หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 86 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2567

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองสงขลา
เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ ปี 2521 บล็อคนิยม มี ปญ
04-05-2564 เข้าชม : 10118 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ ปี 2521 บล็อคนิยม มี ปญ
[ รายละเอียด ] เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2521 บล็อคนิยม มี "ปญ" ที่ คอ นับวันจะหายากขึ้นทุกๆวัน ในสภาพที่สวยๆ เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์และได้รับความนิยมมากในขณะนั้นเหรียญหนึ่งก็ว่าได้ ว่ากันว่าพระอาจารย์ปัญญาแจกภายใน 10 วันหมดเกลี้ยงไม่เหลือสักเหรียญเดียว ใครก็อยากจะได้ จนมีการสร้างเสริมอีกหลายครั้งต่อมา แต่ไม่มี "ปญ."
    เดินหลวงปู่มีชื่อว่า กลับ (ไม่ทราบนามสกุล) มีถิ่นกำเนิดที่ ตำบลคลองพุมดวง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เหนือแม่น้ำตาปี อุปสมบทที่วัดคลองพุมดวงเมื่ออายุ ๒๑ ปี ปัจจุบันนี้วัดคลองพุมดวงได้สลายหายสูญไปกับสายน้ำหลากเพราะตลิ่งพังเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว
    หลังจากท่านอุปสมบทได้ไม่นานก็เข้าสู่วงการปฏิบัติตามแนวทางของพระอริยเจ้า คือแสวงหาที่วิเวก ถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด ท่านเดินทางรอนแรมเรื่อยไปเฉกเช่นพระอริยสงฆ์ในสมัยพุทธกาล มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น บางครั้งท่านอาจอยู่ในป่าดงพงทึบแต่ผู้เดียวเป็นเวลานานๆ อาศัยผักหญ้า ใบไม้ ผลไม้ป่าเป็นเครื่องประทังชีวิต เก็บตัวบำเพ็ญภาวนาในถ้ำในเขา เฉกเช่น พระมุนีฤาษีในสมัยบุรพกาล หรือแม้ในสมัยเดียวกันพระป่าสายอีสานของหลวงปู่มั่นท่านก็ใช้วิถีชีวิตเช่นนั้น แต่ในประวัติไม่ได้บ่งไว้ว่าท่านศึกษาแนวการปฏิบัติจากใคร แต่ผมว่าเรื่องอย่างนี้มันขึ้นกับบุญเก่าบารมีเดิม ผู้ที่เคยบำเพ็ญเพื่อทางหลุดพ้นมาก่อน แม้จะกลับมาเกิดในตระกูลไหน สิ่งแวดล้อมเป็นเช่นใด นับถือศาสนาอะไร เมื่อถึงเวลาก็ต้องมีเหตุให้ฉุกคิดขึ้นได้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต มองเห็นความเป็นมายาไร้แก่นสารของทุกสิ่ง หรือเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ เมื่อได้ศึกษาแนวทางพุทธศาสนา ต่างก็เข้ามาบวชแล้วปฏิบัติตามแนวของพระพุทธเจ้า ไม่เห็นสึกออกไปสักรายเดียวในสมัยพระพุทธเจ้า แม้พระองค์เองทรงอยู่ในแวดวงของศาสนาพราหมณ์ และความเชื่อถือแบบดั้งเดิมที่สืบต่อกันมานาน เมื่อทรงแสวงหาทางหลุดพ้นก็ได้ปฏิบัติตามทุกลัทธิประเพณี เมื่อไม่เห็นแก่นสารจึงทรงศึกษาค้นคว้าหาลู่ทางด้วยพระปัญญาอันสุขุมลุ่มลึกของพระองค์เองจนค้นพบแนวทางที่ทรงสั่งสอนพระสาวกสืบๆ มาเหล่าสาวกแต่ละท่าน บางท่านเป็นเศรษฐี ลุกเศรษฐี เมื่อเบื่อหน่ายต่อชีวิตอันหาค่ามิได้ต่างก็ค้นหาทางชีวิตที่เต็มไปด้วยทุกข์ อันเกิดจากความไม่เข้าใจธรรมชาติชีวิตอันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นในมายาของชีวิต เมื่อทุกท่านบรรลุแล้วก็หามีใครกลับไปครองเรือนดังเดิมไม่ ก็เป็นครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าหนทางพุทธธรรมนี้เป็นสัจธรรมที่ไม่สามารถคัดค้านได้
    ไม่มีใครทราบ พื้นเพเดิมของหลวงปู่เฟื่องมากนัก อาจเป็นว่ากาลเวลามันผ่านมานานเกินจึงทำให้เหล่าศิษย์หลงลืมไป เพราะท่านเคยเล่าเรื่องให้ลูกศิษย์ฟังบ่อย ดังนั้น โหร ส.แสงตะวัน จึงสอบถามใครต่อใครที่พอทราบเรื่องเหล่านี้ ก่อนเขียนประวัติของท่านจึงพอทราบคร่าวๆว่า

    สมัยนี้ซึ่งเป็นสมัยของวัตถุนิยม เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสุขสะดวกนานัปการ แต่คนที่มีบุญบารมีในทางหลุดพ้นเมื่อเกิดมาพอเข้าใจอะไรๆได้ต่างก็ค้นคว้าหาทางเพื่อความหลุดพ้นเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาคอยเสี้ยมสอนของพระพุทธองค์ต่างก็เลื่อมใสเข้าสู่การปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิและปัญญา บางท่านที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยมแล้วก็บรรลุธรรมได้โดยง่าย บางท่านบุญมีแต่ยังมีกรรมเก่ามาตามล้างตามเช็ด ก็อาจพ่ายแพ้กลับมาครองเรือน แต่จิตใจก็ยังใฝ่ฝันเดินสู่แนวทางเดิมอยู่เสมอ อาการลุ่มหลงในวัตถุนิยมจะไม่หลั่งไหลเข้าไปสู่กระแสจิตของผู้ที่เข้าใจชีวิตจนเบื่อหน่าย (นิพพิทา)
    ดังนั้น ถึงแม้หลวงปู่เฟื่องจะบวชในวัดบ้านนอก ซึ่งอาจไม่มีใครใส่ใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนาเลย แต่ท่านก็อาจมีอารมณ์กรรมฐานของท่านที่ติดตามมาแต่ชาติปางก่อน แค่ได้ศึกษาพอทราบแนวทางของพระพุทธเจ้าเพียงหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา กรรมฐานพื้นฐานอันมี เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจและอานาปาณสติกรรมฐาน แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับผู้มีบุญเก่าบารมีเดิม ท่านก็เข้าสู่เส้นทางพระอริยเจ้าด้วยตัวของท่านเองโดยไม่ต้องมีใครมาจ้ำจี้จ้ำไช ท่านอาจอาศัยหลักปฏิบัติตามตำราที่พอหาได้ในสมัยนั้น แต่ถ้าจะแสวงหาครูบาอาจารย์ทางให้สมัยนั้นก็คงหาอาจารย์กรรมฐานที่แท้จริงค่อนข้างลำบาก เพราะพระทางใต้สมัยโบราณจนถึงเดี๋ยวนี้ ท่านเชี่ยวชาญไปทางไสยเวท แม้พ่อท่านคล้าย เมื่อได้พิจารณาประวัติของท่านแล้วจะพบว่าท่านเชี่ยวชาญทางไสยเวทมาก โดยเรียนวิชาเหล่านี้จากพ่อท่านวัดเขาอ้อเมืองพัทลุง ซึ่งสำนักนี้มีความโดดเด่นในวิชาไสยเวทมากจนถึงทุกวันนี้ นักไสยเวทเลืองนามส่วนมากจะเป็นศิษย์วัดเขาอ้อไม่ว่าจะเอ็นขุนพันธ์ อาจารย์ชุมไชยคีรี จอมขมังเวทย์ที่ขึ้นชื่อลือนาม ไสยเวทสายนี้เป็นไสยเวทสายขาว ไม่เหมือนไสยทางเขมร ซึ่งเป็นสายดำใช้ในการทำลายชีวิตผู้คนดังนั้นผู้เรียนไสยเวทสายนี้จึงปฏิบัติสมาธิภาวนาควบคู่ไปด้วยถ้าจะมองให้เห็นง่ายๆ คือนักปฏิบัติทางจิตทางใต้นิยมสายอิทธิฤทธิ์หรือสายติตตวิมุตติหรือเจวิมุตติ ไม่ใช่สายปัญญาวิมุตติ เช่นพระสงฆ์สายหลวงปู่มั่นทางภาคอีสาน ดังนั้นพ่อท่านคล้ายเป็นพระหลุดพ้น แต่มีฤทธิ์มากเหนือพระทั่วๆไป เพราะท่านศึกษาเอาจริงทั้งสองทางคือทางไสยเวทและทางหลุดพ้น แต่หลวงปู่เฟื่องคงเน้นสายหลุดพ้นโดยไม่ได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ท่านใดมาก่อน เพราะท่านไม่เคยเล่าเรื่องครูบาอาจารย์ของท่านให้ศิษย์ผู้ใดฟังเลย เพราะถ้าเล่าจริงลูกศิษย์คงไม่ลืมความสำคัญข้อนี้ไปได้

    หลวงปู่เฟื่องเดินธุดงค์แสวงหาวิเวกนั้นไม่ได้เดินอยู่ในอาณาเขตภาคใต้เท่านั้น ท่านขึ้นมาถึงภาคกลางแล้วไปทางอีสานผ่านดงพญาไฟ หรือดงพญาเย็นซึ่งเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ในสมัยโน้น พระรูปไหนไม่แน่จริงไม่สามารถเดินผ่านป่าดงพญาเย็นได้ เพรานอกจากสัตว์ร้ายแล้วไข้ป่าก็ชุกชุมดวงไม่แข็ง สมาธิไม่เชี่ยว โอกาสเอาชีวิตรอดนั้นค่อนข้างริบหรี่
    อ้อ มาถึงตอนนี้ทราบแล้วครับว่าหลวงปู่เฟื่องมีครูบาอาจารย์ เพียงแต่ไม่ได้เอ่ยนามเพราะท่านมีไม้เท่าศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่ง เป็นไม้เท่ากัลปังหาจากใต้ทะเล อาจารย์ท่านลงอักขระปลุกเสกเลขยันต์ป้องกันอันตรายไว้พร้อม เมื่อหลวงปู่เดินทางถึงไหนจะพักแรม ท่านจะเอาปลายไม้เท่าจรดดิน แล้วอธิษฐานตามเวทมนตร์ที่ร่ำเรียนมาจากครูบาอาจารย์แล้วจึงพักที่นั่นหรือว่าหลวงปู่เฟื่องเป็นศิษย์เขาอ้อเช่นเดียวกับพ่อท่านคล้าย เพราะครูอาจารย์สายนี้ก็ใช้ของศักดิ์สิทธิ์ติดตัวเช่นเดียวกัน จะเข้าป่า จะพักแรม ก็ต้องมีพิธีรีตอง วิธีเช่นนี้คล้ายนักปฏิบัติสายพระอาจารย์ในดงที่ผมเคยเขียนลงแล้วในเรื่อง พระอาจารย์ชาญณรงค์อภิชิโต ซึ่งเป็นศิษย์หลวงตาดำ พระผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ในดงลี้ลับ และผมก็สงสัยเช่นกันว่าวิชาสายเขาอ้อนี้มีต้นกำเนิดมาจากรพะอาจารย์ในดงเช่นกัน เพราะสิ่งที่พ่อท่านคล้ายแสดงให้ศิษย์ใกล้ชิดดูนั้นช่างเหมือนศิษย์ในดงแสดงเช่น เสดหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกใบมะขามให้เป็นต่อ แตน เป็นต้น ซึ่งหลักวิชาเหล่านี้มีกล่าวไว้ในตำราของอาจารย์ชม สุคันธรัตน์ ศิษย์พระอาจารย์ชาญณรงค์ แม้ตำราเขาอ้อก็มีเช่นนี้วิชาของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งตามประวัติระบุว่าหลวงปู่ศุข เป็นศิษย์ของหลวงปู่โพรงโพธิ์ พระวิเศษในดงลี้ลับซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงตาดำ หลวงพ่อวัดเขาอ้อซึ่งเป็นอาจารย์ของพ่อท่านคล้ายก็อาจเป็นศิษย์ในดงเช่นกัน
    พระที่โดดเด่นในสมัยนั้นอาจเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันก็ได้จึงเป็นไปได้ว่าหลวงปู่เฟื่องก็อาจเป็นศิษย์หลวงพ่อวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุง ก็น่าเสียดายที่ยังหาคนยืนยันไม่ได้ หรือไม่หลวงปู่เฟื่องก็เป็นศิษย์โดยตรงของหลวงตาดำในสมัยโน้น เพราะท่านขอบอยู่ในป่าดง หลวงตาดำอาจมีเมตตาโปรดท่านที่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่งก็เป็นได้ และศิษย์หลวงตาดำที่แท้จริงนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่คล้ายกันคือเก็บตัวแต่ผู้เดียวในป่าในดง ชอบอำพรางตนเอง ถ้าไม่ใกล้ชิดจะไม่มีใครรู้หรอกว่าท่านเป็นใครมาจากไหน แม้พระอาจารย์ชาญณรงค์อยู่วัดเงิน (รัชดาธิษฐาน) เจ้าอาวาสคนปุจจุบัน ซึ่งพบเห็นท่านบ่อยที่สุด ยังไม่รู้จักความเป็นมาของท่านเลย ทั้งไม่เคยรู้เรื่องว่าอาจารย์ชาญณรงค์นั้นมีอิทธิฤทธิ์เหนือผู้เหนือคนอย่างไร เพราะพระสายนี้เป็นพระแท้ รู้จิตรู้ใจคน รู้บารมีของคน ถ้าไม่มีบารมีทางธรรม ท่านก็ไม่แสดงตนให้เห็น คนจึงรู้จักท่านเพียงรูปร่างหน้าตาเท่านั้น ท่านจึงมักปล่อยให้คนที่ไร้บารมีธรรมให้ไร้บารมีต่อไป เพราะคนเหล่านั้นเขามีความไม่เชื่อเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาว่านิพพานไม่มีจริง หรือมีก็มีแต่ในอดีต ถ้าใครพูดว่านิพพานมีจริง พระอรหันต์มีจริงหรือองค์นั้นองค์นี้เป็นพระอรหันต์ คนนั้นพูดโกหก มีเช่นนี้จริงๆ หากไม่เชื่อลองไปถามเจ้าอาวาสวัดเงิน ตลิ่งชันดูเถิด ซึ่งผมไม่สงสัยหรอกในความเห็นของท่าน เพราะพระนักปริยัติทั่วๆไปเขาก็มีความคิดเห็นของเขาเป็นเช่นนั้น เขาเพียงเสวยบุญขอบพระอริยเจ้าเป็นอยู่ในพระศาสนาเท่านั้น หาใช่อยู่เพราความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธพจน์แต่ประการใดไม่
    ตามประวัติหลวงปู่เฟื่องที่ ส.แสงตะวัน เขียนไว้บอกว่า การเดินทางผ่านดงพญาเย็นของท่านจะพบกลด บาตร ของพระทิ้งอยู่ระหว่างทางบ่อยครั้ง ซึ่งพอสันนิษฐานได้ว่าเป็นเหยื่อของสัตว์ร้าย แต่ท่านก็มิได้หวั่นไหว เพราะระดับจิตและระดับภูมิธรรมของพระระดับนี้ พ้นแล้วจากความหวาดหวั่น ไม่ว่าจะหวาดหวั่นต่อเรื่องอะไรก็แล้วแต่ โดยสรุปคือหวาดหวั่นต่อโลกธรรมไม่มีในจิตใจของนักปฏิบัติระดับสูง ทั้งนี้เพราะท่านเข้าถึงความจริงของชีวิตแล้วว่ามันเป็นมายาภาพเหมือนพยับแดด ไม่ว่าจะเป็นหรือตายก็หาความหมายอันใดมิได้ ความเป็นกับความตายมีค่าเท่ากัน นี่แหละเป็นความหมายหนึ่งที่ว่านิพพานอยู่เหนือความตาย พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันพ้นจากสมมุติบัญญัติในส่วนหนึ่ง และพ้นโดยไม่ต้องกลับมาเกิดอีกส่วนหนึ่ง
    การเข้าดงพญาเย็นของท่านน่าจะมีความหมายมากกว่าการเดินทางผ่านไปอีสาน เพราะสถานที่แห่งนี้มีความลึกลับและมีความหมายสำหรับพระนักปฏิบัติไม่ใช่น้อย บางทีมันอาจเป็นการเดินทางเข้าไปพบพระนักปฏิบัติไม่ใช่น้อย บางที่มันอาจเป็นการเดินทางเข้าไปพบพระนักปฏิบัติระดับสูง ระดับครูอาจารย์ซึ่งอาศัยอยู่ในดงแถบนี้ก็เป็นได้ เพราะหลวงพ่อโตคราหนีออกจากกรุงเทพฯ ก็เข้าไปอยู่ในดงพญาเย็น ก็คงเข้าไปเรียนวิชากับพระป่าซึ่งอาจเป็นหลวงตาดำหรือศิษย์ของท่านก็เป็นได้ เพราะถ้าเรามาพิจารณากันแล้วป่าในเมืองไทยมีมากมายหลายที่ทำไมท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์จึงนิยมกันเข้าป่าดงพญาเย็น มันต้องมีอะไรมากกว่าการเข้าไปธรรมดาหรือเพื่อขอผ่าน เพราะเส้นทางมันอันตรายเหลือเกิน แต่ก็นั่นแหละ ท่านเหล่านี้ไม่เล่าสิ่งที่มันเกินความจำเป็นหรอก ความจริงของท่านบางส่วนจึงหายไปกับตัวท่านเอง
    ท่านจะอยู่ในดงนานเท่าไหร่มิได้บอกไว้ แต่เล่าว่าเมื่อหลุดออกจากดงแล้วท่านก็พบหมู่บ้านป่าในช่วงเวลาบ่ายของวันหนึ่ง มีบ้านคนประมาณ ๔-๕ หลังคาเรือน ท่านสำรวจดูชัยภูมิแถวๆนั้นก็เลือกเอาร่มต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งเป็นที่พำนักอาศัย แต่เรื่องกางกลดเป็นที่พักนี่ยังไม่อยากเชื่อ เพราะพระแต่ก่อนไม่สู้นิยมใช้กลด ท่านมีแต่บาตร จีวร มีดโกน กาน้ำ เข็มเย็บผ้า ผ้ากรองน้ำและยารักษาโรคบางอย่างเท่านั้น เรื่องกลดนี่เป็นที่นิยมกันภายหลัง ผมคะเนว่ามาจากพระป่าสายหลวงปู่มั่น ท่านนิยมใช้กันจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศแต่โบราณนั้นท่านนิยมอาศัยเงื้อมนินเงื้อมผา ถ้ำ ต้นไม้ใหญ่เป็นที่พักอาศัย ถ้าจะมีบริขารที่เกินบ้างคือมุ้ง แต่ก็น่าจะเป็นมุ้งสี่เหลี่ยม ใช้ขึงตามกิ่งไม้ต้นไม้ เพราะสมัยก่อนมีต้นไม้มากการกางมุ้งไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร
    หลวงปู่เฟื่องพักใต้ต้นไม้นั้นก็ชาวบ้านไปพบเข้า พวกเขาเลื่อมใส เพราะการพบพระในป่าไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ดังนั้นชาวบ้านจึงนำหมากพลูบุหรี่และน้ำมาถวาย แล้วนั่งสนทนาไต่ถามถึงความเป็นมาต่างๆ พอสมควรแก่เวลาต่างก็ลากลับบ้านใครบ้านมัน ส่วนหลวงปู่ก็อาศัยร่มไม้เป็นที่พักบำเพ็ญกรรมฐานตลอดคืน พอรุ่งเช้าก็ห่มจีวรออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมแถวๆนั้น ได้ข้าวปลาอาหารตามศรัทธาของญาติโยม ก็กลับมานั่งฉันใต้ต้นไม้ ชาวบ้านก็เดินตามเพื่อมารับใช้ท่านตามที่เห็นสมควร เมื่อท่านฉันเสร็จก็เอ่ยกับโยมที่เข้ามารับใช้ว่า “เมื่อคืนนี่นะโยม ฉันฝันว่าใต้พื้นดินที่ฉันพักอยู่นี้มีโครงกระดูกเก่าแก่ที่ยังไม่ได้เผาอยู่โครงหนึ่ง ขอความช่วยเหลือจากโยมช่วยขุดขึ้นมาเผาทีเถอะ เจ้าของจะได้ไปผุดไปเกิดเสียที” ชาวบ้านได้ยินดังนั้น ต่างก็ตื่นเต้นและสงสัยว่าที่ท่านฝันจะจริงหรือไม่ จึงได้ชักชวนกันมาขุดลงไปในพื้นที่ตรงนั้น แต่ใช้เวลาขุดนานมาก เพราะโครงกระดูกนั้นถูกฝังมานานหลายศตวรรษแล้ว ซากพืชซากสัตว์และใบไม้ที่ช่วยกันหล่นทับถมเป็นแผ่นดินหนาขึ้นอีกไม่ใช่น้อย กว่าจะพบโครงกระดูกก็เหน็ดเหนื่อยไปตามๆกัน แล้วทุกคนก็หายเหนื่อยทั้งตื่นเต้นมากที่พบว่ามีโครงกระดูกจริงๆ แต่มันเก่ามากจนเหลือกระดูกเพียงบางส่วนเท่านั้น และทุกคนก็ลงความเห็นว่าพ่อ (ตอนนั้นน่าจะเป็นหลวงพี่มากกว่า) คงเห็นด้วยตาทิพย์ ไม่ใช่ฝันเห็นเหมือนที่ท่านบอก พวกเขาก็ช่วยกันนำกระดูกเหล่านั้นขึ้นเชิงตะกอนเผากันตรงนั้นเอง
    หลวงพ่อพักอยู่ที่นั้นอีกคืนหนึ่ง พอรุ่งเช้าวันต่อมาหลังบิณฑบาตฉันเช้าเสร็จแล้วท่านก็อำลาชาวบ้านเดินทางตัดป่าเขาลำเนาไพร เดินไปพักไปหลายวันหลายคืนจนลุกถึงชายแดนเขมร ก็พบหมู่บ้านชาวนามีจำนวนบ้านมากกว่าที่เคยเล่าให้ศิษย์ทราบ แล้วท่านก็เลือกที่พักตรงที่มุ่งหมายไว้ วันต่อมาเมื่อบิณฑบาตฉันเสร็จ ก็บอกชาวบ้านที่มานั่งรับใช้ใกล้ๆว่า ตรงพื้นที่นั่งนี้มีโครงกระดูกอย่างโครงหนึ่ง ขอให้ญาติโยมช่วยกันขุดขึ้นมาเผาเสียที เจ้าของเขาจะได้ไปผุดไปเกิด ชาวบ้านได้ยินดังนั้นก็ช่วยกันขุดจนพบโครงกระดูกจริงๆ จึงจัดการทำพิธีเผาตามคำของหลวงพ่อ แต่ท่านไม่ร่วมเผาด้วย จากนั้นท่านก็เดินทางต่อไปอีก เพื่อทำภารกิจให้เสร็จสิ้น เมื่อท่านเล่าเรื่องเหล่านี้จบลง ส.แสงตะวัน ได้ถามขึ้นว่า “ไม่ทราบว่าโครงกระดูกทั้งสองมีความหมายต่อหลวงพ่ออย่างไรบ้างครับ” หลวงปู่ตอบว่า “มันเป็นซากศพขอฉันเมื่อ ๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว ฉันไม่อยากกลับมาเกิดอีก ชาตินี้จึงติดตามขุดซากศพที่ยังไม่ได้เผาเสียให้สิ้น ฉันจากโลกนี้ไปแล้ววิญญาณคงมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องตลอดไป” นั่นคือสิ่งที่ท่านเล่าให้ศิษย์ฟัง มันมีความหมายอะไรแฝงอยู่ และท่านก็คงติดตามขุดได้อีกหลายร่าง เพียงเล่าให้ศิษย์ฟังแค่ ๒ ร่างเท่านั้น
    จากชายแดนเขมรแล้วท่านก็เดินมาทางภาคตะวันออกของไทย เดินลัดเลาะเลียบชายฝั่งทะเล โดยมีจุดหมายเพื่อกลับภาคใต้ เป็นเวลาหลายวันหลายเดือนจึงลุถึงนครศรีธรรมราชและนมัสการพระเจดีย์พระบรมธาตุ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของปักษ์ใต้ จากนั้นก็เดินมุ่งหน้าสู่เมืองตรัง กระบี่ พังงา แล้วขึ้นเรือข้ามปากไปภูเก็ต อันเป็นจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง
    เรื่องที่เกิดในเมืองภูเก็ตนี้ได้รับการบอกเล่าจากหญิงชาวจีนซึ่งมาจากเมืองภูเก็ต มากราบหลวงปู่เมื่อปี ๒๔๙๖ เขามีอายุในวัยเดียวกับหลวงปู่ เขาได้รับการบอกเล่าถึงหลวงปู่ที่มาอยู่ที่นี่ และสงสัยว่าจะเป็นพระรูปเดียวกันกับที่เจ้าเมืองรังแกเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนโน้น เขาอดสงสัยไม่ได้จึงชวนลูกหลานให้มาส่งแล้วพักที่บ้านญาติในเมืองหาดใหญ่ แล้วชักชวนกันมาวัดคงคาเลียบ เมื่อถึงกุฏิหลวงพ่อเห็นท่านนั่งนิ่งอยู่ หญิงชรานั่งพิจารณาท่านอยู่เป็นเวลานาน แน่ใจว่าเป็นคนเดียวกัน จึงชวนท่านสนทนาไต่ถามถึงเรื่องแต่อดีตที่ท่านเคยไปเมืองภูเก็ต แต่หลวงพ่อก็ไม่ยอมพูดด้วย คงนั่งนิ่งเหมือนไม่ได้ยินเรื่องที่เขาถาม ท่านนั่งก้มหน้าตัดเล็บมือเล็บเท่าเหมือนไม่มีใครอยู่ ณ ที่นั้น พวกลูกศิษย์ได้ยินหญิงชราถามถึงเรื่องแปลกๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน จึงได้ซักถามรายละเอียดจากหญิงชราคนนั้น เขาก็เล่าให้ฟังอย่างละเอียด จากนั้นจึงได้เรียนถามหลวงพ่อว่าเรื่องที่หญิงชราเล่านั้นเป็นความจริงหรือไม่ หลวงพ่อตวาดด้วยเสียงอันดังว่า “ไม่รู้โว้ย กูไม่อยากยุ่ง” พร้อมกันนั้นท่านก็จับผ้าปัดพื้นไปมาแสดงว่าไม่ใส่ใจ และแสดงว่าเรื่องที่หญิงชราเล่าเป็นความจริงเรื่องมีอยู่ว่า
    เมื่อหลวงพ่อเดินทางถึงภูเก็ต ก็อาศัยโคนไม้ต้นหนึ่งเป็นที่พักแรม ตื่นเช้าก็ออกบิณฑบาตตามหมู่บ้านใกล้เคียง สมัยนั้นภูเก็ตมีเจ้าเมืองเป็นคนจีน ชาวเมืองก็เป็นคนจีนเสียส่วนมาก ทั้งเจ้าเมืองและชาวเมืองก็คงไม่กี่คนที่รู้จักพระที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร เขารู้แต่ว่าพระต้องอาศัยอยู่ในวัด ถ้าพระไม่อยู่ในวัดก็หาเป็นพระไม่ คงเป็นพระปลอมหรือคนสติไม่ดี ดังนั้น เมื่อคนของเจ้าเมืองไปพบพระอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ จึงนำความไปแจ้งให้เจ้าเมืองทราบ เจ้าเมืองไม่เข้าใจเรื่องพระจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปขับไล่หลวงพ่อให้หนีออกจากภูเก็ตโดยเร็ว เมื่อเขาไปไล่ท่าน ท่านก็ไม่พูดว่ากระไร ได้แต่นั่งนิ่งอยู่ พอวันรุ่งขึ้นท่านก็ออกไปบิณฑบาตตามปกติ แล้วกลับมานั่งใต้ต้นไม้เดิมอีก คนของเจ้าเมืองจึงกลับไปฟ้องเจ้าเมือง ทำให้เจ้าเมืองโกรธเคืองยิ่งนัก มันเป็นการท้าทายอำนาจเจ้าเมืองของเขา แสดงว่าไม่เห็นเขาอยู่ในสายตา คราวนี้เจ้าเมืองเรียกเจ้าหน้าที่มาหลายคนสั่งการว่าให้ช่วยกันขับไล่มันไป ถ้ามันไม่ยอมไปให้จับถอดสบงจีวรออก แล้วเอากางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงให้มันใส่ ถ้ามันไม่ยอมไปอีกก็เอาเชือกมันกระชากลากถูกออกไปเสียนอกเมือง แค่นี้ก็หมดเรื่องไม่เห็นจะยากเย็นอะไร
    เจ้าหน้าที่ได้ฟังคำสั่งแล้วก็ช่วยกันปฏิบัติไปตามหน้าที่ พวกเขาต่างรี่เช้าหาท่านแล้วจับตัวไว้ช่วยกันปลดผ้าสบงจีวรออก แล้วเอาเสื้อและกางเกงคนจีนสวมใส่ให้ หลวงพ่อก็ได้แต่ขัดขืนตะโกนว่า “กูไม่สึก กูไม่สึก” พวกเขาหาฟังเสียงไม่ เมื่อเปลี่ยนชุดให้ท่านแล้วก็ช่วยกันเอาเชือกมัดท่านฉุดกระชากลากถูกไปตามถนน ส่วนบริขารต่างๆ ก็นำไปทิ้งลงทะเลหมด ชาวบ้านทราบเรื่องก็วิ่งมามุงดูกันใหญ่ ที่ไม่รู้ความจริงต่างก็โห่ร้องขับไล่ไปกับเขาด้วยโดยไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ที่รู้ความจริงต่างก็สลดใจ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ เพราะหวาดเกรงอำนาจของเจ้าเมือง จึงได้แต่ปล่อยให้เป็นไปตามเวรกรรม
    เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย อาจมีลีลาที่แตกต่างกันไปตามสมัย คนพาลไม่รู้เรื่องต่างช่วยกันตีฆ้องร้องปล่าวไปกับเขานี่มีมาก ยิ่งสมัยนี้มีสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียงยิ่งได้เสียงจากคนพาลเยอะ แต่เสียงของคนดีมีเหตุผลไม่มีใครอยากฟัง ผลที่เกิดขึ้นคือเราช่วยกันทำลายคนดีในสังคมไปไม่รู้กี่คนแล้ว ไม่ว่าคนดีในผ้าเหลือง คนดีในเครื่องแบบข้าราชการและคนดีในแวดวงการเมือง มันเป็นสมัยหมากหินฟู หมากน้ำจม คนพาลจะได้เป็นใหญ่ คนดีจะถูกเหยียบหายจมธรณี แผ่นดินจะเร่าร้อนเป็นไฟ แล้วใครเล่าจะช่วยได้ คนดีต่างต้องหลบลี้หนีหน้า ถ้าดังขึ้นมาก็ต้องถูกทำลาย ถ้าคนร้ายดังเขายิ่งชอบใจ เพราะคนได้ผลประโยชน์มันล้วนมีอิทธิพลที่พึ่งพากันได้ คนดีไม่มีผลประโยชน์ที่จะหยิบยื่นให้ใครเป็นการส่วนตัว แต่เขาทำให้สังคมมีความสุขเย็น แต่ความสุขเย็นนี้มันขัดแย้งกับเส้นทางของคนร้าย มันจึงขัดจึงแขวะกัน เช่นนี้อยู่ร่ำไป ผมไม่ใช่คนดี แต่เป็นพวกพ้องของคนดี บางทีก็ทนไม่ได้เหมือนกัน การแขวะกันมันก็ต้องเกิดขึ้นบ้างอย่างนี้แหละ โอกาสของใครของมันนี่
    ในเมืองภูเก็ตสมัยนั้นมีผู้รู้คนหนึ่ง เขาเป็นสาธารณสุขจังหวัด ชาวเมืองภูเก็ตมีความเคารพนับถือกันมาก เพราะเป็นที่พึ่งพาของคนเจ็บป่วย เขาเรียกท่านว่าคุณหมอ เมื่อคุณหมอทราบเรื่องเข้าก็ทนไม่ได้ จึงไปหาเจ้าเมืองแล้วชี้แจงถึงข้อวัตรปฏิบัติของพระให้ทราบว่าพระสงฆ์นั้นมีกี่แบบ พระที่พักตามโคนไม้ตามป่าตามเขาเป็นพระแบบไหน เขาชี้แจงให้เจ้าเมืองเห็นว่ากำลังทำบาปทำกรรม ให้ปล่อยตัวพระเสียเถิด
    เจ้าเมืองได้ทราบเรื่องจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวหลวงพ่อ คุณหมอได้นำผ้าสบงจีวรไปถวายท่าน ซึ่งท่านก็รีบนำมาห่มเป็นพระต่อไป แล้วหมอก็นำหลวงพ่อไปปฐมพยาบาลที่โรงหมอของท่าน เมื่อเห็นว่าท่านมีอาการดีขึ้นแล้วก็อนุญาตให้ท่านกลับไปอยู่ที่โคนไม้ต้นนั้นตามเดิม เมื่อท่านกลับไปอยู่โคนไม้ ชาวบ้านที่เลื่อมใสต่างก็เข้าไปกราบไหว้แล้วปวารณาว่าจะนำบาตรและบริขารที่เขานำไปทิ้งมาถวายท่านใหม่ แต่หลวงพ่อปฏิเสธที่จะรับเครื่องบริขารจากพวกชาวบ้าน พวกเขาจึงนิมนต์ท่านให้ออกจากเมืองภูเก็ตเสีย หาไม่จะมีอันตราย หลวงพ่อตอบว่า “ฉันไปแน่นอนแต่จะขอบิณฑบาตสัก ๓ เช้าจึงจะไป” ตอนนั้นชาวบ้านก็ลืมนึกไปว่าท่านไม่มีบาตรจะเดินบิณฑบาตได้อย่างไร พวกเขาได้แต่คิดกันว่าถ้าเป็นเช่นนั้นวันรุ่งขึ้นจะรอใส่บาตรหลวงพ่อที่หน้าบ้านของตน และได้พากันนิมนต์หลวงพ่อไว้เพื่อการนั้น
    พอรุ่งเช้าบรรดาชาวบ้านต่างก็ถือขันข้าวยืนรออยู่หน้าบ้านของตนเองคอยแล้วคอยเล่าก็ไม่มีพระภิกษุหนุ่มเดินมาทางนั้น เขาจึงใส่บาตรให้พระรูปอื่นๆ ที่ผ่านมารูปแล้วรูปเล่า จนสายแล้วก็แน่ใจว่าท่านคงไม่มาแน่ พอดีเขานึกขึ้นได้ว่าท่านไม่มีบาตร เพราะเจ้าหน้าที่เอาไปทิ้งลงทะเลจนหมด พวกเขาจึงจัดข้าวปลาอาหารใส่ปิ่นโตชวนกันเดินทางไปหาพระภิกษุหนุ่มที่โคนไม้ เมื่อมาถึงก็เห็นท่านนั่งอยู่พร้อมบาตรที่ถูกเขาโยนทิ้งไปแล้ว จึงได้เรียนถามท่านว่า “หลวงพ่อไปเอาบาตรที่เขาทิ้งลงทะเลแล้วมาได้อย่างไร” ท่านตอบว่า “มันเป็นของฉันก็ต้องอยู่กับฉัน จะไปอยู่กับคนอื่นได้อย่างไร” เขาถามท่านว่า “เช้านี้หลวงพ่อไปบิณฑบาตที่ไหน เพราะพวกเขารอจนสายก็ไม่เห็นท่านไปตามคำนิมนต์” พระภิกษุหนุ่มตอบว่า “ฉันก็ไปบิณฑบาตในตลาดของโยมนั่นแหละ” ชาวบ้านก็นึกว่าท่านอาจเดินไปอีกเส้นทางหนึ่งก็เป็นได้ เขาจึงไม่มีโอกาสได้ใส่บาตรท่าน
    พอเช้าอีกวันหนึ่งชาวบ้านต่างก็ยืนรอใส่บาตรท่านเหมือนเดิม คอยจนสายก็ไม่เห็นวี่แววของพระภิกษุหนุ่มเดินมารับบาตรทางนั้น จึงจัดอาการใส่ปิ่นโตไปถวายท่านที่โคนไม้อีก พร้อมทั้งต่อว่าที่ท่านไม่ไปบิณฑบาตตามคำนิมนต์ ท่านเปิดบาตรให้ดูว่า “นี่ไง ฉันไปมาแล้วนี่ โยมดูข้าวปลาอาหารที่พวกโยมถวายสิของใครบ้างก็คงจำกันได้” ขาวบ้านเห็นดังนั้นก็จำได้ว่าเป็นข้าวปลาอาหารของตนๆที่ใส่บาตรพระในเช้าวันนั้น ก็ได้แต่สงสัยว่าตนได้ใส่บาตรให้ท่านตอนไหน เพราไม่มีใครจำได้เลยว่าได้ใส่บาตรท่าน
    พอเช้าวันที่ ๓ ชาวบ้านต่างก็ยืนรอใส่บาตรท่านอีก ก็ได้ใส่ให้แต่พระรูปอื่นๆ แต่ไม่เห็นท่านเดินไปบิณฑบาตทางนั้นแม้แต่เงา มีชายแก่คนหนึ่งสังเกตได้ว่ามีพระรูปหนึ่งที่คนเองไม่เคยเห็นมาก่อน มาเดินบิณฑบาตที่นั่นจึงเกิดความสงสัยขึ้น พอใส่บาตรให้ท่านเสร็จก็มอบขันข่าวให้เด็กเอาไปเก็บ ส่วนตัวเองก็สะกดรอยตามพระแก่รูปนั้นไปเรื่อยๆ เพราะอยากรู้ว่าท่านมาจากไหนก็เห็นท่านเดินตรงไปที่โคนไม้ที่พระภิกษุหนุ่มพักอยู่ พอถึงโคนไม้แล้วร่างของท่านก็กลับเป็นพระภิกษุหนุ่มทันที ชายแก่จึงร้องดังลั่นว่า “จับได้แล้วๆ พระหนุ่ม พระแก่ หลวงพ่อนี่เอง” พร้อมกันนั้น เขาก็ก้มลงกราบพระภิกษุหนุ่มด้วยความปลื้มปิติที่ตัวเองได้มีโอกาสได้สัมผัสกับพระอริยเจ้าผู้วิเศษ ทั้งยังได้ทำบุญใส่บาตรให้ท่านด้วย จากนั้นข่าวที่ชายแก่จับได้ว่าท่านคือใครก็แพร่สะพัดไปทั่วเกาะภูเก็ตชาวบ้านต่างดีใจ แต่ก็เสียใจว่าท่านจะออกจากเกาะภูเก็ตแล้ว โอกาสที่จะได้เห็นและได้ทำบุญกับท่านไม่มีอีกแล้ว จึงวันนั้นมีคนมารุมล้อมท่านมากมายเพื่อถือโอกาสจะตามส่งท่านขึ้นเรือข้ามฟากด้วย ทางเจ้าของเรือข้ามฟากแต่ละลำต่างก็คอยที่จะรับโอกาสพาท่านข้ามฟากเพื่อเอาบุญกุศลจากท่าน แต่ทั้งชาวบ้านที่รอส่งท่านและเจ้าของเรือแจวต่างก็รอท่านจนค่ำ ไม่เห็นว่าท่านจะเตรียมตัวออกเดินทางแต่ประการใด จึงเข้าใจว่าท่านคงจะอยู่อีกคนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นจะได้นำข้าวต้มมาถวายท่านแต่เช้า เมื่อปรึกษาเห็นพ้องต้องกันแล้วก็กราบอำลาท่านกลับบ้าน
    พอรุ่งขึ้นทุกคนต่างก็ถือหม้อข้าวต้มมุ่งหน้าสู่โคนไม้ พอถึงก็พบแต่ความว่างเปล่า ไม่มีแม้แต่เงาร่างของพระภิกษุหนุ่มจึงได้เดินทางไปที่เรือข้ามฟากเพื่อสอบถามว่า ใครเป็นผู้รับท่านขึ้นเรือข้ามฟาก แต่ไม่มีเรือจ้างลำไหนที่มีโอกาสรับท่านข้ามฟาก ไม่ว่าจะกลางค่ำคืนหรือเช้าวันนั้น ชาวบ้านก็ได้แต่งุนงงสงสัยอยู่ว่าท่านข้ามฟากไปฝั่งโน้นได้อย่างไร บางคนที่เข้าใจก็พูดว่า “แปลงร่างเป็นคนแก่ท่านยังทำได้ ทำไมจะข้ามฟากโดยไม่ใช้เรือไม่ได้” ก็เป็นอันเข้าใจกันว่าท่านใช้อิทธิฤทธิ์ข้ามไปเอง
    กล่าวถึงตำหนักเจ้าเมืองโดยปกติแล้วใครจะเข้าจะออกยามกลางวันหรือค่ำคืนล้วนต้องผ่านหูผ่านตายามทั้งนั้น แต่ก็มีเรื่องประหลาดที่คนในคุ้มเจ้าเมืองเล่าให้คนภายนอกฟังว่า “เมื่อเช้าวันนั้น เจ้าเมืองได้เรียกเจ้าหน้าที่รักษายามเข้าพบ ถามว่าเมื่อคืนตอนตี ๒ ใครเป็นคนอยู่ยาม ทำไมจึงปล่อยให้พระแก่ๆ ย่างเข้าไปหากูถึงในห้อง พอกูตื่นขึ้นมามันแสดงกิริยาข่มขู่กูว่า “มึงรู้มั้ยว่ากูคือใคร มึงสร้างกรรมไว้กับกู สักวันหนึ่งกรรมจะกลับสนองมึง” ว่าแล้วร่างนั้นก็หายไป คนยามได้ยินดังนั้นก็ตกใจ ปฏิเสธว่าไม่มีใครผ่านเข้าไปเมื่อคืนนี้ เพราะเขายืนเฝ้ายามอยู่ตลอดเวลา
    เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันทั่วเกาะภูเก็ต แต่ชีวิตเจ้าเมืองจะเป็นไปอย่างไรเขาไม่ได้เล่าไว้ แต่คนภูเก็ตสมัยนั้นคงทราบดี หรืออาจมีเล่าไว้ในพงสาวดารประวัติศาสตร์อันเกี่ยวเนื่องถึงเมืองภูเก็ตก็เป็นได้ หากชาวภูเก็ตท่านใดที่ทราบรายละเอียดเรื่องต่างๆ เหล่านี้โปรดเขียนเล่าให้ทราบกันบ้าง เท่าที่ผมทราบเห็นมีแต่ทางการจับเจ้าเมืองสงขลาหรืออาจเจ้าเมืองภูเก็ตด้วยในเรื่องสมคบกันค้าฝิ่น ในสมัยบุร่ำบุราณโน้น
    หลวงพ่อออกจากเมืองภูเก็ตแล้วจะไปที่ไหนบ้างท่านไม่ได้เล่าให้ศิษย์คนใดฟัง เพราะเมื่อท่านมาอยู่วัดนี้ก็ในวัยสุดท้ายของท่านแล้ว เริ่มต้นท่านพำนักชั่วคราวที่วัดเกาะ เมืองหาดใหญ่ จากนั้นเดินทางไปพักวัดควนลัง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ท่านจึงขออยู่จำพรรษาที่นั่นเป็นการชั่วคราว
    อยู่มาวันหนึ่งในช่วงบ่าย พระหนุ่มในวัดนั้น ๔-๕ คนได้ล้อมวงเตะตะกร้อส่งเสียงเฮฮากันเป็นที่สนุกสนาน ลูกตะกร้อได้ปลิวไปตกลงบนหลังคาของหลวงปู่ และตกหลายครั้งด้วย ท่านจึงร้องถามพระพวกนั้นว่า “พวกท่านนี่เป็นพระหรือเณร” พระเหล่านั้นตอบว่า “เป็นพระ” แล้วย้อนถามว่า “แล้วท่านล่ะเป็นพระหรือเณร” หลวงปู่ตอบว่า “เมื่อพวกท่านเป็นพระ ฉันก็ควรเป็นสามเณร” พระหนุ่มได้ฟังก็พากันหัวเราะเป็นที่ขบขัน เพราะคิดว่าแก่จนป่านนี้แล้วยังเป็นสามเณรอยู่ ทำไมไม่บวชเป็นพระเสียเล่า ตั้งแต่นั้นทั้งพระเถรเณรน้อยจนถึงลูกศิษย์ต่างก็เรียกท่านเป็นสามเณร ท่านเห็นว่าผลบาปจะตกแก่พวกเด็กๆโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ท่านจึงคิดหาที่อยู่ใหม่ เพราะอายุท่านแก่เกินไปที่จะเดินธุดงค์แบบเดิมอีก จึงคิดจะหาสถานที่ใกล้หมู่บ้านเพื่อสะดวกในการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
    อยู่มาไม่กี่วันก็มีชายหนุ่ม ๒ คนพี่น้อง คนพี่ชื่อ ทอง คนน้องชื่อ ไข่ (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) พากันมาเที่ยววัดควนลัง ได้เห็นหลวงปู่ก็เกิดความเลื่อมใส เพราะท่านมีรูปร่างลักษณะทั้งกิริยามารยาทแตกต่างจากพระรูปอื่น เพราะพระที่มีจิตใจสงบนั้นท่านจะมีความผ่องสดใส ลักษณะนี้แตกต่างจากสามัญขน คนใดมีเซ้นส์จะรับรู้ถึงความแตกต่างนี้ได้ ชายหนุ่มทั้งสองจึงชวนกันเข้าไปกราบหลวงปู่และซักถามท่านถึงความเป็นมาพอสมควร หลวงปู่ก็ถามเขาเรื่องนั้นเรื่องนี้ จึงทราบว่าเขาเป็นคนตำบลท่าช้าง ซึ่งใกล้ๆกับตำบลควนลังนั่นเอง ท่านจึงปรารภว่าอยากได้ที่อยู่ใหม่ที่สงัดวิเวกพอสมควร เป็นที่พำนักในวัยสุดท้ายของท่าน ชายหนุ่มสองพี่น้องได้ฟังดังนั้นจึงนึกขึ้นได้ว่าพวกคนมีที่เกือบร้อยไร่ที่ยังเป็นป่าทึบไม่ได้ปลูกอะไรก็มีมาก ทั้งยังมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสร้างสำนักสงฆ์ด้วย เพราะมีลำห้วยเล็กๆไหลผ่าน เขาจึงนิมนต์ให้หลวงพ่อไปอยู่ในที่ของเขา หลวงพ่อจึงตอบตกลงทันที นายทองกับนายไข่ดีใจมากจึงลากลับบ้านไปบอกญาติพี่น้องเพื่อปลูกกุฏิให้หลวงพ่ออยู่ พวกเขาต่างก็ช่วยกันแผ้วถางสถานที่และปลูกกุฏิไม้ไผ่มุงจากขนาดเล็กหลังหนึ่ง ยกพื้นบันได ๓ ขั้น ต่อระเบียงยื่นออกไปประมาณ ๑ เมตร ด้านหลังกุฏิมีลำห้วยน้ำใสไหลผ่านตลอดปี ใกล้ลำห้วยเป็นป่าโปร่ง เดิมเป็นที่อยู่ของโขลงช้าง ชาวบ้านเชื่อกันว่าป่าโปร่งแห่งนี้มีเจ้าที่เจ้าป่าแรงมาก ไม่มีใครกล้าเข้าไปบริเวณนั้นกันหรอก ช่วงกลางคืนจะมีเก้งกวาง หมูป่า มาขุดดินโปร่งกินอยู่เสมอ ๒ ฝั่งลำห้วย เล่าก็มีต้นสาคูขึ้นเรียงรายเป็นเถือกเถาอย่างสวยงาม ทั้งสถานที่ใกล้เคียงกับป่านี้ก็มีคนปลูกบ้านอยู่ ๔-๕ หลังพออาศัยเดินบิณฑบาตได้ไม่ไกลจนเกินไป
    เมื่อสร้างกุฏิพักและเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ๒ พี่น้องพร้อมด้วยญาติๆ ต่างเดินทางไปวัดควนลัง เพื่อรับหลวงพ่อไปอยู่สำนักใหม่ วันคงเป็นวันและเดือนหนึ่งในปี ๒๔๙๕ วันที่หลวงพ่อเริ่มมาอยู่ที่วัดซึ่งมามีชื่อภายหลังว่า “วัดคงคาเลียบ” แห่งนี้และท่านก็อยู่ที่นี่ตลอดมา พวกชาวบ้านต่างเรียกท่านว่าหลวงพ่อเณร เพราะเรียกตามพระเณรและศิษย์วัดควนลังเรียกกันและคิดว่าท่านเป็นสามเณรโค่งจริงๆ
    ส.แสงตะวัน รู้จักหลวงปู่เฟื่อง
    โหร ส.แสงตะวันเริ่มเข้าไปสัมผัสหลวงปู่เฟื่องในปี ๒๔๙๕ ปีที่ท่านไปอยู่ ณ สำนักใหม่นี้ท่านเล่าว่า ปี ๒๔๙๕ วันเดือนจำไม่ได้ ผมออกจากบ้านไอดื่มกาแฟที่ร้านขาประจำใกล้บ้านได้พบปะเพื่อนฝูงหลายคน ซึ่งล้วนเป็นชาประจำของร้านนี้ มีครูบุญธรรมและครูลับได้นั่งสนทนากันอยู่ก่อนแล้วจึงเข้าไปร่วมวงด้วย เหลียวดูรอบๆรู้สึกมีผู้คนหนาตาเป็นพิเศษ ส่วนมากล้วนเป็นนักเสี่ยงหวยแทบทั้งนั้น ต่างก็คุยกันในเรื่องเลขเด็ดงวดต่อไปว่าจะออกอะไร ครูบุญธรรมและครูลับ เป็นข้าราชการบำนาญ เป็นเพื่อนคู่หูที่รักกันมาก ทั้งเป็นนักเลงหวยใต้ดินตัวฉกาจ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่าสำนักทรงเจ้าเข้าผีที่ไหนให้หวยแม่น ต้นไม้ต้นไหนให้เลข หลวงพ่อวัดไหนให้เลขเด็ด ที่ท่านสองคนนี้จะไม่เข้าไปแวะเวียนเพื่อหาเลขสวยๆเพื่อหวังรวยทางลัด
    เช้าวันนั้นครูบุญธรรมเอ่ยขึ้นว่า “เมื่อวานผมกับครูลับออกจากบ้านแต่เช้าไปหาหาลวงพ่อเณร ท่านอยู่ในป่าลึกห่างจากบ้านคนไปมาก ผมถามชาวบ้านไปตลอดทาง ทราบว่าท่านอยู่ในป่านั้นมากว่า ๕๐ ปี คงแก่กล้าในวิชากรรมฐาน จนอาจบรรลุมรรคผลแล้วก็ได้ แต่ทางไปนี่นะคุณทุลักทุเลเหลือรับประทาน เพราะไม่มีถนนเข้าไป ต้องเดินลัดเลาะไปตามคันนา บางช่วงก็เข้าป่า ไปถึงวัดเอา ๑๐ โมงเช้า พบหลวงพ่อเณรนั่งถอนหญ้าอยู่หน้ากุฏิ ดูท่านยังหนุ่ม ผิวพรรณละเอียดผ่องใส ดูแล้วน่าเลื่อมใสมาก ไม่น่าจะเป็นสามเณร ผมสองคนก้มลงกราบท่านและถามท่านว่า “พระคุณเจ้ามาอยู่ที่นี่นานแล้วหรือ” ท่านตอบว่า “๕๐ ปีแล้ว” และย้อนถามเราว่า “โยมมาทำไมกัน” เราก็อึกๆอักๆในที่สุดก็ตอบท่านไปว่า “ผมมาขอลาภครับ” ท่านทำหน้าสงสัยถามว่า “มาขอลาภยังไงฉันไม่เข้าใจ” ผมตอบว่า “ในตลาดหาดใหญ่เขานิยมซื้อหวยเบอร์กัน โดยซื้อเลขท้ายของรางวัลที่ ๑ มีเจ้ามือรับซื้อครับ ถ้าใครซื้อถูกตรงๆ เจ้ามือจะจ่ายให้ ๖๐๐ บาทต่อหนึ่งบาท ถ้าแทงไม่ถูกเจ้ามือจะกินหมด ที่ผมมาหาหลวงพ่อก็อยากได้เลขจากหลวงพ่อ คิดว่าหลวงพ่อคงรู้ว่าเลขท้ายรางวัลที่ ๑ จะออกอะไร ถ้าหลวงพ่อมีญาณวิเศษโปรดเมตตาบอกกระผมให้ถูกหวยกับเขาสักงวดเถอะครับ ได้แก้ไขความเดือดร้อนกับเขาบ้าง” หลวงพ่อถามว่า “เขาซื้อกันตัวละเท่าไร” ครูลับรีบบอกว่า “ตัวละ ๑๐๐ บาทก็มี ๑๕๐ บาทก็มีครับ” หลวงพ่อนั่งถอนหญ้าไปพลางบ่นพึมพำว่า “คนหาดใหญ่ช่างร่ำรวยกันเหลือเกินนะ ซื้อหวยเบอร์กันตั้งเบอร์ ๑๐๐-๑๒๐” แล้วท่านก็ตอบว่า “เร่องหวยเรื่องเบอร์นี่ฉันไม่รู้เรื่องอะไรกับเขาหรอกนะ” ว่าแล้วก็ก้มหน้าถอนหญ้าต่อไป แต่ก็บ่นพึมพำว่า ซื้อกันได้ ๑๐๐-๑๒๐ บ่นซ้ำอยู่อย่างนั้น ผมเห็นไม่เป็นการเสียแล้ว จึงชวนกันลาท่านกลับด้วยความผิดหวัง “แหม...คุณดูสิ เมื่อวานหวยออก ๑๒๐ เราไม่ได้เอะใจเลยว่าท่านให้หวยเรา มันน่าเสียดายนัก ทีท่านบอกว่าอยู่มา ๕๐ ปีแล้วเป็นเลข ๒ ตัวล่าง ท่านคงรู้ว่าเราไปขอหวยจึงชิงบอกเสียก่อน พวกเราชวดทั้งล่างและบน” ครูบุญธรรมเล่าด้วยท่าทางที่ทั้งเสียดายและเสียใจ
    ผมนั่งฟังเขาเล่าก็อดตื่นเต้นไม่ได้ แต่ที่ทำให้ผมสนใจนั้นคือทำไมสามเณรรูปนี้ จึงมาอยู่ที่นี่เป็นเวลานานมาแล้ว คงมีอะไรดีๆอยู่เป็นแน่ ตั้งแต่วันนั้นผมก็หาโอกาสที่จะไปหาท่านให้ได้จนอีกไม่กี่วันต่อมาผมก็ชวนพรรคพวกได้ เราใช้จักรยานคนละคัน ไปด้วยกัน ๔ คน บางช่วงทางก็ถีบจักรยานไป บางช่วงก็ต้องจูงกันทุกลักทุเล สืบถามชาวบ้านเรื่อยไป จนที่สุดก็ถึงสำนักเรานั่งพักใต้ต้นไม้พอหายเหนื่อย จึงจูงจักรยานเข้าไปในสำนัก ได้ยินสียงตะโกนออกากกุฏิว่า “โหรมาแล้วโว้ยๆ” ถึง ๒ ครั้ง มองเข้าไปในกุฏิเห็นประตูเปิดแง้มอยู่ เมื่อเข้าไปใกล้ๆ ก็เห็นมีแต่พระรูปหนึ่งไม่เห็นมีใครอื่น เสียงตะโกนที่ได้ยินคงเป็นเสียงของหลวงพ่อแน่นอน
    สภาพกุฏิที่หลวงพ่ออยู่ อยู่ในสภาพโย้เย้ จะพังมิพังแหล่ หลังคามุงด้วยใบจากซึ่งหาได้ริมห้วยนั่นเอง ด้านหลังกุฏิมีลำห้วยเล็กๆ มีน้ำใสสะอาดไหลผ่านกุฏิของท่านมีบันได ๓ ขั้น ราวบันไดเป็นไม่ไผ่เจาะรูสำหรับสอดไม้ทำเป็นขั้นบันไดสำหรับเหยียบขึ้นลง แต่ขั้นกลางหักไป ท่านใช้กิ่งมะม่วงแห้งขนาดเล็กพอๆกับหัวแม่มือสอดใส่ไว้ ถ้าใครเหยียบบันไดขั้นนี้เห็นทีหกคะเมนตีลังกาตกกุฏิแน่ เมื่อพวกเราขึ้นกุฏิของท่านจึงไม่มีใครเหยียบบันไดขั้นกลาง เมื่อขึ้นไปก็เห็นหลวงพ่อนั่งตัดเล็บเฉยอยู่ ไม่ได้สนใจพวกเราเลย เมื่อท่านไม่คุยด้วยผมก็ได้แต่นั่งพิจารณาท่านไปในที
    ท่านมีผิวพรรณผุดผ่องสดใสละเอียดนวล ช่างกลมกลืนกับสีผ้าจีวรของท่านเสียนี่กระไร ผมคิดว่าท่านคงเปล่งรังสีให้เราดูกระมัง เพื่อให้เราพิจารณาดูเอาเองไม่ต้องบอกว่าท่านคือใคร ดูแล้วท่านมีอะไรที่ผิดกับพระรูปอื่นๆ ที่ผมเคยพบเห็นมาก่อน ผมแน่ใจว่าท่านต้องเป็นพระแน่นอน ไม่ใช่สามเณรอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจและเรียกขานกัน และต้องเป็นพระอริยเจ้าระดับใดระดับหนึ่งเป็นแน่ แล้วท่านมาหลบลี้อยู่ที่นี่เพื่ออะไร จะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากพระสกิทาคามีหรือพระนาคามีที่แสวงหาโมกขธรรมในป่าในดงแต่เพียงผู้เดียว ผมยิ่งนึกก็ยิ่งมั่นใจ พวกเรานั่งอยู่นานท่านก็ไม่เอ่ยถามอะไรทั้งสิ้น พวกเราต่างก็นั่งเงียบ ไม่กล้าเอ่ยถามอะไรท่าน เมื่อได้เวลาอันสมควรผมก็พยักหน้าให้เพื่อเป็นสัญญาณว่ากลับกันได้แล้ว หลวงพ่อเงยหน้าขึ้นยิ้มให้แต่ไม่พูดว่ากระไร ก่อนที่พวกเราจะเหยียบลงบนขั้นบันได ท่านเอ่ยขึ้นว่า “เหยียบงบไปเถอะไม่ต้องกลัวมันหัก” ผมจึงตัดสินใจเหยียบบันไดกิ่งมะม่วงดู ปรากฏว่าไม่หักจริงๆ แม้เพื่อนๆที่ก้าวหลังก็ลองเหยียบดูทุกคนก็ไม่เห็นว่ามันหัก ก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ครั้งแรกที่พวกเราได้สัมผัสจากท่านว่า ต้องเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านแน่นอน ระหว่างเดินทางกลับบ้านพวกเราต่างก็พูดคุยกันไปวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่านนั่นแหละ
    ศิษย์หลวงพ่อสดไปกราบหลวงปู่เฟื่อง
    ในราวปี ๒๔๙๖ มีพระภิกษุ ๓ รูปมาจากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ศิษย์หลวงพ่อสดหรือพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อได้ส่งลูกศิษย์มาเปิดสาขาการปฏิบัติธรรมกายขึ้นที่เมืองหาดใหญ่ ศิษย์ของท่านทั้ง ๓ มีพระแอบ วรธัมโม เป็นหัวหน้า พระผัน โสภิโกและพระปัญญา ญาณวโร ร่วมเดินทางมาด้วยเมื่อท่านไปถึงหาดใหญ่ ญาติโยมที่รู้จักพระอาจารย์แอบได้ไปต้อนรับท่านที่สถานีรถไฟแล้วนำไปพักผ่อนในสถานที่อันเหมาะสม พอวันต่อมาก็ประชุมชาวบ้านปรึกษากันว่าจะหาสถานที่ตรงไหนสร้างสำนักขึ้นเพื่อสั่งสอนวิชาธรรมกายแก่ชาวหาดใหญ่ผู้สนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนา เมื่อปรึกษากันแล้วก็เลือกที่ได้ริมคลองเตย ด้านทิศตะวันออกของเมืองหาดใหญ่ ผู้เลื่อมใสศรัทธาต่างก็ช่วยกันปลูกกุฏิศาลาชั่วคราวจนเสร็จเรียบร้อยก็นิมนต์พระอาจารย์ทั้ง ๓ เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อสั่งสอนวิชาธรรมกายมีสาธุชนที่สนใจมาฝึกวิชาธรรมกายกันมาก รวมทั้งโหร ส.แสงตะวัน ด้วย
    วันหนึ่ง ส.แสงตะวันได้เล่าเรื่องสามเณรแก่อาศัยอยู่ในป่าแต่เพียงผู้เดียว ในป่าทิศตะวันตกของเมืองหาดใหญ่ ท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ใด ใครไปมาหาสู่ก็ไม่นิยมพูดคุยด้วย ให้พระอาจารย์ทั้ง ๓ ฟัง ท่านมีความสนใจกันมาก จึงนัดหมายชวนกันเดินทางไปกราบหลวงพ่อเณรในป่าดังกล่าว และได้พากันเดินทางไปสำนักป่าในอีกไม่กี่วันต่อมา เมื่อพวกเราเดินทางถึงสำนักผมเห็นแปลกตาไป เพราะกุฏิมุงจากที่จะพังมิพังแหล่หลังเก่า ได้ถูกรื้อถอนไปแล้วมีกุฏิหลังใหม่ขึ้นมาแทน เป็นกุฏิไม้เนื้อแข็ง ฝาไม้กระดานหลังคามุงด้วยกระเบื้องลูกฟูก มีบริเวณกว้างขวางพอจะบรรจุคนได้หลายสิบคน มีระเบียงยกพื้นสำหรับชาวบ้านที่จะนำภัตตาหารไปถวาย ต่อมาจึงทราบว่า นายหนูจันทร์ คหบดีของเมืองหาดใหญ่ เป็นผู้ปลูกถวาย เมื่อพระอาจารย์เข้าเขตสำนักก็ลดผ้าจีวรลงเฉียงบ่า ต่างก็อธิษฐานในใจว่า “ถ้าเป็นพระจะขอนมัสการในฐานะพระผู้อาวุโส หากเป็นสามเณรก็ขอคารวะในฐานผู้สูงอายุ” เมื่อทั้ง ๓ ท่านก้าวขึ้นกุฏิก็เห็นหลวงพ่อห่มจีวรนั่งรออยู่แล้ว ทั้งสามท่านเข้าไปกราบพร้อมๆกัน หลวงพ่อพนมมือรับพร้อมกับพูดว่า “ถูกแล้วๆ ไม่ผิดหรอก” แล้วหลวงพ่อหันมาถามประปัญญาว่า “ท่านเป็นคนจีนใช่มั้ย” ท่านปัญญาตอบว่า “ใช่ครับ” หลวงพ่อพูดว่า “กุฏิฉันปลูกไว้แล้ว จะมาอยู่เมื่อไหร่ก็มาได้” ทุกคนที่นั่นต่างก็ได้ยินกันทั่ว ต่างก็สงสัยว่าท่านคงชักชวนท่านปัญญาให้ไปอยู่ด้วย
    ท่านทั้งสามและญาติโยมนั่งสนทนาไต่ถามสารทุกข์สุกดิบกับท่านหลวงปู่เฟื่องเป็นเวลานานพอสมควร จึงได้กราบอำลากลับเมืองหาดใหญ่ ระหว่างทางพระปัญญากระซิบหมอ ส.แสงตะวันว่า “ฉันเชื่อว่าท่านเป็นพระแท้ ไม่ใช่สามเณรหรอก” พระอาจารย์ทั้งสามได้ช่วยกันสั่งสอนวิชาธรรมกายแก่สาธุชนชาวหาดใหญ่อยู่ประมาณ ๑ ปี มีคนให้ความสนใจฝึกฝนกันมาก ที่ได้เห็นธรรมกายก็มีกันบ้างรวมทั้งหมอ ส.แสงตะวัน นายชื่น บุญสมบัติและนายเสมอ กิติกร เมื่อครบปีแล้วพระอาจารย์แอบก็ส่งศิษย์ที่เห็นธรรมแล้วเข้ากรุงเทพฯ เพื่อต่อวิชาชั้นสูงจากหลวงพ่อสด แต่เมื่อปรึกษากันแล้วก็มีเงินทุนสำหรับศิษย์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะเดินทางได้ นายชื่นมีสิทธิ์ได้ไปก่อน เพราะเป็นคนเห็นธรรมเป็นคนแรก แต่นายชื่นมีความหวาดกลัวว่าจะล่มเสียระหว่าง เพราะความชำนาญยังไม่ดีพอ จึงต้องเลือกหมอ ส.แสงตะวันไปด้วยอีกคนหนึ่งคน
    กราบหลวงพ่อสด
    พระอาจารย์ได้พาลูกศิษย์ทั้งสองเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรถไฟไปลงหัวลำโพงแล้วจับแท็กซี่ตรงไปวัดปากน้ำ ถึงวัดเวลาเพลเศษๆ พักผ่อนกันที่กุฏิหลังหนึ่ง พอใกล้เวลาห้าโมงเย็นแล้วนั่งคอยพระอาจารย์แอบ ก็ไม่มีวี่แววว่าท่านจะพาเข้ากราบหลวงพ่อ จึงตัดสินใจเข้าหาหลวงพ่อกันเอง จึงเดินไปลานกุฏิของท่าน เห็นหลวงพ่อสดนั่งอยู่บ้านเก้าอี้รับแขกแล้ว มีชาวบ้านเข้าไปนมัสการท่านอยู่ก่อน ทั้งสองจึงเดินเข่าเข้าไปกราบท่าน หลวงพ่อก้มมองทั้งสองคนแล้วทักว่า “เด็กสองคนนี้มาจากหาดใหญ่ใช่มั้ย” หมอส.แสงตะวันและเพื่อนพนมมือรับว่า “ใช่แล้วครับ” ท่านหันไปพูดกับชาวบ้านที่ไปด้วยกันว่า “พวกโยมนี่ใกล้เกลือกินด่าง เด็กสองคนนี่มาจากหาดใหญ่ ปฏิบัติธรรมเก่ง นั่งสมาธิเก่ง รักษาโรคได้เก่ง เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้” แล้วหลวงพ่อหันมาถามหมอส.แสงตะวันว่า “พระในป่ายังอยู่มั้ย” หมอส.แสงตะวันนั่งงงอยู่ ไม่ทราบว่าท่านหมายถึงใคร หลวงพ่อถึงถามย้ำว่าพระที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองหาดใหญ่น่ะ หมอส.แสงตะวันพนมมือตอบว่า “ยังอยู่ครับ แต่ท่านเป็นสามเณรนี่ครับ ไม่ใช่พระ” หลวงพ่อสดหัวเราะพร้อมกับพูดว่า ท่านเป็นพระแท้ที่หาได้ยาก ในเมืองไทยมีไม่กี่รูป พระองค์นี้มีฤทธิ์มากเดี๋ยวนี้ท่านหยุดการแสดงฤทธิ์เสียแล้ว แต่จะแสดงอีกครั้งในกาลข้างหน้า” ส.แสงตะวันเรียนถามว่า “เวลานี้ใครๆก็เรียกท่านว่าหลวงพ่อเณรกันทั้งเมือง เรียกกันมา ๕๐ ปีกว่าแล้ว จะแก้ไขประการใดดีขอรับ” หลวงพ่อสดแนะนำว่า “จัดผ้าป่าถวายท่านสิ แล้วท่านจะแสดงตัวออกมาให้เห็นเองว่าเป็นพระหรือสามเณร”
    บรรดาพระ ชี พระฆราวาสที่มาฝึกต่อวิชากับท่าน เพื่อไปเป็นครูฝึกต้องฝึกฝนกันเป็นเวลา ๑๕ วัน พอจบหลักสูตรจึงลากลับหาดใหญ่ และต้องกลับมาฝึกปีละ ๒ ครั้ง เมื่อกลับหาดใหญ่หมอส.แสงตะวัน ก็เล่าเรื่องที่หลวงพ่อสดแนะนำให้จัดผ้าป่าไปถวายหลวงพ่อเณร เพื่อให้ท่านแสดงตัวเป็นพระออกมาให้เพื่อนฟัง จึงต่างตกลงใจที่จะทำตามนั้น ทั้งพระและฆราวาสจึงร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองจัดกองผ้าป่าขึ้นมากองหนึ่ง พอถึงเวลาทั้งศิษย์สำนักธรรมกาย สาขาหาดใหญ่และชาวบ้านต่างเคลื่อนขบวนตรงไปสำนักหลวงพ่อเณร เวลาบ่ายโมงก็ถึงสำนักได้จัดพุ่มผ้าป่าใต้ต้นมะม่วง พระอาจารย์แอบขึ้นไปนิมนต์หลวงพ่อแล้วกลับมานั่งรออยู่ใต้ต้นมะม่วง ชาวบ้านใกล้เคียงที่รู้ข่าวต่างพากันทยอยออกมาสมทบ จึงมีคนจำนวนมาก
    ครั้นถึงเวลา ๑๕.๓๐ น. ทุกคนก็เห็นหลวงพ่อเดินลงจากกุฏิทุกคนตื่นตะลึง เมื่อเห็นท่านห่มจีวรพาดสังฆาฏิ มีประคดรัดอกเช่นพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ตรงมาที่พุ่มผ้าป่าที่จัดเตรียมไว้ ชายชราผู้หนึ่งอุทานขึ้นว่า “พิโธ่เอ๋ย อยู่ใกล้ๆ กันแค่นี้ไม่รู้กี่สิบปีแล้วเพิ่งรู้วันนี้เองว่าท่านเป็นพระ ไม่ใช่สามเณรอย่างที่เข้าใจกัน” ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อชักผ้าป่าและให้พรเสร็จแล้ว พวกชาวบ้านต่างกรูแย่งกันเข้าไปกราบท่านแทบเท้า บางคนถึงกับร้องไห้สะอึกสะอื้นด้วยความปลื้มปิติ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ทุกคนจึงรับทราบกันว่าท่านเป็นพระ และเรียกขานท่านเสียใหม่ว่า “หลวงปู่เฟื่อง อินทสุวัณโณ”
    ความอัศจรรย์ของหลวงปู่
    หมอส.แสงตะวันเล่าว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าอัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงปู่ ยิ่งพิจารณาจะยิ่งเห็นชัดถึงความแปลกนั้น คือ สำนักของหลวงพ่อมีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่เศษๆ น้ำในลำห้วยที่ไหลซึมออกมาจากริมถนนทางเกวียนมารวมเป็นแอ่งและกลายเป็นลำห้วยไหลสู่ท้องนา หลวงปู่ได้ใช้สอยน้ำนี้ตลอดอายุขัยของท่าน เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วไม่ถึงปี สายน้ำในลำห้วยก็แห้งหายไปสิ้น
    เมื่อหลวงพ่อเริ่มเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ พื้นที่ยังเป็นป่าทึบเมื่อเขาถางตัดต้นไม้ออกพอมีที่โล่ง เพื่อทำลานสำนักและปลูกสร้างเสนาสนะ พวกวัชพืชทั้งหลายต่างก็เจริญงอกงาม หลวงพ่อท่านจะนั่งถอนหญ้าที่แทรกดินขึ้นมา ความอัศจรรย์คือพื้นที่ตรงไหนที่ท่านถอนหญ้าแล้วมันจะไม่ขึ้นมาอีก กลายเป็นที่ราบเรียบดุจเทด้วยคอนกรีต แต่พื้นดินแถวนั้นจะแข็งมาก เมื่อท่านต้องการปลูกพืชก็เพียงใช้ปลายมีดจิ้มดินเป็นหลุมหน่อยหนึ่งแล้วหยอดเมล็ดพืชที่ต้องการปลูกลงไป แล้วรดน้ำลงไป แต่การรดน้ำของท่านมีพิธีการคือท่านใช้น้ำราดฝ่ามือซ้ายให้ตกลงหลุมที่ท่านปลูกเมล็ดพืชไว้พลางบริกรรมคาถา ชั่วเวลาไม่นานนักสิ่งที่ท่านปลูกไว้ในพื้นดินแข็งเหล่านั้นก็จะเจริญงอกงามผิดหูผิดตา ทั้งมีดอกมีผลมากมายจนเก็บกินไม่รู้จักหมดสิ้น หมอส.แสงตะวันเล่าว่าระยะเวลาเดือนเศษที่ท่านเห็นหลวงพ่อปลูกพืชแล้วกลับไปอีกครั้ง สวนครัวของท่านเต็มไปด้วยผลเต็มต้น หลวงพ่อบอกให้เก็บไปกินบ้าง เพราะหลวงพ่อเก็บฉันไม่ทัน ท่านได้ปลูกสับปะรดเรียงรายตามริมรั้ว กล้วยน้ำว้าสี่ห้ากอสูงประมาณศอกกว่าปรากฏว่าตกเครือแล้ว ที่สุกแล้วจะมีพวกกระรอกลงมากินกันมากมาย
    มีอยู่วันหนึ่ง มีข้าราชการด่านศุลกากรมากราบหลวงปู่แล้วยืนชมผลหมากรากไม้ต่างๆที่ท่านปลูกไว้ และออกดอกผลอย่างงดงาม เขาเห็นกระรอกหางพวงไม่ต่ำกว่า ๑๐ ตัวกำลังช่วยกันแทะสับปะรดลูกละ ๑ ผล เมื่อหลวงพ่อลงมาจากกุฏิเห็นพวกกระรอกทำเช่นนั้นจึงตวาดไปว่า “ไอ้พวกนี้อย่ากินอย่างนั้นสิ จะได้กินกันหลายๆวันหน่อย” พวกกระรอกเหล่านั้นเหมือนรู้ภาษาของท่าน งกระโดดเข้าหาสับปะรดผลหนึ่ง ต่างช่วยกันแทะเจาะจนเป็นรูลึกเข้าไป ชั่วเวลาแผล็บเดียวสับปะรดก็ถูกแทะจนเกลี้ยงพวกกระรอกก็เปลี่ยนไปกินลูกใหม่อีก พวกศุลกากรพากันมองด้วยความฉงนสนเท่ห์และสุดทึ่ง
    ในห้องของหลวงปู่มีงูปล้องทองตัวขนาดแขน ๓ ตัวนอนขดอยู่ปลายเท้าของท่านในช่วงกลางวัน พอตกกลางคืนพวกมันก็เลื้อยออกไปหากินตามประสาของมัน พอใกล้สว่างก็จะกลับมานอนที่เดิม มันไม่ทำร้ายใครกับหลวงปู่ก็เหมือนกันต่างคนต่างอยู่ไม่เกี่ยวข้องกัน
    ช่วยโจรให้พ้นภัย
    อย่ามาวันหนึ่งตำรวจวิ่งไล่จับโจรฆ่าคนตาย โจรวิ่งหนีตำรวจอย่างสุดชีวิต มุ่งหน้ามาทางสำนักของหลวงปู่ เห็นท่านนั่งถอนหญ้าอยู่จึงวิ่งเข้าไปกราบขอความช่วยเหลือจากท่าน บอกว่าตำรวจกำลังไล่ยิงเขา ถ้าหลวงพ่อไม่ช่วยเห็นจะตายแน่ หลวงพ่อจึงชี้ให้เขาไปหลบที่กอต้นกล้วยซึ่งมีต้นกล้วยอยู่ ๓ ต้น หลังจากผู้ร้ายไปซ่อนตัวแล้วครู่เดียวตำรวจ ๔ นายก็วิ่งมาถึงเหลียวซ้ายแลขวาไม่เห็นโจรแต่เห็นหลวงพ่อนั่งถอนหญ้าอยู่จึงเข้าไปถามว่า “หลวงพ่อเห็นโจรมาทางนี้มั้ยครับ” หลวงพ่อถามว่า “โจรอะไรล่ะ” ตำรวจตอบว่า “โจรฆ่าคนครับ มันหนีมาทางนี้หลวงพ่อเห็นมั้ยครับ” หลวงพ่อชี้มือไปทางกอกล้วยที่โจรแอบอยู่ ตำรวจไม่ได้ซักถามอะไรต่อก็พากันวิ่งไปทางนั้น แต่เขาไม่ได้วิ่งไปดูที่ต้นกล้วยแต่บ่ายหน้าออกจากสำนักไปทางหลวงปู่ชี้ ก็คงนึกว่าโจรวิ่งออกไปทางนั้น ป่านนี้คงไปไกลแล้วจึงรีบติดตามไป
    เมื่อตำรวจไปได้พักใหญ่หลวงพ่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จึงเรียกผู้ร้ายออกมาถามไถ่ถึงเรื่องราวต่างๆ ท่านก็คงทราบว่าอะไรเป็นอะไรแน่ จึงให้โจรพักอยู่กับท่านชั้วคราวแล้วกำหนดวันให้ไปมอบตัวกับทางการเพื่อต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป พอถึงกำหนดวันที่เหมาะสมหลวงพ่อก็เรียกโจรมาแต่เช้า ทำน้ำมนต์ให้ดื่มและอาบแล้วเอาตบหัวให้ ๓ ที สั่งว่า “วันนี้แกเดินทางไปมอบตัวกับตำรวจ ระหว่างทางห้ามมิให้ทักกับใครเป็นอันขาด ใครทักก็อย่าตอบจนกว่าจะถึงโรงพัก” พร้อมกันนั้นท่านก็ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “นายไว” ซึ่งต่อมาเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงพ่อมากผู้หนึ่ง
    นายไวแต่งตัวเสร็จก็ออกเดินทางโดยรักษาคำสั่งของหลวงปู่อย่างเข้มงวด แกก้มหน้าก้มตาเดินเป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตรใครทักทายแกไม่ใส่ใจ ก้มหน้าเดินจนถึงโรงพักแล้วเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ นายร้อยเวรดีใจที่เขาเข้ามอบตัวและทั้งแปลกใจด้วย แต่เขาก็สงสารและเห็นใจจึงให้การต้อนรับอย่างดี เมื่อตำรวจสอบสวนนายไวให้การปฏิเสธทุกข้อหา ตำรวจสอบสวนเสร็จก็ส่งตัวเข้าห้องขัง เพื่อรอส่งตัวขึ้นศาลและรอโจทย์มาชี้ตัว ขังไว้นานเท่าใดไม่ได้แจ้ง เมื่อไม่มีเจ้าทุกข์และขังจนหมดอำนาจศาลอัยการได้ทำสำนวนเสนอให้ศาลยกฟ้องเพราะเป็นคดีที่ไม่มีโจทย์ ศาลจึงยกประโยชน์ให้จำเลย นายไวจึงได้รับอิสรภาพแล้วกลับไปอยู่กับหลวงปู่เฟื่องเพื่อรับใช้ใกล้ชิดท่านตั้งแต่นั้นมา
    สร้างกุฏิให้ลูกชาย
    หลวงปู่อยู่ในสำนักนี้แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด เสนาสนะในสำนักของท่านมีเพียงกุฏิหลังเดียวที่ท่านอยู่ แต่ว่าวันหนึ่งท่านก็ปรารภที่จะสร้างกุฏิอีกหลังหนึ่ง ญาติโยมต่างก็สงสัยว่าท่านจะสร้างให้ใครอยู่ เมื่อทนสงสัยก็เอ่ยถามหลวงพ่อว่าสร้างให้ใครอยู่ ท่านตอบว่า “สร้างให้ลูกชายกูสิวะ อีกไม่กี่วันเขาจะมาอยู่กับกูแล้ว” ตอนนั้นไม่มีใครทราบเลยว่าลูกชายของหลวงพ่อเป็นใครกัน แต่ทุกคนต่างก็ช่วยกันทั้งออกทุนทรัพย์และแรงงานช่วยกันสร้างกุฏิหลังใหม่ โดยหลวงปู่กำหนัดแบบและคุมการสร้างทั้งหมด
    อยู่มาไม่นาน พระปัญญา ญาณวโร ศิษย์หลวงพ่อสดที่มาสอนธรรมกายในเมืองหาดใหญ่ก็เข้าไปอยู่กับหลวงปู่เฟื่องด้วยความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง กุฏิหลังใหม่จึงเป็นกุฏิที่ท่านสร้างไว้ให้ท่านปัญญาอยู่โดยเฉพาะ นับว่าเป็นคู่บุญบารมีของท่านโดยแท้จริง เพราะท่านปัญญาได้พัฒนาสำนักนี้ให้เจริญรุ่งเรืองมีชื่อเสียงต่อมา และท่านย้ายไปอยู่ประเทศจีนหรือไต้หวันนี่แหละหลายปี สุดท้ายแห่งชีวิตได้กลับมามรณภาพที่วัดนี้ ในวัดยังมีสถูปสวยงามบรรจุอัฐิของท่านอยู่ด้วยและมีมณฑปสถิตรูปปั้นของท่านด้วยเช่นกัน
    หลวงปู่รู้วาระสุดท้าย
    อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์ปัญญา ซึ่งได้มาอยู่กับหลวงพ่อแล้วได้เขามาปรารภเพื่อกราบลาเข้ากรุงเทพฯสักอาทิตย์หนึ่งในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ หลวงพ่อเฟื่องบอกว่า “อย่าเพิ่งไป ในเดือนยี่ฉันจะมีงานใหญ่ในวัดนี้” ขณะนั้นนายเค้งได้เรียนถามขึ้นว่า “หลวงพ่อจะมีงานอะไรละครับ” หลวงพ่อไม่ตอบตามตรงแต่พูดว่า “งานนี้เป็นงานใหญ่ จะตั้งโรงงานที่ป่ากล้วยว่างๆ แกเอามีดไปฟันต้นกล้วยให้หมด แล้วเอาเสามาปัก ๔ ต้น” นายเค้งยิ่งสงสัยหนักขึ้นถามว่า “แล้วหลวงพ่อจะให้ปักเสาทำอะไรกันครับ” หลวงพ่อว่า “กูจะทำโรงละคร จะเอาละครมาเล่าที่นี่” ยิ่งทำให้นายเค้งสงสัยหนักขึ้นอีก เพราะปักษ์ใต้มีแต่หนังตะลุงกับมโนราห์เท่านั้น จะเอาละครที่ไหนมาเล่นได้แต่ไม่ได้ซักอะไรต่ออีก หลวงพ่อก็ชวนพูดคุยเรื่องอื่นๆเรื่อยไป ลูกศิษย์เลยคิดว่าท่านพูดเล่นๆไปงั้นเอง
    พอถึงวันที่ ๓ มกราคม หลวงพ่อได้สั่งบอกลูกศิษย์ใกล้ชิดทุกคนว่าคืนนี้ให้มานอนวัดกันทุกคน แต่โดยปกติแล้วลูกศิษย์จะผลัดเปลี่ยนกันมานอนวัด เพื่อดูแลหลวงพ่อในวัยชราภาพ คืนที่ท่านสั่งให้ไปนอนนั้นหมอ ส.แสงตะวัน ต้องกลับไปเฝ้าคุณยายซึ่งป่วยหนักเช่นกัน แต่พอถึงตี ๒ ก็ได้รับเสียงเคาะประตูปลุกจากนายเสนอ กิติกร ผู้เป็นเพื่อน เมื่อ หมอ ส.แสงตะวันเปิดประตูก็ได้รับการบอกกล่าวว่าหลวงพ่อกำลังป่วยหนักให้รีบไปวัดด่วน แต่หมอส.แสงตะวันก็ติดขัดกับการดูแลยายจึงบอกว่าเช้าจะไป เขาจึงมีโอกาสได้ไปกราบหลวงปู่ก่อนที่ท่านจะสิ้นใจซึ่งขณะนั้นเหล่าศิษย์กำลังนั่งห้อมล้อมกันอยู่ หลวงพ่ออยู่ในสภาพที่อ่อนเพลียมาก หมอส.แสงตะวันเข้าไปกราบบอกว่า “กระผมสำราญมาแล้วครับหลวงพ่อ” ขณะนั้นเป็นเวลาสิบโมงครึ่ง หมอส.แสงตะวันดูนาฬิกาและจับชีพจรของท่านไปด้วย พอถึง ๑๐.๔๙ ของวันที่ ๔ มกราคม หลวงพ่อก็จากไปพอดี
    ข่าวการมรณภาพของท่านกระพือไปอย่างรวดเร็ว ฝูงชนหลั่งไหลมาจากทิศานุทิศเพื่อกราบศพของท่าน ป่ากล้วยที่นายเค้งถางไว้พร้อมปักเสา ๔ ต้นก็กลายเป็นที่ตั้งศพของท่าน จึงทำให้ทุกคนถึงบางอ้อว่างานแสดงละครของท่านคืออะไร
    หลวงปู่ไปบอกลูกศิษย์ที่ทุ่งสง
    เมื่อเวลาสิบโมงของวันที่ ๔ กำนันคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอยู่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ไปธุระที่อำเภอกับผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้านอีกคนหนึ่ง ขณะที่เขาขี่จักรยานผ่านทุ่งนาแห่งหนึ่ง ก็เห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งกำลังเดินอยู่กลางทุ่งนา กำนันจึงถีบรถเข้าไปใกล้เพื่อซักถาม พอเข้าใกล้ก็จำได้ว่าเป็นหลวงพ่อเฟื่องที่เขาให้ความเคารพอย่างสูงพอๆกับพ่อท่านคล้าย จึงตกใจทั้งตื่นเต้นดีใจและสงสัยถึงถามว่า “หลวงพ่อแก่แล้วไปอย่างไรมาอย่างไร ถึงเดินธุดงค์มาถึงนี่” หลวงพ่อตอบว่า “เมื่อมีเวลาว่างก็เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมาย ไม่มีกาลเวลา” ท่านกำนันแน่ใจว่าท่านยังไม่ได้ฉันข้าวแน่ จึงให้คนติดตามไปหาซื้อข้าวหมูแดงกับโอเลี้ยงในตลาดมาถวายท่าน ขณะเดียวกันก็นิมนต์ท่านไปนั่งที่ศาลาที่พักร้อนกลางทุ่งนา ซึ่งอยู่ใกล้ๆนั่นเอง นั่งรอสักครู่อาหารและน้ำก็มาถึงจึงจัดแจงถวายให้ท่านฉันทันที หลวงพ่อฉันเสร็จก็ให้พรตามประเพณีสงฆ์ ก่อนจากกันท่านบอกว่า “พวกแกไปเที่ยววัดฉันบ้างสิ ตอนนี้กำลังมีงานสนุกสนานกันใหญ่” กำนันก็นึกสงสัยอยู่เช่นกันว่าเขามีงานแล้วทำไมหลวงพ่อจากเขามาถึงที่นี่ แต่ก็ไม่ได้ถามอะไรต่อ แต่สิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อท่านย่างเท้าลงจากห้างทุ่งนาเดินไปได้ ๓ ก้าว ร่างของท่านก็หายวับไปทิ้งไว้แต่รอยเท้า ๓ รอยเท่านั้น ท่านกำนันและคนติดตามถึงกับตกตะลึง เมื่อเห็นรอยเท้าของท่านที่เหยียบไว้บนทรายจึงแบ่งๆกันกอบเอาไปบูชาที่บ้านและได้เล่าเรื่องที่ประสบมาให้ใครต่อใครฟังด้วยความตื่นเต้น คิดจะเดินทางไปวัดของท่านทันที ก็รู้ว่าไม่มีรถไฟแล้วจึงต้องรอกันถึงวันรุ่งขึ้น ต่างก็จำคำของหลวงปู่ได้ดีที่ท่านสั่งว่า “แกจะไปวัดฉันให้ลงรถไฟที่สถานีอู่ตะเภาแล้วเดินไปทางทิศตะวันตกถามเขาไปเถอะเดี๋ยวก็ถึงวัดของฉันเอง”
    ดังนั้นพอรุ่งขึ้นท่านกำนันก็ชัดชวนลูกบ้านหลายคนเดินทางไปวัดคงคาเลียบ ซึ่งเป็นระยะทางกว่า ๒๐๐ กิโลเมตร เมื่อถึงป้ายอู่ตะเภาทุกคนก็ลงรถเดินไปตามทุ่งนา พบบ้านชาวนาระหว่างทาง เห็นหญิงแก่คนหนึ่งจึงร้องถามว่า “วัดหลวงปู่เฟื่องไปทางไหน” หญิงนั้นชี้ทางให้พร้อมถามว่า “รู้ข่าวกับเขาเหมือนกันรึ” กำนันสงสัยถึงร้องถามว่า “ข่าวอะไร” หญิงคนนั้นถามกลับว่า “อ้าว ไม่รู้รึ หลวงปู่เฟื่องท่านเสียไปเมื่อวานเช้าประมาณ ๑๐ โมงกว่า” กำนันและพวกได้ยินดังนั้นถึงกับตกใจ พากันร้องไห้โฮ ก็เมื่อวานเวลา ๑๐ โมงกว่าเขายังได้พบปะกับท่านอยู่ แต่ทางนี้ว่าท่านแสดงร่างไปบอกข่าว แต่เป็นการแสดงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะสามารถขบฉันของที่เขาถวาย ทั้งยังพูดคุยกันได้จริงๆไม่ใช่เป็นการนอนหลับฝัน นับเป็นปาฏิหาริย์ครั้งสุดท้ายที่ท่านแสดงแก่ลูกศิษย์กลุ่มหนึ่ง
    เมื่อกำนันและพวกไปถึงวัดก็พบชาวบ้านกำลังช่วยกันฉลุแผ่นเงินแผ่นทองเพื่อประดับหีบศพ พวกเขาไปถึงประมาณ ๔-๕ โมงเย็นแล้ว ชาวบ้านถามได้ความว่ามาจากทุ่งสงจึงถามว่ารู้ข่าวได้อย่างไรว่าท่านสิ้นแล้ว เพราะหนทางห่างไกลกันขนาดนี้ (สมัยนั้นวิทยุมีไม่แพร่หลาย และไม่ได้ประกาศข่าวทางวิทยุ) กำนันจึงเล่าเรื่องให้ฟังดังที่เล่าไปนั้นแหละ
    ในเรื่องที่ ท่านส.แสงตะวัน ได้เขียนไว้ไม่ได้บอกว่าเก็บศพไว้กี่วันจึงฌาปนกิจ แต่คิดว่าสมัยนั้นคงเก็บไว้ไม่นานเพราะไม่ได้ฉีดยากันเน่าเช่นทุกวันนี้ แต่ผมสันยาสีมีความมั่นใจว่าพระระดับนี้ เมื่อมรณภาพสิ้นลมหายใจร่างกายของท่านจะไม่เปื่อยเน่าเพราะวันที่กำนันไปกราบศพท่านนั้นร่างของท่านก็นอนหลับตาพริ้มเหมือนคนนอนหลับตามปกติ ซึ่งเขาเขียนไว้ว่า “สภาพร่างกายยังสมบูรณ์ดีทุกอย่าง”
    สร้างสถูปบรรจุอัฐิธาตุ
    ข่าวการมรณภาพของท่านกระจายไปทุกหนทุกแห่ง พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ พระอาจารย์ของหลวงพ่อดำ จันทาโภ (พระวิเศษสยบโรค) เป็นอีกท่านหนึ่งที่รับทราบข่าวนี้ พ่อท่านคล้ายกับหลวงพ่อเฟื่องคงเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกัน และท่านก็เลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงปู่เฟื่องอยู่มาก เคยมีคนถามพ่อท่านว่า “หลวงปู่เฟื่องสำเร็จชั้นไหนแล้ว” พ่อท่านคล้ายตอบว่า “เอาบุญบารมีของชาวใต้ตั้งแต่ชุมพรลงมาไปจนถึงสุไหงโกลกรวมกัน บารมียังไม่ถึงหลวงปู่เฟื่อง” ก็เป็นเครื่องคะเนได้ว่าหลวงปู่เฟื่องควรเป็นพระระดับไหน
    พ่อท่านคล้ายจึงชักชวนบรรดาพ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้าน ขาราชการ ร่วมแรงรวมใจกันสร้างถนนจากหน้าวัดควนลังตัดผ่านทุ่งนามุ่งตรงไปวัดคงคาเลียบ ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตรสร้างไม่นานก็เสร็จขณะเดียวกันกับที่กำลังสร้างถนน พ่อท่านคล้ายก็วางแผนสร้างเจดีย์สำหรับบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่เฟื่องเป็นลำดับไป บรรดาพระและฆราวาสชาวบ้านต่างก็ร่วมแรงร่วมใจและทุนทรัพย์ตามกำลังศรัทธาช่วยกันคนละไม้คนละมือร่วมกันสร้างสถูปเจดีย์จนสำเร็จในเวลาไม่นานนัก นายเป็งเจียงและนายฮก แซ่โค้ว เป็นหัวแรงสำคัญในการหาเงินสร้างสถูปเพราะใช้ทุนทรัพย์สูงมาก อีกคนหนึ่งคือ นายซิว แซ่ปอ คนจีนเหล่านี้มีความเคารพเลื่อมใสในพ่อท่านคล้ายและหลวงปู่เฟื่องมาก
    พ่อท่านดำได้เล่าเรื่องให้ฟังว่า ช่วยที่ไปสร้างเจดีย์หลวงพ่อเฟื่องนั้นคนจีนคนหนึ่งซึ่งมีฐานะดีมากและบริจาคทรัพย์มากได้เป็นผู้ขวนขวายวิ่งเต้นทุกอย่าง และเขามักไปขอลาภกับพ่อท่านคล้ายโดยขอเลขตัวเดียวไม่วิ่ง พ่อท่านคล้ายให้ถูกติดกันทุกงวด จนถึงงวดหนึ่งท่านบอกว่านี้เป็นงวดสุดท้าย ต่อไปแกอย่าเล่นอีกเป็นอันขาด แต่ชาวจีนคนนั้นไม่เชื่อท่าน ยังทุ่มเทเงินทองเล่นเลขต่อไปจนในที่สุดก็สิ้นเนื้อประดาตัว ผมจำไม่ได้ว่าท่านหมายถึงคนจีนคนไหน แต่เป็นหนึ่งในหลายๆคนที่เป็นหัวแรงสำคัญในการสร้างถนนและสถูปเจดีย์เข้าวัดหลวงปู่เฟื่อง
    การนำอัฐิธาตุของหลวงปู่ทำในวันไหน คนเล่าประวัติลืมบอกไว้ เห็นมีแต่พูดถึงเวลาเท่านั้น แต่คงเป็นปี ๒๔๙๘ นั่นเอง เพราะหลวงปู่เฟื่อง มรณภาพวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๘ มีเรื่องเล่าว่า พ่อท่านคล้ายเป็นผู้อัญเชิญอัฐิธาตุขึ้นบรรจุในเจดีย์ตามฤกษ์ของหมอ ส.แสงตะวัน ขณะที่ได้เวลาฤกษ์สิบโมงเศษสิ่งมหัศจรรย์เกิดบนท้องฟ้า คือเกิดเส้นรุ้งสามสีขึ้นทางทิศตะวันตก เป็นสีแดง เหลืองและเขียว เป็นเส้นตรงแบบเส้นบรรทัดไม่ใช่รุ้งกินน้ำ เป็นวงกลมอย่างที่พวกเราเคยเห็นกัน เส้นรุ้งเส้นตรงนี้ปรากฏให้เห็นประมาณ ๒๐ นาที จากนั้นไดหัดตัวกลมเป็นลูกโลกอีกประมาณ ๑๕ นาที จากนั้นก็ขยายออกเป็นเส้นตรงอีก แล้วกลับรวมตัวเป็นวงกลมอีก เหตุอัศจรรย์บนท้องฟ้าในลักษณะนี้ปรากฏอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง ๕๐ นาที จึงค่อยๆเลือนหายไป เมื่อเขาบอกให้พ่อท่านคล้ายทราบ ท่านได้ชะโงกหน้าจากปะรำดูแล้วออกเสียงสาธุการ ๓ ครั้ง พร้อมยกมือไหว้ด้วย พวกชาบ้านต่างปฏิบัติตามๆกัน ฝ่ายพวกช่างภาพก็ได้ถ่ายภาพเหล่านี้ไว้หลายคน ถ่ายติดบ้างไม่ติดบ้าง เล่ากันว่าปรากฏการณ์ครั้งนี้มองเห็นทั่วเมืองหาดใหญ่ทีเดียว
[ ราคา ] ฿1000
[ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองสงขลา
เหรียญพระวินัยรักขิต (คงทน) วัดเขาราม สงขลา
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่ออุ้ย วัดคอหงษ์ จ.สงขลา รุ่นแรก พ.ศ.2519
สมเด็จเจ้าสมภารทอง วัดคูหาใน
เหรียญสมเด็จเจ้าศรีวิไล วัดจาก อ.ระโนด จ.สงขลา ปี 2522
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อรมดำพร้อม วัดคลองแดง ปี 31 เนื้อทองแดง พิมพ์หน้าใหญ่ นิยม
พระปิดตารับทรัพย์ หลวงพ่อทอง วัดป่ากอ นาหม่อม จ. สงขลา ปี 39
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเชิงแสเหนือ ปี 2537 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล พิมพ์เล็ก
เหรียญหลวงพ่อเคว็จ วัดดีหลวงนอก รุ่นแรก ปี 2520  เนื้อทองแดงน้ำตาล
เหรียญพระประจำวัน วัดหาดใหญ่ใน ปี 2519  เนื้อทองฝาบาตรกะไหล่เงินหายาก
เหรียญหลวงปู่ทวดอินทร์ วัดหนองหอย สงขลา เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อคล้าย อินทมาโน วัดเจริญราษฎร์ รุ่นพิเศษ ปี 2519 เนื้ออัลปาก้าชุบ
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโคกทราย รุ่นแรก ปี 40 อายุ 89 ปี เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เหม้น วัดสองพี่น้อง 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระรูปเหมือน พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) วัดจะทิ้งพระ เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด ออกวัดแหลมทราย จ.สงขลา
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ วัดภูตบรรพต ปี 2520 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ วัดภูตบรรพต ปี 2520 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อเคว็จ วัดดีหลวงนอก  รุ่นแรก ปี 20 บล็อกแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เหม้น วัดสองพี่น้อง 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง สวยมาก
เหรียญหลวงพ่อสุวรรณ สุวัณโณ วัดภูตบรรพต รุ่นแรก ปี 2514 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ปั้น วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก จ.สงขลา เนื้อทองแดงผิวไฟ ปี16
หลวงพ่อแก้ว วัดยางทอง รุ่นแรก ปี 23 เนื้อทองแดง พิมพ์เล็ก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เหรียญพระอาจารย์สี วัดโคกเหรียง รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านแดง  วัดท่าแซ รุ่น 2 ปี 28 เนื้อทองฝาบาตร ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อร่วง วัดศาลาโพธิ์ สงขลา รุ่น 2 ตอกโค๊ตใบโพธิ์ รุ่นแรกของวัด
เหรียญหลวงพ่ออิ่ม วัดในวัง จ.สงขลา รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเนี่ยม คุณวัณโณ วัดขุนตัดหวาย หลังฤาษี รุ่นแรก ปี 29 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อภัทร วัดโคกสูง รุ่นฉลองสมณศักดิ์ ปี 30 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเฟื่อง วัดคงคาเลียบ ปี 2521 บล็อคนิยม มี ปญ
เหรียญหลวงพ่ออุ้ย วัดหงษ์ประดิษฐาราม รุ่นแรก ปี 19 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 34 เนี้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อยก วัดบางเขียด รุ่นแรก ปี 2522 เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม บล็อกแรกหายาก
เหรียญหลวงพ่อแก้วหลังพ่อท่านเสน วัดราษฎร์บำรุง ปี 2515 เนื้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านแก้ว วัดท่าบอน รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก ปี 36 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 34  เนี้อทองแดง
เหรียญพ่อท่านจันทร์ วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก ปี 2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เลียง วัดทรายขาว ปี 31 รุ่นมังกรคาบถุงเงิน เนื้อทองแดง
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นสอง เนื้อทองแดงรมดำ สวยมาก
เหรียญท่านมหาลอย วัดแหลมจาก ปากรอ รุ่นพิเศษ ปี 2523
หลวงพ่อเดิม วัดเอก ปี 2537 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล สภาพสวย
เหรียญหลวงปู่ร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ วัดศาลาโพธ์ รุ่น 3 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เพรียญพ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว ปี 2529 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ รุ่นสร้างมณฑป เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูเมฆ วัดเชิงแสใต้ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อท่านพระอุปัชฌาย์แก้วหลังหลวงพ่อเรือง วัดประตูไชย รุ่นแรก ปี 2535
เหรียญหลวงพ่อยก วัดบางเขียด รุ่นแรก ปี 2522 เนื้อทองแดง พิมพ์นิยม บล็อกกลาก
เหรียญพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สงขลา ปี 19 เนื้อทองแดง
ภาพถ่ายหลังจารและผ้ายันต์คาบสมุทรเขียนมือพ่อท่านพลับ วัดระโนด  สงขลา
เหรียญแม่เจ้าอยู่หัว วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา  ปี 2528
เหรียญหลวงพ่อท่านพระอุปัชฌาย์แก้ว วัดประตูไชย รุ่นแรก
เหรียญสมเด็จเจ้าเกาะยอ รุ่นแรก พิมพ์หน้าแก่ เนื้อทองแดง
เจาะประเด็นเหรียญพระประจำวัน วัดหาดใหญ่ใน ปี 2519  เนื้อทองฝาบาตร
พระกริ่งภัยนิรันดร์หลวงพ่อเส้ง วัดแหลมทราย  ปี 2504 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดคลองแห รุ่น 3 ปี 20 เนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิ้ลทอง
เหรียญจันทร์เพ็ญ - ปลอดภัย หลวงตาเนียร สำนักสงฆ์ต้นเลียบ จ. สงขลา ปี  2538 มีโค๊ต เนื้อทองแดง
เหรียญพระอธิการทอง ธมฺมโชโต วัดเลียบ ปี 2519 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อแก้ว วัดยางทอง รุ่นแรก ปี 23  เนื้อทองแดง พิมพ์ใหญ่ จ.สงขลา
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว รุ่นแรก ปี 12 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อพร้อม วัดคลองแดน รุ่นแรก ปี 17 ชื่อนี้มีตำนาน
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นสอง เนื้อแดงผิวไฟ สวยมาก
พระปิดตาเนื้อผงว่านคลุกรัก อ.ศรีแก้ว วัดไทรใหญ่ จ.สงขลา พิเศษลงน้ำมันยางเก่า
เหรียญหลวงพ่อเลื่อน วัดผาสุการาม อ. หัวไทร รุ่นแรก พิมพ์รางรถไป
เหรียญหลวงพ่อรุ่ง  วัดรามแก้ว รุ่นแรก ปี 12 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อจุล วัดปากจ่า ปี 2516 สงขลา สวยดำเดิมๆ
หลวงพ่อขวด วัดม่วงงาม  สงขลา รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดคลองแห รุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร เนื้อนิยม
ท่านอาจารย์หมาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก สงขลา
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก เนื้อทองเหลือง ก้นกลึงอุดเทียนเดิม
เหรียญหลวงพ่อแอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่น 2 พ.ศ. 2520
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงรูปเหมือนพ่อท่านแดง  วัดท่าแซ
เหรียญหลวงปู่ร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ รุ่น แรก
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา(จุ้มปะ) พิมพ์สี่เหลี่ยมมหาอุตม์
สกุ๊ปพิเศษพระปิดตาหลวงพ่อกล่อม วัดหูแร่ จ.สงขลา
พระครูโตก วัดใหญ่ รุ่นแรก ปี 17 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ ปี 17 สวยมาก
เหรียญพ่อท่านเอียด วัดชลธาราวาส รุ่นแรก ปี 28 เนื้อนวะ
หลวงพ่อเล็ก วัดเจริญภูผา อ. รัตภูมิ จ. สงขลา รุ่นแรก ปี 2517
เหรียญหลวงปู่สีมั่น วัดห้วยลาด รุ่นแรก พิมพ์นิยม เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อสีมาก วัดทุ่งลุง หาดใหญ่ รุ่นแรก 2519 โค๊ดเต็ม
เหรียญพระครูสุคนธศิลาจาร วัดคูเต่า รุ่นแรก
เหรียญท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก
ผ้ายันต์หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว อ. หัวไทร ปี 12
รูปเหมือน หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว รุ่นแรก
เหรียญพ่อท่านพลับ วัดระโนด รุ่นแรก ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเพื่อม วัดคูขุด รุ่นแรก กะไหล่ทอง
เหรียญพระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำหาดใหญ่ รุ่นแรก
หลวงพ่อแก้ว วัดท่าบอน รุ่นแรก เนื้อนวะ ปี 2531
เหรียญหลวงพ่อชุมหลังหลวงพ่อพร้อม วัดคลองแดน รุ่นแรก ปี 2517 นิยม
รูปเหมือนหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง รุ่นแรก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด