หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 97 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2567

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองสงขลา
เหรียญแม่เจ้าอยู่หัว วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2528
01-05-2565 เข้าชม : 6859 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญแม่เจ้าอยู่หัว วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2528
[ รายละเอียด ] ประวัติเจ้าแม่อยู่หัว

เจ้าแม่อยู่หัว หมายถึง พระพุทธรูปทองคำที่สร้างแทนตัวบุคคล ที่ชาวบ้านท่าคุระ บุคคลทั่วไปให้ความเคารพนับถือและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธ์ซึ่งบรรพบุรุษได้สร้างไว้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วจึงเป็นมรดกตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้เคารพสักการบูชาสืบต่อกันมา รวมทั้งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่รวมใจเป็นหนึ่งทำให้ลูกหลานเกิดความรัก ความสามัคคีสืบมา
เจ้าแม่อยู่หัว ประดิษฐานอยู่ที่วัดทุ่งคุระ หมู่ที่ 9 ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ขนาดหน้าตักกว้าง 2 นิ้ว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสุโขทัยตอนปลายหรืออยุธยาตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 1900 ด้วยความเชื่อถือและศรัทธาว่าเจ้าแม่อยู่หัวมีความศักดิ์สิทธ์ ประชาชนทั่วไปจึงแสดงความจงรักภักดีความกตัญญูกตเวที ความศรัทธาโดยการสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัวทุกปี ด้วยความสามัคคีที่มีเป้าหมายตรงกัน โดยยึดเอาเจ้าแม่อยู่หัวเป็นศูนย์รวมจิตใจ แม้ว่าลูกหลานได้อพยพกระจัดกระจายย้ายถิ่นไปทำมาหากินทั่วประเทศ บ้างก็ไปรับราชการ บ้างก็ไปทำมาค้าขาย แต่ใน 1 ปี เมื่อถึงวันพุธแรกข้างแรมเดือน 6 ก็จะกลับมาเพื่อร่วม “สมโภชสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว”เป็นพันธะสัญญาของลูกหลานในท้องถิ่น ชาติกำเนิด เจ้าแม่อยู่หัว หรือพระหน่อเชื่อกันว่าเป็นโอรสเจ้าเมืองใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่ท่านผู้เฒ่าเล่าต่อกันมาว่า เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วมีเมือง ๆ หนึ่ง สมัยสุโขทัยตอนปลายอยุธยาตอนต้นเจริญด้วยศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่งน่าจะเป็นเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน เจ้าเมืองมีโอรสหนึ่งพระองค์ มีพระนามเรียกขานทั่วไปว่าพระหน่อ พระชนมายุประมาณ 9-10 พรรษา ซึ่งเป็นที่รักใคร่ของพระบิดามารดาและเหล่าอาณาราษฏร เพราะนอกจากพระหน่อเป็นคนฉลาดเฉลียว ยังพูดจาไพเราะอ่อนหวาน ส่วนพระนามที่แท้จริงนั้นไม่สามารถจำได้ เพราะกษัตริย์เป็นสมมุติเทพมีพระนามยาว ๆ หลายพยางค์ พระหน่อสาบสูญ ตามธรรมดาพระหน่อมักจะลงเล่นน้ำสรงน้ำที่ท่าน้ำเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งแม้ว่าพี่เลี้ยงนางสนมต่างดูแล และระมัดระวังเป็นอย่างดี แต่พระหน่อก็หายไปราวกับเกิดปาฏิหาริย์ ถึงจะค้นหาอย่างไรก็ไม่พบร่องรอย บ้างก็ดำน้ำลงค้นหา บ้างก็วิ่งไปหาบนตลิ่งต่างร้องไห้คร่ำครวญเพราะเสียใจที่เจ้าฟ้าอันเป็นที่รักยิ่งหายไป และเกรงกลังพระอาญา ในที่สุดเมื่อหมดปัญญาจึงได้พากันมากราบทูลให้พระเจ้าอยู่หัว และพระราชินีทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วเป็นที่สุดและพระราชินีถึงกับเป็นลมหมดสติไป พอตั้งสติได้ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับสั่งให้ทหารมหาดเล็ก เสนาบดีน้อยใหญ่ค้นหาอีกครั้งอย่างละเอียด แม้ได้แต่ร่างไร้วิญญาณก็ทรงพอพระทัยแล้ว ถึงค้นหาอย่างไร ก็ไม่พบอีกนั่นแหละ ถึงพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีจะทรงเสียพระทัยจนสุดที่จะพรรณนา แต่เชื่อในกฎแห่งกรรมและด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ก็มิได้ลงอาญาแก่ผู้ใด คำทำนายโหร เมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้พยายามถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นผลเลยรับสั่งให้โหราธิบดีทำนายตรวจดูดวงชะตาราศีของพระราชโอรส หลังจากโหราธิบดีได้ตรวจดูวัน เดือน ปี ลงเลขบวกลบคูณหารตามราศีอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว จึงกราบทูลว่า ดวงชะตาของพระหน่อยังไม่ถึงชีวิต เพียงแต่ตกอยู่ในพระเคราะห์เล็กน้อยด้วยผลบุญกรรมที่เคยทำไว้แต่ปางก่อนที่เสวยอายุ จึงทำให้ต้องพลัดพรากจากเมืองหลวงไป แต่ก็ไปในทางที่ดีจะพบผู้อุปการะอย่างดีและด้วยบุญญาบารมีต่อไปข้างหน้า จะมีเกียรติคุณ เกียรติศัพท์ เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป แล้วจะกลับสู่พระราชฐานในไม่ช้า ขอให้ติดตามไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นที่ทุรกันดารเมื่อพระเจ้าอยู่หัวได้พรับฟังคำทำนายของโหรแล้ว ก็ตรัสให้เหล่าทหารมหาดเล็กจัดกำลังพลแยกย้ายกันออกเดินทางไปติดตามหาพระหน่อทางทิศใต้ โดยกำชับว่าหากไม่พบพระหน่อก็ไม่ต้องกลับเมืองหลวงแม้จะใช้เวลาสักเพียงใดก็ตาม ชีวิตใหม่ของพระหน่อ แต่เดิมนั้นเมืองพัทลุงตั้งอยู่ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปัจจุบัน โดยมีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันหลายพระองค์ เช่น พระเจ้ากรุงทอง ปกครองตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลายพระเจ้าธรรมรังศัล ตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองพัทลุงจึงมีประวัติสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาหลักฐานที่สำคัญปรากฏในการก่อสร้างวัดพะโคะ เมื่อ พ.ศ. 2057 ณ หมู่บ้านหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ เมืองศิริธรรมนคร หรือ นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน และทิศเหนือเมืองพัทลุงเรียกว่า บ้านพราหมณ์จัน ห่างจากวัดพะโคะ ประมาณ 2 กิโลเมตร มาทางทิศใต้และทิศเหนือของวัดท่าทอง หรือปัจจุบันเรียกว่าวัดท่าคุระประมาณ 1 กิโลเมตร บ้านพราหมณ์จัน ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็นบ้านแพรจัน อยู่ในเขตปกครองหมู่ที่ 9 ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของแหลมที่ยื่นลงมา ทิศตะวันออกจรดอ่าวไทย ทิศตะวันตกจรดทะเลสาบสงขลาพื้นที่เป็นที่ราบดินเหนียว ปัจจุบันเป็นที่นาของนางไสว ยิ้มละมัย (กลิ่นสุวรรณ) ซึ่งเคยขุดพบถ้วยชาม เครื่องใช้โบราณมาแล้ว มีครอบครัวหนึ่งอยู่ช้านานแล้ว แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ชื่อตาพรหม กับยายจัน ทั้งสองสู่วัยชราอาชีพทำนา เก็บผัก หาฟืน หากุ้ง หาปลา เอาแต่พอกินพอใช้ไม่เดือดร้อนอะไรเพราะเมื่อก่อนมีความอุดมสมบูรณ์ อยากจะกินปลาน้ำจืดก็ไปหาปลาตามลำห้วยหนองคลองบึงหรือในทะเลสาบ อยากจะกินปลาน้ำเค็มก็ไปหาปลาทะเลอ่าวไทย อยู่มาคืนหนึ่ง ตาพรหมฝันว่า เห็นช้างเผือกเชือกหนึ่งกำลังเล่นน้ำอยู่ แกได้จับมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน แต่อยู่ได้ไม่นานช้างเผือกนั้นก็สูญหายไป ตา ยาย ก็แก้ความฝันไปต่าง ๆ นานา พอรุ่งเช้าตาพรหมก็ออกจากบ้านเพื่อไปหาปลาน้ำเค็มกิน ยายก็ช่วยจัดข้าวห่อ หมากพลู ใบจาก ยาเส้น เตรียมให้ตา ตาออกจากบ้านมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกคือบ้านแล ปัจจุบันอยู่ใกล้วัดชะแม ตำบลดีหลวง ตาพรหมหากุ้งปลาได้พอสมควรแล้วหยุดพักกินข้าวห่อแล้วเหลือบไปเห็นสิ่งหนึ่งลอยติดตลิ่ง แกก็ไปดูใกล้ ๆ เลยพบว่า เป็นเด็กผู้ชายเนื้อตัวของเด็กเต็มไปด้วยตะไคร่น้ำเต็มไปหมด แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจว่า ชีพจรยังทำงานปกติจับดุหน้าอกหัวใจก็เต้น เนื้อตัวก็ยังอุ่น ตารีบทำความสะอาดเด็กแล้วเอาน้ำจืดในกระบอกที่เตรียมไว้ดื่มเทบนร่างของเด็ก เพื่อชำระคราบน้ำเค็มและตะไคร่น้ำ ตาพรหมปฐมพยาบาลจนเด็กรู้สึกตัวได้สติ แกดีใจและแปลกใจระคนกันไปหมด เลยลืมสัมภาระและกุ้งปลาที่หามาได้จนหมดสิ้น แล้วรีบยกร่างเด็กขึ้นบ่าเพื่อพากลับบ้าน ระหว่างเดินทางก่อนถึงบ้าน ตาก็ได้หยุดที่บ่อน้ำตักน้ำมาลูบตามเนื้อตัวเด็กอีกครั้งหนึ่ง และหยดน้ำให้ดื่มจนเด็กกระปรี้กระเปร่าขึ้น แกก็อุ้มต่อไปจนถึงบ้าน ด้วยความดีใจตาตะโกนเรียกยายจันให้ลงมาดู โดยที่ตนเองยังไม่ได้ขึ้นบันได ตาขึ้นบนบ้านวางเด็กให้นอนดื่มน้ำ ดื่มท่า แล้วยายต้มน้ำอุ่นอาบให้เด็ก พร้อมกับประแป้งแต่งกายให้เรียบร้อย ตาตั้งสติได้เลยเล่าถึงความเป็นมาเป็นไปที่ได้นำเด็กมาจนยายเข้าใจ เวลาล่วงเลยไปหลายวัน ตา ยาย เลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี จนปลอดภัยแข็งแรงขึ้น มีอาการปกติทุกประการ ตา ยาย สังเกตดูบุคลิก ลักษณะ ผิวพรรณ รูปร่าง หน้าตาและคำพูดจาของเด็กแล้วทั้งสองรู้สึกแปลกใจยิ่งนัก โดยเฉพาะคำพูดสำเนียงอ่อนหวาน ตาและยายไม่เคยได้ยินมาก่อน เพียงแต่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ตาและยายสอบถามความเป็นมาของเด็กว่าเป็นมาอย่างไร เป็นบุตรของใคร เด็กเล่าให้ตากับยายฟังพอจับใจความได้ว่าเขาคือพระหน่อราชโอรสกษัตริย์เมืองเหนือ เมื่อตากับยายได้รับทราบดังนั้นก็รู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสได้เลี้ยงดูราชโอรส คิดว่าเป็นบุญวาสนาของตน ทั้งสองตา ยาย ได้ปรึกษาและลงความเห็นว่า หากเปิดเผยความจริงให้ใครรู้ว่าเด็กที่ตา และยายเลี้ยงคือพระหน่อ เป็นโอรสของกษัตริย์ อาจเป็นอันตรายของพระหน่อและตายายได้ จึงอธิบายให้พระหน่อเข้าใจและพร้อมใจกันปกปิดความจริงเอาไว้ ข่าวของตาพรหม ยายจัน พบเด็กแล้วนำมาเลี้ยงไว้ที่บ้านเผยแพร่ไปจนเพื่อนบ้านใกล้ไกลในระแวกนั้นมาเยี่ยมเยือนมากมาย ยิ่งเห็นบุคลิกลักษณะพูดจาไพเราะ อ่อนหวาน จึงทำให้เกิดความเคารพนับถือ ยำเกรง ต่างก็เจ้าใจว่าเด็กคนนี้มีบุญญาบารมี บางคนเจ็บไข้ได้ป่วย มีความทุกข์เดือดเนื้อร้อนใจ ได้มีโอกาสพูดคุยกับพระหน่อตามอัธยาศัยก็สามารถหายไข้ คลายทุกข์ได้ บางคนปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด ได้อธิษฐานบนบานก็ได้รับผลสำเร็จ เมื่อเกิดเหตุอัศจรรย์และมีปาฏิหาริย์เช่นนี้ประชาชนทั่วไปต่างให้ความเคารพนับถือพระหน่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่างก็มากราบไหว้และนำสิ่งของฝาก ทำให้ตายายเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปเช่นกัน และฐานะตา ยาย ก็ดีขึ้นตามลำดับ ทหารและมหาดเล็กพบพระหน่อ อยู่มาวันหนึ่ง ตาและยายออกไปธุระนอกบ้านปล่อยให้พระหน่อเฝ้าบ้านคนเดียว พวกมหาดเล็กที่พระเจ้าอยู่หัวให้มาติดตามพระหน่อเดินทางมาถึงบ้านตายาย และช่วยกันไล่จับไก่ พระหน่อได้ยินจึงพูดทักทายห้ามปรามว่า “ไล่จับไก่ทำไม” พวกทหารได้ยินเสียงนั้นถึงกับชะงัก เพราะเป็นสำเนียงที่คุ้นหู และไม่ใช่เป็นเสียงคนในละแวกนี้แน่ จึงพากันขึ้นไปบนเรือนและขอน้ำดื่มพวกทหารต่างสังเกตพฤติกรรมของพระหน่อแล้วต่างก็มั่นใจว่าเด็กคนนี้คือพระหน่ออย่างแน่นอน เพียงแต่ผิวพรรณหมองคล้ำ แต่งกายแบบชาวบ้านทั่วไปเพราะอยู่บ้านไร่ปลายนาเสียนาน เมื่อมั่นใจแน่นอนแล้ว พวกทหารมหาดเล็กต่างก็หมอบลงกราบบังคลทูลให้พระหน่อทราบว่า พวกตนได้รับมอบหมายจากพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีให้ออกติดตามพระหน่อเพื่อกลับพระราชวังพระหน่อสังเกตเหล่าทหารและมหาดเล็กที่กราบทูล ทรงมั่นพระทัยว่าเป็นข้าราชการสำนักของราชบิดา และไม่เป็นอันตรายกับพระองค์แน่ จึงยอมรับและเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มาอยู่ตา ยาย ให้พวกทหารมหาดเล็กฟัง และก่อนจะตัดสินใจอย่างไรให้รอจนกว่าตา ยาย กลับมาบ้านก่อน แล้วจึงปรึกษา หารือกัน ตกเย็น ตา ยาย กลับมาถึงบ้าน เห็นผู้คนแปลกหน้าอยู่บนบ้านหลายคน เป็นชายหนุ่มและแต่งกายไม่เหมือนกับชาวบ้านธรรมดา เลยคิดไปว่าคงเกิดเหตุร้ายกับพระหน่อแน่ แต่ก็โล่งอกเมื่อเห็นพระหน่อออกมาต้อนรับด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และรับสัมภาระจากตา ยาย เก็บเข้าที่ เอาน้ำมาให้ตา ยาย ดื่ม ถึงอย่างไรก็ตาม ตา ยาย ยังไม่หายกังวลอยู่ดี ตา ยาย ดื่มน้ำเสร็จนั่งพักพอหายเหนื่อยพระหน่อก็แนะนำให้เหล่าทหารรู้จักทำความเคารพ ตา ยาย แล้วเล่าเหตุการณ์พร้อมกับบอกจุดประสงค์ของพวกทหารมหาดเล็กที่มาที่นี่ ตา ยาย เมื่อทราบว่าพวกทหารติดตามมาเพื่อจะนำกลับเมืองหลวงต่างก็เสียงใจอย่างยิ่ง มีความตื้นตันใจ สับสนไปหมด เพราะต่างรักพระหน่อเหมือนลูกในอุทร พระหน่อเป็นแก้วตา ดวงใจ ของตา ยาย และคนในท้องถิ่นนี้ ที่สุดตา ยาย ก็ทำใจได้และร่วมปรึกษากับทหารมหาดเล็กว่า หากจะพาพระหน่อไปเมืองหลวงเลย เกรงว่าจะเป็นอันตราย และเพื่อความปลอดภัยให้แบ่งทหารออกเป็นสองพวก คือ พวกหนึ่งให้อยู่ ที่บ้านตา ยาย เพื่อดูแลอารักขาพระหน่ออยู่ก่อน อีกพวกหนึ่งให้เดินทางไปกราบทูลให้พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีทรงทราบ ข่าวพวกทหารมหาดเล็กเดินทางมาบ้านตาพรหม ยายจัน เพื่อนำพระหน่อกลับเมืองหลวงทราบถึงชาวบ้านทั่วไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความศรัทธาต่อพระหน่อที่มีอยู่เดิมแล้วยิ่งทวีคูณขึ้นเป็นลำดับ ในวันหนึ่ง ๆ ประชาชนมาเยี่ยมชมบารมีไม่ขาดระยะบ้างมาเพื่อเยี่ยมชนบารมี แสดงความจงรักภักดีบ้างขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล จนทำให้บ้านของตายาย คับแคบไปถนัด พวกทหารมหาดเล็กที่คอยรับใช้พระหน่อ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านหมู่บ้านพราหมณ์จัน ช่วยตัดได้สร้างบ้านตายายให้กว้างกว่าเดิม แล้วขุดคูรอบบ้าน ขุดสระสองลูกคือสระสังข์แก กับสระแพรจัน สร้างทางจากหมู่บ้านไปทางทิศใต้จรดทะเลสาบเขตหมู่บ้านท่าทอง (ท่าทอง หมายถึง ท่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารสัตว์น้ำนานาชนิด ปัจจุบันเรียกว่า บ้านท่าคุระ หมายถึง ท่าที่มีต้นคุระ) ทางสายดังกล่าวต่อมาใช้เป็นเส้นทางนำซากศพไปเผาหรือฝังในป่าช้า ชาวบ้านเลยเรียกว่าทางผี ติดปากจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปรากฏหลักฐานให้คนรุ่นหลังเห็นตราบทุกวันนี้ พระราชบิดา – มารดา เสด็จมารับพระหน่อ ฝ่ายทหารมหาดเล็กที่เดินทางกลับเมืองหลวง เมื่อเดินทางเข้าถึงได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลให้พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ซึ่งเป็นที่ปลาบปลื้มปิติยินดีทั้งสองพระองค์ และข้าราชบริภารทั้งหลายพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งให้โหราธิบดีตรวจดูฤกษ์ยามตามประเพณีนิยม และขบวนทหารเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนโขนหนังการละเล่นต่าง ๆ อย่างครบครัน ออกเดินทางสู่ทิศใต้ จุดมุ่งหมายคือหมู่บ้านพราหมณ์จันบ้านของตาพรหมยายจัน ขบวนเดินทางมาถึงบ้านแล้วมุ่งตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงบ้านโหมโรง หรือสำโรง หรือวัดเก่า ปัจจุบันเรียกว่าบ้านบ่อใหม่ มีพื้นที่กว้างขวาง ดินทรายขาวสะอาด ต้นไม้เป็นทิวแถวร่มรื่นและอยู่ไม่ไกลจากบ้านพราหมณ์จันมากนัก พระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสให้พวกทหารปลูกสร้างพลับพลาประทับ กษัตริย์ทั้งสองประทับที่พลับพลา หนึ่งคืนแล้วนำเหล่าทหารจำนวนหนึ่งเสด็จไปบ้านตา ยาย เมื่อพระราชบิดา มารดาได้พบพระราชโดรสต่างก็ปิติยินดีเป็นล้นพ้น จนน้ำพระเนตรไหล กษัตริย์ทั้งสองขอพระหน่อจากตายาย เสด็จไปที่พลับพลา พระหน่อขออนุญาตให้ตา ยาย ติดตามไปกับขบวนด้วย พิธีสมโภชรับขวัญพระหน่อ เมื่อถึงพลับพลาพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งให้โหราธิบดีดูฤกษ์ยาม เพื่อจัดพิธีสมโภชรับขวัญพระหน่อ โหราธิบดีตรวจดูแล้ววันที่เป็นมงคลที่สุดคือวันพุธ แรมหนึ่งค่ำเดือนหก ประชาชนทั่วไปเมื่อทราบว่ากษัตริย์เมืองเหนือได้ติดตามพระโอรสมา และจัดทำพิธีสมโภชรับขวัญ ต่างก็จัดทำอาหารคาว หวาน มาร่วมพิธีกันคับคั่ง พิธีเริ่มวันพุธ แรมหนึ่งค่ำ พระสงฆ์ทำพิธีอันเสร็จพิธีรับขวัญพระหน่อ เมื่อทำพิธีรับขวัญพระหน่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระมหากษัตริย์ทั้งสองจำเป็นที่จะนำพระหน่อกลับเมืองหลวง ซึ่งนำความโศกเศร้าเสียใจแก่ ตา ยาย เป็นอย่างมาก พระราชินีนึกตระหนักถึงความรักที่ ตา ยาย มีต่อพระหน่อ และความจงรักภักดีที่ชาวบ้านมีต่อพระหน่อ พระองค์ท่านซาบซึ้งเป็นที่สุด ก่อนจากไปพระองค์ได้รับสั่งให้นายช่างทำทองตีทองให้แผ่กว้าง แล้วสลักรูปพระหน่อลงในแผ่นทองนั้น มอบให้ตาพรหม และยายจันด้วยความซาบซึ้งน้ำพระทัย พระราชินี ตา ยาย และเรียกแผ่นทองคำสลักพระหน่อว่าเจ้าแม่อยู่หัว เหตุผลเพราะพระราชินีหรือเจ้าแม่อยู่หัวเป็นผู้มอบให้ ส่วนสถานที่สร้างพลับพลาพระราชินีก็ได้ทรงขออนุญาตต่อพระเจ้าอยู่หัวสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นบุญกุศลและมอบให้ชาวบ้านละแวกนั้นที่จงรักภักดีต่อพระหน่อ ชื่อว่าวัดเจ้าแม่ ต่อมาเพื้ยนเป็นวัดชะแม ตำบลดีหลวง มีต้นโพธ์เป็นหลักฐาน บางคนมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ ได้ไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นโพธ์ดังกล่าวตามหลักฐานในพงศวดารเมืองพัทลุงว่า ในสมัยออกขุนเทพตำรวจเป็นเจ้าเมืองพัทลุง (อำเภอสทิงพระ) มีผู้ศรัทธาสร้างเจดีย์วิหารหลายวัด เช่น พระมหาเทพ สร้างพระวิหารและเจดีย์วัดแจระ(หัวแจระ) พระครูธรรมรังสี ลำราม สร้างพระวิหารวัดเบิก พระครูพิชัย สร้างพระวิหารวัดชะแม พระมหาเถรพรหม สร้างพระวิหารวัดมีไชย (สนามไชย) สร้างวัดท่าทอง หรือวัดทุ่งคุระ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีได้จัดการภารกิจต่าง ๆ ตามประสงค์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จกลับพระราชวังพร้อมด้วยพระหน่อ ตาพรหมกับยายจันยังอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์จันเหมือนเดิม เก็บรักษารูปสลักของพระหน่อในแผ่นทองคำไว้อย่างดีแม้ไม่มีพระหน่อตัวจริงแล้ว ก็ตามแต่ ประชาชนทั่วไปยังให้ความเคารพนับถือบนบานตามที่เคยกระทำมาเหมือนตอนที่พระหน่อยังอยู่และได้รับผลสำเร็จทุกประการ ตา ยาย และชาวบ้านจึงพร้อมใจกันยึดเอาวันพุธแรกข้างแรมเดือนหก ตามที่พระพุทธเจ้าอยู่หัวจัดพิธีสมโภชรับขวัญพระหน่อ กลางคืนมีมโนราห์แสดงให้ชมรุ่งเช้าวันพฤหัสบดี ใครบนบานศาลกล่าวไว้ว่าอย่างไรก็แก้บนเสีย เช่นบางคนบนไว้ รำมโนราห์ บนบวชชีก็แล้วแต่ พระหน่อเจริญวัยคิดถึงตา ยาย ด้วยความกตัญญูกตเวทีและมีพระเมตตาจึงกราบบังคมทูลบิดามารดา เสด็จมาเยี่ยมตา ยาย และจะรับไปอยู่ด้วยในฐานะพระประยูรญาติผู้ใหญ่ในพระบรมราชวังด้วยกษัตริย์ทั้งสองเห็นด้วยกับพระราชโอรสและได้ร่วมเสด็จเยี่ยมตา ยาย ด้วย ตากับยายเมื่อกษัตริย์มาเยี่ยมถึงบ้านรู้สึกดีใจจนบอกไม่ถูก ราษฏรทั่วไปก็เผ้ารับเสด็จอย่างพร้อมเพรียง ด้วยความจงรักภักดี พระหน่อได้แจ้งถึงจุดประสงค์ที่มาเยี่ยมครั้งนี้เพราะเห็นว่า ตายายชราภาพมากแล้ว สมควรไปอยู่ที่สบาย ๆ มีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากปล่อยให้ตา ยาย ยังคงอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์จัน พระองค์จะมาเยี่ยมบ่อย ๆ ก็ไม่สะดวก ตา ยาย รักและหวงแหนแผ่นดินเกิด และญาติพี่น้องสักปานใดก็ตาม แต่เข้าใจในความปรารถนาดีและซึ่งในน้ำใจของพระหน่อที่กตัญญู เลยจำใจต้องรับคำ และก่อนไปตา ยาย จึงทูลขอให้พระเจ้าอยู่หัว พระราชินีและพระหน่อได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นวัดหนี่งซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านพราหมณ์จัน สลักรูปพระหน่อมาไว้ในวัดโดยให้เจ้าอาวาสและประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันรักษา เหตุผลที่ตา ยาย เลือกเอาท่าคุระตั้งวัดเพราะวัดท่าคุระสมัยนั้นสะดวกในการเดินทางลูกหลานฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางใต้ที่รู้กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่อยู่หัวได้มาร่วมพิธีได้สะดวก เมื่อสร้างวัดและทำพิธีฉลองเสด็จ ตา ยายต้องเดินทางไปอยู่ในเมืองหลวงกับพระหน่อ วัดท่าคุระบางคนเรียกว่า วัดท่าทองบ้าง วัดตา ยาย บ้าง เหตุผลที่เรียกวัดตายาย คงเป็นเพราะตา ยายเป็นผู้ริเริ่มกระมัง นำแผ่นทองคำหล่อพระพุทธรูป ต่อมาด้วยความโลภเป็นแก่ส่วนตัว ผู้ที่เคารพศรัทธาบางคนที่ใกล้ชิดขอตัดแผ่นทองคำคนละนิดละหน่อย เพื่อนำไปบูชาที่บ้านตนเอง หรือบางคนขโมยไปขาย ทำสร้อยคอ ทำกำไล ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ทำให้แผ่นทองคำนั้นสึกกร่อนลงไปทุกที คนที่นำไปทำเป็น สร้อย ทำกำไล ทำต่างหู ทำให้เกิดแผลพุพอง เน่าเปื่อยตามคอ หู หรือข้อมือ หรือมีเหตุเป็นไปต่าง ๆ นานา เลยทำให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความกลัง เลยนำกลับมาไว้ที่เดิม ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัวพระราชินี และพระหน่อ เลยตรัสให้เอาทองคำที่เหลือเหล่านั้น หล่อเป็นพระพุทธรูปเก็บไว้ในผอบอย่างดี ในปีหนึ่งลูกหลานสามารถเห็นพระพุทธรูปแม่เจ้าอยู่หัวได้ครั้งเดียวตอนสรงน้ำ ในวันพุธแรกข้างแรมเดือนหกเท่านั้น ซึ่งทำติดต่อกันมานับร้อยปีมาแล้ว และลูกหลานเจ้าแม่อยู่หัวเราต้องรักษาประเพณีสืบไป ประเพณีงานตายายย่าน งานตายายย่าน คือ งานแสดงความเคารพนบนอบหรือการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อองค์เจ้าแม่อยู่หัว ของวัดท่าคุระ อำเภอสทิงพระ จังวัดสงขลา เมื่อเอ่ยนาม “เจ้าแม่อยู่หัว” วัดท่าคุระ ก็จะรู้จักกันทั่วไปในหมู่บ้านชาวอำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และอำเภออื่น ๆ โดยเฉพาะแถบลุ่มทะเลสาบซึ่งเป็นลูกหลานของชาวบ้านท่าคุระ และได้กระจัดกระจายอยู่กันทั่วไป เจ้าแม่อยู่หัว เป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนสูงประมาณ 25 เซนติเมตร เป็นสมบัติล้ำค่า บรรพบุรุษเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าคุระ เป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน ในรอบปีหนึ่ง ๆ เมื่อเวียนมาถึงเดือน 6 ข้างแรมวันนี้จะมีงานเทศกาลประจำปี ชาวบ้านเรียกกันว่า “งานตายายย่าน” เริ่มงานวันพุธตอนบ่าย ด้วยการนำพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัวออกสรงน้ำ จากนั้นก็นิมนต์พระสงฆ์สวดสมโภชและแก้บนด้วยวิธีต่าง ๆ และปัจจัยไทยทานทางอื่น ๆ อีกมาก การแก้บนที่สำคัญยิ่ง ซึ่งเจ้าแม่อยู่หัวโปรดมากที่สุดก็คือการรำมโนราห์ถวาย เรียกกันว่ารำโรงครู การรำโรงครูก็คือการรำมโนราห์ ตามแบบฉบับดั้งเดิม เริ่มต้นด้วย ตั้งเครื่องโหมโรงประกาศราชครูรำเบิกโรง – รำแม่บท ออกพราน รำคล้องหงส์ แทงจระเข้ เฆี่ยนพรายและแสดงเรื่องเหล่านี้ คณะมโนราห์ที่แสดงต้องมีความชัดเจนเป็นพิเศษ ในระหว่างการแสดงนั้น ก็มีชาวบ้านซึ่งนับถือกันว่าเป็นลูกหลานของเจ้าแม่อยู่หัว ต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันรำแก้บนในโรงด้วย เหล่านี้เป็นกิจกรรมของงาน “ตายายย่าน” ซึ่งชาวบ้านท่าคุระและชาวบ้านอื่น ๆ ต่างยึดถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาทุก ๆ ปี จนกลายเป็นประเพณีสืบเนื่องกันมาช้านาน งานตายายย่าน หรือนัยหนึ่งพิธีการแสดงความเคารพนบนอบต่อเจ้าแม่อยู่หัว เริ่มงานตอนบ่ายวันพุธแรกของเดือน 6 ข้างแรมจะเสร็จพิธีตอนบ่ายวันรุ่งขึ้น โดยเฉพาะวันพฤหัสนั้น จะมีประชาชนจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ไปร่วมงานเป็นเรือนหมื่น ทุก ๆ ปี เขาเหล่านั้นต่างมีความสำนึกติดแน่นในสายเลือดว่าเป็นลูกหลานของเจ้าแม่อยู่หัวต้องมากันให้ได้เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ได้พบปะแสดงความรักสามัคคีระหว่างเครือญาติมิตร และที่สำคัญยิ่งก็คือ การรักษาเทิดทูนศิลปะ นาฏกรรมการรำมโนราห์ มรดกทางวัฒนธรรม อันล้ำค่าของชาติไทยเรา มีธรรมเนียมปฏิบัติว่า ลูกชานคนหัวปีของครอบครัวและมีอายุเกิน 14-15 ปี ต้องทำขนมโคมาถวายวัด และเลี้ยงดูญาติมิตร แต่ถ้าเป็นลูกสาวคนหัวปีต้องทำขนมพอง (หรือขนมลา) หากไม่ปฏิบัติตามเจ้าแม่อยู่หัวจะให้โทษถึงเป็นบ้า ง่อยเปลี้ย พิกลพิการ หรือประสบทุกขเวทนาได้
[ ราคา ] ฿350
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองสงขลา
เหรียญพระวินัยรักขิต (คงทน) วัดเขาราม สงขลา
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่ออุ้ย วัดคอหงษ์ จ.สงขลา รุ่นแรก พ.ศ.2519
สมเด็จเจ้าสมภารทอง วัดคูหาใน
เหรียญสมเด็จเจ้าศรีวิไล วัดจาก อ.ระโนด จ.สงขลา ปี 2522
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อรมดำพร้อม วัดคลองแดง ปี 31 เนื้อทองแดง พิมพ์หน้าใหญ่ นิยม
พระปิดตารับทรัพย์ หลวงพ่อทอง วัดป่ากอ นาหม่อม จ. สงขลา ปี 39
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเชิงแสเหนือ ปี 2537 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล พิมพ์เล็ก
เหรียญหลวงพ่อเคว็จ วัดดีหลวงนอก รุ่นแรก ปี 2520  เนื้อทองแดงน้ำตาล
เหรียญพระประจำวัน วัดหาดใหญ่ใน ปี 2519  เนื้อทองฝาบาตรกะไหล่เงินหายาก
เหรียญหลวงปู่ทวดอินทร์ วัดหนองหอย สงขลา เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อคล้าย อินทมาโน วัดเจริญราษฎร์ รุ่นพิเศษ ปี 2519 เนื้ออัลปาก้าชุบ
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโคกทราย รุ่นแรก ปี 40 อายุ 89 ปี เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เหม้น วัดสองพี่น้อง 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระรูปเหมือน พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) วัดจะทิ้งพระ เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด ออกวัดแหลมทราย จ.สงขลา
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ วัดภูตบรรพต ปี 2520 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ วัดภูตบรรพต ปี 2520 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อเคว็จ วัดดีหลวงนอก  รุ่นแรก ปี 20 บล็อกแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เหม้น วัดสองพี่น้อง 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง สวยมาก
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ สุวัณโณ วัดภูตบรรพต รุ่นแรก ปี 2514 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ปั้น วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก จ.สงขลา เนื้อทองแดงผิวไฟ ปี16
หลวงพ่อแก้ว วัดยางทอง รุ่นแรก ปี 23 เนื้อทองแดง พิมพ์เล็ก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เหรียญพระอาจารย์สี วัดโคกเหรียง รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านแดง  วัดท่าแซ รุ่น 2 ปี 28 เนื้อทองฝาบาตร ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อร่วง วัดศาลาโพธิ์ สงขลา รุ่น 2 ตอกโค๊ตใบโพธิ์ รุ่นแรกของวัด
เหรียญหลวงพ่ออิ่ม วัดในวัง จ.สงขลา รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเนี่ยม คุณวัณโณ วัดขุนตัดหวาย หลังฤาษี รุ่นแรก ปี 29 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อภัทร วัดโคกสูง รุ่นฉลองสมณศักดิ์ ปี 30 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ ปี 2521 บล็อคนิยม มี ปญ
เหรียญหลวงพ่ออุ้ย วัดหงษ์ประดิษฐาราม รุ่นแรก ปี 19 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 34 เนี้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อยก วัดบางเขียด รุ่นแรก ปี 2522 เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม บล็อกแรกหายาก
เหรียญหลวงพ่อแก้วหลังพ่อท่านเสน วัดราษฎร์บำรุง ปี 2515 เนื้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านแก้ว วัดท่าบอน รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก ปี 36 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 34  เนี้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก ปี 2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เลียง วัดทรายขาว ปี 31 รุ่นมังกรคาบถุงเงิน เนื้อทองแดง
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นสอง เนื้อทองแดงรมดำ สวยมาก
เหรียญท่านมหาลอย วัดแหลมจาก ปากรอ รุ่นพิเศษ ปี 2523
หลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 2537 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล สภาพสวย
เหรียญหลวงปู่ร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ วัดศาลาโพธ์ รุ่น 3 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เพรียญพ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว ปี 2529 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ รุ่นสร้างมณฑป เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูเมฆ วัดเชิงแสใต้ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อท่านพระอุปัชฌาย์แก้วหลังหลวงพ่อเรือง วัดประตูไชย รุ่นแรก ปี 2535
เหรียญหลวงพ่อยก วัดบางเขียด รุ่นแรก ปี 2522 เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม บล็อกกลาก
เหรียญพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สงขลา ปี 19 เนื้อทองแดง
ภาพถ่ายหลังจารและผ้ายันต์คาบสมุทรเขียนมือพ่อท่านพลับ วัดระโนด  สงขลา
เหรียญแม่เจ้าอยู่หัว วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา  ปี 2528
เหรียญหลวงพ่อท่านพระอุปัชฌาย์แก้ว วัดประตูไชย รุ่นแรก
เหรียญสมเด็จเจ้าเกาะยอ รุ่นแรก พิมพ์หน้าแก่ เนื้อทองแดง
เจาะประเด็นเหรียญพระประจำวัน วัดหาดใหญ่ใน ปี 2519  เนื้อทองฝาบาตร
พระกริ่งภัยนิรันดร์หลวงพ่อเส้ง วัดแหลมทราย  ปี 2504 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดคลองแห รุ่น 3 ปี 20 เนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิ้ลทอง
เหรียญจันทร์เพ็ญ - ปลอดภัย หลวงตาเนียร สำนักสงฆ์ต้นเลียบ จ. สงขลา ปี  2538 มีโค๊ต เนื้อทองแดง
เหรียญพระอธิการทอง ธมฺมโชโต วัดเลียบ ปี 2519 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อแก้ว วัดยางทอง รุ่นแรก ปี 23  เนื้อทองแดง พิมพ์ใหญ่ จ.สงขลา
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว รุ่นแรก ปี 12 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อพร้อม วัดคลองแดน รุ่นแรก ปี 17 ชื่อนี้มีตำนาน
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นสอง เนื้อแดงผิวไฟ สวยมาก
พระปิดตาเนื้อผงว่านคลุกรัก อ.ศรีแก้ว วัดไทรใหญ่ จ.สงขลา พิเศษลงน้ำมันยางเก่า
เหรียญหลวงพ่อเลื่อน วัดผาสุการาม อ. หัวไทร รุ่นแรก พิมพ์รางรถไป
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง  วัดรามแก้ว รุ่นแรก ปี 12 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อจุล วัดปากจ่า ปี 2516 สงขลา สวยดำเดิมๆ
หลวงพ่อขวด วัดม่วงงาม  สงขลา รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดคลองแห รุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร เนื้อนิยม
ท่านอาจารย์หมาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก สงขลา
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก เนื้อทองเหลือง ก้นกลึงอุดเทียนเดิม
เหรียญหลวงพ่อแอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่น 2 พ.ศ. 2520
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงรูปเหมือนพ่อท่านแดง  วัดท่าแซ
เหรียญหลวงปู่ร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ รุ่น แรก
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา(จุ้มปะ) พิมพ์สี่เหลี่ยมมหาอุตม์
สกุ๊ปพิเศษพระปิดตาหลวงพ่อกล่อม วัดหูแร่ จ.สงขลา
พระครูโตก วัดใหญ่ รุ่นแรก ปี 17 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ ปี 17 สวยมาก
เหรียญพ่อท่านเอียด วัดชลธาราวาส รุ่นแรก ปี 28 เนื้อนวะ
หลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา อ. รัตภูมิ จ. สงขลา รุ่นแรก ปี 2517
เหรียญหลวงปู่สีมั่น วัดห้วยลาด รุ่นแรก พิมพ์นิยม เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อสีมาก วัดทุ่งลุง หาดใหญ่ รุ่นแรก 2519 โค๊ดเต็ม
เหรียญพระครูสุคนธศิลาจาร วัดคูเต่า รุ่นแรก
เหรียญท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก
ผ้ายันต์หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว อ. หัวไทร ปี 12
รูปเหมือน หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว รุ่นแรก
เหรียญพ่อท่านพลับ วัดระโนด รุ่นแรก ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเพื่อม วัดคูขุด รุ่นแรก กะไหล่ทอง
เหรียญพระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่นแรก
หลวงพ่อแก้ว วัดท่าบอน รุ่นแรก เนื้อนวะ ปี 2531
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อพร้อม วัดคลองแดน รุ่นแรก ปี 2517 นิยม
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด