หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 93 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2567

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองชุมพร
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
06-10-2563 เข้าชม : 5975 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
[ รายละเอียด ]

วัดเทพเจริญหรือวัดถ้ำรับร่อถือเป็นวัดสำคัญของจังหวัดชุมพร ตั้งอยู่บริเวณเขารับร่อหรือภูเขาพระ มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในอดีต การเผยแพร่พุทธศาสนาของเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่เดิมนั้นเป็นที่ตั้งเมืองเก่าชื่อเมืองอุทุมพร ซึ่งเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ตามตำนานเมืองอุทุมพร ระบุว่ามีการสร้างวัดหน้าถ้ำทะเลเซียะเมื่อ พ.ศ. 1923 ภายในบริเวณถ้ำพบพระพุทธรูปสถิตเป็นพระประธานอยู่ปากถ้ำ เรียกว่า พ่อปู่หลักเมือง คนชุมพรถือเอาพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นหลักเมืองชุมพร ต่อมาพระยาไชยบุรินทร์ (คล้าย ฐิตะฐาน) เจ้าเมืองชุมพร ต้องการบูรณะขึ้นเป็นวัดประจำตระกูล จึงอุทิศที่นาสร้างศาสนสถานและบันไดทางขึ้นสู่ถ้ำ แล้วใช้ชื่อเรียกว่า วัดเทพเจริญศุภผล ล่วงถึงปัจจุบันจึงเหลือเพียงชื่อวัดเทพเจริญ หรือชาวบ้านรู้จักในชื่อวัดถ้ำรับร่อ

     จุดเริ่มของพิพิธภัณฑ์วัดเทพเจริญ เกิดในปี 2532 เมื่อครั้งที่ชุมพรและวัดเทพเจริญได้รับความเสียหายจากพายุเกย์ หลังพายุ ชาวบ้านและพระได้รื้อของซ่อมกุฏิของอดีตเจ้าอาวาส พระครูเทพประสิทธาจารย์ พบวัตถุสิ่งของมากมายที่ท่านสะสมไว้โดยไม่ได้แจ้งให้ใครทราบ วางปะปนกับถ้วยชามจานกระโถนอยู่ในกุฏิ ประมาณ 300 ชิ้น คณะกรรมการวัดจึงได้หารือกันว่าทำอย่างไรให้คนได้รู้ว่ามีของอยู่และได้มาชมกัน อีกทั้งวัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญ จึงดำริที่จะทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่าจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โบราณวัตถุที่สำคัญคือรอยพระพุทธบาทแกะสลักจากหินทรายแดง ยาวประมาณ 1 เมตร สลักลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช

    หลังจากเปิดเป็นทางการแล้ว ชาวบ้านจะนำของมาบริจาคอยู่เรื่อยๆ เช่น ของใช้เจ้าเมืองเก่า ต้นสกุลเก่าบ้าง ดาบจำลองของพระยานคร อายุ 700-800 ปี ปัจจุบันมีของเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร จ.ชุมพร ได้มาช่วยทำทะเบียนให้บางส่วน แต่ทำได้ไม่เต็มที่เพราะสถานที่คับแคบไม่สะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างการของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาสร้างอาคารใหม่ ซึ่งทางวัดคาดหวังไว้ว่าจะทำให้เป็นระบบมากขึ้น พระวิลาสธรรมภูษิต เจ้าอาวาสกล่าวว่า "เมื่อได้ไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพรแล้ว ก็มาดูของจริงกันที่นี้" อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถานศึกษาต่างๆ ทั้งในชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงก็มาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช การช่างเทคนิคชุมพร นอกจากนี้ทางวัดได้จัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เปิดสอนดนตรีไทยให้กับเยาวชนในวันอาทิตย์ โดยครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีกิจกรรมแกะหนังตะลุง และมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่เป็นประจำ โดยมุ่งหวังให้เป็นศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมพร เพื่อให้เยาวชนได้เข้าถึงประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีมา ถ้ำรับร่อ

    วัดเทพเจริญ ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าข้าม จากสี่แยกปฐมพรไปประมาณ 23 กิโลเมตร แยกซ้ายไปตามเส้นทางสาย 3181 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงที่ว่าการอำเภอท่าแซะจากนั้นไปทางทิศตะวันตกอีก 15 กิโลเมตร เป็นทางดินลูกรังผ่านหมู่บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้ามไปยังวัดเทพเจริญ หรือวัดถ้ำรับร่อ ถึงบริเวณวัดมีถ้ำต่างๆ ทั้งหมด 8 ถ้ำ เป็นถ้ำที่ตั้งบนเนินเขา กล่าวกันว่ามีปริศนาลายแทงขุมทรัพย์อยู่ในถ้ำถึง 2 แห่ง คือ ถ้ำต้นทาง (ชื่อถ้ำเอเต) และถ้ำตอนที่ลึกเข้าไปอีก ซึ่งมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยคือพระปู่หลักเมือง ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3.5 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ. 548 โดยมีประวัติเล่าว่าสร้างครั้งเมื่อสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์อินเดีย ซึ่งแล่นเรือออกแสวงหาที่ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาในทุกหนทุกแห่ง และเมื่อพบที่ตั้งวัดรับร่อซึ่งมีถ้ำสวยงาม จึงบัญชาให้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ภายในถ้ำ

    วัดเทพเจริญ (ถ้ำรับร่อ)  ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี 2479 วัดตั้งอยู่เชิงเขารับร่อ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอุทุมพร อันเป็นเมืองท่ารักษาด่านทางข้ามคอคอดมลายู มีการสร้างพระพุทธรูปหลวงปู่หลักเมืองไว้ในถ้ำ และพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย 577 องค์ ถัดมาคือถ้ำอ้ายเตย์ สภาพภายในถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นสถานที่ปัสสนากรรมฐาน มีภาพเขียนสีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อยู่บนผนังถ้ำ คาดว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยา แต่ยังวาดไม่เสร็จ และมีถ้ำไทร ซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่คราวสร้างศาลหลักเมือง งดงามด้วยหินงอกหินย้อย

     บริเวณศาลาราษฎร์สามัคคีเป็นที่ตั้งสังขารของหลวงปู่ไสย ซึ่งมรณภาพแล้วแต่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย และมีรอยพระพุทธบาทหินทรายสลักภาพลายมงคล 108 ประการ ขอบสลักภาพการตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อย นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่รวบรวมโบราณวัตถุที่พบในบริเวณวัด และมีการแกะตัวหนังตะลุงลวดลายงดงามโดยฝีมือคุณลุงเว้น จิตต์ธารา

เหรียญของท่านที่นิยมกันมีด้วยกัน 2 รุ่น

รุ่นแรก ตามในรูป

ร่นสอง

พื้นที่ตามหากันมาก 

 

[ ราคา ] ฿2000
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองชุมพร
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดดอนเมือง จ.ชุมพร เนื้อทองแดง ปี 2522
เหรียญหลวงพ่อเขียว วัดผุสดีภูผาราม
เหรียญหลวงพ่อเขียน วัดโพธิ์ อ.หลังสวน รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระพุทธประธานในโบสถ์ หลังอาจารย์คง ยโสธโร เนื้อทองแดง
เหรียญปรกใบมะขามหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อมุม วัดนาสัก จ.ชุมพร  รุ่น 2  ปี 2520 เนื้อทองแดง สภาพสวยมาก
เหรียญหลวงพ่อคล้อยหลังหลวงพ่อแดง วัดถ้ำเขาเงิน ปี 34 เนื้อทองแดงผิวไฟ
รูปหล่อหลวงพ่อขำ วัดประสาทนิกร
เหรียญหลวงพ่อขืน วัดแหลมยาง จ.ชุมพร รุ่นสร้างโบสถ์ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อจร วัดท่ายาง ชุมพร รุ่น 2  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อตาบ วัดแหลมโตนด รุ่นแรก ปี 2519 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูอาทรธรรมวัตร วัดประสาทนิกร หลังสวน ชุมพร ปี 2524
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ปี 36 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน รุ่นหลังยันต์นะสำเร็จ  ปี 38
เล่าสู่กันฟังตอน เหรียญหลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ปี ๒๕๐๘ เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
ศึกษาเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมูม วัดนาสัก ปี 2519 เนื้อนวโลหะ ออกวัดบ้านนา
เหรียญพระพุทธสวีประชานาถ วัดพะงุ้น อำเภอสวี ชุมพร
พระสมเด็จสีชมพูหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน หลังสวน จ. ชุมพร
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่น 2 ปี 20 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่นแรกเนื้อทองแดง สวยมาก
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู รุ่นสอง  ปี ๒๔๙๗  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อมุม วัดนาสัก รุ่นแรก กะไหล่เงิน
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน รุ่นแรก สวยมาก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด