าภาพ ทำการรวบรวมทุนทรัพย์เพื่อนำไปถวายวัดในแต่ละวัด เช่น เมื่อครั้งการถวายเทียนพรรษาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 มีผู้ที่เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในแต่ละวัดดังนี้
    1.วัดโคกสมานคุณ มีสมานคมสตรีประสานมิตร โรงน้ำมันพืชหยู่เซ่งไถ่(คุณจรูญศรี) และส.ส.ลาภศักดิ์เป็นเจ้าภาพ
    2.วัดเนินพิชัย มีบริษัทพิธานพาณิชย์ บริษัททรีโอ คณะของคุณอภินันท์ เป็นเจ้าภาพ
    3.วัดนางหอม มีคณะร้านทองดี หาดใหญ่ ทุ่งลุง คลองแงะ บ้านปริก ร้านทองไทยยินดี เป็นเจ้าภาพ
    4.วัดน้ำน้อยนอก มีคณะโอซาก้าห้างแสนอาภรณ์ เป็นเจ้าภาพ
    5.วัดน้ำน้อยใน มีห้างเพชรทองอุดมสิน ห้างรุ่งนคร เป็นเจ้าภาพ
    6.วัดศรีษะคีรี มีคณะห้างทองสินศิลป์นำดีและครอบครัวเป็นเจ้าภาพ
    7.วัดเนินไศล ( วัดหัวหิน ) มีโยมแม่ของพระคุณสมานคุณากร ( จันทร์ จนฺทวํโส ) คณะกังส์ไทยแสง คณะง่วนเส็ง เป็นเจ้าภาพ
    8.วัดบ่อระกำ มีคณะนางปุก คณะคุณอรพันธ์ คณะร้านอาหารชะนาง ร้านอาหารเจ็งง้วน ร้านเพชรพลอย เป็นเจ้าภาพ
    9.วัดห้วยขันธ์ มีคณะโรงแรมเมอร์ลิน (คุณสมใจ)เป็นเจ้าภาพ
    10.วัดแม่เตย มีคณะอาจารย์รัชนี(ม.อ.) คุณสุรนันท์ คณะเอี้ยเซี้ยง คณะร้านหงษ์รัตน์ เป็น เจ้าภาพ การไปถวายเทียนพรรษาในแต่ละปี จะได้รับการต้อนรับจากชาวบ้านในแต่ละวัดอย่างอบอุ่น ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกของแต่ละวัดจะนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหาร ผลไม้ตามแต่ศรัทธา มาเลี้ยง ต้อนรับผู้ที่ไปร่วมทำบุญ ไม่ซ้ำกันทั้งของว่างและอาหารกลางวัน จนเป็นที่ลือชื่อในหมู่ผู้ที่ไปร่วมทำบุญ นับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ความสามัคคี และการรวมตัวที่เข้มแข็งของชุมชนต่างๆ รวมไปถึงความผูกพันระหว่างวัดกับประชาชนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีของชุมชนชนบทและชุมชนเมืองในการประสานความร่วมมือในการพัฒนาพุทธศาสนา
    2.การสวดยันต์เกราะเพชร สืบเนื่องจากคุณธวัช ได้ขอร้องให้อาจารย์ณรงค์ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน(ลิ้นดำ)สอนคาถายันต์เกราะเพชรให้ กับพระคุณสมานคุณากร ( จันทร์ จนฺทวํโส ) (ไม่ได้เรียนจากหลวงพ่อปานโดยตรงเพราะท่านมรณภาพก่อน) นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เรียนอีก 3 ท่าน คือ พระสมนึก แห่ง อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช พระครูบวร ธรรมประกาศแห่งวัดบุปผาราม กรุงเทพฯ อีกท่านหนึ่งจำชื่อไม่ได้เป็นพระอยู่ใน จ.นครปฐม การสวดยันต์เกราะเพชรจะทำทุกวันเสาร์แรกของเดือน 3 (กุมภาพันธ์) เดือน 5 (เมษายน ) เดือน 7 (มิถุนายน) ซึ่งจะทำในวันใดวันหนึ่งก็ได้ แต่ที่วัดโคกสมานคุณจะทำในวันเสาร์แรกของเดือน 3 (กุมภาพันธ์) เชื่อกันว่าการสวดยันต์เกราะเพชร หรือบุคคลผู้ใดที่ได้เข้ามาร่วมในพิธีการสวดยันต์เกราะเพชร จะเป็นการป้องกันมิให้ถูกคุณไสยหรือผู้ที่ถูกคุณไสยก็จะหมดไป เป็นการป้องกันให้รอดพ้นจากภัยอันตราย และโรคภัยภัยไข้เจ็บส่วนผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ถ้าได้เข้าพิธีลูกในท้องก็จะรับความคุ้มครอง ถ้าหากเด็กๆ ได้เข้าร่วมพิธีก็จะเรียนเก่ง เป็นเด็กดี ในการสวดยันต์เกราะเพชรผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องนุ่งขาวห่มขาว และอยู่ร่วมพิธีสวด แต่ละปีมีผู้เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมากมีทั้งชาวไทยที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และชาวต่างชาติ (มาเลเซีย) การสวดยันต์เกราะเพชรนี้เป็นพิธีที่สำคัญซึ่งนับวันจะสูญหายไปมีผู้ที่สวดได้น้อยมาก ในแง่นี้เป็นการสืบทอดอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป และยังเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับประชาชนได้อย่างดี
    3.การสร้างพระปรางค์ จากการที่พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) ได้เดินทางไปประเทศศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2522 และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน 3 องค์กลับมาด้วย ในระยะต่อมาจึงมีแนวคิดที่จะหาสถานที่ที่เหมาะสมบรรจุพระบรมสารีริดธาตุ ความคิดในการก่อสร้างพระปรางค์จึงเกิดขึ้น และได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2532 แนวความคิดของรูปแบบการสร้างพระปรางค์ มาจากการผสมผสานผลงานทางสถาปัตยกรรมหลายแห่ง คือ ยอดพระปรางคามจากยอดปราสาทพระที่นั่งบางปะอิน และวัดต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนตัวองค์พระปรางค์มาจากพระบรมมหาราชวัง จากนั้นได้นำมาปรับประยุกต์ให้กลมกลืนกันโดยสร้างเป็นพระปรางค์ 3 ยอด การก่อสร้างพระปรางค์นี้เป็นฝีมือของนายช่างจากจังหวัดปราจีนบุรี สิ้นเงินไปแล้วกว่า 34 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ยังค้างในเรื่องของการตกแต่งรายละเอียดภายในพระปรางค์ และจะต้องให้นายช่างกลึงหินอ่อนจากจังหวัดสระบุรีเป็นรูปเจดีย์ 3 ชั้นเพื่อบรรจุพระบรมสาริริกธาตุ สำหรับเงินที่นำมาสร้างพระปรางค์นี้ มาจากการรวบรวมเงินที่ได้มาจากการทอดกฐิน การทอดผ้าป่า การทำบุญแห่เทียนเข้าพรรษา การดูดวงชะตา รวมทั้งจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั้งที่เป็นชาวไทยและมาเลเซีย ทั้งนี้บุคคลที่เป็นกำลังสำคัญต่อการจัดกิจกรรมรวบรวมระดมทุนคือ คุณหงส์ พฤกษยากรณ์ นางถั้น (ป้าปุก) จันทร์ดำรงค์ และคณะ และถ้าหากการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระครูสมานคุณากรมีความปรารถนาจะกราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเป็นความปรารถนาสูงสุดในชีวิต
    4. ผลงานอื่นๆ พระครูสมานคุณากร (จันทร์ จนฺทวํโส) ได้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือกิจกรรมต่างทั้งภายในและภายนอกวัดโคกสมานคุณดังนี้
    4.1 การเลี้ยงอาหารกลางวันแก่สามเณร ที่เข้าอบรมในภาคฤดูร้อนของวัดโคกสมานคุณ ซึ่งแต่ละปีจะมีสามเณรเป็นจำนวนมาก
    4.2 การบริจาคเงินให้แก่สถานแรกรับเด็กสงขลา โรงเรียนโสตศึกษา มูลนิธิสงเคราะห์คนอนาถา ซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งที่มาจากการแห่เทียนเข้าพรรษาในแต่ละปี
    4.3 ให้การสงเคราะห์แก่วัดต่างๆตามโอกาส 4.4 รับกิจนิมนต์ไปนั่งปรกเพื่อปลุกเสกวัตถุมงคล
[ ราคา ] ฿400
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองสงขลา
เหรียญพระวินัยรักขิต (คงทน) วัดเขาราม สงขลา
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่ออุ้ย วัดคอหงษ์ จ.สงขลา รุ่นแรก พ.ศ.2519
สมเด็จเจ้าสมภารทอง วัดคูหาใน
เหรียญสมเด็จเจ้าศรีวิไล วัดจาก อ.ระโนด จ.สงขลา ปี 2522
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อรมดำพร้อม วัดคลองแดง ปี 31 เนื้อทองแดง พิมพ์หน้าใหญ่ นิยม
พระปิดตารับทรัพย์ หลวงพ่อทอง วัดป่ากอ นาหม่อม จ. สงขลา ปี 39
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเชิงแสเหนือ ปี 2537 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล พิมพ์เล็ก
เหรียญหลวงพ่อเคว็จ วัดดีหลวงนอก รุ่นแรก ปี 2520  เนื้อทองแดงน้ำตาล
เหรียญพระประจำวัน วัดหาดใหญ่ใน ปี 2519  เนื้อทองฝาบาตรกะไหล่เงินหายาก
เหรียญหลวงปู่ทวดอินทร์ วัดหนองหอย สงขลา เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อคล้าย อินทมาโน วัดเจริญราษฎร์ รุ่นพิเศษ ปี 2519 เนื้ออัลปาก้าชุบ
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโคกทราย รุ่นแรก ปี 40 อายุ 89 ปี เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เหม้น วัดสองพี่น้อง 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระรูปเหมือน พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) วัดจะทิ้งพระ เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด ออกวัดแหลมทราย จ.สงขลา
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ วัดภูตบรรพต ปี 2520 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ วัดภูตบรรพต ปี 2520 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อเคว็จ วัดดีหลวงนอก  รุ่นแรก ปี 20 บล็อกแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เหม้น วัดสองพี่น้อง 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง สวยมาก
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ สุวัณโณ วัดภูตบรรพต รุ่นแรก ปี 2514 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ปั้น วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก จ.สงขลา เนื้อทองแดงผิวไฟ ปี16
หลวงพ่อแก้ว วัดยางทอง รุ่นแรก ปี 23 เนื้อทองแดง พิมพ์เล็ก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เหรียญพระอาจารย์สี วัดโคกเหรียง รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านแดง  วัดท่าแซ รุ่น 2 ปี 28 เนื้อทองฝาบาตร ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อร่วง วัดศาลาโพธิ์ สงขลา รุ่น 2 ตอกโค๊ตใบโพธิ์ รุ่นแรกของวัด
เหรียญหลวงพ่ออิ่ม วัดในวัง จ.สงขลา รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเนี่ยม คุณวัณโณ วัดขุนตัดหวาย หลังฤาษี รุ่นแรก ปี 29 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อภัทร วัดโคกสูง รุ่นฉลองสมณศักดิ์ ปี 30 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ ปี 2521 บล็อคนิยม มี ปญ
เหรียญหลวงพ่ออุ้ย วัดหงษ์ประดิษฐาราม รุ่นแรก ปี 19 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 34 เนี้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อยก วัดบางเขียด รุ่นแรก ปี 2522 เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม บล็อกแรกหายาก
เหรียญหลวงพ่อแก้วหลังพ่อท่านเสน วัดราษฎร์บำรุง ปี 2515 เนื้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านแก้ว วัดท่าบอน รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก ปี 36 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 34  เนี้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก ปี 2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เลียง วัดทรายขาว ปี 31 รุ่นมังกรคาบถุงเงิน เนื้อทองแดง
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นสอง เนื้อทองแดงรมดำ สวยมาก
เหรียญท่านมหาลอย วัดแหลมจาก ปากรอ รุ่นพิเศษ ปี 2523
หลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 2537 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล สภาพสวย
เหรียญหลวงปู่ร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ วัดศาลาโพธ์ รุ่น 3 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เพรียญพ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว ปี 2529 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ รุ่นสร้างมณฑป เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูเมฆ วัดเชิงแสใต้ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อท่านพระอุปัชฌาย์แก้วหลังหลวงพ่อเรือง วัดประตูไชย รุ่นแรก ปี 2535
เหรียญหลวงพ่อยก วัดบางเขียด รุ่นแรก ปี 2522 เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม บล็อกกลาก
เหรียญพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สงขลา ปี 19 เนื้อทองแดง
ภาพถ่ายหลังจารและผ้ายันต์คาบสมุทรเขียนมือพ่อท่านพลับ วัดระโนด  สงขลา
เหรียญแม่เจ้าอยู่หัว วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา  ปี 2528
เหรียญหลวงพ่อท่านพระอุปัชฌาย์แก้ว วัดประตูไชย รุ่นแรก
เหรียญสมเด็จเจ้าเกาะยอ รุ่นแรก พิมพ์หน้าแก่ เนื้อทองแดง
เจาะประเด็นเหรียญพระประจำวัน วัดหาดใหญ่ใน ปี 2519  เนื้อทองฝาบาตร
พระกริ่งภัยนิรันดร์หลวงพ่อเส้ง วัดแหลมทราย  ปี 2504 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดคลองแห รุ่น 3 ปี 20 เนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิ้ลทอง
เหรียญจันทร์เพ็ญ - ปลอดภัย หลวงตาเนียร สำนักสงฆ์ต้นเลียบ จ. สงขลา ปี  2538 มีโค๊ต เนื้อทองแดง
เหรียญพระอธิการทอง ธมฺมโชโต วัดเลียบ ปี 2519 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อแก้ว วัดยางทอง รุ่นแรก ปี 23  เนื้อทองแดง พิมพ์ใหญ่ จ.สงขลา
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว รุ่นแรก ปี 12 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อพร้อม วัดคลองแดน รุ่นแรก ปี 17 ชื่อนี้มีตำนาน
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นสอง เนื้อแดงผิวไฟ สวยมาก
พระปิดตาเนื้อผงว่านคลุกรัก อ.ศรีแก้ว วัดไทรใหญ่ จ.สงขลา พิเศษลงน้ำมันยางเก่า
เหรียญหลวงพ่อเลื่อน วัดผาสุการาม อ. หัวไทร รุ่นแรก พิมพ์รางรถไป
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง  วัดรามแก้ว รุ่นแรก ปี 12 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อจุล วัดปากจ่า ปี 2516 สงขลา สวยดำเดิมๆ
หลวงพ่อขวด วัดม่วงงาม  สงขลา รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดคลองแห รุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร เนื้อนิยม
ท่านอาจารย์หมาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก สงขลา
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก เนื้อทองเหลือง ก้นกลึงอุดเทียนเดิม
เหรียญหลวงพ่อแอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่น 2 พ.ศ. 2520
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงรูปเหมือนพ่อท่านแดง  วัดท่าแซ
เหรียญหลวงปู่ร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ รุ่น แรก
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา(จุ้มปะ) พิมพ์สี่เหลี่ยมมหาอุตม์
สกุ๊ปพิเศษพระปิดตาหลวงพ่อกล่อม วัดหูแร่ จ.สงขลา
พระครูโตก วัดใหญ่ รุ่นแรก ปี 17 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ ปี 17 สวยมาก
เหรียญพ่อท่านเอียด วัดชลธาราวาส รุ่นแรก ปี 28 เนื้อนวะ
หลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา อ. รัตภูมิ จ. สงขลา รุ่นแรก ปี 2517
เหรียญหลวงปู่สีมั่น วัดห้วยลาด รุ่นแรก พิมพ์นิยม เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อสีมาก วัดทุ่งลุง หาดใหญ่ รุ่นแรก 2519 โค๊ดเต็ม
เหรียญพระครูสุคนธศิลาจาร วัดคูเต่า รุ่นแรก
เหรียญท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก
ผ้ายันต์หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว อ. หัวไทร ปี 12
รูปเหมือน หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว รุ่นแรก
เหรียญพ่อท่านพลับ วัดระโนด รุ่นแรก ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเพื่อม วัดคูขุด รุ่นแรก กะไหล่ทอง
เหรียญพระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่นแรก
หลวงพ่อแก้ว วัดท่าบอน รุ่นแรก เนื้อนวะ ปี 2531
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อพร้อม วัดคลองแดน รุ่นแรก ปี 2517 นิยม
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด